การบำบัดน้ำเสียในฟาร์มสุกรหรือฟาร์มเลี้ยงหมู
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์หอม 2 in 1 ( บำบัดน้ำเสีย และ ดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ) ให้เป็นความรู้สำหรับเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสุกรทุกๆท่านทั่วประเทศ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ใดๆสำหรับการนำไปใช้และปฏิบัติจริง จัดการเชื้อแบคทีเรียในสุกรและสัตว์เลี้ยงทุกชนิดแบบไม่ใช้ยาหรือสารเคมีใดๆ ( ให้คำแนะนำเฉพาะลูกค้าเท่านั้น ) ผื่นที่เกิดขึ้นในสุกรเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจัดการเชื้อภายในสัปดาห์หายเกลี้ยง สุกรปลอดโรคเชื้อแบคทีเรียผื่นคัน การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงสุกรหรือฟาร์มเลี้ยงหมูแบบมืออาชีพ ในฟาร์มเลี้ยงหมูหรือฟาร์มเลี้ยงสุกรจะอุดมไปด้วยของเสียที่เป็นสารอินทรีย์ ทั้งมูลสุกรและปัสสาวะจากสุกร ทำให้เกิดมลภาวะทั้งในเรื่องของกลิ่นไม่พึงประสงค์และน้ำเสียจากในฟาร์ม กฎกมายจึงบังคับให้ผู้ประกอบการต้องสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในฟาร์มขึ้น โดยเฉพาะฟาร์มขนาดใหญ่ที่เลี้ยงสุกรหรือเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมาก ในการเลี้ยงสุกรหรือเลี้ยงหมูอาจมีทั้งระบบปิดและระบบเปิด กรณีที่เลี้ยงไม่มาก อาจจะเลี้ยงแบบระบบเปิด แต่ถ้ามีการเลี้ยงสุกรในปริมาณมาก ควรจะเป็นแบบระบบปิด เพื่อการควบคุมที่ง่ายขึ้น ลดปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะมลภาวะทางกลิ่นและน้ำเสีย ปัญหาของฟาร์มเลี้ยงสุกรหรือฟาร์มเลี้ยงหมู 1. ของเสียจากการเลี้ยงหมู ( มูลสุกรหรือขี้หมู และปัสสาวะ )ต้องมีวิธีการกำจัดที่ดีไม่ก่อมลภาวะให้สาธารณะ นำไปใช้ประโยชน์ขายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ จะทำให้ไม่มีของเสียตกค้างในฟาร์มเลี้ยงหมู 2. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ซึ่งมาจากมูลสุกรเป็นส่วนใหญ่ มูลสุกรและปัสสาวะจากสุกรเป็นสารอินทรีย์ทั้งหมด การดับกลิ่นหรือบำบัดกลิ่นจะใช้สารเคมีหรือใช้จุลินทรีย์ วิเคราะห์ดูผลดีผลเสียที่จะติดตามมา ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของผู้ประกอบการเลี้ยงหมูแต่ละเจ้า ถ้าต้องการความปลอดภัยสูง ก็ใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่น แนวทางในการแก้ปัญหาทั้ง 2 ปัญหานี้ จำเป็นต้องสร้างหรือวางระบบขึ้นมา ทั้งระบบบำบัดน้ำเสีย( ของเสียต่างๆ )และการบำบัดกลิ่นดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในฟาร์มเลี้ยงหมู ถ้าเป็นฟาร์มขนาดใหญ่อาจต้องลงทุนมากขึ้น แต่ถ้าเป็นฟาร์มขนาดเล็กก็จะลงทุนไม่มาก ในการแก้ไขปัญหาทั้ง 2 เรื่องข้างบนไม่จำเป็นต้องลงทุนมากก็สามารถทำได้ กรณีที่เลี้ยงหมูไม่มากประมาณ 100-200 ตัว ( ประเภท ค. ) สามารถสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบง่ายๆได้ดังต่อไปนี้
ก่อนที่จะทำการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย จำเป็นต้องมีข้อมูลน้ำเสียในแต่ละวันว่ามีกี่คิว แล้วออกแบบรองรับน้ำเสียที่จะเพิ่มขึ้นเผื่อไว้ในอนาคตประมาณ 20 % - 30 % บ่อที่ 1 เป็นจุดรับน้ำเสียและของเสียทั้งหมดจากในฟาร์ม ( บ่อรับน้ำเสียและของเสีย ) โดยการสร้างเป็นบ่อปูนขนาด( กว้าง x ยาว x ลึก ) 5 x 5 x 1 ( เมตร ) อย่าให้มีความลึกมาก เพื่อการทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น วางฟิลเตอร์เพื่อดักตะกอนมูลสุกร บ่อที่ 2 สร้างเป็นบ่อปูนขนาดเท่ากับบ่อแรก เพื่อรับน้ำเสียและของเสียที่ผ่านไปจากบ่อที่ 1 วางฟิลเตอร์ 2-3 ชั้น ระหว่างรอยต่อบ่อที่ 1 กับบ่อที่ 2 เพื่อกรองของเสียในน้ำเสียให้ได้มากที่สุด บ่อที่ 3 บ่อเติมอากาศ เป็นบ่อปูนขนาด 3 x 3 x 2 ( เมตร ) บ่อเติมอากาศไม่ควรลึกมาก เพราะออกซิเจนจะไปไม่ถึง เครื่องเติมอากาศใช้ประมาณ 1 แรงม้าก็พอ ใช้โซล่าเซลล์กลางแจ้งจะได้ประหยัดค่าไฟฟ้า บ่อที่ 4 บ่อพักน้ำทิ้งและตกตะกอนส่วนเกิน( Excess Sludge ) เป็นบ่อปูนขนาด 5 x 5 x 2 ( เมตร ) บ่อที่ 5 บ่อพักน้ำทิ้งที่ล้นมาจากบ่อที่ 4 บ่อปูนขนาด 5 x 5 x 2 ( เมตร ) เป็นบ่อน้ำทิ้งที่จะออกสู่สาธารณะ น้ำทิ้งในบ่อนี้ต้องได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งตามตารางด้านล่าง การออกแบบบ่อบำบัดสามารถปรับได้ตามความต้องการ แต่ต้องดูข้อมูลของเสียและน้ำเสียเป็นหลัก