
![]() |
แอมโมเนียสารอันตรายในตู้เลี้ยงปลาสวยงาม แก้ปัญหาด้วยหลักวิทยาศาสตร์ในตู้เลี้ยงปลาสวยงาม ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำเสียอีกต่อไป ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบ่อยๆลดความเสี่ยงปลาน๊อคตายช่วงเปลี่ยนน้ำในตู้ปลา จุลินทรีย์คาซาม่าพลัสช่วยได้แน่นอน ทั้งกำจัดแอมโมเนียและบำบัดน้ำเสียกำจัดของเสียในตู้ปลา ลดเชื้อโรคในตู้เลี้ยงปลา ตอบโจทย์การเลี้ยงปลา NH3 => N + H3 อันตรายจากแอมโมเนียในตู้เลี้ยงปลาสวยงาม ปลาน๊อคตายได้ง่ายๆ เพราะแอมโมเนียเป็นสารพิษและละลายได้ดีในน้ำ ค่า pH สูง( ประมาณ 11.6 )ปลาสวยงามทนไม่ได้ แอมโมเนีย เป็นสาร( เคมี )ที่มีอยู่ในธรรมชาติ มีสูตรทางเคมีคือ NH3 ประกอบด้วยไนโตรเจน( N ) 1 อะตอมและไฮโดรเจน( H ) 3 อะตอม( ตามสมการด้านบน )เป็นสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตถ้ามีความเข้มข้นสูง ละลายน้ำได้ดี เกิดขึ้นในธรรมชาติ องค์ประกอบหลักที่สำคัญคือไนโตรเจน ซึ่งในธรรมชาติก็มีไนโตรเจน( ก๊าซ )มากอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมาจากสารอินทรีย์ที่มีองค์ประกอบของโปรตีน( กรดอะมิโน )ซึ่งมีอยู่ในพืชและสัตว์ทั่วๆไป มาตรฐานน้ำทิ้งจะกำหนดค่าแอมโมเนียไว้ไม่เกิน 1.1 mg/l หมายถึงในน้ำ 1 ลิตร มีแอมโมเนียเจือปนได้ไม่เกิน 1.1 มิลลิกรัม ถ้าค่าแอมโมเนียเกิน 1.1 mg/l ขึ้นไปจะมีผลกระทบกับสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม เพราะมันเป็นมลพิษ สัตว์น้ำตายได้ทุกเมื่อ แอมโมเนียในตู้เลี้ยงปลาสวยงาม ในการเลี้ยงปลาสวยงาม ปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดและมีผลต่อปลาสวยงามก็คือ น้ำ ที่ใช้เลี้ยงปลา ต้องมีการดูแลและควบคุมน้ำเลี้ยงปลาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ทำไมจึงต้องควบคุณคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา? เพราะน้ำ คือ ชีวิต ถ้าน้ำเลี้ยงปลามีพิษ ชีวิตของปลาก็จบลงได้ตลอดเวลา( ปลาตายยกตู้เลี้ยงปลา ) ถ้าทำให้น้ำในตู้เลี้ยงปลาเป็นน้ำดีได้ตลอดเวลา ย่อมเป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตของปลาสวยงามอย่างแน่นอน ในความเป็นจริงของเสียเกิดขึ้นในตู้เลี้ยงปลาตลอดเวลา ทั้งจากการให้อาหารปลา ขี้ปลา ของเสียที่ขับออกมาจากเหงือกปลา เป็นต้น ปริมาณความเข้มข้นของแอมโมเนียในตู้ปลาไม่ควรเกิน 0.02 ppm. ( part per million : ppm ) 1 mg/l = 1 ppm. ของเสียที่ทำให้น้ำเสียในน้ำตู้เลี้ยงปลามาจากไหน? ของเสียในตู้เลี้ยงปลาจะส่งผลทำให้เกิดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลาขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า บรรดาของเสียในตู้เลี้ยงปลามาจากการให้อาหารปลา ขี้ปลา ของเสียที่ขับออกมาจากเหงือกปลา อาหารปลาที่เราให้มีองค์ประกอบของโปรตีน( กรดอะมิโน )และโปรตีนเป็นองค์ประกอบของแอมโมเนีย( ตามสมการด้านบน )เมื่อละลายในน้ำ จะส่งผลทำให้น้ำเสียได้ จึงเป็นที่มาของแอมโมเนียนั่นเอง