จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้บรรจุกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง สำหรับลดค่า TKN โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสีย การบริหารจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียอาคารสำนักงานให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร
ReadyPlanet.com
bulletใบเสนอราคาจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletห้องน้ำเหม็นตอนฝนตก/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรงช่วงหน้าฝน
bulletวิธีการแก้ปัญหากลิ่นห้องน้ำโชยเข้าห้องนอน
bulletห้องน้ำเหม็นมากๆส้วมเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
bulletวิธีทำความสะอาดห้องน้ำ/ส้วมให้มีกลิ่นหอม
bulletดับกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ/บำบัดกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ
bulletเทคนิคการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่น/บำบัดน้ำเสีย
bulletดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น
bulletดับกลิ่นเหม็นบ่อเกรอะ
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/ กลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletประโยชน์ของการเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายลงไปในบ่อเกรอะ
bulletจุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะ
bulletกลิ่นเน่าเหม็นจากบ่อเกรอะแก้อย่างไร?
bulletจำหน่ายอีเอ็มดับกลิ่น/อีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรง
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำมาจากจุดใด?
bulletวิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็นส้วมเหม็นด้วยจุลินทรีย์-Kasama
bulletจุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย-KASAMA
bulletวิธีดับกลิ่นส้วม/วิธีดับกลิ่นส้วมเหม็น
bulletท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น
bulletการใช้จุลินทรีย์-Kasama ทำความสะอาดห้องน้ำปั๊มน้ำมัน
bulletวิธีดับกลิ่นท่อน้ำทิ้ง/วิธีดับกลิ่นท่อระบายน้ำทิ้ง
bulletของเสียในห้องน้ำห้องส้วม
bulletวิธีดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ
bulletกลิ่นเหม็นห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น ซื้อที่ไหน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ ซื้อที่ไหน
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ลดกลิ่นห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นเหม็นท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ดับกลิ่นส้วม
bulletการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายทำความสะอาดห้องน้ำ
bullet(( การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมและอพาร์ทเม้นท์ ))
bulletการบำบัดน้ำเสียในหมู่บ้านด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการดูแลบ่อเกรอะไม่ให้ส่งกลิ่นรบกวน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นน้ำเน่าเสียดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็น
bulletจำหน่ายอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletอีเอ็มดับกลิ่น
dot
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย
dot
bulletจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletจุลินทรีย์อีเอ็ม( EM )
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในห้องน้ำห้องส้วม
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็น
bulletวิธีแก้ห้องน้ำเหม็น
bulletส้วมเหม็น ทำไงดี?
bulletส้วมเหม็น ทำอย่างไร?
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็นมีวิธีแก้ไข
bulletท่อน้ำทิ้งมีกลิ่น
bulletห้องน้ำคอนโดมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำโรงแรมมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำอพาร์ทเม้นท์มีกลิ่นเหม็น
bulletการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ในการดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในตลาดสด
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดของเสียในร้านอาหารและภัตตาคาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มในโรงพยาบาลและคลีนิก
bulletการทำงานของจุลินทรีย์
bulletประโยชน์ของจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ให้ได้ผลดี
bulletความเข้าใจในการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นต่างๆ
bulletวิธีการกำจัดกลิ่นเหม็นด้วยจุลินทรีย์
bulletการแก้ปัญหาน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย
dot
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
dot
bulletน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย น้ำท่วม
bulletem บำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีบำบัดน้ำเสีย
bulletการบำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีการบำบัดน้ำเสีย
bulletน้ำเสียและการบําบัดน้ำเสียแบบง่ายๆ
bulletอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย/อีเอ็มดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม
bulletการใช้จุลินทรีย์กำจัดไขมันในโรงอาหาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มดับกลิ่นในไซท์งานก่อสร้าง
dot
การใช้จุลินทรีย์ในส่วนอื่นๆ
dot
bulletกลิ่น / กลิ่นไม่พึงประสงค์
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข : น้ำยาดับกลิ่นสุนัข
bulletกลิ่นสุนัข/กลิ่นสัตว์เลี้ยง
bulletวิธีกําจัดกลิ่นสุนัข/วิธีกำจัดกลิ่นสัตว์เลี้ยงด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกชนิด
bulletการกำจัดกลิ่นห้องน้ำด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletส้วมเหม็น / ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/กลิ่นส้วม
bulletห้องน้ำเหม็นอับ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ / ห้องส้วม
bulletส้วมเต็มง่าย
bulletส้วมมีกลิ่น / ห้องน้ำมีกลิ่น/ กลิ่นส้วม
bulletการเก็บรักษาจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นอย่างไรจึงจะได้ผล ?
dot
= การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ =
dot
bulletดับกลิ่นในห้องน้ำและห้องนอนด้วยจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์ทะลวงในท่อที่อุดตัน
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในสวนสัตว์
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข
bulletสารพัดประโยชน์จากจุลินทรีย์
bulletการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ประจำวัน
bulletการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ในบ้าน
bulletจำหน่ายจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletทำไมต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย?
bulletการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
bulletแผนผังเว็บไซต์
bulletไทยรัฐ
bulletเดลินิวส์
bulletคมชัดลึก
bulletแนวหน้า
bulletบริหารจัดการ
bulletLoGo
bulletHotmail
bulletYahoo
dot
ธนาคาร
dot
bulletกรุงเทพ
bulletกสิกร
bulletThailandservices
bulletYoutube
bulletแปลงไฟล์
bulletFB
bulletGmail


