จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้บรรจุกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง สำหรับลดค่า TKN โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสีย ความรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสีย AS แบบเติมอากาศทั่วๆไปในประเทศไทย
ReadyPlanet.com
bulletใบเสนอราคาจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletห้องน้ำเหม็นตอนฝนตก/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรงช่วงหน้าฝน
bulletวิธีการแก้ปัญหากลิ่นห้องน้ำโชยเข้าห้องนอน
bulletห้องน้ำเหม็นมากๆส้วมเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
bulletวิธีทำความสะอาดห้องน้ำ/ส้วมให้มีกลิ่นหอม
bulletดับกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ/บำบัดกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ
bulletเทคนิคการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่น/บำบัดน้ำเสีย
bulletดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น
bulletดับกลิ่นเหม็นบ่อเกรอะ
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/ กลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletประโยชน์ของการเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายลงไปในบ่อเกรอะ
bulletจุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะ
bulletกลิ่นเน่าเหม็นจากบ่อเกรอะแก้อย่างไร?
bulletจำหน่ายอีเอ็มดับกลิ่น/อีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรง
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำมาจากจุดใด?
bulletวิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็นส้วมเหม็นด้วยจุลินทรีย์-Kasama
bulletจุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย-KASAMA
bulletวิธีดับกลิ่นส้วม/วิธีดับกลิ่นส้วมเหม็น
bulletท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น
bulletการใช้จุลินทรีย์-Kasama ทำความสะอาดห้องน้ำปั๊มน้ำมัน
bulletวิธีดับกลิ่นท่อน้ำทิ้ง/วิธีดับกลิ่นท่อระบายน้ำทิ้ง
bulletของเสียในห้องน้ำห้องส้วม
bulletวิธีดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ
bulletกลิ่นเหม็นห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น ซื้อที่ไหน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ ซื้อที่ไหน
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ลดกลิ่นห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นเหม็นท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ดับกลิ่นส้วม
bulletการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายทำความสะอาดห้องน้ำ
bullet(( การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมและอพาร์ทเม้นท์ ))
bulletการบำบัดน้ำเสียในหมู่บ้านด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการดูแลบ่อเกรอะไม่ให้ส่งกลิ่นรบกวน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นน้ำเน่าเสียดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็น
bulletจำหน่ายอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletอีเอ็มดับกลิ่น
dot
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย
dot
bulletจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletจุลินทรีย์อีเอ็ม( EM )
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในห้องน้ำห้องส้วม
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็น
bulletวิธีแก้ห้องน้ำเหม็น
bulletส้วมเหม็น ทำไงดี?
bulletส้วมเหม็น ทำอย่างไร?
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็นมีวิธีแก้ไข
bulletท่อน้ำทิ้งมีกลิ่น
bulletห้องน้ำคอนโดมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำโรงแรมมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำอพาร์ทเม้นท์มีกลิ่นเหม็น
bulletการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ในการดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในตลาดสด
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดของเสียในร้านอาหารและภัตตาคาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มในโรงพยาบาลและคลีนิก
bulletการทำงานของจุลินทรีย์
bulletประโยชน์ของจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ให้ได้ผลดี
bulletความเข้าใจในการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นต่างๆ
bulletวิธีการกำจัดกลิ่นเหม็นด้วยจุลินทรีย์
bulletการแก้ปัญหาน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย
dot
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
dot
bulletน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย น้ำท่วม
bulletem บำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีบำบัดน้ำเสีย
bulletการบำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีการบำบัดน้ำเสีย
bulletน้ำเสียและการบําบัดน้ำเสียแบบง่ายๆ
bulletอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย/อีเอ็มดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม
bulletการใช้จุลินทรีย์กำจัดไขมันในโรงอาหาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มดับกลิ่นในไซท์งานก่อสร้าง
dot
การใช้จุลินทรีย์ในส่วนอื่นๆ
dot
bulletกลิ่น / กลิ่นไม่พึงประสงค์
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข : น้ำยาดับกลิ่นสุนัข
bulletกลิ่นสุนัข/กลิ่นสัตว์เลี้ยง
bulletวิธีกําจัดกลิ่นสุนัข/วิธีกำจัดกลิ่นสัตว์เลี้ยงด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกชนิด
bulletการกำจัดกลิ่นห้องน้ำด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletส้วมเหม็น / ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/กลิ่นส้วม
bulletห้องน้ำเหม็นอับ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ / ห้องส้วม
bulletส้วมเต็มง่าย
bulletส้วมมีกลิ่น / ห้องน้ำมีกลิ่น/ กลิ่นส้วม
bulletการเก็บรักษาจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นอย่างไรจึงจะได้ผล ?
dot
= การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ =
dot
bulletดับกลิ่นในห้องน้ำและห้องนอนด้วยจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์ทะลวงในท่อที่อุดตัน
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในสวนสัตว์
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข
bulletสารพัดประโยชน์จากจุลินทรีย์
bulletการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ประจำวัน
bulletการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ในบ้าน
bulletจำหน่ายจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletทำไมต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย?
bulletการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
bulletแผนผังเว็บไซต์
bulletไทยรัฐ
bulletเดลินิวส์
bulletคมชัดลึก
bulletแนวหน้า
bulletบริหารจัดการ
bulletLoGo
bulletHotmail
bulletYahoo
dot
ธนาคาร
dot
bulletกรุงเทพ
bulletกสิกร
bulletThailandservices
bulletYoutube
bulletแปลงไฟล์
bulletFB
bulletGmail


