จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้บรรจุกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง สำหรับลดค่า TKN โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสีย ขั้นตอนสุดท้ายของการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัดจะต้องใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการแปรเปลี่ยนสถานะของสสารทุกๆชนิด
ReadyPlanet.com
bulletใบเสนอราคาจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletห้องน้ำเหม็นตอนฝนตก/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรงช่วงหน้าฝน
bulletวิธีการแก้ปัญหากลิ่นห้องน้ำโชยเข้าห้องนอน
bulletห้องน้ำเหม็นมากๆส้วมเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
bulletวิธีทำความสะอาดห้องน้ำ/ส้วมให้มีกลิ่นหอม
bulletดับกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ/บำบัดกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ
bulletเทคนิคการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่น/บำบัดน้ำเสีย
bulletดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น
bulletดับกลิ่นเหม็นบ่อเกรอะ
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/ กลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletประโยชน์ของการเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายลงไปในบ่อเกรอะ
bulletจุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะ
bulletกลิ่นเน่าเหม็นจากบ่อเกรอะแก้อย่างไร?
bulletจำหน่ายอีเอ็มดับกลิ่น/อีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรง
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำมาจากจุดใด?
bulletวิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็นส้วมเหม็นด้วยจุลินทรีย์-Kasama
bulletจุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย-KASAMA
bulletวิธีดับกลิ่นส้วม/วิธีดับกลิ่นส้วมเหม็น
bulletท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น
bulletการใช้จุลินทรีย์-Kasama ทำความสะอาดห้องน้ำปั๊มน้ำมัน
bulletวิธีดับกลิ่นท่อน้ำทิ้ง/วิธีดับกลิ่นท่อระบายน้ำทิ้ง
bulletของเสียในห้องน้ำห้องส้วม
bulletวิธีดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ
bulletกลิ่นเหม็นห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น ซื้อที่ไหน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ ซื้อที่ไหน
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ลดกลิ่นห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นเหม็นท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ดับกลิ่นส้วม
bulletการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายทำความสะอาดห้องน้ำ
bullet(( การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมและอพาร์ทเม้นท์ ))
bulletการบำบัดน้ำเสียในหมู่บ้านด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการดูแลบ่อเกรอะไม่ให้ส่งกลิ่นรบกวน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นน้ำเน่าเสียดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็น
bulletจำหน่ายอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletอีเอ็มดับกลิ่น
dot
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย
dot
bulletจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletจุลินทรีย์อีเอ็ม( EM )
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในห้องน้ำห้องส้วม
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็น
bulletวิธีแก้ห้องน้ำเหม็น
bulletส้วมเหม็น ทำไงดี?
bulletส้วมเหม็น ทำอย่างไร?
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็นมีวิธีแก้ไข
bulletท่อน้ำทิ้งมีกลิ่น
bulletห้องน้ำคอนโดมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำโรงแรมมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำอพาร์ทเม้นท์มีกลิ่นเหม็น
bulletการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ในการดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในตลาดสด
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดของเสียในร้านอาหารและภัตตาคาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มในโรงพยาบาลและคลีนิก
bulletการทำงานของจุลินทรีย์
bulletประโยชน์ของจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ให้ได้ผลดี
bulletความเข้าใจในการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นต่างๆ
bulletวิธีการกำจัดกลิ่นเหม็นด้วยจุลินทรีย์
bulletการแก้ปัญหาน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย
dot
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
dot
bulletน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย น้ำท่วม
bulletem บำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีบำบัดน้ำเสีย
bulletการบำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีการบำบัดน้ำเสีย
bulletน้ำเสียและการบําบัดน้ำเสียแบบง่ายๆ
bulletอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย/อีเอ็มดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม
bulletการใช้จุลินทรีย์กำจัดไขมันในโรงอาหาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มดับกลิ่นในไซท์งานก่อสร้าง
dot
การใช้จุลินทรีย์ในส่วนอื่นๆ
dot
bulletกลิ่น / กลิ่นไม่พึงประสงค์
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข : น้ำยาดับกลิ่นสุนัข
bulletกลิ่นสุนัข/กลิ่นสัตว์เลี้ยง
bulletวิธีกําจัดกลิ่นสุนัข/วิธีกำจัดกลิ่นสัตว์เลี้ยงด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกชนิด
bulletการกำจัดกลิ่นห้องน้ำด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletส้วมเหม็น / ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/กลิ่นส้วม
bulletห้องน้ำเหม็นอับ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ / ห้องส้วม
bulletส้วมเต็มง่าย
bulletส้วมมีกลิ่น / ห้องน้ำมีกลิ่น/ กลิ่นส้วม
bulletการเก็บรักษาจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นอย่างไรจึงจะได้ผล ?
dot
= การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ =
dot
bulletดับกลิ่นในห้องน้ำและห้องนอนด้วยจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์ทะลวงในท่อที่อุดตัน
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในสวนสัตว์
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข
bulletสารพัดประโยชน์จากจุลินทรีย์
bulletการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ประจำวัน
bulletการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ในบ้าน
bulletจำหน่ายจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletทำไมต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย?
bulletการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
bulletแผนผังเว็บไซต์
bulletไทยรัฐ
bulletเดลินิวส์
bulletคมชัดลึก
bulletแนวหน้า
bulletบริหารจัดการ
bulletLoGo
bulletHotmail
bulletYahoo
dot
ธนาคาร
dot
bulletกรุงเทพ
bulletกสิกร
bulletThailandservices
bulletYoutube
bulletแปลงไฟล์
bulletFB
bulletGmail


มีปัญหาฟาร์มเป็ดส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ฟาร์มไก้ส่งกลิ่นเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น, แก้บ่อเกรอะเหม็น, ห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็นทำอย่างไร? อยากรู้คลิกดูที่นี่..
ดับกลิ่นสุนัข, ดับกลิ่นฟาร์มสุนัข, ดับกลิ่นคอกสุนัข, ดับกลิ่นกรงสุนัข, ดับกลิ่นมูลสัตว์เลี้ยง, ดับกลิ่นมูลสุนัข, ดับกลิ่นสัตว์เลี้ยง
ฟาร์มสุกรส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มหมูส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มสัตว์เลี้ยงส่งกลิ่นเหม็น, กลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, แก้ปัญหากลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มสัตว์เลี้ยง,
ห้องน้ำเหม็น, ส้วมเหม็น, จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น, จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, จุลินทรีย์อีเอ็ม, จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง, อีเอ็ม, จำหน่ายอีเอ็ม, จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ขายอีเอ็ม, ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ดับกลิ่นส้วมเหม็น, บำบัดน้ำเ


การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์

    

กำจัดไนโตรเจนหรือลดค่า TKN ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถกำจัดไนโตรเจนได้แล้ว เพราะเราได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ตัวที่ลดค่า TKN ในน้ำเสียได้ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเพียงเท่านั้น  

สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ) เป็นตัวจักรสำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด

บรรดาของเสียทั้งหมดทั้งมวลบนโลกใบนี้ ล้วนต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียต่างๆรวมทั้งน้ำเสีย  เพิ่มค่า DO และลดค่า  BOD  ในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียทำให้ค่า  SS , TDS ลดลง ส่งผลให้ค่า BOD ลดลงตามไปด้วย )         

การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หรือการบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์

       

ความหมายของน้ำเสีย

น้ำเสีย คือ น้ำที่มีสิ่งสกปรกที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำนั้นๆ ถ้าปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมอาจสร้างปัญหาในเรื่องของมลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้น น้ำเสียจากทุกๆแหล่งจึงต้องมีการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งสู่สิ่งแวดล้อม

ที่มาของน้ำเสียมาจากแหล่งใด ? 