ถ้าความเข้มข้นของแอมโมเนียในตู้ปลาสวยงามสูง อาจส่งผลให้ปลาสวยงามตายได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้แอมโมเนียยังไปลดออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำในตู้ปลาอีก เพราะแอมโมเนียเป็นเบส( pH 11.6 )ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อปลาสวยงามโดยตรง เป็นอันว่ารู้ที่มาของสารแอมโมเนียในตู้ปลาแล้ว การแก้ปัญหาแอมโมเนียในตู้ปลาสวยงาม ในตู้เลี้ยงปลาควรมีค่าความเข้มข้นของแอมโมเนียไม่ควรเกิน 0.02 ppm. ถ้าความเข้มข้นของแอมโมเนียในน้ำตั้งแต่ 1 ppm. ขึ้นไปปลาสวยงามจะเริ่มมีปัญหาแล้ว น้ำเริ่มเป็นพิษ ปลาไม่สามารถดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ได้ สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาแอมโมเนียในตู้ปลาสวยงาม ถ้าแบบง่ายๆที่สุดก็คือ เปลี่ยนน้ำบ่อยๆ อย่าให้เกิดน้ำเสีย กรณีไม่ให้เกิดน้ำเสียคงจะยากนิดหนึ่ง เพราะต้องมีการให้อาหารปลาอยู่เป็นประจำ จึงมุ่งไปที่การใช้ชีวบำบัด คือการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ไม่เป็นอันตรายต่อปลาสวยงามที่เลี้ยง มีจุลินทรีย์บางชนิดเท่านั้นที่สามารถกำจัดแอมโมเนียได้ แต่จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีหลากหลายชนิด ทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์อีเอ็ม( EM )ที่มีจำหน่ายทั่วๆไป ประสิทธิภาพทำได้เพียงบำบัดน้ำเสียทั่วๆไปเท่านั้น ไม่สามารถกำจัดแอมโมเนียและไนโตรเจนได้ ตัวที่สามารถกำจัดไนโตรเจนและแอมโมเนียได้มีเพียงไนตริฟลายอิ้งเท่านั้น ( Nitriflying Bacteria ) กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งยังประกอบไปด้วย จุลินทรีย์ไนโตรแบคเตอร์( Nitrobacter Bacteria )และไนโตรโซโมแนส( Nitrosomonas ) ตามภาพจำลองด้านล่าง ภาพบนคือกลุ่มจุลินทรีย์หรือกลุ่มแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพกำจัดไนโตรเจนและแอมโมเนียโดยตรง สามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียเพื่อลดค่าไนโตรเจน( TKN )ในน้ำเสีย ในขณะเดียวกันก็สามารถนำมาใช้ในตู้ปลาสวยงาม เพื่อกำจัดไนโตรเจนและแอมโมเนียในน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาได้เช่นกัน กลุ่มแบคทีเรียไนตริฟลายอิ้งเป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่สารเคมี มีทั้งเซลเดียวและหลายเซล เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่ให้ประโยชน์ มีอยู่แบบกระจัดกระจายในธรรมชาติ ถ้าต้องการเป็นกลุ่มจำนวนมากต้องทำการสังเคราะห์ขึ้นโดยเฉพาะ สำหรับปฏิกิริยาในการกำจัดไนโตรเจนและแอมโมเนียของแบคทีเรียกลุ่มนี้ เป็นไปตามสมการจำลองด้านล่างนี้ ปฏิกิริยาการแปรสภาพไนโตรเจนของ Nitriflying Bacteria จากภาพบน ไนตริฟลายอิ้งจะแปรสภาพไนโตรเจนไปเป็นแอมโมเนียอิสระ และแปรเปลี่ยนแอมโมเนียอิสระไปเป็นแอมโมเนียมอิออน( ไม่เป็นอันตราย ) จากแอมโมเนียมอิออนไปเป็นไนไตรท์อิออน จากไนไตรท์อิออนไปเป็นไนเตรทอิอออน จากไนเตรทอิออนไปเป็นก๊าซไนตรัส( ไนตรัสออกไซด์ ) ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นลูกโซ่ จนกว่าจะทำลายไนโตรเจนระเหยไปเป็นก๊าซในที่สุด ซึ่งแอมโมเนียก็จะหายไปพร้อมกับไนโตรเจน เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการพิสูจน์มาเรียบร้อยแล้ว สำหรับค่า TKN จะรวมถึงแอมโมเนียด้วย จากภาพเป็นขั้นตอนการแปรสภาพของแอมโมเนียมอิออนให้ไปเป็นไนไตรท์อิออนและไนเตรทอิออน โดยกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง ปฏิกิริยานี้เรียกว่าไนตริฟิเคชั่น( Nitrifacation )เป็นปฏิกิริยาที่ใช้ออกซิเจน แอมโมเนียถูกกำจัดไปในปฏิกิริยานี้ ส่วนปฏิกิริยาที่สองจะเป็นการแปรสภาพของอิออน โดยเริ่มจากไนเตรทอิออน , ไนไตรท์อิออน และก๊าซไนตรัส( ไนตรัสออกไซด์ )ไปเป็นก๊าซไนโตรเจนระเหยออกสู่บรรยากาศต่อไป ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาแบบไร้อากาศไม่ใช้ออกซิเจน จึงเรียกว่า ดีไนตริฟิเคชั่น( Denitrification ) เป็นการแปรรูปอิออนของไนโตรเจนไปเป็นก๊าซไนโตรเจนในที่สุด นี่คือกระบวนการกำจัดไนโตรเจนและแอมโมเนียโดยทั่วไป รวมถึงแอมโมเนียในตู้เลี้ยงปลาสวยงาม โดยใช้กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเป็นตัวทำปฏิกิริยากำจัดสารดังกล่าว ร้านบางกอกโปรดักส์ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เราได้เริ่มค้นคว้ากลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งมาเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหากำจัดไนโตเจนในน้ำเสีย( TKN )และแอมโมเนียในน้ำเสีย การสังเคราะห์กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งจะมีความยุ่งยากและขั้นตอนมากกว่าจุลินทรีย์หอมคาซาม่าหลายเท่าตัว ใช้เวลาสังเคราะห์เป็นเวลานานมาก( เกือบปี )จึงประสบผลสำเร็จในที่สุด จุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง หรือไนตริฟลายอิ้งแบคทีเรียในปัจจุบันที่มีใช้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศแทบทั้งนั้น ซึ่งค่อนข้างมีราคาแพง และส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์เดียว สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งเท่านั้น แต่ที่เราสังเคราะห์ขึ้นมาจะมีทั้งสองสายพันธุ์ คือ ไนโตรแบคเตอร์และไนโตรโซโมแนส นำมารวมกันไว้ในที่เดียวกันมีความหนาแน่นของจุลินทรีย์สูงเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพื่อให้จุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งกำจัดไนโตรเจนและแอมโมเนียได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มบำบัดน้ำเสียและกลุ่มเลี้ยงสายสวยงามได้เป็นอย่างดี กลุ่มบำบัดน้ำเสียที่ต้องการกำจัดไนโตรเจน( TKN )ในน้ำเสียคือจุลินทรีย์กลุ่มไนตริฟลายอิ้งที่สามารถกำจัดไนโตรเจนได้ดี และสำหรับกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสวยงามที่ต้องการบำบัดน้ำเสียในตู้ปลาและต้องการกำจัดแอมโมเนียในน้ำที่เลี้ยงปลา จุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งสามารถตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาให้ท่านได้ทันที