
![]() |
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจนและจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ขอบคุณทุกๆท่านที่กรุณากด แชร์ ( Share )ให้กับจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย( Waste Water Treatment Microorganism ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย เป็นสัตว์เซลล์เดียวมีขนาดเล็ก เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆได้ดี รวมทั้งการย่อยสลายของเสียที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย มีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ แต่อยู่แบบกระจัดกระจายไม่เป็นกลุ่มก้อน การที่จะดึงจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้มาใช้งานต้องออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ซึ่งบางกลุ่มก็สามารถดึงได้ง่าย แต่บางกลุ่มดึงมาใช้งานได้ยาก อาจต้องสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ต่างๆหากจึงจะทำได้ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย )มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด( ตามลักษณะการดำรงชีพและทำปฏิกิริยา )ดังต่อไปนี้ คือ 1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย( บำบัดน้ำเสีย )ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพ เจริญเติบโต ขยายเซลล์ และการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะขาดออกซิเจนไม่ได้โดยเด็ดขาด หรือกรณีที่น้ำเสียมีปริมาณออกซิเจนต่ำ( ค่า DO น้อยกว่า 2 mg/l )ก็จะมีผลกระทบต่อจุลินทรีย์กลุ่มนี้ทันที แต่จุดดีคือการดึงมาใช้งานได้ง่าย ดังนั้น การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จึงนิยมใช้จุลินทรีย์กลุ่มนี้เป้นหลัก ดูรายละเอียดทั้งหมดจากเนื้อหาด้านล่าง 2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย( บำบัดน้ำเสีย )ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ทั้งในการดำรงชีพ การเจริญเติบโต การขยายเซลล์ และการย่อยสลายของเสีย ไม่ว่าในน้ำเสียจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จะไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อการดำเนินชีวิตและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ซึ่งจะแตกต่างไปจากจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจน แต่จุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้มีความเหมือนกันตรงที่ผลลัพธ์ของปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย )จะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน คือ น้ำ พลังงาน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตามสมการด้านล่าง ดูรายละเอียดทั้งหมดจากเนื้อหาด้านล่าง
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจน ( Aerobic Bacteria หรือ Aerobic Microorganism ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจน( Aerobic Bacteria หรือ Aerobic Microorganism ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ซึ่งรวมถึงการย่อยสลายของเสียทั่วๆไปด้วย จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้เป็นสัตว์เซลล์เดียว การดำรงชีพและเจริญเติบโต ขยายตัว( แบ่งเซลล์ )รวมถึงปฏิกิริยาการย่อยขยายของเสียจำเป็นต้องมีอาหาร คือ ของเสียต่างๆและอากาศออกซิเจนที่เพียงพอ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ไม่ได้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญทั้งสองอย่างที่กล่าวมานี้ตายทันที ดังนั้น การที่จะดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจนนี้มาใช้งานบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย )จำเป็นจะต้องออกแบบระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ให้ได้ ปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ คือ 1. อาหาร ซึ่งก็คือ บรรดาของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ส่วนใหญ่จะมีอาหารที่มากพอ ไม่ค่อยมีปัญหาในปัจจัยนี้ 2. อากาศออกซิเจน ในน้ำเสียนั้นๆต้องมีปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมากเพียงพอ( มากกว่าหรือเท่ากับ 2 mg/l ขึ้นไป )เพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ต้องนำไปใช้ในการดำรงชีพ เจริญเติบโต ขยายเซลล์ และใช้ในปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสีย ถ้าออกซิเจนในน้ำเสียมีน้อยหรือไม่เพียงพอ( ค่า DO ต่ำกว่า 2 mg/l )จะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ย่อสลายกลุ่มนี้ทันที ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ( ระบบ AS : Activated Sludge )จึงต้องควรหมั่นเช็คค่า DO อยู่เป็นประจำ เพื่อจะทำให้ทราบว่า ในบ่อเติมอากาศมีปริมาณออกซิเจนให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายเพียงพอกับความต้องการใช้ในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย ) สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ สำหรับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ เช่น อุณหภูมิของน้ำเสียต้องไม่ร้อนและเย็นจนเกินไป( อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 18 - 40 C ) ค่า pH ( ความเป็นกรด-ด่าง )ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 5 - 9 และค่า DO >= 2 mg/l ขึ้นไป( ค่า DO ที่เหมาะสม 2-3 mg/l ) ในบ่อเติมอากาศควรเช็คค่าเหล่านี้อยู่เป้นประจำทุกวัน เพื่อให้ระบบบำบัดมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเกิดปัญหาจะทำให้รู้และแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว สิ่งที่พึงเฝ้าระวังในระบบบำบัดน้ำเสีย 1. ไม่ควรให้ค่า pH ต่ำมากๆ หรือสูงมากๆ โดยเฉพาะในบ่อเติมอากาศ เพราะจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนโดยตรง ตายยกบ่อบำบัดได้ตลอดเวลา จุลินทรีย์ย่อยสลายตายสังเกตุจากกลิ่นของน้ำเสียเริ่มเหม็น น้ำเสียมีสีดำ ต้องรีบแก้ไขทันที โดยการปรับปรุงค่า pH ให้อยู่ในช่วง 5 - 9 ให้ได้ 2. ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียหรือค่า DO ( Dissolved Oxygen ) ในบ่อเติมอากาศ ควรควบคุมให้ค่า DO อยู่ในช่วง 2-3 mg/l ให้ได้ ( น้ำดื่มบริสุทธิ์ ค่า DO ประมาณ 5 mg/l ที่อุณหภูมิ 20 C ) ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ( AS )จะมีการเติมอากาศลงไปในน้ำเสียในบ่อเติมอากาศ( บ่อที่ 2 ) ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียในบ่อเติมอากาศ( ค่า DO )ต้องคอนโทรลให้ได้ในช่วง 2-3 mg/l จะเหมาะกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จุดเด่นของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจน - ดึงจากธรรมชาติมาใช้งานในการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย )ได้ง่ายๆ เพียงออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมก็สามารถดึงมาใช้งานได้แล้ว ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่( มากกว่า 90% )จึงนิยมใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้มาบำบัดน้ำเสียในระบบ จุดด้อยหรือจุดอ่อนของจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจน - ขาดออกซิเจน หรือออกซิเจนมีน้อยก็ไม่ได้ มีปัญหาทันที อาจตายยกบ่อบำบัดได้ตลอดเวลา - น้ำเสียต้องไม่เป็นกรดหรือด่างมากจนเกินไป ค่า pH ต้องอยู่ในช่วง 5 - 9 จึงจะเหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโต - ทนกับสภาพวิกฤตน้ำเสียมากๆไม่ได้ ( น้ำที่เน่าเสียไม่มีออกซิเจน ) ตายยกบ่อบำบัดได้ตลอดเวลา - ต้องหมั่นตรวจสอบและเช็คค่าต่างๆที่จำเป็นอยู่เป็นประจำ เพื่อไม่ให้กระทบกับการดำรงชีพของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic Bacteria หรือ Anaerobic Microorganism ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน( Waste Water Treatment Anaerobic Bacteria )เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆ ซึ่งรวมถึงของเสียที่เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสีย จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้จะทำหน้าที่แปรสภาพและสถานะของสสาร( ย่อยสลาย ) ซึ่งที่สุดของปฏิกิริยาการย่อยสลายจะได้ผลลัพธ์เป็น น้ำ พลังงาน และก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ในขั้นตอนสุดท้ายของปฏิกิริยา( ตามสมการจำลองด้านล่าง ) จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้จะไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพ ขยายตัว และการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ดังนั้น ในน้ำเสียจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจน ก็ไม่ไม่มีผลกระทบใดๆต่อการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นๆที่แตกต่างไปจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน แต่ผลลัพธ์ของปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียจะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน ข้อเสียหรือจุดด้อยของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ก็คือ การดึงมาใช้งานบำบัดน้ำเสียทำได้ยากกว่ากลุ่มที่ใช้ออกซิเจน ดังนั้น จึงต้องมีการรวบรวมจากธรรมชาตินำมาสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ปริมาณจุลินทรีย์ตรงตามที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสีย ภาพบน( ส่วนล่าง )เป็นปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย )โดยจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งผลจากปฏิกิริยาจะได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกันกับจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน( ส่วนบน )ตามสมการจำลอง จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้จะใช้เป็นกำลังหลักในการบำบัดน้ำเสียก็ได้ หรือจะใช้เป็นกำลังเสริมและเป็นกำลังสนับสนุนทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนก็ได้ ในยามที่น้ำเสียมีปริมาณออกซิเจนน้อยหรือน้ำเสียนั้นๆไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้จะทำหน้าที่บำบัดน้ำเสียได้ตามปกติไม่มีผลกระทบใดๆ นี่คือ จุดเด่นๆของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ จุดอ่อนหรือจุดด้อยของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน - ดึงจากธรรมชาติมาใช้งานได้ยาก อยู่แบบกระจัดกระจายไม่เป็นกลุ่มก้อน ต้องสังเคราะห์ขึ้นเท่านั้นจึงจะนำมาใช้งานได้เต็มที่ จุดเด่นๆของจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน - ทนแรงต้านทานต่อสภาวะวิกฤตของน้ำเสียได้ดี - ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย( บำบัดน้ำเสีย ) - ทำปฏิกิริยาได้ดีในสภาวะออกซิเจนน้อยหรือไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้จึงเหมาะกับการนำไปบำบัดน้ำเสียที่วิกฤตหรือน้ำเสียที่มีปริมาณออกซิเจนน้อย หรือน้ำเสียที่ไม่มีออกซิเจนเลย เป็นกำลังเสริมสนับสนุนการบำบัดน้ำเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งจะช่วยลดภาระหนักในการย่อยสลายของเสียที่มีปริมาณมาก เป็นการบำบัดน้ำเสียแบบคู่ขนานและบำบัดซ้ำ( Double Treatment )การย่อยสลายของเสียก็จะทำได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วไป ช่วยแก้ปัญหาในยามที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในระบบบำบัดมีปริมาณน้อย อันเนื่องมาจากปัญหาทางเทคนิคของระบบและสิ่งแวดล้อมในบ่อบำบัดที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพ ขยายตัวและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย หรือในกรณีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อ ก็สามารถนำกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้ไปทดแทนได้ทันที เพื่อให้การบำบัดน้ำเสียดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง สรุปจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทั้ง 2 ชนิด( ชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจนดึงจากธรรมชาติมาใช้งานได้ง่าย จึงเป็นที่นิยมนำมาบำบัดน้ำเสียและใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียมากที่สุด ส่วนจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะดึงมาใช้งานได้ยาก นอกจากจะสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการจึงจะนำมาใช้ในปริมาณตามที่ต้องการได้ จุลินทรีย์ทั้งสองชนิดนี้ปฏิกิริยาการย่อยสลาย( บำบัดน้ำเสีย )จะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์หอมคาซามา( จุลินทรีย์หอม kasama )เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย( บำบัดน้ำเสีย )และยังมีคุณสมบัติในการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น )ได้ดีอีกประการหนึ่ง เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่นำมาจากธรรมชาติรวบรวมและสังเคราะห์ขึ้นจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์ นำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นบำบัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพ การเจริญเติบโต และการขยายตัว เราได้ทำการพัฒนาปรับปรุงให้มีกลิ่นหอม เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น )อีกช่องทางหนึ่ง จึงเป็นจุลินทรีย์หอม 2 in 1 ( บำบัดน้ำเสีย และ ดับกลิ่น )ได้รับประโยชน์ 2 อย่างในเวลาเดียวกัน ได้ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่นดับกลิ่นในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน มีความต้านทานต่อสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตในน้ำเสียได้ดี ทนกับสภาวะ pH ของน้ำเสียตั้งแต่ 2 - 15 ( น้ำเสียที่เป็นกรดอ่อนๆหรือเป็นด่างแก่ก็อยู่ได้ ) ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนจะไม่สามารถทนกับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่าโดยตรง( เจ้าของ )จำหน่ายมามากกว่า 10 ปี ให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆสำหรับลูกค้าของเราทุกๆท่าน ทั้งปัญหาทางเทคนิคของระบบบำบัด และปัญหาการบำบัดน้ำเสีย ติดต่อเราที่นี่... คิดจะใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
|