จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้บรรจุกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง สำหรับลดค่า TKN โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสีย ดูปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละระบบและการแก้ไขปัญหา
ReadyPlanet.com
bulletใบเสนอราคาจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletห้องน้ำเหม็นตอนฝนตก/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรงช่วงหน้าฝน
bulletวิธีการแก้ปัญหากลิ่นห้องน้ำโชยเข้าห้องนอน
bulletห้องน้ำเหม็นมากๆส้วมเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
bulletวิธีทำความสะอาดห้องน้ำ/ส้วมให้มีกลิ่นหอม
bulletดับกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ/บำบัดกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ
bulletเทคนิคการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่น/บำบัดน้ำเสีย
bulletดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น
bulletดับกลิ่นเหม็นบ่อเกรอะ
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/ กลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletประโยชน์ของการเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายลงไปในบ่อเกรอะ
bulletจุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะ
bulletกลิ่นเน่าเหม็นจากบ่อเกรอะแก้อย่างไร?
bulletจำหน่ายอีเอ็มดับกลิ่น/อีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรง
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำมาจากจุดใด?
bulletวิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็นส้วมเหม็นด้วยจุลินทรีย์-Kasama
bulletจุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย-KASAMA
bulletวิธีดับกลิ่นส้วม/วิธีดับกลิ่นส้วมเหม็น
bulletท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น
bulletการใช้จุลินทรีย์-Kasama ทำความสะอาดห้องน้ำปั๊มน้ำมัน
bulletวิธีดับกลิ่นท่อน้ำทิ้ง/วิธีดับกลิ่นท่อระบายน้ำทิ้ง
bulletของเสียในห้องน้ำห้องส้วม
bulletวิธีดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ
bulletกลิ่นเหม็นห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น ซื้อที่ไหน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ ซื้อที่ไหน
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ลดกลิ่นห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นเหม็นท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ดับกลิ่นส้วม
bulletการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายทำความสะอาดห้องน้ำ
bullet(( การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมและอพาร์ทเม้นท์ ))
bulletการบำบัดน้ำเสียในหมู่บ้านด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการดูแลบ่อเกรอะไม่ให้ส่งกลิ่นรบกวน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นน้ำเน่าเสียดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็น
bulletจำหน่ายอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletอีเอ็มดับกลิ่น
dot
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย
dot
bulletจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletจุลินทรีย์อีเอ็ม( EM )
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในห้องน้ำห้องส้วม
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็น
bulletวิธีแก้ห้องน้ำเหม็น
bulletส้วมเหม็น ทำไงดี?
bulletส้วมเหม็น ทำอย่างไร?
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็นมีวิธีแก้ไข
bulletท่อน้ำทิ้งมีกลิ่น
bulletห้องน้ำคอนโดมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำโรงแรมมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำอพาร์ทเม้นท์มีกลิ่นเหม็น
bulletการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ในการดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในตลาดสด
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดของเสียในร้านอาหารและภัตตาคาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มในโรงพยาบาลและคลีนิก
bulletการทำงานของจุลินทรีย์
bulletประโยชน์ของจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ให้ได้ผลดี
bulletความเข้าใจในการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นต่างๆ
bulletวิธีการกำจัดกลิ่นเหม็นด้วยจุลินทรีย์
bulletการแก้ปัญหาน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย
dot
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
dot
bulletน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย น้ำท่วม
bulletem บำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีบำบัดน้ำเสีย
bulletการบำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีการบำบัดน้ำเสีย
bulletน้ำเสียและการบําบัดน้ำเสียแบบง่ายๆ
bulletอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย/อีเอ็มดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม
bulletการใช้จุลินทรีย์กำจัดไขมันในโรงอาหาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มดับกลิ่นในไซท์งานก่อสร้าง
dot
การใช้จุลินทรีย์ในส่วนอื่นๆ
dot
bulletกลิ่น / กลิ่นไม่พึงประสงค์
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข : น้ำยาดับกลิ่นสุนัข
bulletกลิ่นสุนัข/กลิ่นสัตว์เลี้ยง
bulletวิธีกําจัดกลิ่นสุนัข/วิธีกำจัดกลิ่นสัตว์เลี้ยงด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกชนิด
bulletการกำจัดกลิ่นห้องน้ำด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletส้วมเหม็น / ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/กลิ่นส้วม
bulletห้องน้ำเหม็นอับ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ / ห้องส้วม
bulletส้วมเต็มง่าย
bulletส้วมมีกลิ่น / ห้องน้ำมีกลิ่น/ กลิ่นส้วม
bulletการเก็บรักษาจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นอย่างไรจึงจะได้ผล ?
dot
= การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ =
dot
bulletดับกลิ่นในห้องน้ำและห้องนอนด้วยจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์ทะลวงในท่อที่อุดตัน
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในสวนสัตว์
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข
bulletสารพัดประโยชน์จากจุลินทรีย์
bulletการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ประจำวัน
bulletการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ในบ้าน
bulletจำหน่ายจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletทำไมต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย?
bulletการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
bulletแผนผังเว็บไซต์
bulletไทยรัฐ
bulletเดลินิวส์
bulletคมชัดลึก
bulletแนวหน้า
bulletบริหารจัดการ
bulletLoGo
bulletHotmail
bulletYahoo
dot
ธนาคาร
dot
bulletกรุงเทพ
bulletกสิกร
bulletThailandservices
bulletYoutube
bulletแปลงไฟล์
bulletFB
bulletGmail