มีปัญหาฟาร์มเป็ดส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ฟาร์มไก้ส่งกลิ่นเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น, แก้บ่อเกรอะเหม็น, ห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็นทำอย่างไร? อยากรู้คลิกดูที่นี่..
ดับกลิ่นสุนัข, ดับกลิ่นฟาร์มสุนัข, ดับกลิ่นคอกสุนัข, ดับกลิ่นกรงสุนัข, ดับกลิ่นมูลสัตว์เลี้ยง, ดับกลิ่นมูลสุนัข, ดับกลิ่นสัตว์เลี้ยง
ฟาร์มสุกรส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มหมูส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มสัตว์เลี้ยงส่งกลิ่นเหม็น, กลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, แก้ปัญหากลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มสัตว์เลี้ยง,
ห้องน้ำเหม็น, ส้วมเหม็น, จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น, จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, จุลินทรีย์อีเอ็ม, จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง, อีเอ็ม, จำหน่ายอีเอ็ม, จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ขายอีเอ็ม, ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ดับกลิ่นส้วมเหม็น, บำบัดน้ำเ


ระบบบำบัดน้ำเสีย AS แบบเติมอากาศ

   

                  

สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย (บำบัดน้ำเสีย ) เป็นตัวจักรสำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด

ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพสูงและสมบูรณ์แบบค่าพารามิเตอร์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกๆค่า ค่อนข้างจะหาได้ยากในความเป็นจริง  ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ยังมีปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นเครื่องชี้วัดระบบบำบัดน้ำเสียยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ต้องทำการแก้ไขและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ลูกค้าที่สั่งซื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจากที่นี่ ท่านจะได้สิทธิ์ในการขอคำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของท่านตลอดระยะเวลาที่สั่งซื้อ การบำบัดน้ำเสียมีขั้นตอนการบำบัด และการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียจะมีขั้นตอนที่มากกว่า สลับซับซ้อน โดยเฉพาะปัญหาทางด้านเทคนิคปรึกษาเราที่นี่ได้ฟรีๆ

ช่วยเสริมประสิทธิภาพระบบบำบัดและเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เพิ่มประสิทธิภาพบ่อบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในบ่อบำบัดน้ำเสีย ช่วยเพิ่มปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียได้เร็วขึ้นและมากขึ้น เสริมการทำงานย่อยสลายของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก

       

ในบทความต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงเรื่องราวของระบบบำบัดน้ำเสียอีกระบบหนึ่ง ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทย ( มากกว่า 90% ) นั่นก็คือ ระบบ Activated  Sludge :  AS ) เป็นระบบที่มีการเติมอากาศลงไปในน้ำเสีย เพื่อเพิ่มค่าออกซิเจนละลายในน้ำเสีย ( เพิ่มค่า DO : Dissolved Oxygen ) และมีการตกตะกอน ( Sludge ) ของเสียส่วนเกินที่เกิดจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในระบบบำบัด

          

         ( ภาพบนแสดงระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ) 

ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียของระบบ AS แบบเติมอากาศ  ต้องมี 2 องค์ประกอบเป็นอย่างน้อย คือ  บ่อเติมอากาศ และ บ่อตกตะกอน น้ำเสียต้องผ่านบ่อเติมอากาศก่อนจะเข้าสู่บ่อตกตะกอน

บ่อเติมอากาศทำหน้าที่อะไร ? 

