
![]() |
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ามืออาชีพจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
ปัญหาของการบำบัดน้ำเสีย จุดที่ยากและสลับซับซ้อนมากที่สุดก็คือ ปัญหาทางด้านเทคนิค ทั้งการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เช่น ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากอะไร? มีกี่ค่า ? แต่ละค่าต้องแก้ไขอย่างไร ? ปรับระบบอย่างไรเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย? เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่การใช้จุลินทรีย์บำบัดแล้วก็จบเท่านั้น ปัญหาทางด้านเทคนิคของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับลดบางค่า หรือการเพิ่มบางค่าในระบบบำบัดจะพบบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงเท่านั้น ที่นี่..เราแนะนำให้ลูกค้าของเราฟรีๆ สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย เป็นตัวจักรสำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด บำบัดน้ำเสียใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งของระบบบำบัดน้ำเสียไม่ผ่าน ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นกำจัดกลิ่นในบ่อบำบัดน้ำเสียโดยตรง เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในการบำบัดน้ำเสียนั้น ( ทุกๆระบบบำบัด ) ต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย ( กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ) จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหรือ 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน และกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน หรือ จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจนกับชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนนั่นเอง ( Aerobic Bacteria & Anaerobic Bacteria ) เนื่องจากจุลินทรีย์ในโลกนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือให้ประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ สิ่งแวดล้อมทั่วไป ทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน บรรดาของเสียต่างๆซึ่งรวมถึงน้ำเสียบนโลกใบนี้ที่ไม่ล้นโลกจนทุกวันนี้ ล้วนมาจากผลงานของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์รักษ์โลก รักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะและมลพิษต่างๆในสิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้ การบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ ) จะเกี่ยวข้องกับหลายๆส่วน โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะเป็นระบบแบบเติมอากาศ AS ( Activated Sludge ) ในการบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัดต้องใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย เพื่อแปรเปลี่ยนสภาพของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นให้ไปเป็น น้ำ พลังงาน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในที่สุด จะเห็นได้ว่าตัวแปรที่เปลี่ยนสถานะของสสารที่อยู่ในน้ำเสียก็คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ( ในการย่อยสลายของเสีย ) ทั้งกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนล้วนมีอิทธิพลต่อการบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น ในการบำบัดน้ำเสียจะมีการกำหนดค่าพารามิเตอร์ ( ดัชนี้ชี้วัดคุณภาพน้ำ ) เช่น ค่า pH , BOD , COD , SS , TDS ฯลฯ โดยเฉพาะค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากแต่ละแหล่งน้ำเสีย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าไม่ผ่านเกณฑ์จะแก้ไขอย่างไร ? จะแก้ไขในจุดใด ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องปรึกษาผู้รู้และผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องการบำบัดน้ำเสียโดยตรงเท่านั้น จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ระบบบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียจำเป็นต้องมีการสร้างระบบขึ้นมารองรับกับน้ำเสียที่จะทำการบำบัด อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะเป็นแบบเติมอากาศ AS ( Activated Sludge ) ระบบบำบัดนี้จะประกอบไปด้วย บ่อเติมอากาศ และ บ่อตกตะกอน เป็นหลักๆ ส่วนจะมีบ่อเสริมเพิ่มเติมเข้ามาก็สามารถทำได้ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียมากยิ่งขึ้น ในการบำบัดน้ำเสียต้องใช้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายเป็นหลัก โดยเฉพาะในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศลงไปในน้ำเสีย เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ซึ่งขาดออกซิเจนไม่ได้ หรือมีปริมาณออกซิเจนน้อยก็ไม่เป็นผลดีต่อระบบบำบัด จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักทันที จุลินทรีย์กลุ่มนี้พร้อมหายและพร้อมตายยกบ่อได้ทุกเวลา ถ้าส่งแวดล้อมไม่เอื้อำนวยและเหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโต ดังนั้น จึงต้องมีการออกแบบระบบบำบัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ระบบจึงจะมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียได้ดี อาหารและอากาศออกซิเจนต้องไม่ขาด ต้องมีเพียงพอกับการใช้งานของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน ) การควบคุมทางด้านเทคนิคจึงต้องมีบทบาทในจุดนี้ ซึ่งต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในระบบมากพอสมควร ปัญหาทางด้านเทคนิคเกิดขึ้นตรงจุดใด จะแก้ไขอย่างไร สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องรู้ในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนพอสมควร ต้องใช้ความรู้และความชำนาญเป็นพิเศษ เช่น ค่า SV30 น้อย ( Sludge Volume ) จะแก้ไขอย่างไร ถ้า ค่า SV30 มาก จะแก้ไขอย่างไร หรือ ค่า TKN มาก มาจากสาเหตุใด และจะแก้ไขอย่างไร หรือ การกำจัดค่าซัลไฟด์ต้องปรับค่า DO ให้ได้ 0.50 mg/l ต้องทำอย่างไร เป็นต้น ฯลฯ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า บรรดาของเสียต่างๆ รวมถึงน้ำเสียทั้งหมดทั้งมวลจะถูกย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ( เท่านั้น ) ทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจายทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ ในการดึงจุลินทรีย์กลุ่มเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนั้น จำเป็นจะต้องออกแบบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายตัวในปริมาณมาก เพื่อทำหน้าที่ในการย่อยสลายของเสียต่างๆ โดยการสร้างเป็นบ่อบำบัดขึ้นมารองรับทั้งน้ำเสียและการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย เพื่อทำการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียให้หมดไป ) 1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าจุลินทรีย์จะอยู่แบบกระจัดกระจาย ( ไม่รวมตัวกัน ) ทั่วๆไปในธรรมชาติตามพื้นดิน น้ำ และอากาศ การที่จะดึงจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายเหล่านี้มาใช้งานรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนจำนวนมาก ต้องออกแบบสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ได้ตลอดเวลา จุลินทรีย์ทรีย์กลุ่มนี้มีความต้องการอาหาร ( สารอินทรีย์ต่างๆในน้ำเสีย )และออกซิเจนในการดำรงชีพ ขาดอากาศออกซิเจนไม่ได้ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมปริมาณของออกซิเจนในน้ำเสียให้มีมากพอกับการใช้งานของกลุ่มจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ระบบบำบัดน้ำเสียที่ล้มเหลว ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านก็มาจากปัญหานี้ ออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียมีน้อย จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็จะมีปริมาณน้อยตามไปด้วย กรณีที่ไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียเลย ( ค่า DO = 0 ) จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อได้ง่ายๆ ในการบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะใช้งานกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนมากที่สุด นอกจากเกิดปัญหาจึงจะหันไปใช้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน 2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย จุลินทรีย์กลุ่มนี้ทำงานย่อยสลายได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนและมีออกซิเจน แต่จะไม่มีการดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( ไม่แย่งออกซิเจนจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) สามารถนำมาทดแทนการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน โดยเฉพาะในน้ำเสียจุดที่อับอากาศหรือออกซิเจนเข้าไปไม่ถึง ของเสียไม่ถูกย่อยสลาย ( จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนอยู่ไม่ได้ ) แอนแอโรบิคแบคทีเรีย ( จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) จะเข้าไปทำหน้าที่ย่อยสลายแทน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเข้าไปไม่ถึงของเสีย และเป็นการเสริมประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย และการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ที่นิยมใช้มากที่สุดจะเป็นแบบเติมอากาศ AS ( Activated Sludge ) ระบบแบบเติมอากาศนี้จะพึ่งพาอาศัยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จึงต้องมีบ่อเติมอากาศในระบบ เพื่อเพิ่มหรือเติมอากาศออกซิเจนให้กับน้ำเสีย เพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกริยานำไปใช้งาน จุดอ่อนของระบบนี้ก็คือ ปัญหาค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีปริมาณน้อย ( เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำเสีย ) การเติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด การเติมอากาศไม่มีความต้อเนื่อง ฯลฯ ระบบบำบัดล้มเหลว ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ก็มาจากปัญหานี้ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย รวมถึงการดับกลิ่นกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( Anaerobic Bacteria ) สามารถทำการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียในจุดที่ไม่มีออกซิเจนเลย ทั้งบ่อบำบัดที่มีความลึกมาก ออกซิเจนไปไม่ถึง หรือจุดที่มีน้ำเสียวิกฤตมากๆ เติมออกซิเจนไม่ทันกับน้ำเสีย น้ำเสียเริ่มเน่าเหม็น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะเข้าไปทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้ทันที รวมถึงการดับกลิ่นกำจัดกลิ่นน้ำที่เน่าเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆจะไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ ดังนั้น จึงเป็นทางเลือกในการบำบัดน้ำเสีย เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย เพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด การทำปฏิกริยาย่อยสลายของเสียจะคล้ายๆกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ตามปฏิกิริยาสมการจำลองด้านล่างนี้ ในการบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบสามารถใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้ ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย สามารถทำงานแบบคู่ขนานและควบคู่กันไปได้กับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้น ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ( ส่วนบน) ร่วมกับจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งสามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัด จุลินทรีย์หอมคาซาม่าประกอบไปด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายกลุ่มหลากหลายพันธุ์ดังต่อไปนี้ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าประกอบไปด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายกลุ่มหลากหลายสายพันธุ์ การสังเคราะห์จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ เพื่อนำไปใช้งานแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ สิ่งที่ลูกค้าจะได้มากที่สุดจากที่นี่..ก็คือการแก้ปัญหาในเรื่องการบำบัดน้ำเสียและการแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน ปัญหาทางด้านเทคนิค ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ เพราะเราจะให้บริการท่านฟรีๆ ปรึกษาขอคำแนะนำฟรีๆ การซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปบำบัดน้ำเสียจะเป็นเรื่องรอง ปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆค่อนข้างสำคัญต่อการบำบัดน้ำเสียมากๆ จะเห็นได้ว่า เราไม่ได้ขายแค่จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเพียงเท่านั้นจบ แต่เรายังช่วยเหลือและช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าของเราอีกด้วย ( จุดสำคัญ ) นี่คือจุดเด่นและจุดแตกต่างของเราที่ไม่เหมือนใครในการจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพต่อลูกค้าของเรา เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เราสังเคราะห์ขึ้นตามความต้องการของลูกค้าโดยตรง เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ซึ่งลูกค้าที่มีความต้องการบำบัดน้ำเสียในระบบหรือบ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น ห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น ส้วมส่งกลิ่นแรง ต้องการจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำที่มีกลิ่นหอม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียจากธรรมชาติที่สังเคราะห์ขึ้นมาใช้งานเหล่านี้ โดยทั่วไปจุลินทรีย์อีเอ็มบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาจะมีกลิ่นฉุนออกเปรี้ยว แต่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าของเราจะมีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับใช้งานดังต่อไปนี้.- - ดับกลิ่นห้องน้ำในบ้าน โรงแรม คอนโดมิเนี่ยม อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮ้าส์ ออฟฟิศ ฯลฯ - ดับกลิ่นบ่อเกรอะ, เติมบ่อเกรอะ, บำบัดน้ำเสีย , ดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น - ทำความสะอาดห้องน้ำ ทำความสะอาดพื้นห้องน้ำที่มีกลิ่น - บำบัดน้ำเสียในโรงงาน สถานที่ทั่วๆไป เติมจุลินทรีย์อีเอ็มลงในระบบบำบัดน้ำเสีย - ดับกลิ่นสัตว์เลี้ยงหรือทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง - ดับกลิ่นฟาร์มปศุสัตว์ จุลินทรีย์หอมของเราจัดทำขึ้นตามความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการจุลินทรีย์ที่มีกลิ่นหอม จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นประเภทใดได้บ้าง? จุลินทรีย์หอม-kasama ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ ( สารที่มาจากพืชและสัตว์ ) 2. กลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ กลิ่นเหม็นส้วม กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ 3. กลิ่นเหม็นจากปัสสาวะและอุจจาระทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด 4. กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากการเก็บของเสียต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นมา 5. กลิ่นคาวเลือดหรือคาวปลาในโรงงานเชือดไก่ เชือดสุกร หรือโรงงานเชือดปลา เป็นต้น 6. กลิ่นจากบ่อขยะ หรือกลิ่นจากถังขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ 7. กลิ่นเหม็นจากท่อระบายน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็นจากน้ำที่เน่าเสีย 8. กลิ่นเน่าเหม็นจากไขมัน จากบ่อดักไขมันตามร้านอาหารหรือโรงอาหาร เป็นต้น 9. กลิ่นเหม็นจากการหมักพืชและสัตว์ 10. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด กลิ่นใดที่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าดับไม่ได้หรือกำจัดกลิ่นไม่ได้ ? กลิ่นที่เกิดขึ้นจากสารเคมีจำพวกกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์ทำลายหรือกัดกร่อนสูง จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) แกลลอนขนาด 20 ลิตร ( มีขนาดเดียว ) ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ
มีปัญหาบ่อบำบัดน้ำเสียบำบัดน้ำเสียไม่ผ่านเกณฑ์ บ่อบำบัดส่งกลิ่นเหม็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ บ่อบำบัดน้ำเสียมีปัญหาบำบัดน้ำเสียไม่ได้ บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
|