มีปัญหาฟาร์มเป็ดส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ฟาร์มไก้ส่งกลิ่นเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น, แก้บ่อเกรอะเหม็น, ห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็นทำอย่างไร? อยากรู้คลิกดูที่นี่..
ดับกลิ่นสุนัข, ดับกลิ่นฟาร์มสุนัข, ดับกลิ่นคอกสุนัข, ดับกลิ่นกรงสุนัข, ดับกลิ่นมูลสัตว์เลี้ยง, ดับกลิ่นมูลสุนัข, ดับกลิ่นสัตว์เลี้ยง
ฟาร์มสุกรส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มหมูส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มสัตว์เลี้ยงส่งกลิ่นเหม็น, กลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, แก้ปัญหากลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มสัตว์เลี้ยง,
ห้องน้ำเหม็น, ส้วมเหม็น, จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น, จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, จุลินทรีย์อีเอ็ม, จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง, อีเอ็ม, จำหน่ายอีเอ็ม, จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ขายอีเอ็ม, ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ดับกลิ่นส้วมเหม็น, บำบัดน้ำเ


ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสีย

   

                  

ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่คือ ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด อาจจะเป็นบางค่าหรือหลายๆค่าก็มีให้เห็นเป็นประจำ ส่วนใหญ่จะเป็นอาคารชุดคอนโด อาคารสำนักงานทั่วๆไป โรงงาน ห้างสรรพสินค้าหลายๆแห่ง โรงพยาบาลหลายๆแห่ง ฯลฯ

สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย) เป็นตัวจักรที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด การบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบจึงขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายไม่ได้ ขาดเมื่อใด ระบบมีปัญหาทันที

ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบต่างต้องการดึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน Aerobic bacteria  และ Anaerobic bacteria วิกฤตน้ำเสียในบ่อบำบัดจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ในบ่อบำบัดน้ำเสียมีจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียน้อยหรือแทบไม่มีเลย จะทำให้เกิดสภาวะน้ำเสียรุนแรงวิกฤตมากยิ่งขึ้น และติดตามมาด้วยกลิ่นไม่พึงประสงค์ฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ

ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสีย

สำหรับปัญหาในระบบบำบัดน้ำเสียที่พบ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดของทางราชการ ระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยนิยมใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated  Sludge : AS ) มากกว่า 90% จะเป็นระบบนี้ ซึ่งระบบนี้มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ถ้าการดูแลบำรุงรักษาบริหารจัดการไม่ดีพอก็จะเกิดปัญหาขึ้นกับระบบทันที

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ (  Activated  Sludge  :  AS  )

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( AS )เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทย ระบบบำบัดน้ำเสียแทบจะทุกๆแห่งในประเทศไทยจะเป็นระบบบำบัดแบบเติมอากาศ ระบบนี้มีทั้งจุดด้อยและจุดเด่น ถ้าดูแลและการบำรุงรักษาบริหารจัดการดีก็จะเป็นจุดเด่นทันที แต่ถ้าดูแลและบำรุงรักษาบริหารจัดการไม่ดีและดูแลได้ไม่ถึงก็จะมีปัญหาเป็นจุดด้อยทันที นั่นก็คือ ปัญหามาตรฐานน้ำทิ้งไม่่ผ่านเกณฑ์อยู่บ่อยๆหรือเป็นประจำ ซึ่งมีสถานประกอบการจำนวนมากที่ค่าน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ( ดูสถานประกอบการที่ไม่ผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละแหล่ง ) ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ถ้ามีความตั้งใจจริงๆ แต่ส่วนใหญ่จะละเลยมากกว่า เพราะคิดว่าสิ้นเปลืองงบประมาณเปล่าๆ เป็นเรื่องไกลตัว แต่อย่าลืมว่าการทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย หรือการสร้างมลภาวะและมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมสาธารณะส่วนรวมเป็นเรื่องที่ิผิดกฎหมายโดยตรง เราควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพดีปราศจากมลพิษและมลภาวะของน้ำเสีย เป็นการรักษาโลกใบนี้ของเราทุกๆคน 

        

 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS  (  Activated  Sludge ) เป็นระบบบำบัดน้ำเสียชนิดที่เติมอากาศออกซิเจนลงในน้ำเสีย ( บ่อเติมอากาศ ) โดยใช้เครื่องเติมอากาศ ( Aerator ) ออกซิเจนลงในบ่อน้ำเสีย เพื่อเพิ่มปริมาณอากาศออกซิเจนให้กับน้ำเสีย และเพิ่มออกซิเจนในการดำรงชีพให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์กลุ่มนี้เมื่อได้รับออกซิเจนแล้วจะเจริญเติบโตและขยายตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( ย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ) เพื่อให้ของเสียที่อยู่ในรูปของสสารและแร่ธาตุต่างๆแปรเปลี่ยนสภาพจากของเสียกลายไปเป็นตามสมการ  ->  น้ำ + พลังงาน + คาร์บอนไดออกไซด์ ในที่สุด การย่อยสลายของเสียจะเกิดขึ้นตลอดเวลาตราบใดที่มีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายดำรงชีพและเจิรญเติบโตได้ดีในบ่อบำบัด

