
![]() |
จุลินทรีย์บ่อบำบัด/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์บ่อบำบัด / จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัด / จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัด เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสีย ความหมายของ จุลินทรีย์บ่อบำบัด, จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัด, จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัด หมายถึง จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งนั่นเอง และจุลินทรีย์ที่ใช้ในบ่อบำบัดน้ำเสียจะต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียได้เท่านั้น จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจน( Aerobic Bacteria )ในการดำรงชีพและเจริญเติบโต ขยายเซลล์ รวมทั้งใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ดังนั้น น้ำเสียในบ่อบำบัดนั้นๆจะต้องมีปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมากเพียงพอที่จะให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้นำไปใช้งานและการดำรงชีพ ถ้าปริมาณออกซิเจนในน้ำเสียมีน้อยก็จะเกิดปัญหาทันที ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ก็จะมีปริมาณน้อยตามไปด้วย หรือกรณีที่น้ำเสียนั้นๆไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียเลย( ค่า DO=0 )จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็ตายยกบ่อได้ตลอดเวลา ซึ่งสังเกตุได้จากน้ำเสียมีกลิ่นเหม็นรุนแรง มีสีดำ จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนจะอยู่ได้ต้องจัดสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสม การออกแบบระบบบำบัดเหมาะสม น้ำเสียต้องไม่เป็นกรดและเป็นด่างมากจนเกินไป ( pH ต้องอยู่ประมาณ 5-9 ) ออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียต้องมีมากเพียงพอสำหรับการใช้งานของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ระบบบำบัดน้ำเสียแทบจะทุกๆระบบจะนิยมใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลัก เพราะสามารถดึงจากธรรมชาติดิน น้ำ อากาศ มาใช้งานได้ง่ายๆ เพียงออกแบบระบบบำบัดให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของมัน มีอาหารและออกซิเจนหล่อเลี้ยงตลอดเวลาก็สามารถดึงกลุ่มจุลินทรีย์เหล่านี้มาใช้งานได้แล้ว เรื่องอาหารของจุลินทรีย์ไม่น่าห่วง เพราะของเสียต่างๆในน้ำเสียมีมากอยู่แล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ จะพบปัญหาในจุดนี้มากที่สุด ออกซิเจนมีน้อยไม่เพียงพออาจจะเนื่องมาจากหลายๆสาเหตุ ทั้งขนาดแรงม้าของเครื่องเติมอากาศแรงน้อยไป หรือการเติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด เครื่องเติมอากาศเสียบ่อยๆ หรือบางแห่งไม่มีเครื่องเติมอากาศเลยก็มี ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีพของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักกลุ่มนี้ ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่( มากกว่า 90% )จะเป็นระบบแบบเติมอากาศลงไปในน้ำเสีย ( ระบบ AS : Activated Sludge )เพื่อให้น้ำเสียนั้นๆมีออกซิเจนเพียงพอ และประการสำคัญเพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักนำไปใช้งานและการดำรงชีพ 2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการเจริญเติบโต( Anaerobic Bacteria )จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ทำหน้าที่ในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียได้เหมือนกันกับกลุ่มแรก ได้ผลลัพธ์เหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่จุลินทรีย์กลุ่มนี้ไม่ต้องการออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ในน้ำเสียจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ก็อยู่ได้ทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ ไม่ไปแย่งออกซิเจนในน้ำเสียจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน และยังมีความต้านทานต่อสภาพแวดล้อมที่วิกฤตในบ่อบำบัดได้ดีกว่ากลุ่มแรก เช่น น้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลย หรือกรณีที่น้ำเสียมีความเป็นกรดสูงมาก หรือเป็นด่างสูงมาก จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมนี้ได้ ในขณะที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักไม่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ นี่คือจุดแข็งและจุดเด่นของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน แต่ปัญหาคือ ดึงจากธรรมชาติมาใช้งานได้ยากมากกว่ากลุ่มแรก ในธรรมชาติก็มีปริมาณน้อยอยู่แล้ว การดึงมาใช้งานก็ลำบาก ดังนั้น จึงไม่เป็นที่นิยมนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ยกเว้นกรณีที่สังเคราะห์จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขึ้นมาใช้งาน ซึ่งสามารถทำได้แล้วในปัจจุบัน เราสามารถสังเคราะห์รวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน นำมาเติมบ่อบำบัดน้ำเสียและแก้ปัญหาฉุกเฉินกรณีจุลินทรีย์กลุ่มแรกในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อยหรือมีการตายยกบ่อบำบัด ก็สามารถนำจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนที่เราสังเคราะห์ขึ้นมานี้มาทดแทนในบ่อบำบัดได้ทันที สำหรับปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้ง 2 กลุ่มที่กล่าวมาจะได้ผลลัพธ์เหมือนกันตามสมการจำลองด้านล่าง จุลินทรีย์จะทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียแปรสภาพของเสีย ในขั้นสุดท้ายของการแปรสภาพของสสารจะได้ผลลัพธ์เป็นไปตามสมการจำลองด้านบน สิ่งมีชีวิตทุกๆชนิดทั้งพืชและสัตว์จะถูกย่อยสลายและแปรสภาพโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่มีอยู่ในธรรมชาติ นี่คือเรื่องราวของกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งช่วยโลกลดของเสียและมลพิษมลภาวะต่างๆได้อย่างมากมาย ถือว่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์รักษ์โลกก็ว่าได้ จะตรงกันข้ามกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ทำลายโลก ( จุลินทรีย์ที่ให้โทษและกลุ่มเชื้อโรค ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์บ่อบำบัด จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์นำมารวมสังเคราะห์ไว้ในที่เดียวกัน เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียและบำบัดกลิ่นดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่เกิดจากสารอินทรีย์ เป็นจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา( Anaerobic Bacteria ) จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 ตามที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากทำหน้าที่บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย )แล้วยังทำหน้าที่บำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น )ได้เป็นอย่างดี ในส่วนของการบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะช่วยเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย แก้ปัญหาในยามที่บ่อบำบัดหรือระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อย หรือกรณีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อบำบัด จะเข้าไปทดแทนในจุดนี้ได้ทันที เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่าโดยตรง จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมหรือจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาในด้านต่างๆ ทั้งค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดและอื่นๆ ที่นี่เราให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีสำหรับลูกค้าที่ซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ทั้งในเรื่องการบำบัดน้ำเสีย การแก้ปัญหาทางเทคนิคในระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหา ท่านจะได้รับคำแนะนำและปรึกษาฟรีๆ จุลินทรีย์บ่อบำบัด ราคา จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่ายแกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2-4 วันทำการขนส่ง( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้-ไกล )
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
|