มีปัญหาฟาร์มเป็ดส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ฟาร์มไก้ส่งกลิ่นเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น, แก้บ่อเกรอะเหม็น, ห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็นทำอย่างไร? อยากรู้คลิกดูที่นี่..
ดับกลิ่นสุนัข, ดับกลิ่นฟาร์มสุนัข, ดับกลิ่นคอกสุนัข, ดับกลิ่นกรงสุนัข, ดับกลิ่นมูลสัตว์เลี้ยง, ดับกลิ่นมูลสุนัข, ดับกลิ่นสัตว์เลี้ยง
ฟาร์มสุกรส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มหมูส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มสัตว์เลี้ยงส่งกลิ่นเหม็น, กลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, แก้ปัญหากลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มสัตว์เลี้ยง,
ห้องน้ำเหม็น, ส้วมเหม็น, จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น, จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, จุลินทรีย์อีเอ็ม, จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง, อีเอ็ม, จำหน่ายอีเอ็ม, จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ขายอีเอ็ม, ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ดับกลิ่นส้วมเหม็น, บำบัดน้ำเ


บ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียอาคารสำนักงานทุกๆแห่ง

   

                  

สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย) เป็นตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด        

     

( ทางร้านฯให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีสำหรับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียกับลูกค้าที่ซื้อสินค้าจากทางร้านฯ  เราไม่ได้คิดค่าบริการที่ปรึกษาระบบใดๆทั้งสิ้น )

อาคารสำนักงานแทบทุกๆแห่งนิยมใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศหรือระบบ AS (Activated  Sludge : AS ) ระบบนี้มีทั้งจุดดีและจุดด้อย ( จุดอ่อน ) ปิดจุดอ่อนหรือจุดด้อยในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ทำงานย่อยสลายได้ทันที 

เพิ่มค่า DO และลดค่า  BOD  ในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียทำให้ค่า  SS , TSของแข็งลด ส่งผลให้ค่า BOD ลดลงไปด้วย ) 

ค่าพารามิเตอร์ ( Para Meter ) ชื่อนี้มีความหมายและความสำคัญอย่างมากต่อระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เป็นเครื่องชี้วัดว่า ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยเพียงใด วิธีการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียอย่างมืออาชีพ

การบริหารจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียในอาคารสำนักงานทุกๆแห่งรวมทั้งคอนโดมิเนี่ยมทุกๆแห่ง ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะเป็นระบบเติมอากาศ AS มีบ่อเติมอากาศ ( Aeration  Tank )และบ่อตกตะกอน ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพในการบำบัดมากน้อยเพียงใดต้องอ่านเนื้อหาต่อไปนี้ให้จบ

ความหมายของน้ำทิ้ง  :  น้ำทิ้ง หมายถึง น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดและได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งกำหนดไว้

 


 

  ความรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียแบบต่างๆ

ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น 6 แบบหรือ 6 ระบบด้วยกัน ได้แก่  

1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)
2.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL)
3.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland) 
4.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge : AS )
5.ระบบบำบัดน้ำเสียคลองวนเวียน (Oxidation Ditch)
6.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor ; RBC)

pH ( พีเอช ) เป็นค่าพารามิเตอร์อีกตัวหนึ่งที่สำคัญในระบบบำบัดน้ำเสีย pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion  เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นด่างหรือเบสของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+)  pH ( พีเอช ) เท่ากับ 7 ถือว่าเป็นกลาง ถ้าน้อยกว่า 7 ถือว่าเป็นกรด ถ้ามากกว่า 7 ถือว่าเป็นด่าง ( เบส  ) กลุ่มจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเจริญเติบโตได้ดีที่ค่า pH (พีเอช ) อยู่ระหว่าง 6.5 – 8.5 ถ้าค่า pH ต่ำกว่า 6.5 กลุ่มราก็จะเจริญเติบโตได้ดีกว่าจุลินทรีย์ ทำให้ระบบทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ถ้าค่า pH มีค่าต่ำมากหรือสูงมากจนเกินไป จุลินทรีย์ก็จะไม่สามารถดำรงชีพต่อไปได้ ( ตาย )