     

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS มีจุดเด่นที่สามารถดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้ง่ายจากธรรมชาติ โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายและเติมอากาศออกซิเจนให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ แต่ในขณะเดียวกันระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS ก็มีจุดด้อยหรือจุดอ่อนเช่นกัน ทั้งการออกแบบระบบ การเติมอากาศทำได้ทั่วถึงทั้งบ่อเติมอากาศหรือไม่ คุณภาพของน้ำเสียเป็นอย่างไร เครื่องเติมอากาศกำลังวัตต์เพียงพอหรือไม่ มีการดูแลและบำรุงรักษาระบบอยู่เป็นประจำหรือไม่ ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อระบบบำบัดโดยตรง อย่าลืมว่าหัวใจหลักของการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัดก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลาย ถ้าดูแลและรักษาจุลินทรีย์สลายไว้ได้เป็นอย่างดีในระบบ ก็จะส่งผลดีต่อระบบให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้  สำหรับปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งต่างๆไม่ผ่านเกณฑ์ส่วนใหญ่ก็มาจากจุดนี้เป็นหลัก คือปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีน้อย ในการแก้ไขปัญหาต้องดูรวมทั้งระบบว่าเกิดจากจุดใดบ้าง

สรุปจุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( ระบบ AS )อยู่ตรงจุดใดบ้าง ?

1. การเติมออกซิเจนไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด อาจจะด้วยเครื่องเติมอากาศมีกำลังวัตต์หรือกำลังแรงม้าต่ำ เติมออกซิเจนได้ไม่เพียงพอกับปริมาตรของน้ำเสีย จึงเติมออกซิเจนได้ไม่กระจายทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศโดยตรง

2. เติมออกซิเจนไปไม่ถึงก้นบ่อบำบัด เพราะบ่อบำบัดลึกเกินไป ( บ่อเติมอากาศไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร ) ออกซิเจนจะไปไม่ถึงก้นบ่อ ส่งผลเสียให้น้ำเสียและของเสียต่างๆที่ตกตะกอนอยู่ก้นบ่อไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลายเหมือนที่ผิวบ่อบำบัด

3. การเติมออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง ( เดินเครื่องเติมอากาศอย่างต่อเนื่อง )  เพื่อไม่ให้ปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดปริมาณลง จะส่งผลเสียต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้น้อยลงตามไปด้วย ส่วนใหญ่เดินเครื่องเติมอากาศไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะกลัวค่าใช้จ่าย( ค่าไฟฟ้า)เพิ่มขึ้น

4.  ไม่สามารถกำหนดปริมาณและความหนาแน่นของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้  ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติกำหนด  ถ้าต้องการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนให้มากขึ้น ต้องเพิ่มจำนวนบ่อบำบัดและเครื่องเติมอากาศ

      

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศสามารถเพิ่มบ่อเติมอากาศได้มากกว่า 1 บ่อได้ตามความต้องการ ซึ่งก็จะทำให้งบประมาณเพิ่มตามไปด้วย  ระบบบำบัดน้ำเสียทั่วๆไปไม่จำเป็นต้องมีเพียงแค่ 3 บ่อเท่านั้น ( ตามภาพด้านบน ) สามารถเพิ่มบ่อเสริมในแต่ละจุดได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียคือ งบประมาณเพิ่มตาม การควบคุมระบบก็จะยากขึ้นตามไปด้วย แต่ส่วนใหญ่จะสร้างบ่อบำบัดเพียงแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพบน ) เพราะสะดวกและประหยัดดูแลง่าย แต่ข้อเสียคือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาจไม่ผ่านในบางครั้ง หรือระบบล้มเหลวได้ง่ายๆ ถ้าการดูแลและบำรุงรักษาไม่ดีพอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาในจุดนี้ จึงส่งผลให้น้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง  ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหาตัวช่วยเพื่อมาช่วยเพิ่มการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียให้ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียเกิดมากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ซึ่งก็คือ การเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าไปในระบบบำบัดนั่นเอง

การแก้ปัญหาจุดอ่อนและการสร้างจุดแข็งให้กับระบบ AS ( Activated  Sludge ) แบบเติมอากาศ ( ภาพล่าง ) 

  

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศภาพบนนี้เหมาะสำหรับองค์กรที่มีน้ำเสียและของเสียในน้ำเสียเจือปนมีปริมาณมากและโรงงานที่มีปริมาณน้ำเสียมากและวิกฤตหนัก มีสสารเจือปนอยู่ในน้ำเสียในปริมาณที่มาก ค่า BOD ละค่าพารามิเตอร์ตัวอื่นๆสูงมาก จึงต้องเพิ่มการบำบัดของเสียและย่อยสลายของเสียให้มากขึ้น(ตามภาพบน) หรือการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดและย่อยสลายของเสียให้มากขึ้นนั่นเอง การย่อยสลายของเสียในน้ำเสียจะเกิดขึ้น 3 ชั้น ( 3 บ่อเติมอากาศ ) ประสิทธิภาพการบำบัดจะเพิ่มขึ้นทันที ของเสียต่างๆในน้ำเสียจะถูกย่อยสลายตั้งแต่บ่อเติมอากาศที่ 1 จนถึงบ่อเติมอากาศที่ 3 ซึ่งจะเหลือของเสียตะกอนละเอียดน้อยมาก และจะส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านได้โดยง่ายขึ้นด้วย แต่ข้อเสียก็คือ งบประมาณเพิ่มขึ้นและใช้พื้นที่ค่อนข้างมากขึ้น