ของเสียและน้ำเสียส่วนใหญ่จะถูกบำบัดหรือย่อยสลายในบ่อเติมอากาศนี้มากที่สุด ถือเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียบ่อหลักในการบำบัดน้ำเสีย ในความเป็นจริงแล้ว ระบบ AS ควรมีอย่างน้อย 3 บ่อด้วยกัน โดยบ่อแรกจะเป็นบ่อรับน้ำเสีย ( พักน้ำเสียและตกตะกอนขั้นแรก ) ซึ่งบ่อแรกนี้จะเป็นบ่อตกตะกอนขั้นแรก นอกจากนี้ถ้าใช้ฟิลเตอร์กรองตะกอนหนักและตะกอนเบา ( SS : Suspended Solid ) จะส่งผลทำให้ค่า TDS ( Total Dissolved Solid ) โดยรวมในระบบลดลงได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS จึงควรมีบ่อแรกก่อนจะเข้าสู่บ่อที่สอง ซึ่งเป็นบ่อเติมอากาศ ของเสียและน้ำเสียต่างๆจะถูกย่อยสลายในบ่อเติมอากาศนี้มากที่สุด ทำไมต้องเติมอากาศออกซิเจนลงในบ่อบำบัดนี้ ( บ่อเติมอากาศ ) สาเหตุที่ต้องเติมอากาศลงในบ่อนี้ก็เพื่อให้ออกซิเจนมีเพิ่มขึ้นในน้ำเสีย ( ปกติในน้ำเสียจะมีออกซิเจนน้อยหรือแทบไม่มีเลย ) เพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการดำรงชีพและย่อยสลายของเสีย ( Aerobic  Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขาดออกซิเจนไม่ได้ ถ้าไม่มีออกซิเจนก็คือตายสถานเดียว การย่อยสลายของเสียในน้ำเสียก็จะไม่เกิดขึ้น น่นหมายความว่า น้ำเสียนั้นยิ่งเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นไปอีก มีทั้งกลิ่นเน่าเหม็นและสีดำ ที่เรียกกันว่า วิกฤตน้ำเน่าเสีย นั่นเอง จุลินทรีย์ย่อยสลาย ( เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ไม่มีโทษ )ของเสียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียนี้จะขาดซึ่งอากาศออกซิเจนไม่ได้ หรือถ้าอากาศออกซิเจนในบ่อบำบัดน้ำเสียหรือในระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีปริมาณออกซิเจนน้อย ก็จะส่งผลให้ปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักมีปริมาณน้อยตามไปด้วย กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเหล่านี้มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติแทบทุกหนทุกแห่งที่มีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการดำรงชีพของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ การเติมอากาศลงในบ่อเติมอากาศต้องเติมให้ออกซิเจนกระจายแบบทั่วถึงทั้งบ่อเติมอากาศ แรงม้าของเครื่องเติมอากาศต้องมีกำลังที่มากเพียงพอต่อปริมาตรของน้ำเสีย เพื่อให้กระจายออกซิเจนละลายในน้ำเสียให้มากพอ เน่องจากออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียนั้น ส่วนหนึ่งจะถูกกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนดึงไปใช้ในการทำปฏิกิริยา และอีกส่วนหนึ่งต้องคงไว้ในน้ำเสียนั้นๆ เพื่อเป็นการเพิ่มค่าออกซิเจนให้น้ำ 

  บ่อตกตะกอนทำหน้าที่อะไร ?

บ่อตกตะกอนในระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS ต้องมีอย่างน้อยที่สุดไม่ต่ำกว่า 1 บ่อ ( มีหลายๆบ่อได้ ) บ่อนี้จะทำหน้าที่รับน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมาจากบ่อเติมอากาศอีกทอดหนึ่ง ( ดูภาพด้านบนประกอบ ) บ่อนี้จะทำหน้าที่พักน้ำที่ผ่านการบำบัดจากบ่อเติมอากาศและเป็นจุดตกตะกอนขั้นสุดท้าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนเบามีขนาดเล็กๆ ( ตะกอนส่วนเกินจากการย่อยสลายไม่หมดในบ่อเติมอากาศ ) ก่อนนำไปทำลายทิ้ง ( สูบทิ้ง ) และบางส่วนอาจนำเข้าระบบนำไปบำบัดซ้ำอีกครั้ง

 ตัวอย่างสมการกระบวนการบำบัดน้ำเสียที่สมบูรณ์

   น้ำเสียเข้าระบบ ==>> ระบบทำการบำบัดด้วยวิธีการชีวภาพ ==>> ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น => น้ำ + CO2 + พลังงาน

จะเห็นได้ว่าจากกระบวนการปฏิกิริยาข้างบน สสาร ( น้ำเสียและสิ่งเจือปนต่างๆ ) จะแปรเปลี่ยนไปเป็น น้ำ และพลังงาน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  โดยมีตัวจักรที่สำคัญในการแปรรูปก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายนั่นเอง ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ย่อยสลายแล้ว โลกใบนี้ของเสียและน้ำเสียคงล้นโลกไปนานแล้ว กระบวนการบำบัดน้ำเสียจะไปเกี่ยวข้องกับค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง ( ค่าพารามิเตอร์ ) ทั้งค่า pH , BOD , COD , FOG , TKN , SS  ฯลฯ ค่าเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งในทุกๆระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งรวมทั้งระบบ AS ด้วย  

ระบบ AS มีกี่แบบหรือกี่ชนิด ?

