ที่นี่..เราวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาแนะนำให้กับลูกค้าที่ซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปจากเรา ให้ใช้งานจุลินทรีย์ในแต่ละเรื่องอย่างถูกต้อง เช่น การนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียใช้อย่างไร ใช้ในจุดใด ใช้ในปริมาณเท่าใด ปรับให้เข้ากับบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่ลูกค้ามีอยู่อย่างไร หรือกรณีการนำจุลินทรีย์ไปใช้ในการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น ) จะใช้อย่างไร ใช้ในจุดไหน ใช้ปริมาณเท่าใด ฯลฯ การใช้จุลินทรีย์อย่างตรงจุดและตรงประเด็น การใช้งานจุลินทรีย์เป็นและใช้ถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า เราปฏิบัติเช่นนี้
จุลินทรีย์อีเอ็มสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางการเกษตรได้ดีหลายอย่าง โดยเฉพาะการประยุกต์ทำเป็นปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยหมักชีวภาพปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือปุ๋ยชีวภาพ แต่ที่นิยมมากที่สุดคือทำเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพนั่นเองหรือปุ๋ยชีวภาพนั่นเอง โดยการนำเอาจุลินทรีย์อีเอ็มไปผสมกับพืชหรือสัตว์หมักไว้ระยะหนึ่งแล้วนำมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ของพืช ซึ่งในน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพนั้นจะมีสารอาหารต่างๆที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อพืชมากมาย ใช้ได้กับพืชผักทุกชนิดทุกประเภทรวมทั้งไม้ยืนต้น ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ที่เลี้ยงไว้ตามบ้านเรือนทั่วๆไป ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้สวยงาม ไม่เหี่ยวเฉาง่ายแม้ขาดการรดน้ำ ลดการใช้สารเคมีลง ช่วยให้ดินอุดมร่วนซุย ดูรายละเอียดการประยุกต์ใช้งานของจุลินทรีย์คลิกที่ลิ้งค์ด้านล่าง
การนำจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ( อีเอ็ม ) ไปประยุกต์ใช้ในทางการเกษตรให้ได้ผลดี
1. กรณีนำไปใช้แบบสดๆที่ไม่มีการขยายต่อ ให้ใช้ น้ำสะอาดผสมกับจุลินทรีย์ชีวภาพ อัตราส่วน 1 ต่อ 50 ส่วน
ความหมายคือจุลินทรีย์ชีวภาพ 1 ส่วน ผสมกับน้ำ 50 ส่วน ถ้าต้องการเพิ่มความเข้มข้นมากกว่านี้ก็ได้ ไม่มีผลกระทบใดๆต่อพืช มีแต่ผลดี ข้อเสียคือ สิ้นเปลืองมากขึ้น เช่น จุลินทรีย์ 1 ลิตรผสมกับน้ำ 20 ลิตร สำหรับรดต้นไม้ เป็นต้น
2. กรณีนำไปขยายประยุกต์เป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพ
วิธีที่ 1
- นำจุลินทรีย์ชีวภาพเทลงในถังหมัก ( ขนาดใดก็ได้ )เติมน้ำสะอาด เติมกากน้ำตาล ด้วยอัตราส่วนดังนี้
จุลินทรีย์ชีวภาพ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำสะอาด 20 ส่วน เทลงในถังหมักที่เตรียมไว้ อาจจะเป็นถังพลาสติกหรือโอ่งมังกรก็สามารถใช้ได้ ปิดฝาถังให้สนิทไม่ให้อากาศเข้าด้วยพลาสติกหลายชั้น และรัดด้วยสายรัดให้แน่นปิดฝาถังให้สนิทอีกชั้น เพื่อไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้า ซึ่งจะทำให้จุลิทรีย์เสื่อมและตายได้ในที่สุด หมักทิ้งไว้ในที่ร่มห้ามเปิดจนกว่าจะครบ 7-10 วัน
- เมื่อครบกำหนดเปิดถังหมักจุลินทรีย์แล้ว สามารถนำจุลินทรีย์ไปหมักต่อกับมูลสัตว์ต่างๆและเศษพืชผักต่างๆทุกชนิดได้ทันที ถ้าให้ดีควรหมักจุลินทรีย์ชีวภาพกับเศษพืชผักต่างๆในถังหมักเช่นเดิม จะทำให้เกิดการย่อยสลายเอาสารอาหารจากเศษพืชผักออกมาได้ดีมากๆ( เพราะจุลินทรีย์ทำงานย่อยสลายได้ดีในสภาวะไร้อากาศ ) หมักต่อไปอีก 10 วันขึ้นไปถึง 1 เดือนจึงเก็บออกมาใช้ประโยชน์ได้ ( กรณีเศษพืชผักที่นำมาหมักให้จุลิทรีย์ย่อยสลายนั้นย่อยสลายได้โดยง่าย อาจจะหมักเพียง 10 วันก็ได้ ถ้าย่อยสลายได้ช้าหรือยากก็เก็บน้ำหมักนั้นประมาณ 30 วันก็ได้ ) ให้เก็บน้ำหมักที่ได้ไว้ในถังที่มีฝาปิดแน่นหนาและมิดชิดไม่ให้อากาศเข้า กรณีเกิดก๊าซมากๆซึ่งจะทำให้ถังบรรจุบวมได้ ให้คลายฝาถังระบายก๊าซออกให้หมดแล้ว ปิดฝาถังบรรจุน้ำหมักชีวภาพนั้นทันทีและให้แน่นเก็บไว้ในที่ร่ม