ต้องสามารถรองรับของเสียและน้ำเสียที่จะมีมากขึ้นในอนาคตได้ สร้างเป็นบ่อปูนธรรมดาไม่ต้องสวยงามใดๆ สามารถดูแลและทำความสะอาดได้ง่าย การทำความสะอาดและล้างบ่อบำบัดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การใช้ฟิลเตอร์กรองหลายๆชั้น วัตถุประสงค์เพื่อลดค่า SS , TDS , BOD ยิ่งกรองได้มากเท่าใด ยิ่งทำให้ลดค่าต่างๆได้มากขึ้น นำของเสียที่เป็นมูลสุกรที่กรองได้ไปทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์จำหน่ายต่อไป ผู้ประกอบการเลี้ยงหมูหลายๆท่านคงสงสัยว่า ทำไมต้องสร้างหลายบ่อ เหตุผลก็เพื่อการบำบัดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดึงจุลินทรีย์ในธรรมชาติมาใช้งานบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้น เพราะมีพื้นที่รองรับการบำบัดที่มากพอ แต่อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 3 บ่อบำบัด กรณีที่มีบ่อบำบัดน้อย ต้องบริหารจัดการให้เป็น การบำบัดน้ำเสียและของเสียจึงจะมีประสิทธิภาพได้ มาตรฐานน้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงสุกรแต่ละประเภท( ตามตารางด้านล่าง ) ที่มา : ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทการเลี้ยงสุกร สำหรับการเลี้ยงสุกรที่ต่ำกว่า 50 ตัว ก็สามารถทำหรือสร้างระบบบำบัดน้ำเสียเป็นของตัวเองได้ ซึ่งจะช่วยลดมลภาวะและของเสียออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อม ออกแบบระบบบำบัดแบบง่ายๆในเบื้องต้น ไม่ต้องลงทุนมากมายใดๆ ถ้าเป็นช่างปูนก็สามารถสร้างระบบได้เลย ขนาดของระบบและบ่อบำบัดก็ลดลงตามสัดส่วนของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง ของเสียที่เป็นมูลสุกรก็สามารถใช้จุลินทรีย์บำบัดในเรื่องกลิ่นหรือดับกลิ่นมูลสุกรได้ นำมูลสุกรไปตากแห้งจำหน่ายเป็นปุ๋ยของพืชผักต่อไปได้ พยายามให้ของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดหรือของเสียเป็นศูนย์( Waste = 0 )ได้ยิ่งเป็นการดี ซึ่งก็สามารถทำได้ถ้าต้องการทำจริงๆ จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นในฟาร์มเลี้ยงสุกร จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์ สังเคราะห์ขึ้นจากจุลินทรีย์ที่รวบรวมมาจากธรรมชาติโดยตรง เน้นการนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย )และการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น )ไม่พึงประสงค์ทุกๆชนิดทุกๆประเภทที่เกิดจากสารอินทรีย์ ของเสียต่างๆที่เกิดขึ้นในฟาร์มเลี้ยงสุกร ส่วนใหญ่จะเป็นสารอินทรีย์แทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะมูลสุกรและปัสสาวะของสุกรก็เป็นสารอินทรีย์ทั้งหมด ดังนั้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจึงครอบคลุมการแก้ปัญหาทั้งการบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นบำบัดกลิ่นในเวลาเดียวกันทันที เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ทั้งการบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น อีกทั้งเป็นจุลินทรีย์ที่มีกลิ่นหอม จึงได้ชื่อว่าเป็นจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย และเป็นจุลินทรีย์หอมดับกลิ่นในตัวเดียวกัน มีกลิ่นหอมทันทีที่ใช้งาน จึงเหมาะกับการดับกลิ่นมูลสุกรที่มีกลิ่นรุนแรงในฟาร์มเลี้ยงสุกรทุกๆแห่ง
เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่าโดยตรง( ไม่ใช่ตัวแทนจำหน่าย ) ที่นี่..เราให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆ สำหรับลูกค้าของเราทุกๆท่าน มีผู้ประกอบการหรือเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสุกรหลายท่านที่ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าของเราเป็นประจำจนถึงปัจจุบัน เราจำหน่ายมามากกว่า 15 ปี มีลูกค้ากระจายอยู่ทั่วประเทศ การใช้จุลินทรีย์ในฟาร์มเลี้ยงสุกรต้องใช้เป็นและใช้ถึง( ใช้แบบบูรณาการทุกส่วน )จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ผื่นที่ติดเชื้อในสุกรในฟาร์มเลี้ยงสามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีหรือวัคซีน จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์ดับกลิ่น ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2-4 วันทำการขนส่ง( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้-ไกล )
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
|