    

สำหรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ควรรู้ในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย

-  ค่า pH ความเป็นกรด-ด่าง (pH)  

- BOD ( บีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- COD  ( ซีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในกระบวนการทางเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

COD (Chemical Oxygen Demandคือ ปริมาณ O2ที่ใช้ในการออกซิไดซ์ในการสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) ในปริมาณมากเกินพอ ในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อย สลายได้และย่อยสลายไม่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน โดยทั่วไปค่า COD จะมีค่ามากกว่า BOD เสมอ ดังนั้นค่า COD จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสีย

- TS  หรือปริมาณของแข็งทั้งหมด (Total Solids : TS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- ค่า TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l )

 - ค่า F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

 

สำหรับค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางตัวจากอาคารบางประเภทและบางขนาด ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2537)

 

- ค่าบีโอดี (BOD) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร 

- ค่า SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/ลิตร

- ค่า pH  5 - 9

- TDS ไม่เกิน 500 mg/l

- FOG ไม่เกิน 20 mg/l 

      ฯ ล ฯ

ปัญหาที่พบมากที่สุดของอาคารชุดคอนโดมิเนียมและอาคารสำนักงานทั่วๆไป 

ตามหลักปฏิบัติที่ถูกต้องของอาคารชุดคอนโดมิเนียมและอาคารสำนักงานทั่วๆไปทุกๆแห่ง ต้องแยกบ่อบำบัดน้ำเสียออกจากส่วนของบ่อเกรอะ ( บ่อรับของเสียสิ่งปฏิกูลจากชักโครกหรือส้วม ) บ่อบำบัดน้ำเสียจะรับน้ำเสียจากท่อน้ำทิ้งและน้ำบริโภคทั่วๆไปจากห้องน้ำและส่วนอื่นๆ โดยแยกไปจากบ่อเกรอะ แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะนำน้ำเสียจากน้ำทิ้งน้ำใช้มารวมกันทั้งหมดกับน้ำเสียจากบ่อเกรอะ จึงส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหารับน้ำเสียมากเกินไป ตะกรันจากบ่อเกรอะ ทำให้ค่า SS ( ของแข็งแขวนลอนและตะกอนหนัก ) , TDS สูงมาก ค่าพารามิเตอร์แต่ละตัวค่อนข้างสูง น้ำทิ้งจึงไม่ค่อยผ่านค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนดไว้ นี่คือ ปัญหาที่พบมากที่สุดของอาคารชุดและอาคารสำนักงานทั่วๆไป ต้องทำการแก้ไขและปรับปรุงระบบ ซึ่งสามารถทำได้    


  หน้าที่โดยตรงของผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย 

หน้าที่ประจำซึ่งถือว่าเป็นงานที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำอย่างต่อเนื่องของเจ้าของโรงงาน อาคารสำนักงานต่างๆ และนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นคอนโดมิเนียมทุกๆแห่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ 

1 . การดูแลและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆส่วนให้อยู่ในสภาพพร้อมการใช้งานได้ตลอดเวลา การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจะมีผลต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง หมั่นตรวจสอบเครื่องมือต่างๆให้พร้อมทำงานและสภาพบ่อบำบัดอยู่เป็นประจำ 

2.  การตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ของบ่อบำบัดน้ำเสียเป็นประจำทุกเดือน ( หรือไม่น้อยกว่า 3 เดือน / ครั้ง ) เก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อที่ 1 ( ก่อนบำบัด ) และเก็บตัวอย่างน้ำในบ่อสุดท้าย ( ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ) เข้าตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏืบัติการ เพื่อตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำเสียที่ทางราชการกำหนดไว้  บันทึกในตารางค่าพารามิเตอร์ในแต่ละเดือน

     

จะเริ่มต้นบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านอย่างไร ?

1. อันดับแรกให้ทำการตรวจสอบระบบทั้งหมดว่ายังใช้การทำงานได้ดีอยู่หรือไม่ ? มีสิ่งใดที่มีปัญหาในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดแล้วทำการแก้ไขปัญหานั้นๆ

2. อันดับต่อมาก็คือ การตรวจสอบหรือการเช็คค่าพารามิเตอร์ในระบบบำบัดและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการว่าได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดหรือไม่ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อแรก ( น้ำเสียก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( น้ำเสียหลังบำบัดแล้ว ) ซึ่งจะทำให้รู้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังบำบัด ( บ่อสุดท้าย ) ซึ่งจะทำให้รู้ว่าน้ำเสียในบ่อบำบัดของท่านผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งหรือไม่ ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพหรือไม่ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อสุดท้ายจะเป็นตัวชี้วัดระบบบำบัดน้ำเสียของท่านว่าผ่าน ( บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ )หรือไม่ผ่าน ( ล้มเหลว )  

สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนี่ยมแต่ละแห่งที่ถูกออกแบบและติดตั้งมาพร้อมๆกับการสร้างอาคารสำนักงาน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบระบบเติมอากาศ ( เติมอากาศลงในบ่อบำบัดน้ำเสีย ) มีน้อยมากๆที่จะเป็นแบบระบบ  AS หรือ  RBC  ซึ่งลงทุนค่อนข้างสูงและใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก  แต่ระบบแบบเติมอากาศจะลงทุนน้อย ใช้พื้นที่ไม่มาก การดูแลและรักษาทำได้ง่าย นี่คือจุดดีของระบบแบบเติมอากาศ แต่จุดด้อยก็มีมาก โดยเฉพาะการดูแลบำรุงรักษา ถ้าทำไม่ถึงหรือไม่มีความรู้ในระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบก็ล้มเหลวได้ง่ายๆ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในจุดนี้มากที่สุด บ่อบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานส่วนมากจะเป็นแบบระบบเติมอากาศ ซึ่งมีบ่อบำบัดอยู่ด้วยกัน 3 บ่อ ดังนี้

1. บ่อที่ 1 บ่อรับน้ำเสียทั้งหมดจากอาคาร ( ขนาดของบ่อขึ้นอยู่กับปริมาณรับน้ำเสีย ซึ่งต้องเผื่อโอเวอร์โหลดในอนาคตด้วย )

2. บ่อที่ 2  บ่อเติมอากาศลงในน้ำเสีย ( ส่วนใหญ่ติดตั้งเครื่องเติมอากาศไว้ที่บ่อนี้ กำลังแรงม้าขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำเสียเป็นหลัก )

3.  บ่อที่ 3  บ่อพักน้ำดี ( น้ำดีที่ผ่านการบำบัดจากบ่อที่ 2 ) บ่อนี้จะรับน้ำที่ผ่านการบำบัดจากบ่อที่ 2 ส่วนจะได้เป็นน้ำดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน บ่อนี้ส่วนใหญ่จะสร้างขนาดเท่าๆกันทั้งสามบ่อ แต่ในความเป็นจริงแล้ว บ่อที่สามนี้ควรมีขนาดของบ่อใหญ่กว่าบ่อแรกและบ่อที่สองประมาณ 10-20 % เพื่อรับน้ำให้นิ่งไว้ก่อน เพื่อการตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆให้เสถียรขึ้นแม่นยำขึ้น จะบำบัดน้ำเสียผ่านไปเป็นน้ำดีได้หรือไม่ให้เช็คที่บ่อที่สามนี้เป็นหลัก ซึ่งส่วนมากจะไม่ค่อยผ่าน โดยเฉพาะน้ำเสียที่มีปริมาณมากและวิกฤตหนักๆมักจะไม่ผ่าน

การเติมจุลินทรีย์บ่อบำบัด

ควรเติมในบ่อที่ 1 ( สำหรับจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) หรือกรณีที่มีปัญหาเรื่องกลิ่นทุกๆบ่อ ก็สามารถเติมทุกๆบ่อได้ตามความต้องการ

ถ้าการบำบัดน้ำเสียในอาคารสำนักงานไม่ผ่านทำอย่างไร? หรือแก้ปัญหาอย่างไร?