    คำอธิบายจากภาพด้านบน

-  บ่อที่ 1 ตกตะกอนและกรองหยาบเอาของเสียบางส่วนออกจากระบบ โดยเฉพาะขยะชิ้นใหญ่ชิ้นเล็ก ซึ่งจะช่วยลดค่า SS , TDS ได้ดี

-  บ่อที่ 2 กรองละเอียด เพื่อกรองเอาตะกอนละเอียดออกให้ได้มากที่สุด รวมถึงไขมันและน้ำมัน ( FOG ) ซึ่งจะช่วยลดค่า FOG ได้ในระดับหนึ่ง

-   บ่อที่ 3 บ่อเติมอากาศบ่อที่ 1 ทำการเติมอากาศลงในบ่อที่ 1 เพื่อดึงจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมาใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเป็นจุดแรก แล้วผ่านไปย่อยสลายของเสียต่อยังบ่อเติมอากาศที่ 2

-   บ่อเติมอากาศที่ 2 ทำการย่อยสลายของเสียที่เหลือจากบ่อที่ 1 ซ้ำ ก่อนที่จะผ่านไปยังบ่อเติมอากาศที่ 3

-   บ่อเติมอากาศที่ 3 ซึ่งเป็นบ่อเติมอากาศบ่อสุดท้าย จะทำการย่อยสลายของเสียที่เป็นสสารและแร่ธาตุที่หลุดมาจากบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งของเสียจะน้อยและลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่บ่อเติมอากาศบ่อที่ 1 บ่อนี้จะมีตะกอนน้อยลงมาก และเป็นตะกอนละเอียด

การเช็คค่ามาตรฐานน้ำทิ้งหรือตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำทิ้งให้เช็คค่าในบ่อสุดท้ายก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม ( ตามภาพ )

ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีบ่อเสริมหรือเพิ่มเติมขึ้นมาจะทำให้งบประมาณค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตาม  แต่ระบบจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติทั่วๆไป ( มากกว่าระบบที่มีเพียง 3 บ่อ ) การบำบัดน้ำเสียจะทำได้ดีกว่า สมบูรณ์กว่า แต่ค่อนข้างใช้พื้นที่มาก การดูแลและบำรุงรักษต้องมีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอตรวจสอบระบบเป็นประจำ ผู้ดูแลระบบนี้ต้องมีความรู้และความเข้าใจในระบบมากพอสมควร

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าแก้ปัญหาให้ระบบ AS ได้อย่างไร ? 

      

ภาพบนเป็นกระบวนการปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) จะมีผลพลอยได้เพิ่มขึ้นจากเดิม คือ CH4 และ O2

  

ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ยังมีปัญหา ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะตอบโจทย์และเติมเต็มแก้ไขปัญหาให้ในจุดอ่อนนี้ ให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

จุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีบทบาทและความสำคัญอย่างไรในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ( ทุกๆระบบ ) ? 

ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆ มีความสมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย มีปริมาณจุลินทรีย์ที่มากพอกับการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียในระบบทั้งหมด ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ตลอดเวลาก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเลย ( ยกเว้นการกำจัดกลิ่น ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน ( มากที่สุด ) ผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมและอาจถูกปรับบ่อยๆอยู่เป็นประจำ ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร หาวิธีการแก้ไขยังไม่ได้ ขอให้คิดถึงจุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับท่าน เรายินดีให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆ โดยไม่มีการคิดค่าที่ปรึกษาใดๆ เพียงเป็นลูกค้าจุลินทรีย์หอมคาซาม่าท่านจะได้สิทธิ์นี้ตลอดไปที่มีการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง การบำบัดน้ำเสียต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง การบำรุงและดูแลรักษาต้องทำให้จริงและทำให้ถึง ระบบบำบัดน้ำเสียจึงจะมีประสิทธิภาพดีอย่างสม่ำเสมอ มีปัญหาในระบบบำบัดจุดใดต้องรีบแก้ไขทันที

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย รวมไปถึงคุณสมบัติพิเศษอีกข้อหนึ่งก็คือ การกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มอื่นไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดำรงชีพได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนและมีออกซิเจน นี่คือจุดเด่นๆของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ที่ไม่เหมือนจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆ

- ด้านการบำบัดน้ำเสีย สามารถใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสีย ไม่ว่าน้ำเสียนั้นๆจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนก็ตาม ( มีออกซิเจนน้อยหรือไม่มีออกซิเจนเลย ที่อับอากาศหรืออากาศออกซิเจนเข้าไม่ถึง ) โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์เจือปนในน้ำเสียในปริมาณมาก กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายของเสียไม่สมดุลกับน้ำเสีย ( ย่อยสลายไม่ทันปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น ) ทำให้น้ำเสียบำบัดได้ไม่ค่อยสมบูรณ์ ค่า BOD และค่าพารามิเตอร์ตัวอื่นๆลดลงได้เล็กน้อย ส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด บ่อที่บำบัดและย่อยสลายของเสีย ( บ่อเติมอากาศ) จะทำงานค่อนข้างหนัก จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนต้องมีปริมาณเพียงพอต่อปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น ถ้าปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมีน้อยจะเกิดปัญหาติดตามมาทันที ( ค่าพารามิเตอร์คือตัวชี้วัดระบบล้มเหลว ) ปัญหาหลักๆจึงอยู่ที่จุดบำบัดและย่อยสลายของเสียจุดนี้ ( บ่อเติมอากาศ ) และบ่อสุดท้ายก่อนที่จะปล่อยน้ำทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาทำหน้าที่เติมเต็มในจุดนี้ การเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าไปในระบบบำบัดจะส่งผลทำให้การย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียปฏิกิริยาย่อยสลายเกิดเร็วมากขึ้น ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายเร็วมากขึ้น จึงส่งผลให้ระบบบำบัดโดยรวมทำงานย่อยสลายของเสียต่างๆได้ดี กำจัดสสารต่างๆได้มากขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะเข้าไปแก้ไขปัญหาในจุดด้อยของระบบในแต่ละจุด เสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียให้ดีขึ้น การบำบัดน้ำเสียค่อนข้างใช้ความรู้ทางด้านเทคนิคสูงเป็นพิเศษ ( แบบบูรณาการทุกๆส่วน ) การบำบัดน้ำเสียจึงจะมีประสิทธิภาพได้ ( ผ่านเกณฑ์ )

- ด้านการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นต่างๆ โดยเฉพาะกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากสารอินทรีย์ทั้งหลาย กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ เป็นคุณสมบัติโดยเฉพาะของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นการกำจัดกลิ่นที่ต้นเหตุและเป็นธรรมชาติบำบัดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์โดยรวม ปลอดภัยไม่มีสารเคมีตกค้างในธรรมชาติ 

 


 

อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน )

จากภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียระบบ AS เติมอากาศ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดใช้ออกซิเจน ) + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ) จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เดิมในบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนเบื้องต้นธรรมดาเท่านั้น ( การย่อยสลายเกิดขึ้นน้อยมากในบ่อนี้ ) ก่อนที่จะผ่านเข้าไปบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อที่ทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากที่สุดในระบบนี้ ( บ่อย่อยสลายของเสียโดยใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) และส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วในบ่อที่ 3 ( ตามภาพบน ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่ในระบบ AS นี้จะเกิดขึ้นในจุดเดียวคือ บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี  แต่เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปเพิ่มเติม ( ในบ่อที่ 1 ) จะเกิดการย่อยสลายในบ่อที่ 1 หรือบ่อแรกเพิ่มขึ้นทันทีอีกจุดหนึ่ง ( เหมือนบ่อเติมอากาศ ) กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ออกซิเจนจึงไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้ทันที จะเห็นได้ว่าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 จุดหรือ 2 บ่อ ( บ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบดับเบิ้ล คือ บ่อที่ 1 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นตัวบำบัด ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )เป็นด่านแรกก่อนที่จะส่งต่อไปบำบัดอีกชั้นหนึ่งที่บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลาย ) จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะลดลงตั้งแต่การย่อยสลายหรือการบำบัดในบ่อแรกแล้ว การบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆซ้ำในบ่อเติมอากาศ ( โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ยิ่งจะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น BOD , SS , TDS , FOG , TKN ลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีก ตะกอนต่างๆก็จะลดลงเหลือน้อยมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้นดังกล่าว ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรกและบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ) จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งดีขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะผลของการบำบัดหรือการย่อยสลายของเสีย 2 ชั้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงไม่เป็นภาระหนักให้กับบ่อเติมอากาศเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ( ไม่เป็นภาระหนักให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ที่อาจย่อยสลายของเสียได้ไม่หมดหรือย่อยสลายได้เพียงบางส่วนเล็กน้อย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อสุดท้ายบ่อยๆได้

   

  สรุป

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ AS และยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศอีกชั้นหนึ่ง การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ  ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย 2  กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำให้สสารที่เจือปนอยูในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป

  หมายเหตุ  :   จุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ( ในทั้งหมด 6 ระบบ ) นอกจากบำบัดน้ำเสียได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆเพิ่มอีกด้วย

ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัด จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมเจ้าแรกของประเทศไทย นำไปใช้บำบัดน้ำเสียได้รับประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เท่านั้น

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ขนาดบรรจุ  20  ลิตร

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

ราคาจำหน่าย แกลลอนละ  1,200  บาท

           จัดส่งฟรีทั่วประเทศ

 

          

จะเริ่มต้นบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านอย่างไร ?