น้ำเสียมีที่มาจากหลายๆแหล่งด้วยกัน แต่พอสรุปได้ง่ายๆ ดังนี้

- น้ำเสียจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นน้ำเสียที่เกิดขึ้นในธรรมชาติที่มีน้ำขังและมีสารอินทรีย์เจือปนเป็นเวลานานๆ  

- น้ำเสียที่เกิดจากฝีมือมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นมา ซึ่งน้ำเสียส่วนใหญ่มาจากการกระทำหรือกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะกิจกรรมหรือธุรกิจที่ก่อให้เกิดน้ำเสียจำนวนมากๆ จึงมีความจำเป็นต้องทำการบำบัดน้ำเสียเหล่านี้ให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะต่อไป น้ำเสียถือเป็นมลภาวะและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง ถ้าน้ำเสียวิกฤตมากๆ สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ทุกๆขนาดอยู่ไม่ได้ตายสถานเดียวเท่านั้น ดังนั้น เมื่อน้ำเสียมีการเกิดขึ้น ณ ที่ใดจึงมีกฎหมายบังคัญให้เจ้าของที่แห่งนั้นต้องทำการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีระดับหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อๆไป ซึ่งจะไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมส่วนรวม

ความหมายของน้ำทิ้ง  :  น้ำทิ้ง หมายถึง น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดและได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งกำหนดไว้  

น้ำเสียจากทุกๆแห่งบนโลกใบนี้จะถูกบำบัดและย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียขั้นตอนสุดท้าย ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบล้วนต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีทั้งสิ้น จุลินทรีย์ย่อยสลายต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียล้วนมีความสำคัญและบทบาทในการบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น

 การบำบัดน้ำเสีย

ในการบำบัดน้ำเสียจะมีขั้นตอนและกระบวนการบำบัดหลายๆวิธีด้วยกัน การบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียในขั้นต้น เช่น การตกตะกอน การกรอง การคัดแยกของเสียที่มีขนาดใหญ่ออกจากน้ำเสียในเบื้องต้น การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการเคมีบำบัด ในกรณีที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปนอยู่ในน้ำเสีย อาจต้องใช้เคมีบำบัดเข้าร่วมด้วย เป็นต้น และกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายคือ กระบวนการบำบัดทางชีวภาพ คือ การใช้จุลินทรีย์บำบัดย่อยสลายของเสียต่างๆและแปรเปลี่ยนสภาพของเสียต่างๆที่เป็นสสารให้สลายไปเป็น น้ำ พลังงงาน และก๊าซต่างๆ ตามสมการด้านล่าง

สำหรับการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งที่มาของน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ จะมีตัวแปรสำคัญที่สุดในการบำบัดน้ำเสียในทุกๆรูปแบบและทุกๆระบบก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย ซึ่งต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก หรือกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียทั้ง 2 กลุ่มนี้จะมีบทบาทในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่ง แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้งานกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนมากที่สุด จึงเกิดระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศขึ้น( Activated  Sludge : AS ) เพื่อจะดึงจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมาใช้งานย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียในระบบบำบัด

กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ชีวภาพหรือการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์

ในประเทศไทยระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีที่สมบูรณ์แบบนั้นหาได้ค่อนข้างยาก ( มีจำนวนน้อย ) ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหา ซึ่งต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขในบางจุดหรือหลายๆจุดด้วยกัน เพื่อให้ระบบสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถทำได้ วันนี้ท่านได้สำรวจและตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านว่ามีประสิทธิภาพดีพอหรือยัง ? ต้องแก้ไขและปรับปรุงส่วนใดบ้าง ? การตรวจเช็คระบบบำบัดเป็นสิ่งจำเป็น ต้องตรวจสอบเป็นประจำ

      

ความสำคัญของจุลินทรีย์ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระะบบบำบัด 

ในการบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งและทุกๆระบบ ไม่ว่าน้ำเสียที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมา และไม่ว่าระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆจะลงทุนมากหรือลงทุนน้อยเพียงใดก็ตาม ทุกๆระบบที่สร้างขึ้นล้วนต้องใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสิ้นในการบำบัด ถึงแม้ในบางครั้งอาจใช้สารเคมีเข้าร่วมบำบัดด้วยในบางกรณี แต่กระบวนการย่อยสลายขั้นสุดท้ายก็มาจบลงที่จุลินทรีย์เหมือนเดิม น้ำเสียที่เกิดขึ้นในทุกๆแห่งล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆ รวมถึงการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ทั้งสิ้น ซึ่งเท่ากับจุลินทรีญืย่อยสลายเหล่านี้มีคุณประโยชน์ต่อโลกใบนี้ ช่วยพิทักษ์และรักษาไม่ให้ของเสียและน้ำเสียล้นโลกมาจนถึงปัจจุบันนี้

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย

สำหรับกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น

กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มย่อยดังต่อไปนี้

1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย (บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดใช้อากาศออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ( Aerobic  Bacteria )

2. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ( Anaerobic  Bacteria )

ขยายความจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย

ในการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายดังต่อไปนี้เป็นหลัก

1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายตัว ( Aerobic  Bacteria ) 

จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยอาหารกับออกซิเจน ขาดออกซิเจนหรือออกซิเจนมีน้อยก็มีผลกระทบต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตโดยตรง ออกซิเจนและอาหารจะเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ถ้าขาดออกซิเจนและอาหารจะทำงานย่อยสลายของเสียไม่ได้ และตายได้ตลอดเวลา ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะบ่อเติมอากาศสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) จะต้องมีออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียอย่างเพียงพอสำหรับให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้นำไปใช้ในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ แทบจะทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียจะนิยมใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลักในการบำบัดน้ำเสียในปัจจุบัน เหตุผลก็เพราะว่า เราสามารถดึงจุลินทรีย์กลุ่มนี้จากธรรมชาติมาใช้งานได้ง่ายกว่า  เพราะจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ เพียงแต่อยู่แบบกระจัดกระจายไม่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน  ดังนั้น จึงต้องออกแบบระบบบำบัดและสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ เพื่อดึงมารวมไว้ในที่เดียวกันให้มากที่สุด  จุดอ่อนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ถ้ามีปัญหาในเรื่องของสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์กลุ่มนี้ทันที อาจจะส่งผลให้จุลินทรีย์ในระบบลดลงหรืออาจตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ เช่น ในกรณีที่น้ำเสียมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียต่ำมากๆ ( ค่า DO ต่ำ ) จะส่งผลให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ตลอดเวลา หรือ  ในกรณีที่ค่า pH ความเป็นกรด-ด่างสูงมากๆ หรือ มีค่าต่ำมากๆ ( เป็นกรด ) จะส่งผลให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ทันทีเช่นกัน นี้คือปัญหาข้อจำกัดและจุดอ่อนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้บางส่วน จึงต้องมีการควบคุมและดูแลสภาวะแวดล้อมในระบบบำบัดให้ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาและเลี้ยงดูจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ให้อยู่ในระบบให้ได้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นจุดยากของระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับระบบในด้านต่างๆ ปัญหาทางด้านเทคนิคของระบบ ล้วนมีผลต่อการดำรงอยู่และขยายตัวของจุลินทรีย์กลุ่มนี้  

2. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( Anaerobic  Bacteria ) 

จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีความแตกต่างและความเหมือนบางอย่างกับจุลินทรีย์กลุ่มที่ 1  โดยมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆ ( บำบัดน้ำเสีย )ได้เช่นเดียวกันกับกลุ่มที่ 1  แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องของปฏิกิริยาการย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนเหมือนกลุ่มแรก ออกซิเจนไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้  และจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีความศักยภาพทนกับแรงต้านทานในสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตได้ดี เช่น ในน้ำเสียไม่มีค่าออกซิเจนละลายอยู่เลย หรือ ค่า pH ความเป็นกรดด่างต่ำมากหรือสูงมากๆ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็สามารถทนกับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้และทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ  เป็นจุดที่แตกต่างกับจุลินทรีย์กลุ่มที่ 1  ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน ) สำหรับข้อเสียหรือจุดด้อยของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ดึงมาใช้งานจากธรรมชาติได้ค่อนข้างยาก อยู่แบบกระจัดกระจายเช่นเดียวกันกับกลุ่มแรก ไม่ค่อยรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ควบคุมได้ค่อนข้างจะยากเช่นเดียวกันกับกลุ่มแรก ดึงมาใช้งานย่อยสลายของเสียได้ยากกว่ากลุ่มแรก ดังนั้น จึงต้องทำการสังเคราะห์จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย )  นี่คือ ความแตกต่างของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายทั้งสองกลุ่มนี้บางส่วน จะเห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละกลุ่ม เราสามารถเสริมจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็งของแต่ละกลุ่มได้

  ในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด กระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นตอนสุดท้าย จะอยู่ที่การย่อยสลายของจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งเป็นตัวแปรสถานะของสสารต่างๆ ( ของเสีย ) ที่เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียเปลี่ยนไปเป็น    น้ำ +  พลังงาน  +  CO2 ( ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ) ซึ่งเป็นกระบวนการย่อยสลายของเสียขั้นสุดท้าย ส่งผลให้ของเสียต่างๆแปรสภาพเปลี่ยนไปเป็นตามปฏิกิริยาสมการจำลองด้านล่าง ( ของเสียเปลี่ยนสภาพ )

     

  นี่คือที่มาของจุลินทรีย์ที่นำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดเป็นหลัก ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะผ่านเกณฑ์กำหนดหรือไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดก็อยู่ตรงที่การควบคุมปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ดีหรือมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเป็นตัวจักรและตัวแปรสสารต่างๆที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นตอนสุดท้ายในทุกๆระบบบำบัด

ประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ

กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ ( Bio waste Water Treatment ) สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามชนิดของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายของเสียที่เป็นสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ได้แก่

1. การบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศออกซิเจน (Aerobic wastewater treatment) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียสำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้ถ้าไม่มีออกซิเจน ( ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ) ก็ไม่สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพในน้ำเสียนั้นๆได้ น้ำก็จะเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ทางกายภาพและเช็คค่า BOD

2. การบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศออกซิเจน (Anaerobic wastewater treatment) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียสำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศออกซิเจนในการดำรงชีพและในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆ ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ( ค่า DO ) ไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ (ไม่มีการดึงออกซิเนในน้ำเสียไปใช้ ) ดังนั้น ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีปริมาณเท่าใดก็ยังคงมีปริมาณไม่ลดลง  

ในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่ง จากระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสองกลุ่มนี้เป็นหลัก ถ้าขาดหรือปราศจากจุลินทรีย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ( ในทั้งสองกลุ่มนี้ ) แล้ว น้ำเสียทั้งหมดก็จะไม่ได้รับการบำบัดให้เป็นน้ำดี น้ำเสียและของเสียต่างๆคงล้นโลกใบนี้ไปนานแล้ว นี้คือ กระบวนการต่างๆในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี

ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียด้วยการใช้จุลินทรีย์แบบคร่าวๆ ( ชนิดใช้ออกซิเจนเป็นหลัก )

ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ทั้งนี้ จุลินทรีย์แต่ละชนิดสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ต่างกัน เช่น โปรตีน ไขมัน เป็นต้น อย่างไรก็ดี องค์ประกอบสำคัญที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์คือก๊าซ Oxygen (O2โดยกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์จะได้ CO2 + น้ำ + พลังงาน  การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์และแสงแดดในบ่อ (Lagoon Treatment) แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนตามลำดับของการส่งน้ำ ได้แก่ จากบ่อพักให้ตกตะกอน (Sedimentation Pond) บ่อบำบัด (Oxidation Pond) และสิ้นสุดที่บ่อพักสุดท้าย (Polishing Pond) โดยมีบ่อพักให้ตกตะกอนจำนวน 1 บ่อ บ่อบำบัดจำนวน 3 บ่อ และบ่อพักสุดท้ายจำนวน 1 บ่อ ก่อนที่น้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วจะถูกปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ โดยจากการทดลองพบว่า การพักน้ำในบ่อจะใช้เวลาทั้งหมด 7 วัน เพราะหากนานกว่านั้นจะทำให้เกิดภาวะเน่าซ้ำซาก (nutrificationของน้ำจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ของจุลินทรีย์

 น้ำดีและน้ำเสียสามารถแบ่งแยกได้ด้วยการวัดระดับ BOD (Biochemical Oxygen Demand/Biological Oxidation Demand) ซึ่งเป็นปริมาณของ O2 ที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ อาทิ สารประกอบ Hydrocarbons (น้ำมันเชื้อเพลิง) แอลกอฮอล์ และน้ำตาล เป็นต้น ดังนั้น น้ำที่มีค่า BOD ต่ำคือ น้ำที่ดี เพราะจุลินทรีย์ต้องการ O2 จำนวนน้อยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่าค่า BOD จะต้องเท่ากับหรือไม่เกิน 20 mg/l (มิลลิกรัมต่อลิตร)
แต่น้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศยังไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธี ทั้งจากส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือนทั่วไป
 

        

ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศไทย คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS  (  Activated  Sludge ) ซึ่งมีมากกว่า 90% เป็นระบบที่เติมออกซิเจนลงในน้ำเสีย ( บ่อเติมอากาศ ) โดยใช้เครื่องเติมอากาศ ( Aerator ) ลงในบ่อน้ำเสีย เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำเสีย และเพิ่มออกซิเจนในการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์กลุ่มนี้เมื่อได้รับออกซิเจนแล้วจะเจริญเติบโตและขยายตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ) เพื่อให้ของเสียที่อยู่ในรูปของสสารและแร่ธาตุต่างๆกลายไปเป็น  ->  น้ำ + พลังงาน + คาร์บอนไดออกไซด์ ในที่สุด

     

จุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( ระบบ AS )อยู่ตรงจุดใด ?

1. การเติมออกซิเจนไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด อาจจะด้วยเครื่องเติมอากาศมีกำลังวัตต์หรือกำลังแรงม้าต่ำ เติมออกซิเจนได้ไม่เพียงพอกับปริมาตรของน้ำเสีย จึงเติมออกซิเจนได้ไม่กระจายทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศโดยตรง

2. เติมออกซิเจนไปไม่ถึงก้นบ่อบำบัด เพราะบ่อบำบัดลึกเกินไป ( บ่อเติมอากาศไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร ) ออกซิเจนจะไปไม่ถึงก้นบ่อ ส่งผลเสียให้น้ำเสียและของเสียก้นบ่อไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลายเหมือนที่ผิวบ่อบำบัด

3. ต้องเติมออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง ( เดินเครื่องเติมอากาศอย่างต่อเนื่อง )  เพื่อไม่ให้ปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดปริมาณลง จะส่งผลเสียต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้น้อยลงตามไปด้วย

4.  ไม่สามารถกำหนดปริมาณและความหนาแน่นของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้  ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติกำหนด  ถ้าต้องการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนให้มากขึ้น ต้องเพิ่มจำนวนบ่อบำบัดและเครื่องเติมอากาศ

      

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศสามารถเพิ่มบ่อเติมอากาศได้มากกว่า 1 บ่อได้ตามความต้องการ ซึ่งก็จะทำให้งบประมาณเพิ่มตามไปด้วย ไม่จำเป็นต้องมีเพียงแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพด้านบน ) สามารถเพิ่มบ่อเสริมในแต่ละจุดได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียคือ งบประมาณเพิ่มตาม การควบคุมระบบก็จะยากขึ้นตามไปด้วย แต่ส่วนใหญ่จะสร้างบ่อบำบัดแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพบน ) เพราะสะดวกและประหยัดดูแลง่าย แต่ข้อเสียคือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาจไม่ผ่านในบางครั้ง หรือระบบล้มเหลวได้ง่ายๆ ถ้าการดูแลและบำรุงรักษาไม่ดีพอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาในจุดนี้ จึงส่งผลให้น้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง  ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหาตัวช่วยเพื่อมาช่วยเพิ่มการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง 

 จะเริ่มต้นบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านอย่างไร ?