ระบบ AS ยังมีการแบ่งแยกย่อยไปอีก  4  แบบย่อยด้วยกันดังต่อไปนี้.-

 

1. ระบบ AS แบบคลองวนเวียน ( Oxidation Ditch : OD )

        

  ระบบ AS แบบคลองวนเวียนเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูง กำจัดไนโตรเจนได้ดี

 

2. ระบบ AS แบบกวนสมบูรณ์ (  Completly Mixed Activated  Sludge :  CMAS ) 

         

 

3.  ระบบ AS  แบบปรับเสถียรสัมผัส (Contact Stabilization Activated Sludge : CSAS) 

            

 

4.  ระบบ  AS  แบบเอสบีอาร์ ( Sequencing Batch Reactor :  SBR )  

            

 จะเห็นได้ว่าเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS  ยังแยกย่อยเป็นอีก 4 ชนิดหรือ 4 แบบด้วยกัน เลือกใช้หรือติดตั้งได้ตามความเหมาะสมกับพื้นที่และงบประมาณของเจ้าของระบบแต่ละแบบ ทุกๆแบบจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันก็คือ การบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพ และคำว่ามีประสิทธิภาพในที่นี้ก็หมายถึง น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากระบบที่ใช้ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดไว้ จึงจะได้ชื่อว่าระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพจริงๆ การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียแต่ละแบบอย่างที่กล่าวมาแล้วว่าขึ้นอยู่กับพื้นที่ งบประมาณ และของเสียน้ำเสียที่เกิดขึ้นเป็นแบบใด จากแหล่งใด อันตรายหรือไม่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้เป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจคัดเลือกระบบบำบัดน้ำเสียแต่ละรูปแบบของแต่ละองค์กร 

การบำบัดน้ำเสียแบ่งได้เป็น  3  ขั้นตอน ดังต่อไปนี้.-

1. การบำบัดน้ำเสียขั้นต้น ( ขั้นที่ 1 ) และการบำบัดในเบื้องต้น โดยการตกตะกอน ทั้งตะกอนหนักและตะกอนเบาออกจากระบบ รวมทั้งการกรองกรวดทรายออกจากระบบโดยการใช้ถังดักกรวดทรายและฟิลเตอร์กรองสิ่งเจือปนในน้ำเสียก่อนเข้าสู่การบำบัดขั้นที่ 2  การบำบัดขั้นแรกสามารถลดค่า BOD ได้ประมาณ 25 % - 40 %  ลดค่า SS ได้  50% - 70%

2. การบำบัดน้ำเสียขั้นที่ 2 (Secondary Treatment) เป็นการบำบัดน้ำเสียขั้นที่ 2 จากขั้นแรกในข้อ 1 ด้วยระบบบำบัดน้ำเสียแบบต่างๆ เป็นขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีทางชีวภาพ (Biological Treatment) โดยอาศัยหลักการเลี้ยงจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบภายใต้สภาวะที่เหมาะสมและควบคุมได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกินสารอินทรีย์ต่างๆในน้ำเสียได้รวดเร็ว และแยกตะกอนจุลินทรีย์ออกจากน้ำทิ้งโดยใช้ถังตกตะกอน (Secondary Sedimentation Tank) ทำให้น้ำทิ้งมีคุณภาพดีขึ้น การบำบัดน้ำเสียขั้นที่ 2 นี้จะทำให้สามารถลดค่า BOD ได้มากกว่า 80% ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะผ่านเกณฑ์หรือไม่อยู่ที่จุดนี้เป็นหลัก การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป ถ้ามีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการบำบัดน้ำเสียในแต่ละภาคส่วน เข้าใจระบบและเรื่องของน้ำเสียที่เกิดขึ้น รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบที่มีอยู่

3. การบำบัดขั้นที่ 3 ซึ่งเป็นการบำบัดขั้นสูง (Advance Treatment หรือ Tertiary Treatment)  เป็นกระบวนการกำจัดสารแร่ธาตุสารอาหารต่างๆ (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) สี รวมไปถึงสารแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก และอื่นๆ ซึ่งยังไม่ได้ถูกกำจัดโดยกระบวนการบำบัดขั้นที่สอง ในการบำบัดขั้นที่ 3 นี้อาจมีการใช้เคมีบำบัดมาร่วมด้วย ซึ่งแล้วแต่สถานการณ์ของเสียที่เกิดขึ้น

จะเห็นได้ว่ากระบวนการบำบัดน้ำเสียจะเกี่ยวข้องทั้งการบำบัดทางกายภาพ ( กรองและตกตะกอน ) ชีวภาพ ( ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายบำบัด ) และกระบวนการบำบัดทางเคมี ( ในบางกรณี ) ซึ่งขึ้นอยู่กับที่มาของน้ำเสียและสิ่งเจือปนในน้ำเสียนั้นๆเป็นตัวกำหนดวิธีการบำบัดในแต่ละขั้นตอนว่าจะต้องใช้วิธีการบำบัดแบบใด  แต่ไม่ว่าจะบำบัดแบบใดๆก็ตาม ทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ กระบวนการขั้นสุดท้ายก็จบลงที่จุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียไม่ให้ล้นโลกใบนี้นั่นเอง 

