จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย บำบัดน้ำเสียแบบมืออาชีพ ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ใช้เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)และการบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)ในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมเจ้าแรกของประเทศไทย
การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย เป็นตัวจักรสำคัญในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจในการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้าย
( ข้อแนะนำสำหรับการบำบัดน้ำเสีย และ ระบบบำบัดน้ำเสีย ) ปัญหาของการบำบัดน้ำเสีย จุดที่ยากและสลับซับซ้อนมากที่สุดก็คือ ปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบ ทั้งการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆส่วนที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เช่น ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากอะไร? ไม่ผ่านกี่ค่า ? แต่ละค่าต้องแก้ไขอย่างไร ? ปรับระบบอย่างไรเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย? ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่การใช้จุลินทรีย์บำบัดแล้วก็จบเพียงเท่านั้น ปัญหาทางด้านเทคนิคของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับลดบางค่า หรือการเพิ่มบางค่าในระบบบำบัดจะพบบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงเท่านั้น วิกฤตน้ำเสียในบ่อบำบัดจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ในบ่อบำบัดน้ำเสียมีจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียน้อยหรือแทบไม่มีเลย จะทำให้เกิดสภาวะน้ำเสียรุนแรงมากขึ้นและติดตามมาด้วยกลิ่นไม่พึงประสงค์ฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ
จุลินทรีย์ ( Micro-organism ) คืออะไร? จุลินทรีย์หรือจุลชีพ เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เป็นสัตว์เซลล์เดียวมีหลากหลายสายพันธุ์บนโลกใบนี้ ในบางครั้งก็เรียกจุลินทรีย์ว่า แบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรีย ก็คือ จุลินทรีย์พบทั่วไปในธรรมชาติทั้งในดิน น้ำ อากาศ แบคทีเรียหรือจุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญต่ออาหาร และการผลิตอาหาร ( กลุ่มที่ให้ประโยชน์ ) มีทั้งประเภทใช้อากาศและไม่ใช้อากาศในการดำรงชีพ จุลินทรีย์ในโลกนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม ( แบ่งตามคุณลักษณะ ) ดังต่อไปนี้ 1. จุลินทรีย์กลุ่มที่ให้ประโยชน์ ดำรงชีพมีทั้งประเภทใช้อากาศออกซิเจนและไม่ใช้อากาศออกซิเจน จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีประโยชน์ในหลายๆด้าน และมีการนำไปพัฒนาเป็นยารักษาโรคก็มี จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ จุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์จะอยู่กระจัดกระจายทั่วๆไปในธรรมชาติ กลุ่มนี้มีอยู่ประมาณ 10% 2. จุลินทรีย์กลุ่มที่ให้โทษ มีทั้งประเภทใช้อากาศออกซิเจนและไม่ใช้อากาศออกซิเจน คุณสมบัติเด่นๆของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ การทำลายสิ่งต่างๆให้เกิดความเสียหายหรือทำให้เกิดโทษ บางครั้งก็เรียกแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาหารเน่าเสีย (microbial spoilage) และทำให้เกิดโรคต่างๆรวมถึงโรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ มีอยู่ในธรรมชาติประมาณ 10% 3. จุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นกลาง มีทั้งประเภทใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนเช่นกัน กลุ่มนี้มีอยู่ในธรรมชาติประมาณ 80% จุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถเข้าร่วมงานกับกลุ่มใดก็ได้ในทั้ง 2 กลุ่มบน ทำไมต้องใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย ? บรรดาของเสียทั้งหมดทั้งมวลบนโลกใบนี้ ล้วนต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายในการในการย่อยสลายของเสียต่างๆรวมทั้งบำบัดน้ำเสียด้วย ถ้าโลกใบนี้ปราศจากจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย โลกใบนี้ก็จะเต็มไปด้วยของเสียจนล้นโลกไปนานแล้ว จุลินทรีย์เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสียอย่างไร ? น้ำเสียจะมีสิ่งสกปรกเจือปนทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลวแร่ธาตุต่างๆ น้ำเสียเหล่านี้ต้องได้รับการบำบัดให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม ในการบำบัดให้เป็นน้ำดีได้นั้น ต้องอาศัยจุลินทรีย์มาย่อยสลายเปลี่ยนแปลงและแปรสภาพของเสียที่เป็นมลสารต่างๆในน้ำเสียไปเป็นพลังงานและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในที่สุด