1. อันดับแรกให้ทำการตรวจสอบเช็คระบบทั้งหมดว่ายังใช้งานได้ดีอยู่หรือไม่ ? มีสิ่งใดที่มีปัญหาในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดแล้วทำการแก้ไขปัญหานั้นๆ เมื่อระบบต่างๆทุกๆส่วนไม่มีปัญหาแล้ว ให้ปฏิบัติในขั้นต่อไป 

2. อันดับต่อมาก็คือ การตรวจสอบหรือการเช็คค่าพารามิเตอร์น้ำเสียในระบบบำบัดและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการว่าได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดไว้หรือไม่ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อแรก ( น้ำเสียก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( น้ำเสียหลังการบำบัดแล้ว ) ซึ่งจะทำให้รู้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังบำบัด ( บ่อสุดท้าย ) จะทำให้ท่านรู้ว่าน้ำเสียในบ่อบำบัดของท่านผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งหรือไม่ ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพหรือไม่ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อสุดท้ายจะเป็นตัวชี้วัดระบบบำบัดน้ำเสียของท่านว่าผ่าน ( บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ )หรือไม่ผ่าน ( ล้มเหลว ) ถ้าไม่ผ่านก็ทำการแก้ไข โดยการปรึกษาผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย อาจต้องแก้ไขระบบหรือปรับปรุงในบางจุด เพื่อให้ระบบทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำการบำบัดน้ำเสียได้อย่างสมบูรณ์แบบตามที่ต้องการ

 บำบัดน้ำเสียอย่างไรจึงจะออกมาสมบูรณ์เป็นน้ำดีได้ ? 

คำตอบสั้นๆง่ายๆก็คือ ปริมาณจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียต้องมีปริมาณมากกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงจะเอาชนะของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นได้ ของเสียทุกๆอย่างในโลกนี้ ซึ่งรวมทั้งน้ำเสียด้วย ล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการย่อยสลายของเสียต่างๆแทนจุลินทรีย์ได้ในปัจจุบัน น้ำดีหรือน้ำเสียวัดได้จากค่าพารามิเตอร์เช่น ค่า pH , BOD , COD , DO , SS , TDS เป็นต้น ยิ่งค่าออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆมีสูง ( ค่า DO มากกว่า 3 ขึ้นไป ) ยิ่งเป็นการดีและค่าอื่นๆได้มาตรฐานนั่นคือ น้ำดี  ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะแปรผันไปตามปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลาย ถ้าในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายจำนวนมาก จะส่งผลต่อค่าพารามิเตอร์ต่างๆเข้าใกล้ค่ามาตรฐาน จะเห็นว่า จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและน้ำเสียเป็นตัวจักรสำคัญในระบบบำบัดน้ำเสียที่จะทำให้น้ำเสียเปลี่ยนเป็นน้ำดีได้ นี่คือความสำคัญของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียอย่าให้ขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายและอย่าให้จุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีน้อยจนเกินไป เพราะจะเกิดปัญหาหลายอย่างติดตามมาในภายหลัง

       

ภาพบนตัวอย่างการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic  Bacteria )

น้ำดีต้องมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำมากกว่า 3 ขึ้นไป ( ค่า DO > 3 ) น้ำเสียจะมีค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลยก็มี ( ค่า DO น้อย ) ดังนั้น จึงส่งผลให้ในน้ำเสียนั้นไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายหรือแทบไม่มีเลย จึงทำให้น้ำเสียวิกฤตมากขึ้นนั่นเอง ส่งผลต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนในน้ำเป็นหลัก วิธีการแก้ไขปัญหานี้จึงต้องเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสียนั้นๆ เพื่อเพิ่มค่า DO ในน้ำเสียให้มากขึ้นเพียงพอกับจุลินทรีย์ที่จะนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสีย  แต่ถ้าค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียยังมีน้อยหรือไม่เพียงพอกับปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ น้ำเสียนั้นก็จะถูกบำบัดได้ระดับเล็กน้อยเท่านั้น น้ำเสียยังคงไม่เป็นน้ำดี เพราะปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนมีน้อยกว่าปริมาณน้อยเสียที่เกิดขึ้ย แต่ก็มีวิธีการแก้ไขได้อีกวิธีหนึ่งคือ การเติมหรือเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียโดยไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็ม ) ซึ่งสามารถทำได้ง่ายกว่าการเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ง่าย เพิ่มความเข้มข้นและปริมาณความหนาแน่นของจุลินทรีย์ได้ง่าย และประการสำคัญสามารถทำงานร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ทุกที่ ดังนั้น ไม่ว่าน้ำเสียนั้นๆจะมีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำหรือไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นเลย กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มก็สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที  ปริมาณน้ำเสียมากหรือวิกฤตมาก ก็ใช้ปริมาณของจุลินทรีย์อีเอ็มมากตามไปด้วย  การใช้จุลินทรีย์ในแต่ละครั้งจะแปรผันตรงกับปริมาณของเสีย  สามารถนำกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มไปปรับค่า pH ได้กรณีที่น้ำเสียนั้นๆมีความเป็นด่างหรือเบส สามารถใช้จุลินทรีย์อีเอ็มปรับค่าน้ำได้ทันที   แต่ถ้าน้ำเสียนั้นมีค่าเป็นกรดให้ใช้ปูนขาวปรับค่า pH เพื่อให้ค่าเข้าใกล้ 7

    

ภาพบนตัวอย่างการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic  Bacteria )

จำเป็นอย่างไรจึงต้องใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน ?

ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้สมบูรณ์แบบก็คงไม่มีความจำเป็นแต่ประการใด เรารู้ปัญหาในระบบบำบัดน้ำเสียจากประสบการณ์ที่สัมผัสกับลูกค้าจำนวนมากมาโดยตลอดเกือบ 20 ปี และช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าประสบความสำเร็จมาจำนวนมาก โดยที่เราไม่ได้คิดค่าที่ปรึกษาใดๆทั้งสิ้น ลูกค้าที่สั่งซื้อจุลินทรีย์ไปจากเราจะได้รับคำแนะนำและคำปรึกษาฟรีโดยตลอด ระบบบำบัดน้ำเสียค่อนข้างต้องใช้ทั้งความรู้และความเชี่ยวชาญพอสมควร ต้องเข้าใจระบบแต่ละระบบอย่างดีพอ รวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาของระบบต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาบูรณาการกัน เราไม่ได้จำหน่ายเพียงแค่จุลินทรีย์เท่านั้น แต่เราช่วยลูกค้าของเราด้วยในการแก้ไขปัญหาโดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าที่ปรึกษาให้สิ้นเปลือง ซึ่งเป็นจุดที่ลูกค้าของเราถูกใจมากที่สุด ลูกค้าจะได้คำแนะนำและคำปรึกษาต่างๆที่มีค่ามากกว่าสินค้าที่ซื้อไปจากเรา ซึ่งเป็นนโยบายของทางร้านฯ ที่ต้องการให้ข้อแนะนำต่างๆกับลูกค้าได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราขายความจริงและนำเสนอความจริงที่ลูกค้าควรรับทราบ  ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียของลูกค้าสมบูรณ์อยู่แล้ว เราจะไม่จำหน่ายสินค้าให้ เพราะไม่มีความจำเป็นใดๆ เราจะพิจารณาปัญหาและความเหมาะสมและอีกหลายอย่างมาประกอบกัน เราต้องการเติมเต็มและแก้ปัญหาจุดด้อยให้กับลูกค้า เราจะวิเคราะห์ให้กับลูกค้าก่อนว่าสมควรซื้อหรือไม่ซื้อจุลินทรีย์จากเรา จะไม่มีการยัดเยียดอย่างเด็ดขาด และไม่มีการให้ข้อมูลแบบผิดๆกับลูกค้า เพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อจุลินทรีย์จากเรา ซึ่งสังเกตได้จากที่เราจะเน้นให้ข้อมูลและความรู้ในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียกับลูกค้าให้มากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจก่อน แล้วจึงค่อยตัดสินใจในภายหลัง นี่คือจุดประสงค์ของเราที่ต้องการช่วยเหลือลูกค้าในการแก้ไขปัญหาของลูกค้า ข้อมูลของร้านฯค่อนข้างมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกค้าศึกษาและทำความเข้าใจในด้านต่างๆอย่างละเอียด

ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสียลดลงหรือมีปริมาณน้อยดูได้จากจุดใด ?