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ  AS มีตั้งแต่ลงทุนไม่มากไปจนถึงลงทุนสูง ค่าบริหารจัดการต่ำไปจนถึงค่าบริหารจัดการสูง ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละระบบและการออกแบบระบบ  ทุกๆระบบไม่ว่าจะลงทุนมากหรือน้อยในบางครั้งก็มีปัญหาระบบล้มเหลว โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียที่ขาดการดูแลบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพบบ่อยมากๆ เครื่องเติมอากาศเสียไม่ทำงาน เครื่องเติมอากาศประสิทธิภาพต่ำ เติมอากาศได้น้อย ฯลฯ

จุดด้อย ( จุดที่มีปัญหา ) ของระบบบำบัดน้ำเสียแบบ  AS  คือ

1. เติมอากาศไม่เพียงพอ ส่งผลให้ค่า DO ในน้ำมีปริมาณน้อย

2. เครื่องเติมอากาศเสียหรือไม่มีเครื่องเติมอากาศเลย

3. ระบบไม่เคยรีบูทเลย

4. ไม่มีระบบการดูแลและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง

5. ขาดบุคคลากรที่มีความรู้และความเข้าใจในระบบ

 แต่จุดด้อยเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ย่อยสลายและบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งจุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถทำงานย่อยสลายและบำบัดน้ำเสียแบบคู่ขนานไปกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้เป็นอย่างดี เป็นการอุดช่องว่างที่อับอากาศหรือมีออกซิเจนน้อยได้เป็นอย่างดี เพราะกลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียโดยไม่ใช้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ จึงส่งผลไม่ทำให้ค่า DO ในน้ำเสียนั้นๆไม่ลดลงจากการดึงออกซิเจนไปใช้ทำปฏิกิริยา จุลินทรีย์หอมคาซาม่าทั้งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( เหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก )

สรุปแบบง่ายๆระบบบำบัดน้ำเสียแบบ  AS  ทุกๆแบบ  จะต้องมีอย่างน้อย 2  ส่วนด้วยกัน คือ  บ่อเติมอากาศ  และ  บ่อตกตะกอน  ส่วนจะเพิ่มบ่อแต่ละบ่อให้มากกว่านี้ก็สามารถประยุกต์ได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้ดีมากขึ้น เช่น มีบ่อรับน้ำเสียขั้นแรก 2 บ่อ มีบ่อเติมอากาศ 3  บ่อ และบ่อพักน้ำทิ้ง 2 บ่อ เป็นต้น ซึ่งสามารถทำได้แต่อาจจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 

        

ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศไทย คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS  (  Activated  Sludge ) ซึ่งมีมากกว่า 90% เป็นระบบที่เติมออกซิเจนลงในน้ำเสีย ( บ่อเติมอากาศ ) โดยใช้เครื่องเติมอากาศ ( Aerator ) ลงในบ่อน้ำเสีย เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำเสีย และเพิ่มออกซิเจนในการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์กลุ่มนี้เมื่อได้รับออกซิเจนแล้วจะเจริญเติบโตและขยายตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ) เพื่อให้ของเสียที่อยู่ในรูปของสสารและแร่ธาตุต่างๆกลายไปเป็น  ->  น้ำ + พลังงาน + คาร์บอนไดออกไซด์ ในที่สุด

     

จุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( ระบบ AS )อยู่ตรงจุดใด ?

1. การเติมออกซิเจนไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด อาจจะด้วยเครื่องเติมอากาศมีกำลังวัตต์หรือกำลังแรงม้าต่ำ เติมออกซิเจนได้ไม่เพียงพอกับปริมาตรของน้ำเสีย จึงเติมออกซิเจนได้ไม่กระจายทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศโดยตรง

2. เติมออกซิเจนไปไม่ถึงก้นบ่อบำบัด เพราะบ่อบำบัดลึกเกินไป ( บ่อเติมอากาศไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร ) ออกซิเจนจะไปไม่ถึงก้นบ่อ ส่งผลเสียให้น้ำเสียและของเสียก้นบ่อไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลายเหมือนที่ผิวบ่อบำบัด

3. ต้องเติมออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง ( เดินเครื่องเติมอากาศอย่างต่อเนื่อง )  เพื่อไม่ให้ปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดปริมาณลง จะส่งผลเสียต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้น้อยลงตามไปด้วย

4.  ไม่สามารถกำหนดปริมาณและความหนาแน่นของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้  ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติกำหนด  ถ้าต้องการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนให้มากขึ้น ต้องเพิ่มจำนวนบ่อบำบัดและเครื่องเติมอากาศ

      

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศสามารถเพิ่มบ่อเติมอากาศได้มากกว่า 1 บ่อได้ตามความต้องการ ซึ่งก็จะทำให้งบประมาณเพิ่มตามไปด้วย ไม่จำเป็นต้องมีเพียงแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพด้านบน ) สามารถเพิ่มบ่อเสริมในแต่ละจุดได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียคือ งบประมาณเพิ่มตาม การควบคุมระบบก็จะยากขึ้นตามไปด้วย แต่ส่วนใหญ่จะสร้างบ่อบำบัดแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพบน ) เพราะสะดวกและประหยัดดูแลง่าย แต่ข้อเสียคือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาจไม่ผ่านในบางครั้ง หรือระบบล้มเหลวได้ง่ายๆ ถ้าการดูแลและบำรุงรักษาไม่ดีพอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาในจุดนี้ จึงส่งผลให้น้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง  ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหาตัวช่วยเพื่อมาช่วยเพิ่มการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