วิธีที่ 2
นำวัตถุดิบเศษพืชเศษผักต่างๆหรือมูลสัตว์หมักรวมพร้อมกันในครั้งเดียวกันทั้งหมดในถังหมัก
ขั้นตอน : เตรียมถังหมักเหมือนวิธีที่ 1 พลาสติกปิดฝาถัง, สายรัด, ฝาปิดฝาถังหมัก, ไม้พายสำหรับคนวัตถุดิบให้เข้ากัน
วิธีการ : 1 ) เทจุลินทรีย์สดที่เตรียมไว้ลงในถังหมัก 2 ) เทกากน้ำตาลลงในถังหมัก 3 ) เทน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ลงในถังหมัก 4 ) นำวัตถุดิบที่เตรียมไว้หมักเทรวมกันลงในถังหมัก แต่อย่าให้ล้นถังหมัก เสร็จแล้วคนให้ทั่วๆหลายๆรอบ ปิดด้วยพลาสติกรัดด้วยสายรัดถังหมัก ปิดฝาถังหมักให้สนิมอีกครั้ง เพื่อไม่ให้อากาศเข้า เก็บไว้ในที่ร่ม 30 วันขึ้นไป จึงนำออกมาใช้ได้
อัตราส่วนผสมวิธีที่ 2 จุลินทรีย์ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 2 ส่วน น้ำสะอาด 10 ส่วน + วัตถุดิบประเภทเศษพืชผักหรือมูลสัตว์ตามความต้องการ แต่ไม่ควรให้ล้นถังหมัก
การนำน้ำหมักวิธีที่2ไปใช้ประโยชน์ : เมื่อครบกำหนดเก็บแล้ว ให้กรองเอาเฉพาะส่วนที่เป็นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพไปใช้งาน ส่วนเศษกากที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปเป็นปุ๋ยกากใส่ต้นไม้ได้เลย ในการนำน้ำหมักชีวภาพที่ได้ไปใช้งาน ก็ให้ใช้ตามคำแนะนำด้านล่าง แต่ควรสังเกตดูว่าน้ำหมักชีวภาพที่ได้เป็นกรดมากน้อยเพียงใด กรณีมีความเป็นกรดสูง ควรผสมน้ำสะอาดแบบเจือจางลงตามส่วน ( ความเป็นกรดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเศษวัตถุดิบที่นำมาหมักด้วย )
- การนำไปใช้ประโยชน์
แบ่งน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพมาให้เพียงพอต่อการใช้ในแต่ละครั้งเท่านั้น และเมื่อแบ่งออกมาใช้แล้วควรใช้ให้หมดไปในครั้งเดียวกัน
การนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้รดพืชผักต้นไม้ทุกชนิด
อัตราส่วน น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมกับน้ำสะอาด 1,000 ส่วน คนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน นำไปรดพืชผักต้นไม้ได้เลย หรือต้องการลดปริมาณเข้มข้นมากน้อยได้ตามความต้องการ ไม่มีผลเสียใดๆมีแต่ผลดี น้ำหมักชีวภาพนี้มีมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาหมักรวมด้วย
การใช้น้ำหมักหรือปุ๋ยหมักชีวภาพนี้รดต้นไม้ อาทิตย์ละครั้ง หรือบ่อยได้ตามความต้องการ กรณีรดบ่อยก็ให้ลดความเข้มข้นลงตามส่วนได้ ไม่ทำให้รากพืชเน่าเสียใดๆ
โดยสรุปแล้ว ใช้ได้โดยไม่มีอันตรายหรือผลเสียต่อพืชผักทุกชนิด มีแต่ให้ผลในด้านดี ไม่มีสารเคมีตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ประการสำคัญคือเป็นปุ๋ยที่ให้คุณภาพสูง แต่ต้นทุนดำเนินการถูกกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีหลายเท่าตัว
ในการนำจุลินทรีย์ไปประยุกต์ใช้เป็ยปุ๋ยในทางการเกษตร สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบให้ประโยชน์ทั้งนั้น มากน้อยแตกต่างกันออกไป ที่นำมาเสนอในที่นี้เป็นเพียงวิธีการส่วนหนึ่งในหลายๆวิธีการเท่านั้น
ทางเลือกของเกษตรอินทรีย์ สำหรับเกษตรกรไทยในยุคที่ปุ๋ยเคมีมีราคาแพง
ข้อดีของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหือปุ๋ยชีวภาพ
1 ) ไม่มีสารเคมีตกค้างในดินและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งคนและสัตว์
2 ) ไม่มีผลเสียและผลข้างเคียงใดๆ ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
3 ) บำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา
4 ) ราคาไม่แพงประหยัดค่าปุ๋ยในแต่ละปีจำนวนมาก
5 ) สามารถทำได้ด้วยตัวเองและทำได้ง่าย
การประยุกต์จุลินทรีย์เป็นปุ๋ยชีวภาพคลิกดูที่นี่
ข้อควรระวังสำหรับการนำปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพสูตรต่างๆไปใช้งานกับพืชผัก
ควรพิจารณาสภาพความเป็นกรดด่างของปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพนั้น ถ้าเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ ควรทดสอบความเป็นกรดด่างก่อนนำไปใช้กับพืชผัก เพราะปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพส่วนมากจะมีฤทธิ์เป็นกรด ส่วนจะเป็นกรดมากหรือน้อยนั้น ยังขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาหมักด้วย รวมถึงระยะเวลาการหมัก ถ้าปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพนั้นมีความเป็นกรดสูง ต้องปรับค่ากรดก่อนนำไปใช้งาน ถ้าเป็นกรดไม่มากให้ผสมกับน้ำ ส่วนปริมาตรที่ผสมกับน้ำก็ควรทดสอบก่อน ควรให้ค่าความเป็นกรดด่างอยู่ที่ 5 - 8 ถ้าปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพนั้นมีความเป็นกรดสูงมาก ถ้านำไปรดต้นไม้หรือใช้เป็นปุ๋ยใส่พืชผัก จะทำให้พืชผักตายได้ง่ายๆใบไหม้และรากเน่าเสียจากภาวะกรด ดังนั้น จึงควรระวังการนำไปใช้อย่างถูกวิธี



จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่..
จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...
ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
แก้ปัญหาค่า BOD,SS,TDS สูงในคอนโดมิเนี่ยมอาคารสำนักงาน คลิกที่นี่..
เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่...
การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่..
การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่...
การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...
วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่..
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงสุกรทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่..
กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียเกิดมาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียอย่างไร ? คลิกดูที่นี่..
สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่..
วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่..
บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย&จุลินทรีย์ดับกลิ่นที่มีกลิ่นหอม คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คลิกดูข้อมูลที่นี่..
จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย / จุลินทรีย์หอมย่อยสลายของเสีย คลิกที่นี่.....
ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ คลิกที่นี่...
ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในร้านอาหาร & ภัตตาคารทุกๆแห่ง คลิกที่นี่...
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงแรมและรีสอร์ททั่วๆไป คลิกที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วๆไป คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น
ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่..
วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่..
ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่...
จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่..
การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่นขยะ / จุลินทรีย์กำจัดกลิ่นขยะเหม็น คลิกดูข้อมูลที่นี่..
ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น/ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น คลิกดูที่นี่..
<< กลับหน้าแรก สั่งซื้อจุลินทรีย์อีเอ็ม >>