1. น้ำเน่าเสียมากขึ้น

2. กลิ่นเน่าเหม็นมากขึ้นและแรงขึ้นเรื่อยๆ

3. ค่า BOD จะสูงขึ้นเรื่อยๆ

               

เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ในนามแบรนด์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( Anaerobic  Bacteria ) ทำงานได้ดีทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศ ไม่ดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ใน ( น้ำเสีย ) มาใช้งานและการดำรงชีพ จึงทำให้ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆไม่ลดลง ( ค่า DO ) จึงเหมาะสำหรับเป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะ จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง

จุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีกลิ่นหอม ซึ่งไม่เหมือนกลิ่นจุลินทรีย์อีเอ็มทั่วๆไปที่จำหน่ายในท้องตลาดที่มีกลิ่นฉุนเปรี้ยว ดังนั้นจึงได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียได้ดี และ การดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียได้ดี กลิ่นหอมทันทีที่เริ่มใช้ในบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน ซึ่งลูกค้าของทางร้านทั้งหมดทั่วประเทศจะชอบใจในจุดนี้เป็นอย่างมาก 

อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน )

จากภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียระบบ AS เติมอากาศ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดใช้ออกซิเจน ) + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ) จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เดิมในบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนเบื้องต้นธรรมดาเท่านั้น ( การย่อยสลายเกิดขึ้นน้อยมากในบ่อนี้ ) ก่อนที่จะผ่านเข้าไปบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อที่ทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากที่สุดในระบบนี้ ( บ่อย่อยสลายของเสียโดยใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) และส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วในบ่อที่ 3 ( ตามภาพบน ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่ในระบบ AS นี้จะเกิดขึ้นในจุดเดียวคือ บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี  แต่เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปเพิ่มเติม ( ในบ่อที่ 1 ) จะเกิดการย่อยสลายในบ่อที่ 1 หรือบ่อแรกเพิ่มขึ้นทันทีอีกจุดหนึ่ง ( เหมือนบ่อเติมอากาศ ) กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ออกซิเจนจึงไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้ทันที จะเห็นได้ว่าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 จุดหรือ 2 บ่อ ( บ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบดับเบิ้ล คือ บ่อที่ 1 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นตัวบำบัด ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )เป็นด่านแรกก่อนที่จะส่งต่อไปบำบัดอีกชั้นหนึ่งที่บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลาย ) จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะลดลงตั้งแต่การย่อยสลายหรือการบำบัดในบ่อแรกแล้ว การบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆซ้ำในบ่อเติมอากาศ ( โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ยิ่งจะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น BOD , SS , TDS , FOG , TKN ลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีก ตะกอนต่างๆก็จะลดลงเหลือน้อยมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้นดังกล่าว ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรกและบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ) จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งดีขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะผลของการบำบัดหรือการย่อยสลายของเสีย 2 ชั้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงไม่เป็นภาระหนักให้กับบ่อเติมอากาศเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ( ไม่เป็นภาระหนักให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ที่อาจย่อยสลายของเสียได้ไม่หมดหรือย่อยสลายได้เพียงบางส่วนเล็กน้อย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อสุดท้ายบ่อยๆได้

   

  สรุป

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ AS และยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศอีกชั้นหนึ่ง การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ  ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย 2  กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำให้สสารที่เจือปนอยูในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป 

  หมายเหตุ  :   จุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ( ในทั้งหมด 6 ระบบ ) นอกจากบำบัดน้ำเสียได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆเพิ่มอีกด้วย

จุลินทรีย์คาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโดยชน์หลายๆด้าน โดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียให้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เข้าไปในระบบเพื่อย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะลำพังกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียอาจไม่เพียงพอ เหตุเพราะปริมาณน้ำเสียและของเสียในน้ำเสียมีปริมาณมากกว่ากลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนจะทำการย่อยสลายและบำบัดน้ำเสียได้ทั้งหมด ทางออกในการแก้ไขปัญหานี้จึงต้องพึ่งพาอาศัยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ) นั่นก็คือกลุ่มจุลิทรีย์อีเอ็มนั่นเอง ซึ่งมีความสามารถและทำหน้าที่คล้ายๆกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนที่มีอยู่ในธรรมชาติ ในสภาวะที่มีปัญหาน้ำเสียวิกฤตหนักๆ ในน้ำเสียมีจุลินทรีย์น้อยหรือแทบไม่มีเลย ( เพราะออกซิเจนในน้ำเสียมีน้อยหรือแทบไม่มีออกซิเจน ) กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนจำเป็นต้องอาศัยอากาศออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ถ้าไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนก็จะไม่มีในน้ำเสียหรือมีแต่มีปริมาณน้อยมากๆ จึงทำให้น้ำยิ่งเน่าเสียมากยิ่งขึ้น ในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ วัตถุประสงค์ทุกๆระบบเหมือนกันคือต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนมาทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ ดังนั้น จึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนเข้าไปในระบบให้เพียงพอ  แต่ส่วนใหญ่ในระบบจะได้อากาศออกซิเจนเติมเข้าไปในระบบน้ำเสียในปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อการเพิ่มปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสีย จึงส่งผลทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆยังด้อยประสิทธิภาพอยู่ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีน้อยกว่าปริมาณของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง   ทางออกจึงมาลงตัวที่กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็ม ( ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลานของเสียและบำบัดน้ำเสีย ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์แอนแอร์โรบิคที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( ทำหน้าที่ได้เหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ตามความต้องการ ความหนาแน่นของปริมาณจุลินทรีย์มีมากกว่า สามารถทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียในน้ำเสียได้ทันที เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดปริมาณน้ำเสียและของเสียในระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบ โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบง่ายๆชนิดเติมอากาศ ส่วนใหญ่จะมีปริมาณจุลินทรีย์ในระบบมีปริมาณน้อย

   

 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจัดทำขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น เราสังเคราะห์ขึ้นมาจากหัวเชื้อของจุลินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศต้นฉบับโดยตรง เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายด้าน มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย รวมไปถึงการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ สามารถทำงานร่วมกันกับจุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจนได้เป็นอย่างดี ทำหน้าที่คล้ายๆกัน ดังนั้น จึงสามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ ในสภาวะที่ในน้ำเสียไร้ออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้น จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้  ดังนั้น จึงต้องหันไปเพิ่งกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย นี่คือทางออกในการแก้ไขปัญหาในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ ( ค่า DO ต่ำหรือแทบเป็น 0 ) จุลินทรีย์อีเอ็มสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ง่ายกว่าจุลินทรีย์ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ต้นทุนต่ำกว่าและง่ายกว่า ดังนั้น จึงเป็นทางเลือกในการ RUN & REBOOT ระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน ไม่ว่าระบบจะเล็กหรือขนาดใหญ่ สามารถทำได้ทั้งนั้นในทุกๆระบบ เป็นผลดีต่อระบบโดยตรง  กรณีที่ระบบบำบัดน้ำเสียชนิด  AS หรือ  RBC ล่มหรือเสียรอซ่อม ก็สามารถนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปทดแทนได้ระหว่างรอซ่อมและ RUN ระบบอีกครั้ง โดยไม่ต้องรอให้ซ่อมแล้วเสร็จก่อน เพราะของเสียและน้ำเสียเกิดขึ้นในทุกๆวัน น้ำเสียที่เกิดขึ้นไม่สามารถรอระบบให้เสร็จก่อนได้ ต้องทำการบำบัดทันทีก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้ได้ดีกับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา สังเคราะห์ขึ้นจากหัวเชื้อของจุลินทรีย์ต้นฉบับโดยตรง ไม่ใช่หมักจากเปลือกผลไม้ เป็นจุลินทรีย์ที่เข้มข้นและมีความหนาแน่นของจุลินทรีย์สูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่างด้วยกัน ทั้งการบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่น รวมถึงประยุกต์เป็นปุ๋ยในทางการเกษตรก็สามารถทำได้ เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย แต่ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำจากการสังเคราะห์แสง

คุณสมบัติของจุลินทรีย์คาซาม่า

- ใช้บำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย

- ย่อยสลายสารอินทรีย์วัตถุให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง

- ย่อยสลาย  Fat, Greas  &   Oil    ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 

- ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ทุกชนิด

จุลินทรีย์คาซาม่า ( จุลินทรีย์-Kasama ) ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายกลุ่ม  การสังเคราะห์จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโชน์และมีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังต่อไปนี้