1. อันดับแรกให้ทำการตรวจสอบระบบทั้งหมดว่ายังใช้การทำงานได้ดีอยู่หรือไม่ ? มีสิ่งใดที่มีปัญหาในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดแล้วทำการแก้ไขปัญหานั้นๆ 

2. อันดับต่อมาก็คือ การตรวจสอบหรือการเช็คค่าพารามิเตอร์ในระบบบำบัดและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการว่าได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดหรือไม่ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อแรก ( น้ำเสียก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( น้ำเสียหลังบำบัดแล้ว ) ซึ่งจะทำให้รู้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังบำบัด ( บ่อสุดท้าย ) ซึ่งจะทำให้รู้ว่าน้ำเสียในบ่อบำบัดของท่านผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งหรือไม่ ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพหรือไม่ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อสุดท้ายจะเป็นตัวชี้วัดระบบบำบัดน้ำเสียของท่านว่าผ่าน ( บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ )หรือไม่ผ่าน ( ล้มเหลว ) 

ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านสมบูรณ์แบบหรือยัง ? ออกซิเจนที่ละลายในบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านมีมากพอไหม? ทำไมต้องให้ออกซิเจนละลายในน้ำเสีย? จำเป็นอย่างไรที่ต้องพึ่งพาออกซิเจนในน้ำเสีย? ไม่มีไม่ได้หรือ? จะเสียหายอะไรถ้าไม่มีออกซิเจนในน้ำเสีย? เพราะน้ำเสียมากออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นก็ไม่มีแล้ว นี่คือคำถามต่างๆที่ยังคาอยู่ในใจหลายๆท่านที่อยากรู้ การบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากๆ ในการบำบัดน้ำเสียให้กลายไปเป็นน้ำดีนั้นต้องพึ่งพาและอาศัยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบออกแบบมาเพื่อต้องการดึงเอาจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย การเติมออกซิเจนลงในน้ำเสียก็เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำเสียเพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ดึงไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายนั่นเอง ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ที่ไม่สมบูรณ์เพราะการขาดออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสีย ( ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียมีน้อยหรือค่า DO ต่ำหรือแทบไม่มีเลย )ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายเป็นหลัก ทางออกการแก้ไขปัญหานี้จึงนิยมเติมหรือเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( กลุ่มจุลินทรีย์ em ) ซึ่งสามารถทำงานได้ดีเหมือนกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและสามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งสองกลุ่มจุลินทรีย์นี้ ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่เป้นแบบเติมอากาศแทบทั้งนั้น โดยเฉพาะคอนโมิเนี่ยม อพาร์ทเม้นท์ รีสอร์ท อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่โรงแรมบางแห่ง เพราะลงทุนต่ำ ดูแลง่าย ใช้พื้นที่น้อย แต่ปัญหาที่พบก็คือ น้ำเสียมีมาก ปริมาณจุลินทรีย์มีน้อยหรือบางแห่งแทบจะไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายขงเสียก็มีให้เห็นบ่อยๆ กลิ่นและสภาพของน้ำเสียเป็นตัวบ่งชี้ถึงจุลินทรีย์ว่าในระบบบำบัดมีจุลินทรีย์หรือไม่ แน่นอนว่ายิ่งค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆต่ำมาก ยิ่งทำให้น้ำเสียนั้นๆวิกฤตมากยิ่งขึ้น เจ้าของอาคารหรือเจ้าของสถานที่ต้องหมั่นตรวจสอบอยู่เป็นประจำและต่อเนื่อง 

ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ไม่ว่าจะลงทุนมากหรือน้อย จุดประสงค์หลักคือ เพื่อบำบัดน้ำน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ซึ่งตัวที่บำบัดน้ำเสียจริงๆก็คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนั่นเอง ( ส่วนใหญ่จะเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) ถ้าระบบสมบูรณ์ดีไม่มีปัญหาอะไรจุลินทรีย์ก็จะมีปริมาณมากตามไปด้วย แต่ส่วนใหญ่ระบบจะไม่ค่อยสมบูรณ์สักเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียที่เป็นแบบเติมอากาศทั่วๆไป ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทย โดยเฉพาะตามแหล่งอาคารสำนักงาน คอนโด ฯลฯ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียชนิดเติมอากาศเป็นหลัก และส่วนใหญ่ไม่ค่อยสมบูรณ์ น้ำเสียจึงยังไม่ได้รับการบำบัดที่สมบูรณ์ให้เป็นน้ำดี

ระบบบำบัดน้ำเสียที่ลงทุนสูงอย่างเช่น ระบบ RBC และ AS ข้อดีคือสามารถกำหนดค่าต่างๆของค่าพารามิเตอร์ได้ค่อนข้างแม่นยำสูง เป็นระบบที่ลงทุนค่อนข้างสูงและค่าเมนเทนแนนซ์สูงใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก แต่ทุกๆระบบไม่ว่าจะดีแค่ไหนลงทุนมากน้อยแค่ไหนก็หนีไม่พ้นระบบล่มหรือล้มเหลวในบางครั้ง แต่น้ำเสียก็คงมีอย่างต่อเนื่องเข้าระบบ การแก้ไขปัญหานี้จึงนิยมเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเข้าไปในระบบที่ล้มเหลวนั้นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอไม่ขาดตอน ไม่ว่าระบบบำบัดน้ำเสียจะล่มหรือไม่ล่มก็สามารถเติมจุลินทรีย์เข้าไปในระบบได้ตลอดเวลา ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียจะดีมากขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป เพราะระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบก็มีจุดประสงค์ต้องการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เพื่อการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียกันทั้งนั้น ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายยิ่งมีปริมาณมากเท่าใดก็ส่งผลดีต่อระบบมากขึ้น การบำบัดน้ำเสียก็มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย

สำหรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ควรรู้ในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย 

- BOD ( บีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- COD  ( ซีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในกระบวนการทางเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

COD (Chemical Oxygen Demandคือ ปริมาณ O2ที่ใช้ในการออกซิไดซ์ในการสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) ในปริมาณมากเกินพอ ในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อย สลายได้และย่อยสลายไม่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน โดยทั่วไปค่า COD จะมีค่ามากกว่า BOD เสมอ ดังนั้นค่า COD จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสีย

- TS  หรือปริมาณของแข็งทั้งหมด (Total Solids : TS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- ค่า TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l )

 - ค่า F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

-  ค่า pH ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่า pH ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจะอยู่ที่  6 - 8 

สำหรับค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางตัวจากอาคารบางประเภทและบางขนาด ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2537) 

- ค่าบีโอดี (BOD) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร 

- ค่า SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/ลิตร

- ค่า pH  5 - 9

- TDS ไม่เกิน 500 mg/l

- FOG ไม่เกิน 20 mg/l 

 

      ฯ ล ฯ

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียได้หรือไม่?

คำตอบคือ ได้อย่างแน่นอน เพราะจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย และเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ดึงหรือใช้ออกซิเจนในน้ำเสียมาทำปฏิกิริยาย่อยสลายเหมือนกรณีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียเป็นหลัก ดังนั้นค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย ( ค่า DO ) มีมากเท่าใดก็ไม่ส่งผลกระทบต่อออกซิเจนและคุณภาพน้ำเสีย เพราะจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไม่ดึงออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย นี่คือจุดเด่นอีกจุดหนึ่งของจุลินทรีย์หอมคาซาม่าของเรา  คุณภาพน้ำดีหรือน้ำเสียดูได้จากค่า DO และค่าพารามิเตอร์ตัวอื่นๆเป็นหลัก ยิ่งค่า DO มากเท่าใด ( มากกว่า 3 ขึ้นไป ) จะเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพน้ำได้เป็นอย่างดี

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้กับทุกๆระบบ  โดยเฉพาะกับระบบที่มีปริมาณจุลินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย ( ระบบเติมอากาศทั่วๆไป ) น้ำเน่าเหม็นและน้ำที่เน่าเสียมีที่มาจากปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อยกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าออกแบบมาเพื่อเป็นจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์โดยตรง การดับกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะเข้าไปกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นเหล่านี้ รวมทั้งการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา

การนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดน้ำเสีย

ด้วยการเติมในอัตราส่วน จุลินทรีย์หอมคาซาม่า 1 ลิตรขึ้นไป ต่อ น้ำเสีย  1  คิว ( ลบม.) กรณีที่น้ำเสียวิฤตมากสามารถเพิ่มความเข้มข้นของจุลินทรีย์ขึ้นเป็น 2-5 เท่าได้โดยไม่มีผลเสียใดๆ มีแต่จะส่งผลดีต่อระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถเติมบ่อยได้ตามที่ต้องการโดยไม่ส่งผลเสียใดๆต่อสิ่งแวดล้อมและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เป็นการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายให้กับระบบบำบัดน้ำเสีย ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียของระบบจะดีมากขึ้นหลายเท่าตัว 

น้ำเสียทำไมต้องบำบัด ปล่อยทิ้งไปเลยไม่ต้องบำบัดไม่ได้หรือ ผิดกฎหมายไหม ?

น้ำเสียในปัจจุบันมีมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องตามกิจกรรมที่มากขึ้นของมนุษย์ โดยเฉพาะน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงานต่างๆเกิดขึ้นจำนวนมากในแต่ละวัน น้ำเสียมีอยู่แทบทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะตามอาคาร บ้านเรือน โรงงาน สถานประกอบการทุกๆแห่ง แต่ส่วนใหญ่ขาดการบำบัดให้เป็นน้ำดีหรือมีการบำบัดแต่ระบบบำบัดไม่สมบูรณ์ ( ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่สมบูรณ์มีมากที่สุดแทบทุกแห่ง ) จึงส่งผลให้น้ำเสียยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง บรรดาน้ำเสียหรือน้ำเน่าเสีย ของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ล้วนต้องพึ่งพาอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายและบำบัดทั้งสิ้น ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ของเสียและน้ำเสียคงล้นโลกไปแล้ว ของเสียบางชนิดใช้เวลาย่อยสลายไม่นาน  แต่ของเสียบางชนิดต้องใช้เวลาย่อยสลายเป็นเวลานาน  กรณีน้ำเสียหรือน้ำที่เน่าเสียจะใช้เวลาในการบำบัดและย่อยสลายไม่นานมาก  ตามปกติของเสียและน้ำเสียโดยทั่วๆไปจะถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ( กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจะมีจุดอ่อนหรือจุดด้อยตรงที่ต้องใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและบำบัดของเสียและน้ำเสีย ถ้าปราศจากซึ่งออกซิเจนแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในน้ำเสียหรือบนบก จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็ไม่สามารถทำงานได้ น้ำเสียและของเสียก็ยังคงไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลาย ซึ่งจะสร้างมลพิษและมลภาวะต่อโลกและสิ่งแวดล้อม  ดังนั้น การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียจึงมาลงเอยที่กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มหรืออีเอ็ม ) ซึ่งสามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียโดยไม่จำเป็นต้องมีออกซิเจน ไม่ว่าในน้ำหรือบนบกก็สามารถทำงานได้ ประการสำคัญกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย  ต้องการปริมาณมากเท่าใดก็สามารถทำได้  ซึ่งจะแตกต่างไปจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นมาค่อนข้างยากใช้งบลงทุนค่อนข้างสูง  จุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายคล้ายๆกัน  ในการรีบูทระบบบำบัดน้ำเสียจึงนิยมนำจุลินทรีย์อีเอ็มมาเป็นตัวตั้งต้นในการเซทระบบให้แอกทีฟมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้ทันทีในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่ต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย

ใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียอย่างไรจึงจะออกมาสมบูรณ์เป็นน้ำดีได้ ? 

น้ำเสียจะมีสิ่งที่ปะปนหรือปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่สารปนเปื้อนจะเป็นสารอินทรีย์และสารเคมีบางส่วนปะปนกันอยู่ ในบางกรณีอาจทำให้น้ำเสียนั้นเกิดการเน่าเหม็นขึ้นถ้าปริมาณสารอินทรีย์มีมาก ส่งผลให้น้ำเสียนั้นๆยิ่งวิกฤติมากขึ้น น้ำเสียและของเสียที่ปะปนในน้ำเสียนั้นต้องถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และปริมาณจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียต้องมีปริมาณมากกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงจะเอาชนะของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นได้ ของเสียทุกๆอย่างในโลกนี้ ซึ่งรวมทั้งน้ำเสียด้วย ล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการย่อยสลายของเสียต่างๆแทนจุลินทรีย์ได้ในปัจจุบัน น้ำดีหรือน้ำเสียวัดได้จากค่าพารามิเตอร์เช่น ค่า pH , BOD , COD , DO , SS , TTS เป็นต้น ยิ่งค่าออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆมีสูง ( ค่า DO มากกว่า 3 ขึ้นไป ) ยิ่งเป็นการดีและค่าอื่นๆได้มาตรฐานนั่นคือ น้ำดี  ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะแปรผันไปตามปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลาย ถ้าในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายจำนวนมาก จะส่งผลต่อค่าพารามิเตอร์ต่างๆเข้าใกล้ค่ามาตรฐาน จะเห็นว่า จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและน้ำเสียเป็นตัวจักรสำคัญในระบบบำบัดน้ำเสียที่จะทำให้น้ำเสียเปลี่ยนเป็นน้ำดีได้ นี่คือความสำคัญของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียอย่าให้ขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายและอย่าให้จุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีน้อยจนเกินไป เพราะจะเกิดปัญหาหลายอย่างติดตามมาในภายหลัง

 น้ำดีและน้ำเสียสามารถแบ่งแยกได้ด้วยการวัดระดับ BOD (Biochemical Oxygen Demand/Biological Oxidation Demand) ซึ่งเป็นปริมาณของ O2 ที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ อาทิ สารประกอบ Hydrocarbons (น้ำมันเชื้อเพลิง) แอลกอฮอล์ และน้ำตาล เป็นต้น ดังนั้น น้ำที่มีค่า BOD ต่ำคือ น้ำที่ดี เพราะจุลินทรีย์ต้องการ O2 จำนวนน้อยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่าค่า BOD จะต้องเท่ากับหรือไม่เกิน 20 mg/l (มิลลิกรัมต่อลิตร) เมื่อค่า BOD ต่ำกว่า  20 mg/l  ค่า  DO มักจะสูงกว่า 3 ขึ้นไป

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้กับทุกๆระบบ  โดยเฉพาะกับระบบที่มีปริมาณจุลินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย ( ระบบเติมอากาศทั่วๆไป ) น้ำเน่าเหม็นและน้ำที่เน่าเสียมีที่มาจากปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อยกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น

ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama )

ขนาดบรรจุแกลลอนขนาด 20 ลิตร ( มีขนาดเดียว )

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท   จัดส่งฟรีๆทั่วประเทศ         

มีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่สมบูรณ์ ปัญหาน้ำเสียในอาคาร บ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน  บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ  ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama )บำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นในเวลาเดียวกัน เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ เพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านได้ดีมากขึ้น 

 

 


            


 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่..

จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
แก้ปัญหาค่า BOD,SS,TDS สูงในคอนโดมิเนี่ยมอาคารสำนักงาน คลิกที่นี่.. 

เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง  คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่..

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. 
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงสุกรทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป คลิกดูที่นี่... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 
กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียเกิดมาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียอย่างไร ? คลิกดูที่นี่.. 
สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่..
วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย&จุลินทรีย์ดับกลิ่นที่มีกลิ่นหอม คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูข้อมูลที่นี่..
จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย / จุลินทรีย์หอมย่อยสลายของเสีย คลิกที่นี่.....
ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์  คลิกที่นี่... 
ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่..
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในร้านอาหาร & ภัตตาคารทุกๆแห่ง คลิกที่นี่...
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงแรมและรีสอร์ททั่วๆไป คลิกที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วๆไป คลิกดูที่นี่..

[[  ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุดมาจากแหล่งใด ? คลิกที่นี่..   ]]