     

ภาพบนนี้เป็นการจำลองระบบบำบัดน้ำเสียระบบ  AS แบบเติมอากาศ จะเห็นได้ว่า บ่อที่ 3 จะเป็นบ่อตกตะกอนละเอียด ซึ่งเป็นตะกอนส่วนเกิน ( Excess  Sludge ) ที่ระบบย่อยสลายหรือบำบัดได้ไม่หมดนั่นเอง ต้องนำไปกำจัดทิ้งหรือไม่ก็ดึงไปบำบัดในขั้นแรกอีกรอบ ปัญหาคือตะกอนส่วนเกินนี้ถ้าสะสมเป็นเวลานานๆในก้นบ่อจะทำให้เกิดการเน่าเสียขึ้นได้ ( ค่า BOD ก็จะสูงตาม ) ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์หรือไม่เช็คได้ที่บ่อที่ 3 นี้หรือบ่อสุดท้ายของน้ำทิ้ง บ่อที่ 3 หรือบ่อสุดท้ายก่อนปล่อยน้ำทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมนี้จะไม่มีตัวเติมอากาศ ดังนั้น กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายจึงมีปริมาณน้อย ในจุดนี้สามารถใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปทดแทนการย่อยสลายและบำบัดตะกอนส่วนเกินได้ทันที ซึ่งเป็นการเติมเต็มระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น การบำบัดทำได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตะกอนส่วนเกินถูกย่อยสลายให้ลดลงจะส่งผลทำให้ค่า BOD ลดลงตามไปด้วย รวมไปถึงค่า SS ก็ลดน้อยลงตามไปด้วย ( ตามสมการข้างล่าง )

          

         

จากปฏิกิริยาการย่อยสลายตะกอนละเอียดด้านบนด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะได้   น้ำ + พลังงาน + CO2 ( ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ) + CH ( ก๊าซมีเทน )

การกำจัดตะกอนส่วนเกิน (  Excess  Sludge )  ด้วยการนำไปเป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้หรือนำไปฝังกลบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนละเอียดมี N , P อยู่ในตะกอนนั้น เหมาะนำไใช้เป็นปุ๋ยของต้นไม้พืชผักต่างๆ 

จากปฏิกิริยาการย่อยสลายสสาร ( SS ) ของจุลินทรีย์ทำให้สสารกลายไปเป็นพลังงานและก๊าซ ( ตามสมการด้านบน ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถทำการย่อยสลายของเสียต่างๆได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศได้ทั้งสองกรณี จึงเป็นจุดเด่นๆอีกจุดหนึ่งที่จุลินทรีย์ที่ใช้อากาศไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ ดังนั้น ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ว่าจะมีอากาศหรือไม่มีอากาศ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ตามปกติโดยไม่มีผลกระทบใดๆต่อระบบและตัวจุลินทรีย์เอง ( มีอากาศหรือไม่มีอากาศจุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็ไม่ตาย ) จะไม่เหมือนกรณีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขาดอากาศไม่ได้ ตายสถานเดียวเท่านั้นดำรงชีพอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีอากาศออกซิเจน จึงเป็นผลให้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าช่วยเสริมประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทั่วๆไปทุกๆระบบบำบัด ต้นทุนการดำเนินการต่ำ แต่ประสิทธิภาพสูง ทางลัดในการบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

จะเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดน้ำเสียบ่อใดบ้าง ?

สามารถเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้ทุกๆบ่อ โดยเฉพาะบ่อที่ 1 ซึ่งเป็นจุดรับน้ำเสียจุดแรกที่ยังไม่มีการบำบัดใดๆ ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปทำปฏิกิริยาย่อยสลายในชั้นแรกได้ทันที ซึ่งจะช่วยลดค่า SS , TDS , FOG และ BOD ลงได้ในระดับหนึ่งก่อนที่จะไปสู่การบำบัดในขั้นที่ 2 หรือบ่อที่ 2 ( บ่อเติมอากาศ ) กรณีที่บ่อเติมอากาศมีปัญหากระจายออกซิเจนในบ่อไม่ทั่วถึงทั้งบ่อ สามารถใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเสริมประสิทธิภาพการย่อยสลายในบ่อนี้ได้ดีขึ้น ในส่วนของบ่อที่ 3 ก็สามารถเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้ทันทีเพื่อย่อยสลายตะกอนส่วนเกินที่สะสมกันตกตะกอนอยู่ใต้ก้นบ่อ ตะกอนส่วนเกินในบ่อที่ 3 นี้ส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนละเอียดที่ผ่านการย่อยสลายมาจากบ่อที่ 1 และบ่อที่ 2 ซึ่งปฏิกิริยาการย่อยสลายย่อยได้ไม่หมด ของเสียบางส่วนจึงอยู่ในสภาวะตกตะกอนหลุดไปอยู่ในก้นบ่อที่ 3 โดยทั่วๆไปจะแนะนำให้นำไปกำจัดทิ้งหรือทำเป็นปุ๋ย เราจึงขอแนะนำเจ้าของบ่อบำบัดทุกๆท่านที่ไม่มีเวลากำจัดทิ้งในส่วนของตะกอนส่วนเกินนี้โดยใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าย่อยสลายต่อให้สมบูรณ์ตามสมการด้านบนนี้ ( ไม่ต้องเสียเวลานำไปกำจัดทิ้งให้ยุ่งยาก ) 

อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน )

จากภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียระบบ AS เติมอากาศ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดใช้ออกซิเจน ) + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ) จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เดิมในบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนเบื้องต้นธรรมดาเท่านั้น ( การย่อยสลายเกิดขึ้นน้อยมากในบ่อนี้ ) ก่อนที่จะผ่านเข้าไปบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อที่ทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากที่สุดในระบบนี้ ( บ่อย่อยสลายขงเสียโดยใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) และส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วในบ่อที่ 3 ( ตามภาพบน ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่ในระบบ AS นี้จะเกิดขึ้นในจุดเดียวคือ บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี  แต่เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปเพิ่มเติม ( ในบ่อที่ 1 ) จะเกิดการย่อยสลายในบ่อที่ 1 หรือบ่อแรกเพิ่มขึ้นทันทีอีกจุดหนึ่ง ( เหมือนบ่อเติมอากาศ ) กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ออกซิเจนจึงไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้ทันที จะเห็นได้ว่าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 จุดหรือ 2 บ่อ ( บ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบดับเบิ้ล คือ บ่อที่ 1 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นตัวบำบัด ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )เป็นด่านแรกก่อนที่จะส่งต่อไปบำบัดอีกชั้นหนึ่งที่บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลาย ) จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะลดลงตั้งแต่การย่อยสลายหรือการบำบัดในบ่อแรกแล้ว การบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆซ้ำในบ่อเติมอากาศ ( โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ยิ่งจะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น BOD , SS , TDS , FOG , TKN ลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีก ตะกอนต่างๆก็จะลดลงเหลือน้อยมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้นดังกล่าว ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรกและบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ) จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งดีขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะผลของการบำบัดหรือการย่อยสลายของเสีย 2 ชั้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงไม่เป็นภาระหนักให้กับบ่อเติมอากาศเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ( ไม่เป็นภาระหนักให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ที่อาจย่อยสลายของเสียได้ไม่หมดหรือย่อยสลายได้เพียงบางส่วนเล็กน้อย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อสุดท้ายบ่อยๆได้

   

  สรุป

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ AS และยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศอีกชั้นหนึ่ง การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ  ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย 2  กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำให้สสารที่เจือปนอยูในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป 

  หมายเหตุ  :   จุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ( ในทั้งหมด 6 ระบบ ) นอกจากบำบัดน้ำเสียได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆเพิ่มอีกด้วย

จุดเด่นๆของเราคือ ให้ความช่วยเหลือลูกค้าของเราตลอดระยะเวลาที่เป็นลูกค้าที่สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าอย่างต่อเนื่อง ให้คำแนะนำทั้งทางด้านเทคนิค การดูแลรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย ฯลฯ ปรึกษาได้แบบต่อเนื่องไม่มีค่าที่ปรึกษา รู้ลึกและรู้จริงในเรื่องการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบ

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา สังเคราะห์ขึ้นจากหัวเชื้อของจุลินทรีย์ต้นฉบับโดยตรง ไม่ใช่หมักจากเปลือกผลไม้ เป็นจุลินทรีย์ที่เข้มข้นและมีความหนาแน่นของจุลินทรีย์สูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่างด้วยกัน ทั้งการบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่น รวมถึงประยุกต์เป็นปุ๋ยในทางการเกษตรก็สามารถทำได้ เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย แต่ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำจากการสังเคราะห์แสง

คุณสมบัติของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า

- ใช้บำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย

- ย่อยสลายสารอินทรีย์วัตถุให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง

- ย่อยสลาย  Fat, Greas  &   Oil    ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 

- ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ทุกชนิด

จุลินทรีย์คาซาม่า ( จุลินทรีย์-Kasama ) ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายกลุ่มดังต่อไปนี้

การสังเคราะห์จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโชน์และมีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังต่อไปนี้