1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria : PSB ) เป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่พบกระจายทั่วไปในธรรมชาติ บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกลุ่มนี้มีความสำคัญในกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 - Assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (Nitrogen Fixation) และยังมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งสัตว์ขนาดเล็กจำพวก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้สามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งต่างๆบ้านเรือนและน้ำเสียจากการทำปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria : LAB ) จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียผลิตกรดแลคติกได้รับการยอมรับว่าเป็นแบคทีเรียที่ปลอดภัย (generally recognized as safe bacteria )  เป็นกลุ่มแบคทีเรียแกรมบวก (Gram Positive Bacteria ) ที่สามารถหมักน้ำตาลกลูโคส น้ำตาลแล็กโทส ให้เกิดกรดแล็กทิก และกรดอินทรีย์อื่นๆ 

3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria) เป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่ใช้ก๊าซไนโตรเจน และเป็นแหล่งไนโตรเจนได้โดยเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้กลายเป็นแอมโมเนีย  

4. กลุ่มจุลินทรีย์แอคทิโนมัยซีทส์ (Actenomycetes) มีความสามารถในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆทั้งพืชและสัตว์ ย่อยสลายสสารจำพวกกรดอินทรีย์ แป้ง ไขมัน น้ำตาลชนิดต่างๆและโปรตีน 

5. กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์ (Yeasts)  เซลล์ของยีสต์ประกอบด้วย กรดอะมิโน โปรตีน เกลือแร่ วิตามินและธาตุอาหารที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์และสัตว์ หลักการทํางานของยีสต์คือ การเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 )และแอลกอฮอล์ ( C2H5OH )

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( Anaerobic  Bacteria ) สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น

   การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย   

การบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธีการด้วยกัน ทั้งวิธีทางกายภาพ เช่น การตกตะกอน การกรอง การนำไปกำจัดทิ้ง  ส่วนการบำบัดน้ำเสียทางเคมีด้วยการใช้สารเคมีบางชนิดมาบำบัด ซึ่งส่วนใหญ่น้ำเสียที่ใช้วิธีการบำบัดทางเคมีนั้นจะปนเปื้อนสารเคมี หรือการตกตะกอนด้วยสารเคมีบางชนิดก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดน้ำเสีย ส่วนการบำบัดอีกวิธีหนึ่งก็คือ การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ คือการใช้จุลินทรีย์(ที่มีประโยชน์ในธรรมชาติ)ย่อยสลายของเสียให้มีโมเลกุลเล็กลงเรื่อยๆจนกระทั่งแปรเปลี่ยนสถานะของสสาร(ของเสียในน้ำเสีย)กลายไปเป็น น้ำ + พลังงาน + ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายในการแปรเปลี่ยนสถานะของสสารที่เป้นของเสีย ไม่ว่าการบำบัดน้ำเสียจะด้วยกรรมวิธีใดๆก็ตาม แต่ขั้นตอนสุดท้ายของการบำบัดน้ำเสีย ต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ของเสียและน้ำเสียไม่ล้นโลกก็มาจากผลงานของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์รักษ์โลก(รักษาโลก) มีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพขยายเซลล์ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศที่เหมาะสม             

  สำหรับการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะนิยมใช้งานกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก เพราะสามารถดึงมาจากธรรมชาติใช้งานได้ง่าย ถ้าออกแบบระบบสิ่งแวดล้อมให้มันได้อยู่อาศัยดีพอ แต่ค่อนข้างควบคุมได้ยาก มีความอ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะสิ่งแวดล้อมในระบบบำบัด ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่( มากกว่า 90% )ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันจะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ (  Activated  Sludge : AS ) ระบบนี้จะเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสีย( ในบ่อเติมอากาศ ) เพื่อให้น้ำเสียมีปริมาณออกซิเจนมากเพียงพอที่จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียและการดำรงชีพขยายเซลล์ต่อไป ถ้าในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็อยู่ไม่ได้( ตายยกบ่อบำบัด ) ดังนั้น จึงต้องมีการบำรุงและรักษามันไว้เป็นอย่างดีเพื่อให้อยู่ในระบบบำบัด( บ่อบำบัด ) ให้มากที่สุด เพื่อจะได้ทำการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป การมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัด( บ่อบำบัด ) ถ้ามีปริมาณน้อยก็มีปัญหา ถ้าไม่มีเลย ( จุลินทรีย์ย่อยสลายตายยกบ่อบำบัด ) ยิ่งมีปัญหามากเข้าขั้นวิกฤตน้ำเสียต้องรีบแก้ไขโดยด่วน

   ความหมายของการบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพ 

การบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงการบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานน้ำทิ้ง ( น้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกๆค่า ) หรือการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางราชการกำหนด กรณีที่ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าไม่ผ่านเกณฑ์ แต่มีบางค่าผ่านเกณฑ์ก็ไม่ถือว่า การบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีประสิทธิภาพ ถือว่ายังไม่มีประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสีย ต้องนำไปแก้ไขและปรับปรุงใหม่จนกว่าจะมีประสิทธิภาพ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งทุกๆค่าผ่านเกณฑ์กำหนด จึงจะถือว่า การบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพดี

บทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย

    จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายสายพันธุ์จากธรรมชาติ นำมาสังเคราะห์รวมไว้ในที่เดียวกัน มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียได้ดี รวมถึงการบำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ทั้งการย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่เด่นๆอีกคุณสมบัติหนึ่งคือ การบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)ได้ดี แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปใช้ในงานบำบัดน้ำเสีย การทำหน้าที่บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย ) จะเหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ปฏิกิริยาเกิดขึ้นเหมือนกันและได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน( ตามสมการจำลองด้านล่าง ) จะแตกต่างกันตรงที่กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ ถึงแม้ในน้ำเสียจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ อีกทั้งยังสามารถทนแรงต้านทานสิ่งแวดล้อมที่วิกฤตได้ดี เช่น ในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลย และกรณีที่ค่า pH ในน้ำเสียมีค่าต่ำมากหรือสูงมากในบางครั้ง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทนกับสภาวะแวดล้อมเช่นนี้ได้ ในขณะที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทนแรงต้านทานที่วิกฤตเหล่านี้ได้ ( ตายยกบ่อบำบัด ) นี่คือความแตกต่างของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน

      

สมการจำลองปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย ด้านบนเป็นปฏิกิริยาของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ส่วนด้านล่างเป็นปฏิกิริยาของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งผลลัพธ์จะเป็นไปตามสมการ

  จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัดและน้ำเสียที่มาจากทุกๆแหล่ง มีวงจรชีวิตเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทั่วๆไป จุดเด่นคือ สามารถสังเคราะห์ขึ้นมากหรือน้อยตามความต้องการได้ และเราสามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมากหรือน้อยเข้าไปในระบบบำบัดได้ทันที ไม่ต้องรอเวลาเหมือนกรณีการเพิ่มปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งระบบต้องใช้เวลารันระบบเป็นสัปดาห์จึงจะเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าระบบบำบัดจะมีปัญหาหรือไม่มีปัญหา ทั้งปัญหาทางด้านเทคนิคและสิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัด ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนที่มีจุดอ่อนค่อนข้างมาก ระบบมีปัญหาจุดใดจุดหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทันที จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจึงเป็นตัวเติมเต็มและแก้ปัญหาให้กับการบำบัดน้ำเสีย ทดแทนจุลินทรีย์ย่ยสลายในระบบมีน้อยหรือกรณีที่จุลินทรีย์ย่อยสลายตายเกลี้ยงบ่อบำบัด สามารถนำไปทดแทนการบำบัดน้ำเสียได้ทันที 