บรรดาของเสียทั้งหลายบนโลกใบนี้ซึ่งรวมถึงน้ำเสียด้วย ล้วนต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายให้มีโมเลกุลเล็กลงไปเรื่อยๆจนกระทั่งแปรเปลี่ยนสภาพไปเป็นพลังงานและก๊าซในที่สุด นี่คือบทบาทของจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสีย ถ้าปราศจากจุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายของเสียนี้แล้ว ของเสียและน้ำเสียคงล้นโลกใบนี้ไปนานแล้ว สิ่งแวดล้อมก็จะเต็มไปด้วยมลพิษและมลภาวะกระจายไปทั่วโลก จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ ( กลุ่มที่ 1 ) ในด้านการบำบัดน้ำเสียและการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีทั้งประเภทใช้อากาศออกซิเจนและไม่ใช้อากาศออกซิเจนในการดำรงชีพและในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน มนุษย์จึงนำจุลินทรีย์กลุ่มนี้ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมาใช้งานบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ถ้าปราศจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้แล้ว โลกใบนี้ก็จะเต็มไปด้วยของเสียและน้ำเสียจนล้นโลกไปนานแล้ว การบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์กลุ่มนี้ทั้งสิ้นเพื่อแปรเปลี่ยนและแปรสภาพของเสียต่างๆในน้ำเสียให้กลายไปเป็นพลังงานและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( ตามสมการด้านล่าง ) ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีนั้นต้องอาศัยจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายเป็นหลัก
จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จะเข้าไปทำปฏิกิริยาย่อยสลายและกินของเสียต่างๆที่เป้นสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียกลายสภาพไปเป็น น้ำ + พลังงาน + CO2 ตามสมการด้านบนนี้ เนื่องจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียกลุ่มนี้มีอยู่ในธรรมชาติประมาณ 10% เท่านั้น ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน + กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน) และยังอยู่แบบกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปตามดิน น้ำ และอากาศ การที่จะดึงจุลินทรีย์กลุ่มนี้มาใช้งานในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียให้ได้มากที่สุดจึงต้องออกแบบระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ถ้าสิ่งแวดล้อมในระบบบำบัดไม่เหมาะกับการดำรงชีพ จะด้วยสาเหตุจากปัญหาใดๆก็ตาม จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็อาจอยู่ไม่ได้ หรือถ้าอยู่ได้ก็มีปริมาณน้อยมากไม่มีการขยายตัว เพราะสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตได้ดีจะส่งผลดีต่อระบบบำบัดโดยตรง จุลินทรีย์กลุ่มใดบ้างที่มีความสำคัญและบทบาทต่อการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสีย ? 1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดใช้อากาศออกซิเจนเป็นหลัก( Aerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขาดออกซิเจนในการดำรงชีพและการเจริญเติบโตไม่ได้ การขยายเซลล์ให้ได้เป็นจำนวนมากต้องใช้ออกซิเจนและอาหารเสริม ดังนั้น ถ้าการดูแลจุลินทรีย์กลุ่มนี้ทำได้ไม่ดี จะส่งผลให้ระบบบำบัดมีปัญหาเกิดขึ้นทันที จุลินทรีย์มีน้อยและจุลินทรีย์ตายยกบ่อบำบัดได้ง่ายๆ 2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ชนิดไม่ใช้อากาศออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( Anaerobic Bacteria ) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ในธรรมชาติ เราสามารถดึงจุลินทรีย์กลุ่มนี้มาใช้งานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียด้วยการรวมกลุ่มและสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการและขยายผลไปเรื่อยๆแบบไม่มีที่สิ้นสุด การเพาะเลี้ยงและการควบคุมการดูแลรักษาทำได้ง่ายกว่ากลุ่มแรก รวมถึงการเพิ่มปริมาณความหนาแน่นก็สามารถกำหนดได้ง่ายกว่ากลุ่มแรก ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) ขยายความจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายดังต่อไปนี้เป็นหลัก 1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายตัว ( Aerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยอาหารกับออกซิเจน ขาดออกซิเจนหรือออกซิเจนมีน้อยก็มีผลกระทบต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตโดยตรง ออกซิเจนและอาหารจะเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ถ้าขาดออกซิเจนและอาหารจะทำงานย่อยสลายของเสียไม่ได้ และตายได้ตลอดเวลา ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะบ่อเติมอากาศสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) จะต้องมีออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียอย่างเพียงพอสำหรับให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้นำไปใช้ในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ แทบจะทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียจะนิยมใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลักในการบำบัดน้ำเสียในปัจจุบัน เหตุผลก็เพราะว่า เราสามารถดึงจุลินทรีย์กลุ่มนี้จากธรรมชาติมาใช้งานได้ง่ายกว่า เพราะจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ เพียงแต่อยู่แบบกระจัดกระจายไม่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ดังนั้น จึงต้องออกแบบระบบบำบัดและสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ เพื่อดึงมารวมไว้ในที่เดียวกันให้มากที่สุด จุดอ่อนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ถ้ามีปัญหาในเรื่องของสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์กลุ่มนี้ทันที อาจจะส่งผลให้จุลินทรีย์ในระบบลดลงหรืออาจตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ เช่น ในกรณีที่น้ำเสียมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียต่ำมากๆ ( ค่า DO ต่ำ ) จะส่งผลให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ตลอดเวลา หรือ ในกรณีที่ค่า pH ความเป็นกรด-ด่างสูงมากๆ หรือ มีค่าต่ำมากๆ ( เป็นกรด ) จะส่งผลให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ทันทีเช่นกัน นี้คือปัญหาข้อจำกัดและจุดอ่อนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้บางส่วน จึงต้องมีการควบคุมและดูแลสภาวะแวดล้อมในระบบบำบัดให้ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาและเลี้ยงดูจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ให้อยู่ในระบบให้ได้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นจุดยากของระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับระบบในด้านต่างๆ ปัญหาทางด้านเทคนิคของระบบ ล้วนมีผลต่อการดำรงอยู่และขยายตัวของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ 2. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( Anaerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีความแตกต่างและความเหมือนบางอย่างกับจุลินทรีย์กลุ่มที่ 1 โดยมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆ ( บำบัดน้ำเสีย )ได้เช่นเดียวกันกับกลุ่มที่ 1 แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องของปฏิกิริยาการย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนเหมือนกลุ่มแรก ออกซิเจนไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ และจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีความศักยภาพทนกับแรงต้านทานในสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตได้ดี เช่น ในน้ำเสียไม่มีค่าออกซิเจนละลายอยู่เลย หรือ ค่า pH ความเป็นกรดด่างต่ำมากหรือสูงมากๆ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็สามารถทนกับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้และทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ เป็นจุดที่แตกต่างกับจุลินทรีย์กลุ่มที่ 1 ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน ) สำหรับข้อเสียหรือจุดด้อยของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ดึงมาใช้งานจากธรรมชาติได้ค่อนข้างยาก อยู่แบบกระจัดกระจายเช่นเดียวกันกับกลุ่มแรก ไม่ค่อยรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ควบคุมได้ค่อนข้างจะยากเช่นเดียวกันกับกลุ่มแรก ดึงมาใช้งานย่อยสลายของเสียได้ยากกว่ากลุ่มแรก ดังนั้น จึงต้องทำการสังเคราะห์จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) นี่คือ ความแตกต่างของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายทั้งสองกลุ่มนี้บางส่วน จะเห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละกลุ่ม เราสามารถเสริมจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็งของแต่ละกลุ่มได้ ในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด กระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นตอนสุดท้าย จะอยู่ที่การย่อยสลายของจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งเป็นตัวแปรสถานะของสสารต่างๆ ( ของเสีย ) ที่เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียเปลี่ยนไปเป็น น้ำ + พลังงาน + CO2 ( ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ) ซึ่งเป็นกระบวนการย่อยสลายของเสียขั้นสุดท้าย ส่งผลให้ของเสียต่างๆแปรสภาพเปลี่ยนไปเป็นตามปฏิกิริยาสมการจำลองด้านล่าง ( ของเสียเปลี่ยนสภาพ )