1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria : PSB ) เป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่พบกระจายทั่วไปในธรรมชาติ บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกลุ่มนี้มีความสำคัญในกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 - Assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (Nitrogen Fixation) และยังมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งสัตว์ขนาดเล็กจำพวก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้สามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งต่างๆบ้านเรือนและน้ำเสียจากการทำปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน้าที่หลักของ PSB เป็นตัวทำกระบวนการรีไซเคิลให้กับ คาร์บอน , ไนโตรเจน , และสารประกอบจำพวกซัลเฟอร์  ป้องกันมลพิษทางอากาศ และช่วยกำจัดแร่ธาตุเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม  ช่วยลดแก๊สกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ในคอกเลี้ยง  ช่วยกำจัดของเสียและสารพิษ เช่น ไฮโดรเจนซันไฟด์เมอร์แคปตัน, คลอไรด์ และไดอะมายด์  ช่วยกำจัดของเสียและแร่ธาตุที่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น คลอไรด์(CHLORIDE),ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (HYDROGEN SULFIDE) หรือก๊าชไข่เน่า,เมอร์แคปตัน (MERCAPTAN) ไดอะมายด์ (DIAMINE) ,ลดค่า BOD ธาตุ โคบอลต์ ค่าความเป็นกรด สารแขวนลอย ฯลฯ

2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria : LAB ) จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียผลิตกรดแลคติกได้รับการยอมรับว่าเป็นแบคทีเรียที่ปลอดภัย (generally recognized as safe bacteria )  เป็นกลุ่มแบคทีเรียแกรมบวก (Gram Positive Bacteria ) ที่สามารถหมักน้ำตาลกลูโคส น้ำตาลแล็กโทส ให้เกิดกรดแล็กทิก และกรดอินทรีย์อื่นๆ 

3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria) เป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่ใช้ก๊าซไนโตรเจน และเป็นแหล่งไนโตรเจนได้โดยเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้กลายเป็นแอมโมเนีย ( ลดค่า TKN )

4. กลุ่มจุลินทรีย์แอคทิโนมัยซีทส์ (Actenomycetes) มีความสามารถในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆทั้งพืชและสัตว์ ย่อยสลายสสารจำพวกกรดอินทรีย์ แป้ง ไขมัน น้ำตาลชนิดต่างๆและโปรตีน

 5. กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์ (Yeasts)  เซลล์ของยีสต์ประกอบด้วย กรดอะมิโน โปรตีน เกลือแร่ วิตามินและธาตุอาหารที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์และสัตว์ หลักการทํางานของยีสต์คือ การเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 )และแอลกอฮอล์ ( C2H5OH )

 


จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( Anaerobic  Bacteria ) สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น

การดับกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง จุลินทรีย์คาซาม่าจะเข้าไปกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นเหล่านี้ รวมทั้งการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นประเภทใดได้บ้าง?

จุลินทรีย์หอม-kasama ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้

1. กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ ( สารที่มาจากพืชและสัตว์ )

2. กลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ กลิ่นเหม็นส้วม กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ

3. กลิ่นเหม็นจากปัสสาวะและอุจจาระทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด

4. กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากการเก็บของเสียต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นมา

5. กลิ่นคาวเลือดหรือคาวปลาในโรงงานเชือดไก่ เชือดสุกร หรือโรงงานเชือดปลา เป็นต้น

6. กลิ่นจากบ่อขยะ หรือกลิ่นจากถังขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ

7. กลิ่นเหม็นจากท่อระบายน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็นจากน้ำที่เน่าเสีย

8. กลิ่นเน่าเหม็นจากไขมัน จากบ่อดักไขมันตามร้านอาหารหรือโรงอาหาร เป็นต้น

9. กลิ่นเหม็นจากการหมักพืชและสัตว์

10. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด

กลิ่นใดที่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าดับไม่ได้หรือกำจัดกลิ่นไม่ได้ ?

กลิ่นที่เกิดขึ้นจากสารเคมีจำพวกกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์ทำลายหรือกัดกร่อนสูง 

ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกัน

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ราคา

ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama )

แกลลอนขนาด 20 ลิตร ( มีขนาดเดียว )

ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท   จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ        

มีปัญหาบ่อบำบัดน้ำเสียล้มเหลว ระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหาบำบัดน้ำเสียไม่ผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง บ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน  บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ  ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ

 

 


            


 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่..

จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
แก้ปัญหาค่า BOD,SS,TDS สูงในคอนโดมิเนี่ยมอาคารสำนักงาน คลิกที่นี่.. 

เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง  คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่..

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. 
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงสุกรทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป คลิกดูที่นี่... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 
กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียเกิดมาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียอย่างไร ? คลิกดูที่นี่.. 
สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่..
วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย&จุลินทรีย์ดับกลิ่นที่มีกลิ่นหอม คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูข้อมูลที่นี่..
จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย / จุลินทรีย์หอมย่อยสลายของเสีย คลิกที่นี่.....
ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์  คลิกที่นี่... 
ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่..
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในร้านอาหาร & ภัตตาคารทุกๆแห่ง คลิกที่นี่...
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงแรมและรีสอร์ททั่วๆไป คลิกที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วๆไป คลิกดูที่นี่..

 

( ความรู้เกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย )

          เมื่ออ่านเสร็จแล้วให้แบคกลับที่นี่..