   ระบบบำบัดน้ำเสียโดยทั่วๆไปมีทั้งหมด 6  ระบบ แต่ระบบบำบัดที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดก็คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated  Sludge : AS ) ดังนั้น ต่อไปนี้จะกล่าวถึงระบบบำบัดน้ำเสียชนิดนี้เป็นหลัก ระบบบำบัดแบบเติมอากาศนี้จะมีจุดที่สำคัญอยู่ 3 จุดด้วยกัน คือ มีบ่อรับน้ำเสีย( บ่อแรก ) บ่อเติมอากาศ และ บ่อตกตะกอน ( บ่อน้ำทิ้ง ) ส่วนจะมีการเสริมหรือเพิ่มจำนวนบ่อขึ้นมาอีกในจุดใดจุดหนึ่งก็สามารถทำได้ จุดเด่นๆของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้จะอยู่ที่บ่อเติมอากาศ เหตุเพราะบ่อเติมอากาศจะเกิดปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) มากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ บ่อเติมอากาศหรือบ่อปฏิกิริยาเป็นบ่อที่มีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักอาศัยอยู่มากที่สุด( เพราะมีการเติมออกซิเจนตลอดเวลา ) จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ มีอาหารเพียงพอ และมีออกซิเจนมากเพียงพอต่อการดำรงชีพและดึงไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสองสิ่งนี้ก็ไม่ได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้จึงต้องออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสม สร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนอยู่ได้ ออกซิเจนและอาหารต้องเพียงพอ เมื่อใดที่ระบบมีปัญหาขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนนี้ทันที ปริมาณอาจลดลงหรือตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ ซึ่งจะส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าโดยตรง ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ )

บทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับระบบบำบัดน้ำเสีย 

    สำหรับบทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับระบบบำบัดน้ำเสียนั้นจะช่วยทั้งการเพิ่มและการเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบบำบัดได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ .-

1. ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดมีน้อย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีน้อย ) อันเนื่องมาจากปัญหาเหล่านี้

     1.1 เครื่องเติมอากาศเสียรอซ่อม จะทำให้ในบ่อบำบัดปริมาณออกซิเจนจะลดลงเรื่อยๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จะทำให้น้ำเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น ซึ่งกว่าจะรันระบบเริ่มใหม่หรือบูทระบบใหม่ต้องใช้เวลานาน ในขณะที่ของเสียและน้ำเสียเพิ่มขึ้นตลอดเวลา จนกลายไปเป็นวิกฤตน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นทั่วบ่อบำบัด

     1.2 เครื่องเติมอากาศมีกำลังแรงม้าต่ำหรือกำลังวัตต์ต่ำ ซึ่งจะกระจายออกซิเจนได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เครื่องเติมอากาศต้องมีกำลังสมดุลกับปริมาณของน้ำเสีย ( ต้องเผื่อ Overload ประมาณ 10% ) ไม่ควรหยุดเดินเครื่องเติมอากาศเป็นเวลานานๆ เพราะจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดลงได้

     1.3 อาหาร( ของเสีย )ไม่เพียงพอ ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อสลายลดลงได้

      1.4 ออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและขยายเซลล์( ขยายตัว )ของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน

2. สิ่งแวดล้อมในน้ำเสีย ( ในบ่อบำบัด ) มีปัญหา เช่น ค่าออกซิเจนละลายในน้ำเสียต่ำ ( ค่า DO ต่ำ ) โดยทั่วไปค่า DO ไม่ควรต่ำกว่า 2 mg/l  หรือกรณีน้ำเสียมีค่า pH ต่ำมาก หรือสูงมาก จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนโดยตรง อาจตายเกลี้ยงบ่อบำบัดได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องมีการเช็คค่าเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ( ค่า DO , pH ) ถ้าเกิดปัญหาขึ้นต้องรีบแก้ไขทันทีให้ทันเวลาก่อนจุลินทรีย์ย่อยสลายจะตายยกบ่อบำบัด

3. ระบบเกิดการโอเวอร์โหลด ( Overload ) คือ น้ำเสียเข้าระบบมากเกินไปในบางครั้ง ในขณะที่ปริมาณจุลินทรีย์ไม่ได้เพิ่มปริมาณตามน้ำเสียและของเสียที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งได้ ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน )

4. จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อบำบัด ซึ่งสังเกตได้จากกลิ่นเน่าเหม็นที่รุนแรง สิ่งที่จะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ตายยกบ่อได้มีหลายปัจจัย เช่น มีสารเคมีที่เป็นอันตรายหลุดเข้าไปในบ่อบำบัด หรือในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลยเป็นต้น

 

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้ในจุดนี้ ( ปัญหา 1 - 4 ) ไม่ว่าค่า DO ในน้ำเสียจะมีมากหรือมีน้อยหรือไม่มีเลย ค่า pH จะต่ำมากหรือสูงมากก็ไม่มีผลกระทบใดๆต่อการดำรงชีพและการทำงานย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย ) ของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ดังนั้น จึงเป็นกำลังเสริมและกำลังสนับสนุนการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบได้เป็นอย่างดีในยามวิกฤตเกิดปัญหาขึ้นตามข้อ 1 - 4 สามารถทดแทนและแก้ไขปัญหาได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา RUN และ REBOOT ระบบบำบัดใหม่เป็นสัปดาห์ให้เสียเวลา เพราะน้ำเสียเกิดขึ้นตลอดเวลาต้องแก้ไขปัญหาทันที ถึงแม้ว่าระบบบำบัดเดิมไม่มีปัญหาใดๆ แต่ต้องการเริ่งปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย ) ให้เร็วขึ้น ให้การย่อยสลายเกิดได้มากขึ้นกว่าปกติก็สามารถใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเริงปฏิกิริยาได้ทันที ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดและการบำบัดน้ำเสียโดยตรง

ปัญหาของการบำบัดน้ำเสีย จุดที่ยากและสลับซับซ้อนมากที่สุดก็คือ ปัญหาทางด้านเทคนิค ทั้งการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เช่น ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากอะไร? มีกี่ค่า ? แต่ละค่าต้องแก้ไขอย่างไร ? ปรับระบบอย่างไรเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย? เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่การใช้จุลินทรีย์บำบัดแล้วก็จบเท่านั้น ปัญหาทางด้านเทคนิคของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับลดบางค่า หรือการเพิ่มบางค่าในระบบบำบัดจะพบบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงเท่านั้น ที่นี่..เราแนะนำให้ลูกค้าของเราฟรีๆ 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama )

ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท 

ขนาดบรรจุแกลลอน 20 ลิตร ( มีขนาดเดียว )

 จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ       

สิ่งที่ลูกค้าจะได้มากที่สุดจากที่นี่..ก็คือการแก้ปัญหาในเรื่องการบำบัดน้ำเสียและการแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน เพราะเราจะให้บริการท่านฟรีๆ ปรึกษาขอคำแนะนำฟรีๆ การซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปบำบัดน้ำเสียจะเป็นเรื่องรอง ปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆค่อนข้างสำคัญต่อการบำบัดน้ำเสียมากๆ จะเห็นได้ว่า เราไม่ได้ขายแค่จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเพียงเท่านั้นจบ  แต่เรายังช่วยเหลือและช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าของเราอีกด้วย ( จุดสำคัญ ) นี่คือจุดเด่นและจุดแตกต่างของเราที่ไม่เหมือนใครในการจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย

 


            


RUN/BOOT&REBOOT ระบบบำบัดน้ำเสียคืออะไร ? กดดูข้อมูลที่นี่...  

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่..

จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
แก้ปัญหาค่า BOD,SS,TDS สูงในคอนโดมิเนี่ยมอาคารสำนักงาน คลิกที่นี่.. 

เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง  คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่..

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. 
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงสุกรทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป คลิกดูที่นี่... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 
กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียเกิดมาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียอย่างไร ? คลิกดูที่นี่.. 
สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่..
วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย&จุลินทรีย์ดับกลิ่นที่มีกลิ่นหอม คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูข้อมูลที่นี่..
จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย / จุลินทรีย์หอมย่อยสลายของเสีย คลิกที่นี่.....
ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์  คลิกที่นี่... 
ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่..
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในร้านอาหาร & ภัตตาคารทุกๆแห่ง คลิกที่นี่...
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงแรมและรีสอร์ททั่วๆไป คลิกที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วๆไป คลิกดูที่นี่..