นี่คือที่มาของจุลินทรีย์ที่นำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดเป็นหลัก ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะผ่านเกณฑ์กำหนดหรือไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดก็อยู่ตรงที่การควบคุมปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ดีหรือมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเป็นตัวจักรและตัวแปรสสารต่างๆที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นตอนสุดท้ายในทุกๆระบบบำบัด จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆทุกๆชนิดที่เกิดจากสารอินทรีย์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( Anaerobic bacteria ) โดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสียที่เป็นมลภาวะและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม น้ำเสียนับวันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามการพัฒนาของมนุษย์ที่มีกิจกรรมในแต่ละวันมากมาย ซึ่งจะใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภครวมถึงการใช้น้ำในกิจการอุตสาหกรรมต่างๆในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลกระทบก่อให้เกิดน้ำเสียจากน้ำที่ผ่านการใช้แล้วในแต่ละวันในปริมาณมากตามไปด้วย น้ำเสียต่างๆที่ผ่านการใช้แล้วกฎหมายสิ่งแวดล้อมจะบังคับให้ทุกๆสถานที่ไม่ว่าที่ใดก็ตามต้องทำการบำบัดให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อม เพื่อลดมลภาวะและมลพิษในสิ่งแวดล้อม น้ำเสียไม่มีใครปรารถนาไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ เพราะน้ำเสียจะส่งผลให้พืชและสัตว์ตายได้ง่ายๆ น้ำเสียเกิดขึ้นที่ใดมักจะติดตามมาด้วยการตายของพืชและสัตว์น้ำ ค่า BOD > 100 mg/l น้ำเริ่มเน่าเสีย และ ค่า DO < 1 mg/l น้ำก็เริ่มเน่าเสียเช่นกัน น้ำเสียมีอยู่แทบทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะตามอาคาร บ้านเรือน โรงงาน สถานประกอบการทุกๆแห่ง แต่ส่วนใหญ่ขาดการบำบัดให้เป็นน้ำดีหรือมีการบำบัดแต่ระบบบำบัดไม่สมบูรณ์ ( ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่สมบูรณ์มีมากที่สุดแทบทุกแห่ง ) จึงส่งผลให้น้ำเสียยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง บรรดาน้ำเสียหรือน้ำเน่าเสีย ของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ล้วนต้องพึ่งพาอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายและบำบัดทั้งสิ้น ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ของเสียและน้ำเสียคงล้นโลกไปแล้ว ของเสียบางชนิดใช้เวลาย่อยสลายไม่นาน แต่ของเสียบางชนิดต้องใช้เวลาย่อยสลายเป็นเวลานาน กรณีน้ำเสียหรือน้ำที่เน่าเสียจะใช้เวลาในการบำบัดและย่อยสลายไม่นานมาก ตามปกติของเสียและน้ำเสียโดยทั่วๆไปจะถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ( กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจะมีจุดอ่อนหรือจุดด้อยตรงที่ต้องใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและบำบัดของเสียและน้ำเสีย ถ้าปราศจากซึ่งออกซิเจนแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในน้ำเสียหรือบนบก จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็ไม่สามารถทำงานได้ น้ำเสียและของเสียก็ยังคงไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลาย ซึ่งจะสร้างมลพิษและมลภาวะต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียจึงมาลงเอยที่กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มหรืออีเอ็ม ) ซึ่งสามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียโดยไม่จำเป็นต้องมีออกซิเจน ไม่ว่าในน้ำหรือบนบกก็สามารถทำงานได้ ประการสำคัญกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย ต้องการปริมาณมากเท่าใดก็สามารถทำได้ ซึ่งจะแตกต่างไปจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นมาค่อนข้างยากใช้งบลงทุนค่อนข้างสูง จุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายคล้ายๆกัน ในการรีบูทระบบบำบัดน้ำเสียจึงนิยมนำจุลินทรีย์อีเอ็มมาเป็นตัวตั้งต้นในการเซทระบบให้แอกทีฟมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้ทันที การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธีการด้วยกัน ทั้งวิธีทางกายภาพ เช่น การตกตะกอน การกรอง การนำไปกำจัดทิ้ง ส่วนการบำบัดน้ำเสียทางเคมีด้วยการใช้สารเคมีบางชนิดมาบำบัด ซึ่งส่วนใหญ่น้ำเสียที่ใช้วิธีการบำบัดทางเคมีนั้นจะปนเปื้อนสารเคมี หรือการตกตะกอนด้วยสารเคมีบางชนิดก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดน้ำเสีย ส่วนการบำบัดอีกวิธีหนึ่งก็คือ การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ คือการใช้จุลินทรีย์(ที่มีประโยชน์ในธรรมชาติ)ย่อยสลายของเสียให้มีโมเลกุลเล็กลงเรื่อยๆจนกระทั่งแปรเปลี่ยนสถานะของสสาร(ของเสียในน้ำเสีย)กลายไปเป็น น้ำ + พลังงาน + ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายในการแปรเปลี่ยนสถานะของสสารที่เป้นของเสีย ไม่ว่าการบำบัดน้ำเสียจะด้วยกรรมวิธีใดๆก็ตาม แต่ขั้นตอนสุดท้ายของการบำบัดน้ำเสีย ต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ของเสียและน้ำเสียไม่ล้นโลกก็มาจากผลงานของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์รักษ์โลก(รักษาโลก) มีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพขยายเซลล์ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศที่เหมาะสม สำหรับการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะนิยมใช้งานกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก เพราะสามารถดึงมาจากธรรมชาติใช้งานได้ง่าย ถ้าออกแบบระบบสิ่งแวดล้อมให้มันได้อยู่อาศัยดีพอ แต่ค่อนข้างควบคุมได้ยาก มีความอ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะสิ่งแวดล้อมในระบบบำบัด ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่( มากกว่า 90% )ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันจะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) ระบบนี้จะเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสีย( ในบ่อเติมอากาศ ) เพื่อให้น้ำเสียมีปริมาณออกซิเจนมากเพียงพอที่จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียและการดำรงชีพขยายเซลล์ต่อไป ถ้าในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็อยู่ไม่ได้( ตายยกบ่อบำบัด ) ดังนั้น จึงต้องมีการบำรุงและรักษามันไว้เป็นอย่างดีเพื่อให้อยู่ในระบบบำบัด( บ่อบำบัด ) ให้มากที่สุด เพื่อจะได้ทำการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป การมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัด( บ่อบำบัด ) ถ้ามีปริมาณน้อยก็มีปัญหา ถ้าไม่มีเลย ( จุลินทรีย์ย่อยสลายตายยกบ่อบำบัด ) ยิ่งมีปัญหามากเข้าขั้นวิกฤตน้ำเสียต้องรีบแก้ไขโดยด่วน ความหมายของการบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพ การบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงการบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานน้ำทิ้ง ( น้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกๆค่า ) หรือการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางราชการกำหนด กรณีที่ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าไม่ผ่านเกณฑ์ แต่มีบางค่าผ่านเกณฑ์ก็ไม่ถือว่า การบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีประสิทธิภาพ ถือว่ายังไม่มีประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสีย ต้องนำไปแก้ไขและปรับปรุงใหม่จนกว่าจะมีประสิทธิภาพ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งทุกๆค่าผ่านเกณฑ์กำหนด จึงจะถือว่า การบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพดี บทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายสายพันธุ์จากธรรมชาติ นำมาสังเคราะห์รวมไว้ในที่เดียวกัน มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียได้ดี รวมถึงการบำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ทั้งการย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่เด่นๆอีกคุณสมบัติหนึ่งคือ การบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)ได้ดี แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปใช้ในงานบำบัดน้ำเสีย การทำหน้าที่บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย ) จะเหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ปฏิกิริยาเกิดขึ้นเหมือนกันและได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน( ตามสมการจำลองด้านล่าง ) จะแตกต่างกันตรงที่กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ ถึงแม้ในน้ำเสียจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ อีกทั้งยังสามารถทนแรงต้านทานสิ่งแวดล้อมที่วิกฤตได้ดี เช่น ในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลย และกรณีที่ค่า pH ในน้ำเสียมีค่าต่ำมากหรือสูงมากในบางครั้ง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทนกับสภาวะแวดล้อมเช่นนี้ได้ ในขณะที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทนแรงต้านทานที่วิกฤตเหล่านี้ได้ ( ตายยกบ่อบำบัด ) นี่คือความแตกต่างของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน
สมการจำลองปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย ด้านบนเป็นปฏิกิริยาของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ส่วนด้านล่างเป็นปฏิกิริยาของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งผลลัพธ์จะเป็นไปตามสมการ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัดและน้ำเสียที่มาจากทุกๆแหล่ง มีวงจรชีวิตเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทั่วๆไป จุดเด่นคือ สามารถสังเคราะห์ขึ้นมากหรือน้อยตามความต้องการได้ และเราสามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมากหรือน้อยเข้าไปในระบบบำบัดได้ทันที ไม่ต้องรอเวลาเหมือนกรณีการเพิ่มปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งระบบต้องใช้เวลารันระบบเป็นสัปดาห์จึงจะเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าระบบบำบัดจะมีปัญหาหรือไม่มีปัญหา ทั้งปัญหาทางด้านเทคนิคและสิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัด ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนที่มีจุดอ่อนค่อนข้างมาก ระบบมีปัญหาจุดใดจุดหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทันที จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจึงเป็นตัวเติมเต็มและแก้ปัญหาให้กับการบำบัดน้ำเสีย ทดแทนจุลินทรีย์ย่ยสลายในระบบมีน้อยหรือกรณีที่จุลินทรีย์ย่อยสลายตายเกลี้ยงบ่อบำบัด สามารถนำไปทดแทนการบำบัดน้ำเสียได้ทันที ระบบบำบัดน้ำเสียโดยทั่วๆไปมีทั้งหมด 6 ระบบ แต่ระบบบำบัดที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดก็คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) ดังนั้น ต่อไปนี้จะกล่าวถึงระบบบำบัดน้ำเสียชนิดนี้เป็นหลัก ระบบบำบัดแบบเติมอากาศนี้จะมีจุดที่สำคัญอยู่ 3 จุดด้วยกัน คือ มีบ่อรับน้ำเสีย( บ่อแรก ) บ่อเติมอากาศ และ บ่อตกตะกอน ( บ่อน้ำทิ้ง ) ส่วนจะมีการเสริมหรือเพิ่มจำนวนบ่อขึ้นมาอีกในจุดใดจุดหนึ่งก็สามารถทำได้ จุดเด่นๆของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้จะอยู่ที่บ่อเติมอากาศ เหตุเพราะบ่อเติมอากาศจะเกิดปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) มากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ บ่อเติมอากาศหรือบ่อปฏิกิริยาเป็นบ่อที่มีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักอาศัยอยู่มากที่สุด( เพราะมีการเติมออกซิเจนตลอดเวลา ) จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ มีอาหารเพียงพอ และมีออกซิเจนมากเพียงพอต่อการดำรงชีพและดึงไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสองสิ่งนี้ก็ไม่ได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้จึงต้องออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสม สร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนอยู่ได้ ออกซิเจนและอาหารต้องเพียงพอ เมื่อใดที่ระบบมีปัญหาขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนนี้ทันที ปริมาณอาจลดลงหรือตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ ซึ่งจะส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าโดยตรง ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ) บทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับระบบบำบัดน้ำเสีย สำหรับบทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับระบบบำบัดน้ำเสียนั้นจะช่วยทั้งการเพิ่มและการเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบบำบัดได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ .- 1. ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดมีน้อย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีน้อย ) อันเนื่องมาจากปัญหาเหล่านี้ 1.1 เครื่องเติมอากาศเสียรอซ่อม จะทำให้ในบ่อบำบัดปริมาณออกซิเจนจะลดลงเรื่อยๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จะทำให้น้ำเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น ซึ่งกว่าจะรันระบบเริ่มใหม่หรือบูทระบบใหม่ต้องใช้เวลานาน ในขณะที่ของเสียและน้ำเสียเพิ่มขึ้นตลอดเวลา จนกลายไปเป็นวิกฤตน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นทั่วบ่อบำบัด 1.2 เครื่องเติมอากาศมีกำลังแรงม้าต่ำหรือกำลังวัตต์ต่ำ ซึ่งจะกระจายออกซิเจนได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เครื่องเติมอากาศต้องมีกำลังสมดุลกับปริมาณของน้ำเสีย ( ต้องเผื่อ Overload ประมาณ 10% ) ไม่ควรหยุดเดินเครื่องเติมอากาศเป็นเวลานานๆ เพราะจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดลงได้ 1.3 อาหาร( ของเสีย )ไม่เพียงพอ ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อสลายลดลงได้ 1.4 ออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและขยายเซลล์( ขยายตัว )ของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน 2. สิ่งแวดล้อมในน้ำเสีย ( ในบ่อบำบัด ) มีปัญหา เช่น ค่าออกซิเจนละลายในน้ำเสียต่ำ ( ค่า DO ต่ำ ) โดยทั่วไปค่า DO ไม่ควรต่ำกว่า 2 mg/l หรือกรณีน้ำเสียมีค่า pH ต่ำมาก หรือสูงมาก จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนโดยตรง อาจตายเกลี้ยงบ่อบำบัดได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องมีการเช็คค่าเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ( ค่า DO , pH ) ถ้าเกิดปัญหาขึ้นต้องรีบแก้ไขทันทีให้ทันเวลาก่อนจุลินทรีย์ย่อยสลายจะตายยกบ่อบำบัด 3. ระบบเกิดการโอเวอร์โหลด ( Overload ) คือ น้ำเสียเข้าระบบมากเกินไปในบางครั้ง ในขณะที่ปริมาณจุลินทรีย์ไม่ได้เพิ่มปริมาณตามน้ำเสียและของเสียที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งได้ ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน ) 4. จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อบำบัด ซึ่งสังเกตได้จากกลิ่นเน่าเหม็นที่รุนแรง สิ่งที่จะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ตายยกบ่อได้มีหลายปัจจัย เช่น มีสารเคมีที่เป็นอันตรายหลุดเข้าไปในบ่อบำบัด หรือในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลยเป็นต้น
จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้ในจุดนี้ ( ปัญหา 1 - 4 ) ไม่ว่าค่า DO ในน้ำเสียจะมีมากหรือมีน้อยหรือไม่มีเลย ค่า pH จะต่ำมากหรือสูงมากก็ไม่มีผลกระทบใดๆต่อการดำรงชีพและการทำงานย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย ) ของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ดังนั้น จึงเป็นกำลังเสริมและกำลังสนับสนุนการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบได้เป็นอย่างดีในยามวิกฤตเกิดปัญหาขึ้นตามข้อ 1 - 4 สามารถทดแทนและแก้ไขปัญหาได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา RUN และ REBOOT ระบบบำบัดใหม่เป็นสัปดาห์ให้เสียเวลา เพราะน้ำเสียเกิดขึ้นตลอดเวลาต้องแก้ไขปัญหาทันที ถึงแม้ว่าระบบบำบัดเดิมไม่มีปัญหาใดๆ แต่ต้องการเริ่งปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย ) ให้เร็วขึ้น ให้การย่อยสลายเกิดได้มากขึ้นกว่าปกติก็สามารถใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเริงปฏิกิริยาได้ทันที ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดและการบำบัดน้ำเสียโดยตรง ใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียอย่างไรจึงจะออกมาสมบูรณ์เป็นน้ำดีได้ ? น้ำเสียจะมีสิ่งสกปรกที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์เจือปนหรือปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่สารปนเปื้อนจะเป็นสารอินทรีย์และสารเคมีบางส่วนปะปนกันอยู่ ในบางกรณีอาจทำให้น้ำเสียนั้นเกิดการเน่าเหม็นขึ้นถ้าปริมาณสารอินทรีย์มีมาก ส่งผลให้น้ำเสียนั้นๆยิ่งวิกฤติมากขึ้น น้ำเสียและของเสียที่ปะปนในน้ำเสียนั้นต้องถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และปริมาณจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียต้องมีปริมาณมากกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงจะเอาชนะของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นได้ ของเสียทุกๆอย่างในโลกนี้ ซึ่งรวมทั้งน้ำเสียด้วย ล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการย่อยสลายของเสียต่างๆแทนจุลินทรีย์ได้ในปัจจุบัน น้ำดีหรือน้ำเสียวัดได้จากค่าพารามิเตอร์เช่น ค่า pH , BOD , COD , DO , SS , TTS เป็นต้น ยิ่งค่าออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆมีสูง ( ค่า DO มากกว่า 3 ขึ้นไป ) ยิ่งเป็นการดีและค่าอื่นๆได้มาตรฐานนั่นคือ น้ำดี ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะแปรผันไปตามปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลาย ถ้าในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายจำนวนมาก จะส่งผลต่อค่าพารามิเตอร์ต่างๆเข้าใกล้ค่ามาตรฐาน จะเห็นว่า จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและน้ำเสียเป็นตัวจักรสำคัญในระบบบำบัดน้ำเสียที่จะทำให้น้ำเสียเปลี่ยนเป็นน้ำดีได้ นี่คือความสำคัญของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียอย่าให้ขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายและอย่าให้จุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีน้อยจนเกินไป เพราะจะเกิดปัญหาหลายอย่างติดตามมาในภายหลัง น้ำดีและน้ำเสียสามารถแบ่งแยกได้ด้วยการวัดระดับ BOD (Biochemical Oxygen Demand/Biological Oxidation Demand) ซึ่งเป็นปริมาณของ O2 ที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ อาทิ สารประกอบ Hydrocarbons (น้ำมันเชื้อเพลิง) แอลกอฮอล์ และน้ำตาล เป็นต้น ดังนั้น น้ำที่มีค่า BOD ต่ำคือ น้ำที่ดี เพราะจุลินทรีย์ต้องการ O2 จำนวนน้อยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ สำหรับประเทศไทยค่ามาตรฐานน้ำทิ้งกำหนดไว้ว่าค่า BOD จะต้องไม่เกิน 20 mg/l (มิลลิกรัมต่อลิตร) สำหรับค่ามาตรฐานน้ำทิ้งทั่วๆไป ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังต่อไปนี้.