ไม่ต้องเสียเงินนำเข้าจากต่างประเทศให้มีราคาแพงอีกต่อไป เพราะเราประสบผลสำเร็จในการสังเคราะห์จุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งได้เรียบร้อยแล้ว เราคือ ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์คาซาม่าพลัส ซึ่งเป็นจุลินทรีย์กลุ่มไนตริฟลายอิ้ง( Nitriflying Bacteria ) จุลินทรีย์สำหรับกำจัดแอมโมเนียและไนโตรเจนในน้ำโดยเฉพาะ( ตู้ปลาสวยงาม )และบำบัดน้ำเสียในตู้ปลาสวยงามโดยตรง ในนามแบรนด์คาซาม่าพลัส( Kasamaplus )จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเจ้าของตู้ปลาสวยงามโดยเฉพาะ จุลินทรีย์คาซาม่าพลัส (Kasamaplus) เป็นจุลินทรีย์กำจัดแอมโมเนียโดยตรง( และไนโตรเจน ) ในจุลินทรีย์คาซาม่าพลัส จะประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง 2 สายพันธุ์คือ ไนโตรแบคเตอร์( Nitrobacter Bacteria )และไนโตรโซโมแนส( Nitrosomonas Bacteria ) จุดเด่นๆของจุลินทรีย์คาซาม่าพลัส คือ กำจัดแอมโมเนียและไนโตรเจนในน้ำ และบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป เน้นใช้งานบำบัดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลาสวยงาม มุ่งกำจัดไนโตรเจนและแอมโมเนียโดยเฉพาะ รวมทั้งไนไตรท์และไนเตรทอิออนในน้ำในตู้ปลาให้แปรเปลี่ยนไปเป็นก๊าซไนโตรเจนระเหยออกสู่บรรยายกาศ การใช้งานจุลินทรีย์คาซาม่าพลัสสำหรับกำจัดแอมโมเนียในตู้ปลาสวยงาม ใช้จุลินทรีย์คาซาม่าพลัส 3 ml. ต่อน้ำ 50 ลิตร สัปดาห์ละครั้ง กรณีที่น้ำเสียวิกฤตมาก ก็สามารถเพิ่มความข้มเข้นขึ้นมากกว่านี้ได้ อาจถึง 10 ml. ได้ไม่มีอันตรายใดๆต่อปลาสวยงาม การกำจัดแอมโมเนียก็ทำได้เร็วขึ้น เพราะถ้ามีของเสียเจือปนอยู่ในน้ำในตู้ปลามาก แอมโมเนียก็จะมากตามไปด้วย โดยเฉพาะการให้อาหารปลาอยู่บ่อยๆ ทั้งเศษของอาหารปลาและขี้ปลาจะมีมากขึ้น ส่งผลให้น้ำในตู้ปลามีของเสียเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพน้ำในตู้เลี้ยงปลาอย่างต่อเนื่อง หมั่นเช็คค่า pH ในน้ำ อย่าให้น้ำเป็นกรดหรือเป็นเบสมากจนเกินไป การให้อาหารปลามากจนเกินไป จะส่งผลให้น้ำในตู้ปลาเป็นกรดได้ เพราะอาหารปลาเป็นสารอินทรีย์และเป็นแหล่งที่มาของแอมโมเนียอีกช่องทางหนึ่ง การเก็บรักษา เก็บไว้ในที่ร่มที่อุณหภูมิห้องปกติ ( 20 - 40 องศาเซลเซียส ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับไม่เกิน 4 วันทำการขนส่ง สั่งซื้อโทร. 081-335 2758 ,065-573 9591 เว็บไซต์สั่งซื้อ =>> www.Kasamashop.com จุลินทรีย์คาซาม่าพลัส จะเป็นคนละตัวกับจุลินทรีย์หอมคาซาม่าที่จำหน่ายในเว็บไซต์นี้( เชื้อต่างสายพันธุ์ ) กรณีนำเข้าจากต่างประเทศจำหน่ายซีซีละประมาณ 30-50 บาท( เชื้ออ่อนแอ ) แต่ของเราผลิตเองจำหน่ายราคาถูกเป็นพิเศษ จุลินทรีย์คาซาม่าพลัสของเรามีความหนาแน่นและความเข้มข้นสูง เป็นของใหม่ไม่มีเก่าเก็บ จุลินทรีย์จะขยายตัวและแอคทีฟอยู่ตลอดเวลา เพราะมีอาหารเลี้ยงเชื้ออย่างต่อเนื่องตลอดเวลา |