 

 

ค่าพารามิเตอร์เบื้องต้นของน้ำเสียและค่ามาตรฐานน้ำทิ้งประเภทต่างๆที่ควรรู้

ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสียสอบตกค่าพารามิเตอร์จะเป็นเครื่องบอกเหตุว่า บ่อบำบัดน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหายังไม่มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้ และยังทำให้รู้ว่ามีปัญหาในเรื่องของปริมาณจุลินทรีย์ในบ่อบำบัด อาจจะขาดหรืออาจจะเกิน ( แต่ส่วนใหญ่จะขาด )   

pH ความเป็นกรด - ด่างของน้ำเสีย
BOD  (Biochemical Oxygen Demand)  ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์  mg/l 
COD (Chemical Oxygen Demand) ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์  mg/l 
SS ( Suspended Solids ) ค่าของแข็งแขวนลอยหรือปริมาณของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ mg/l 
TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) ปริมาณรวมทั้งหมดของไนโตรเจนอนินทรีย์และแอมโมเนีย-ไนโตรเจนที่อยู่ในโปรตีนของพืชและสัตว์ mg/l 
FOG  ( Fat, Oil &Grease )   แสดงค่า  ไขมัน  Grease , Oil  ในน้ำเสีย mg/l 
PO4( mg/l ) Phosphate 

 

 

ตัวอย่างค่าพารามิเตอร์ต่างๆของอาคารสำนักงานทั่วๆไป
 

ค่าพารามิเตอร์ น้ำเสียจากส้วม น้ำเสียจากครัวและอื่นๆ หมายเหตุ
pH 8.10 7.4
BOD ( mg/l ) 181 41
COD( mg/l ) 392 96
SS ( mg/l ) 158 26
TKN ( mg/l ) 44.1 9.7
FOG ( mg/l ) 455 527
PO4( mg/l ) 2.0 0.4
     
         

 

ตัวอย่างค่าพารามิเตอร์ของอาคารต่างๆแบบคร่าวๆ ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนห้อง
 

ค่าพารามิเตอร์ อาคารชุดคอนโดมิเนียม โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล
pH 7.2 7.05 7.51 6.84
BOD (mg/l) 151 190 81 238
COD (mg/l) 221 311 253 350
TKN(mg/l) 33.7 23 66.8 15.2
FOG (mg/l) 473 563 577 631
SS  (mg/l) 63 84 61 87.06
PO4  (mg/l) 2.0 1.8 10.1 3.29
       


ค่าพารามิเตอร์บางตัวที่ควรทราบไว้

TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) หมายถึงปริมาณรวมทั้งหมดของไนโตรเจนอนินทรีย์และแอมโมเนีย-ไนโตรเจนที่อยู่ในโปรตีนของพืชและสัตว์

FOG ( Fat, Oil &Grease ) แสดงค่า  ไขมัน  Grease , Oil  ในน้ำเสีย

TOC (Total Organic Carbon) คือค่าอินทรีย์คาร์บอนรวม เป็นคำศัพท์ที่ใช้อธิบายถึง สารอินทรีย์(ที่พื้นฐานมีคาร์บอน) ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในน้าเสียนั้นๆ สารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำนั้น สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำได้ น้ำที่มีสารอินทรีย์เจอปนมากจะส่งผลให้การละลายของออกซิเจนในน้ำนั้นน้อยลง ส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายโดยตรง

ค่า BOD ของน้ำดีจะอยู่ที่  <= 6 mg/l  จะส่งผลทำให้ค่า DO >= 6  ขึ้นไป ค่ากลางน้ำดีของ DO อยู่ที่ 5-8 mg/l หรือ 5-8 ppm.

มาตรฐานน้ำทิ้ง ค่า BOD ( กลาง ) ประมาณ 20 mg/l  ถ้าค่า  BOD เกิน  100 mg/l ขึ้นไป น้ำก็จะเน่าเสียแล้ว ( สารอินทรีย์เจือปนในน้ำมีมาก )

การควบคุมค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสีย ( Para Meter  Control )

ทำไมต้องคอนโทรลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เหตุผลก็เพื่อต้องการทราบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังการบำบัดแล้ว ( น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดให้เป็นน้ำดี ) ซึ่งค่าพารามิเตอร์จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดว่า บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้หรือไม่ รวมถึงจะบอกถึงประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียในหน่วยงานนั้นๆ น้ำที่มีสีใสๆไม่ใช่น้ำที่มีคุณภาพดีเสมอไป อาจมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่มากก็ได้ ( เป็นน้ำเสีย )

ค่าพารามิเตอร์พื้นฐานที่ต้องคอนโทรลในระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย เช่น  ค่า ph , BOD , COD , SS , TDS , FOG , TKN , S ,DO เป็นต้น ถ้าคอนโทรลค่าพารามิเตอร์พื้นฐานเหล่านี้ได้ตามกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งได้แล้ว ถือว่าระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพดีมาก และต้องคอนโทรลได้อย่างต่อเนื่อง

การวัดค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียในบ่อบำบัดประจำเดือน ( ในแต่ละครั้ง )

ให้เก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อที่ 1 ( ก่อนบำบัด )  และ บ่อสุดท้าย ( ผ่านการบำบัดแล้ว ) มาวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการแล้วนำไปขึ้นเป็นรีพอร์ท ( รายงานผลการวิเคราะห์ ) ประจำเดือนในแต่ละเดือนต่อไป ( ส่งให้หน่วยงานราชการได้ ) 

สิ่งที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะน้ำเสียที่ไปจากอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนี่ยมต่างๆทุกๆแห่งจะมีสารอินทรีย์และตะกอนปนเปื้อนในน้ำเสียค่อนข้างสูง ส่งผลให้ค่า BOD , TOC , SS , TDS สูงตามไปด้วย การลดสารอินทรีย์ ( ถ้าทำได้ ) จะส่งผลให้ค่า BOD และ TOC , SS , TDS ลดลงตามไปด้วย ถ้าตะกอนสารอินทรีย์มีขนาดใหญ่อาจใช้ตัวกรองของเสียและกรองตะกอนตะกรัน ( Filter ) กรองดักของเสียก่อนลงในบ่อแรก เพื่อลดค่า SS , TDS ไปในตัว ซึ่งมีส่วนช่วยลดค่า BOD , COD , TOC โดยเฉพาะการใช้ฟิลเตอร์กรองแบบละเอียดก่อนน้ำเสียลงบ่อสุดท้าย ( ก่อนปล่อยน้ำทิ้งออกสู่สาธารณะ ) การเพิ่มตัวฟิลเตอร์ในแต่ละบ่อจะช่วยลดค่า BOD , TOC , SS , TDS ไปได้มากพอสมควร ตัวฟิลเตอร์ก่อนลงในบ่อแรกอาจจะหยาบพอประมาณ เพิ่มตัวกรองสัก 2-3 ชั้น ( กรองแบบหยาบในบ่อแรก ) ส่วนบ่อลำดับต่อไปจนถึงบ่อสุดท้ายก็สามารถเพิ่มความละเอียดของฟิลเตอร์มากขึ้นตามความต้องการ เป็นวิธีการลดค่าพารามิเตอร์บางตัวแบบง่ายๆ แต่จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการบำบัดของระบบได้มากขึ้น ในส่วนของค่า pH สามารถปรับได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนกรณีค่า BOD , COD


 

ตัวอย่างแบบคร่าวๆของการทำรายงานผลประจำเดือนบ่อบำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสีย

ผลการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์น้ำเสียและน้ำทิ้งของบ่อบำบัดน้ำเสียนิติบุคคลอาคารชุด A ประจำเดือน ..... พ.ศ.  2563

( ค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันออกไปสถานะของหน่วยงาน )

 

ค่าพารามิเตอร์ บ่อที่ 1     บ่อสุดท้าย ( น้าดี ) ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง หมายเหตุ
pH
BOD
COD
TDS
SS
TKN
FOG        
DO        
         
         
         
         
         
         

  

 เพราะอะไรจึงต้องทำการบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะต่อไป

เหตุผลก็เพราะ 

น้ำ  คือ  ชีวิต  ทุกๆชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ขาดน้ำไม่ได้ คือ ตายสถานเดียวเท่านั้น น้ำเสียไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆปรารถนา แม้แต่พืชและสัตว์ก็ไม่มียกเว้น รักษาน้ำ เท่ากับรักษาโลกให้ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น น่าอยู่ขึ้น