- 1. ปริมาณของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบมีมากหรือน้อย หรือแทบไม่มีเลย ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบ สิ่งแวดล้อมเหมาะสมกับการเจริญเติบโตและขยายตัว ( แบ่งเซลล์ ) ของจุลินทรีย์ได้ดีหรือไม่ เครื่องเติมอากาศมีกำลังวัตต์หรือกำลังแรงม้าเพียงพอหรือไม่ การเติมอากาศเติมได้แบบกระจายทั่วถึงทุกๆจุดทั้งบ่อบำบัดหรือไม่ 2. ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายต้องเหมาะสม ส่วนจะใช้เวลาในการย่อยสลายของเสียต่างๆมากหรือน้อนนั้นยังขึ้นอยู่กับปริมาณของเสียต่างๆที่อยู่ในน้ำเสียนั้นๆเป็นตัวแปร ของแข็งแขวนลอย ( SS ) ของแข็งตะกอนหนักมีมากหรือน้อย ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการใช้เวลาในการย่อยสลายของจุลินทรีย์ทั้งสิ้น
จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียมีที่มาอย่างไร ? จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย เราได้ทำการพัฒนาและต่อยอดจุลินทรีย์อีเอ็มเดิมๆให้มีความแข็งแกร่งและปริมาณความหนาแน่นมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงในเรื่องกลิ่นจากเดิมๆกลิ่นเหม็นเปรี้ยวให้มีกลิ่นหอมตรงกับความต้องการของลูกค้าทุกๆกลุ่มที่ใช้จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียของเรา นี่คือที่มาของ จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ยี่ห้อ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งผู้ใช้ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัดจะได้รับประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( Anaerobic bacteria ) สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้กับทุกๆระบบ โดยเฉพาะกับระบบที่มีปริมาณจุลินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย ( ระบบเติมอากาศทั่วๆไป ) น้ำเน่าเหม็นและน้ำที่เน่าเสียมีที่มาจากปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อยกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียให้มากขึ้นและปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดเร็วขึ้น ช่วยเสริมจุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ซึ่งเกิดปัญหาบ่อยๆ ในเรื่องของปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียไม่เพียงพอหรือมีปริมาณน้อย ส่งผลให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักมีจำนวนน้อยตามไปด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียในจุดนี้ด้วย เพราะจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไม่ดึงหรือไม่แย่งออกซิเจนจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน จึงไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อระบบบำบัดและกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน
ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม สำหรับบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัด ใช้แล้วกลิ่นหอมทันที ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทันที เพิ่มและเสริมประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียให้เกิดการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากยิ่งขึ้น เสริมจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็งของระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียทำได้มากขึ้น จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งฟรีทั่วประเทศ มีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่สมบูรณ์ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ จุลินทรีย์ย่อยสลายในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อยทำให้เกิดน้ำเน่าเหม็น ปัญหาน้ำเสียในอาคาร บ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama )บำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นในเวลาเดียวกัน เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
[[ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุดมาจากแหล่งใด ? คลิกที่นี่.. ]]
(( กฎหมายการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..))
|