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศในอาคารสำนักงานมีจุดอ่อนหลายๆจุดด้วยกัน ถ้าบริหารจัดการไม่เป็นและไม่ถึงก็สามารถล้มเหลวได้ง่ายๆและตลอดเวลา โดยเฉพาะปัญหาการแยกน้ำเสียในอาคารสำนักงาน  น้ำเสียในอาคารสำนักงานจะมาจากไม่น้อยกว่า 2 จุดด้วยกัน คือ จากกิจกรรมล้างมือ ซักล้างต่างๆ การใช้น้ำทั่วๆไป และอีกจุดหนึ่งที่ถือว่าสำคัญมากก็คือ น้ำเสียและของเสียต่างๆที่มาจากส้วมหรือจากชักโครกในห้องน้ำห้องส้วม โดยหลักการปฏิบัติแล้วน้ำเสียทั่วๆไป และน้ำเสียที่ไปจากห้องส้วมหรือชักโครกนั้นต้องแยกบ่อรับคนละบ่อกัน ( ไม่รวมกัน ) เพราะถ้ารวมลงในบ่อเดียวกันทั้งหมดจะบำบัดค่อนข้างยากและแทบจะไม่ผ่านมาตรฐานแทบทั้งนั้น เหตุเพราะของเสียและน้ำเสียที่ไปจากส้วมหรือชักโครกนั้น มีทั้งน้ำเสียที่ปะปนไปกับตะกรันของแข็งจากมูลอุจจาระ ตรงจุดนี้คือจุดด้อยของระบบบำบัดน้ำเสียในอาคารสำนักงานด้อยลง ไม่สามารถบำบัดน้ำเสียให้ได้มาตรฐานได้เท่าที่ควร  แต่ถ้ามีการแยกบ่อรับน้ำเสียและของเสียจากส้วมหรือชักโครก การบำบัดน้ำเสียจะทำได้ง่ายขึ้น  นอกจากนี้สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกปัจจัยหนึ่งก็คือ เครื่องเติมอากาศต้องมีกำลังแรงม้าที่มากพอ เพื่อการเติมอากาศออกซิเจนลงในน้ำเสียให้ได้มากที่สุด ( เพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้งาน ) เครื่องเติมอากาศต้องไม่เสียบ่อยๆ และถ้าให้ดีควรรันเครื่องเติมอากาศอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง หมั่นตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องให้มีสภาพดีใช้งานได้ตลอดเวลา การรีบูทบ่อบำบัดน้ำเสียในอาคารสำนักงานก็ควรปฏิบัติเป็นประจำ อาจทำการรีบูทปีละครั้งเป็นอย่างน้อย ( ทำความสะอาดบ่อเสร็จเติมจุลินทรีย์รองพื้น ) แล้วแต่ว่าบ่อบำบัดมีปริมาณของเสียและน้ำเสียตกค้างมีมากหรือน้อย และต้องหมั่นตรวจสอบค่าต่างๆ ( ค่าพารามิเตอร์ ) อยู่เป็นประจำ ซึ่งถือว่าเป็นงานหลักๆของการดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดอย่างต่อเนื่อง การแก้ไขปัญหาระบบบำบัดล้มเหลวทำได้หลายประการด้วยกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละอาคารสำนักงานที่ออกแบบไว้เป็นหลัก ต้องปรึกษาผู้ที่เชี่ยวชาญระบบบำบัด เพื่อการแก้ไขได้ถูกจุดและตรงจุดไม่สิ้นเปลืองงบประมาณมากเกินขอบเขต

ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียหรือทุกๆบ่อบำบัดน้ำเสีย จุดประสงค์ของการออกแบบและสร้างระบบบำบัดทุกๆระบบขึ้นมาก็เพื่อ ต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมาใช้งานนั่นเอง ตามปกติทั่วๆไปจุลินทรีย์จะอยู่แบบกระจัดกระจายทั่วๆไปในธรรมชาติไม่ค่อยจะรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน การออกแบบระบบบำบัดที่เหมาะสมกับการอยู่และดำรงชีพของจุลินทรีย์ก็เหมือนการสร้างบ้านที่อยู่ให้จุลินทรีย์เข้าอยู่ให้มากที่สุดนั่นเอง ทำอย่างไรระบบจึงจะดึงดูดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้ให้ได้มากที่สุด เพื่อนำมาใช้งานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัด ปัจจัยหลายๆอย่างล้วนเป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น ทั้งการออกแบบระบบ การเติมอากาศ กำลังม้าของเครื่องเติมอากาศ การดูแลระบบ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลโดยตรงต่อปริมาณของจุลินทรีย์ในระบบทั้งสิ้น น้ำเสียมีอยู่ตลอดเวลา เราจะรักษาให้ปริมาณจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นตลอดเวลาเหมือนน้ำเสียได้หรือไม่? นี่คือโจทย์ที่สำคัญ เพราะตากธรรมชาติของจุลินทรีย์แล้วมันก็จะสลายตัวไปตามธรรมชาติตลอดเวลาและมีรุ่นใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำอย่างไรเราจึงจะรักษาปริมาณของจุลินทรีย์ไม่ให้ลดลงจากระบบ เพราะถ้าปริมาณจุลินทรีย์ลดลงหรือมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสียเมื่อใด เมื่อนั้นระบบจะล้มเหลวทันที ( ประสิทธิภาพการบำบัดด้อยลง )

การเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเข้าไปในระบบหรือเติมจุลินทรีย์ลงในบ่อบำบัดโดยตรง เป็นการแก้ไขปัญหาอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นทางเลือกที่ง่ายทำได้ทันที เหมาะสำหรับระบบบำบัดที่ยังไม่สมบูรณ์หรือระบบบำบัดมีปัญหาในจุดใดจุดหนึ่ง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีทั้งประเภทใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( ใช้อากาศ ) และกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งในธรรมชาติก็มีจุลินทรีย์กลุ่มนี้ แต่กระจัดกระจายกันอยู่ ไม่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนตามที่เราต้องการ ดังนั้น เราจึงต้องทำการสังเคราะห์กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ไม่ใช้อากาศในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ซึ่งการสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการจะทำได้ง่ายกว่า เป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมาไว้ในจุดหรือที่เดียวกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียได้ทันที เป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียที่ยังคงไม่สมบูรณ์พร้อมในบางจุด

จุดบอดหรือจุดด้อยของระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานต่างๆและอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมคือ ในเรื่องของพื้นที่ที่ใช้สร้างบ่อบำบัดน้ำเสียมีพื้นที่น้อยและจำกัด สร้างบ่อบำบัดน้ำเสียได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร ( อาคารสำนักงานทั่วๆไปและอาคารชุดคอนโดมิเนียมมีปริมาณน้ำเสียค่อนข้างมาก ) น้ำเสียมีมาก ในขณะที่บ่อรับน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียทำได้จำกัดและมีจำนวนบ่อรับน้ำเสียน้อยกว่าปกติ ( ส่วนมากไม่เกิน 3 บ่อ ) ในการบำบัดน้ำเสียนั้นต้องใช้ระยะเวลาบำบัดและย่อยสลาย ซึ่งจุลินทรีย์ย่อยสลายจะทำหน้าที่นี้ ยิ่งน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ยิ่งต้องใช้ระยะเวลาย่อยสลายนานมากขึ้น จึงส่งผลให้น้ำเสียตามอาคารสำนักงานและอาคารชุดส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของทางราชการกำหนดไว้ การที่จะทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพ ( บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้ )ได้นั้นสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งต้องดูข้อมูลของระบบบำบัดน้ำเสียแต่ละสถานที่เป็นหลักในการแก้ไขปัญหา อาจต้องแก้ไขทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพหรือทางเคมี ซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้รอบด้านและความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียในการแก้ไขปัญหา

การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆต้องใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆยังจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้. -

1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพเจริญเติบโต 

2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ใช้วิธีการแลกอิเล็คตรอนกับสารประกอบต่างๆ )

ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บ่อบำบัด จุลินทรีย์ที่ใช้บำบัดไขมัน ย่อยสลายไขมัน ( Fat , Grease & Oil : FOG )จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียในบ่อบำบัด เหมาะสำหรับเติมบ่อบำบัดน้ำเสียที่มีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อย หรือบ่อบำบัดน้ำเสียที่อับอากาศหรือกำลังแรงม้าเติมอากาศน้อย ( เครื่องเติมอากาศแรงม้าต่ำ ) ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียและการกำจัดกลิ่นหรือการดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ในบ่อบำบัดน้ำเสียโดยตรง 

อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน )

จากภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียระบบ AS เติมอากาศ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดใช้ออกซิเจน ) + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ) จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เดิมในบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนเบื้องต้นธรรมดาเท่านั้น ( การย่อยสลายเกิดขึ้นน้อยมากในบ่อนี้ ) ก่อนที่จะผ่านเข้าไปบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อที่ทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากที่สุดในระบบนี้ ( บ่อย่อยสลายขงเสียโดยใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) และส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วในบ่อที่ 3 ( ตามภาพบน ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่ในระบบ AS นี้จะเกิดขึ้นในจุดเดียวคือ บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี  แต่เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปเพิ่มเติม ( ในบ่อที่ 1 ) จะเกิดการย่อยสลายในบ่อที่ 1 หรือบ่อแรกเพิ่มขึ้นทันทีอีกจุดหนึ่ง ( เหมือนบ่อเติมอากาศ ) กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ออกซิเจนจึงไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้ทันที จะเห็นได้ว่าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 จุดหรือ 2 บ่อ ( บ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบดับเบิ้ล คือ บ่อที่ 1 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นตัวบำบัด ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )เป็นด่านแรกก่อนที่จะส่งต่อไปบำบัดอีกชั้นหนึ่งที่บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลาย ) จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะลดลงตั้งแต่การย่อยสลายหรือการบำบัดในบ่อแรกแล้ว การบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆซ้ำในบ่อเติมอากาศ ( โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ยิ่งจะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น BOD , SS , TDS , FOG , TKN ลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีก ตะกอนต่างๆก็จะลดลงเหลือน้อยมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้นดังกล่าว ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรกและบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ) จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งดีขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะผลของการบำบัดหรือการย่อยสลายของเสีย 2 ชั้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงไม่เป็นภาระหนักให้กับบ่อเติมอากาศเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ( ไม่เป็นภาระหนักให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ที่อาจย่อยสลายของเสียได้ไม่หมดหรือย่อยสลายได้เพียงบางส่วนเล็กน้อย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อสุดท้ายบ่อยๆได้

   

  สรุป

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ AS และยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศอีกชั้นหนึ่ง การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ  ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย 2  กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำให้สสารที่เจือปนอยูในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป

  หมายเหตุ  :   จุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ( ในทั้งหมด 6 ระบบ ) นอกจากบำบัดน้ำเสียได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆเพิ่มอีกด้วย 

        

ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศไทย คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS  (  Activated  Sludge ) ซึ่งมีมากกว่า 90% เป็นระบบที่เติมออกซิเจนลงในน้ำเสีย ( บ่อเติมอากาศ ) โดยใช้เครื่องเติมอากาศ ( Aerator ) ลงในบ่อน้ำเสีย เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำเสีย และเพิ่มออกซิเจนในการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์กลุ่มนี้เมื่อได้รับออกซิเจนแล้วจะเจริญเติบโตและขยายตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ) เพื่อให้ของเสียที่อยู่ในรูปของสสารและแร่ธาตุต่างๆกลายไปเป็น  ->  น้ำ + พลังงาน + คาร์บอนไดออกไซด์ ในที่สุด

     

จุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( ระบบ AS )อยู่ตรงจุดใด ?

1. การเติมออกซิเจนไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด อาจจะด้วยเครื่องเติมอากาศมีกำลังวัตต์หรือกำลังแรงม้าต่ำ เติมออกซิเจนได้ไม่เพียงพอกับปริมาตรของน้ำเสีย จึงเติมออกซิเจนได้ไม่กระจายทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศโดยตรง

2. เติมออกซิเจนไปไม่ถึงก้นบ่อบำบัด เพราะบ่อบำบัดลึกเกินไป ( บ่อเติมอากาศไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร ) ออกซิเจนจะไปไม่ถึงก้นบ่อ ส่งผลเสียให้น้ำเสียและของเสียก้นบ่อไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลายเหมือนที่ผิวบ่อบำบัด

3. ต้องเติมออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง ( เดินเครื่องเติมอากาศอย่างต่อเนื่อง )  เพื่อไม่ให้ปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดปริมาณลง จะส่งผลเสียต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้น้อยลงตามไปด้วย

4.  ไม่สามารถกำหนดปริมาณและความหนาแน่นของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้  ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติกำหนด  ถ้าต้องการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนให้มากขึ้น ต้องเพิ่มจำนวนบ่อบำบัดและเครื่องเติมอากาศ

      

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศสามารถเพิ่มบ่อเติมอากาศได้มากกว่า 1 บ่อได้ตามความต้องการ ซึ่งก็จะทำให้งบประมาณเพิ่มตามไปด้วย ไม่จำเป็นต้องมีเพียงแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพด้านบน ) สามารถเพิ่มบ่อเสริมในแต่ละจุดได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียคือ งบประมาณเพิ่มตาม การควบคุมระบบก็จะยากขึ้นตามไปด้วย แต่ส่วนใหญ่จะสร้างบ่อบำบัดแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพบน ) เพราะสะดวกและประหยัดดูแลง่าย แต่ข้อเสียคือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาจไม่ผ่านในบางครั้ง หรือระบบล้มเหลวได้ง่ายๆ ถ้าการดูแลและบำรุงรักษาไม่ดีพอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาในจุดนี้ จึงส่งผลให้น้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง  ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหาตัวช่วยเพื่อมาช่วยเพิ่มการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง 

เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่าโดยตรง ไม่มีผ่านคนกลางใดๆทั้งสิ้น ให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีกับลูกค้าของเราทุกๆแห่งในระบบบำบัดน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นระบบเดิมๆหรือการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นมาใหม่ เราให้คำแนะนำฟรีๆ เพียงสั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าของเราท่านจะได้รับสิทธิ์ในการปรึกษาจากเราทันทีและต่อเนื่องได้ 

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้กับทุกๆระบบ  โดยเฉพาะกับระบบที่มีปริมาณจุลินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย ( ระบบเติมอากาศทั่วๆไป ) น้ำเน่าเหม็นและน้ำที่เน่าเสียมีที่มาจากปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อยกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น

ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama )

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

ขนาดบรรจุแกลลอนขนาด 20 ลิตร ( มีขนาดเดียว )

ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท  จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ         

มีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่สมบูรณ์ ปัญหาน้ำเสียในอาคาร บ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน  บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ  ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama )บำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นในเวลาเดียวกัน เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ เพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านได้ดีมากขึ้น

 

 


            


 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่..

จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
แก้ปัญหาค่า BOD,SS,TDS สูงในคอนโดมิเนี่ยมอาคารสำนักงาน คลิกที่นี่.. 

เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง  คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่..

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. 
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงสุกรทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป คลิกดูที่นี่... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 
กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียเกิดมาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียอย่างไร ? คลิกดูที่นี่.. 
สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่..
วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย&จุลินทรีย์ดับกลิ่นที่มีกลิ่นหอม คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูข้อมูลที่นี่..
จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย / จุลินทรีย์หอมย่อยสลายของเสีย คลิกที่นี่.....
ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์  คลิกที่นี่... 
ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่..
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในร้านอาหาร & ภัตตาคารทุกๆแห่ง คลิกที่นี่...
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงแรมและรีสอร์ททั่วๆไป คลิกที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วๆไป คลิกดูที่นี่..


 

[ ดูค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคารสำนักงานชนิด( ขนาดต่างๆ )ต่างๆ คลิกดูที่นี่..]

 

   [ ระบบบำบัดน้ำเสีย และ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ คลิกที่นี่.. ]

 

ค่าพารามิเตอร์ต่างๆของอาคารสำนักงานทั่วๆไป
 

ค่าพารามิเตอร์ น้ำเสียจากส้วม น้ำเสียจากครัวและอื่นๆ หมายเหตุ
pH 8.10 7.4

BOD ( mg/l ) 181 41

COD( mg/l ) 392 96

SS ( mg/l ) 158 26

TKN ( mg/l ) 44.1 9.7

FOG ( mg/l ) 455 527

PO4( mg/l ) 2.0 0.4



     
         

 

 

ค่าพารามิเตอร์บางตัวที่ควรทราบไว้

TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) หมายถึงปริมาณรวมทั้งหมดของ ไนโตรเจนอนินทรีย์และแอมโมเนีย-ไนโตรเจนที่อยู่ในโปรตีนของพืชและสัตว์

FOG ( Fat, Oil &Grease ) แสดงค่า  ไขมัน  Grease , Oil  ในน้ำเสีย

TOC (Total Organic Carbon) คือค่าอินทรีย์คาร์บอนรวม สารอินทรีย์(ที่พื้นฐานมีคาร์บอน) ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในน้าเสียนั้นๆ สารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำนั้น สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำได้ น้ำที่มีสารอินทรีย์เจอปนมากจะส่งผลให้การละลายของออกซิเจนในน้ำนั้นน้อยลง ส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายโดยตรง

ค่า BOD ของน้ำดีจะอยู่ที่  <= 6 mg/l  จะส่งผลทำให้ค่า DO >= 6  ขึ้นไป ค่ากลางน้ำดีของ DO อยู่ที่ 5-8 mg/l หรือ 5-8 ppm.

มาตรฐานน้ำทิ้ง ค่า BOD ( กลาง ) ประมาณ 20 mg/l  ถ้าค่า  BOD เกิน  100 mg/l ขึ้นไป น้ำก็จะเน่าเสียแล้ว ( สารอินทรีย์เจือปนในน้ำมีมาก )

การควบคุมค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสีย ( Para Meter  Control )

ทำไมต้องคอนโทรลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เหตุผลก็เพื่อต้องการทราบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังการบำบัดแล้ว ( น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดให้เป็นน้ำดี ) ซึ่งค่าพารามิเตอร์จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดว่า บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้หรือไม่ รวมถึงจะบอกถึงประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียในหน่วยงานนั้นๆ น้ำที่มีสีใสๆไม่ใช่น้ำที่มีคุณภาพดีเสมอไป อาจมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่มากก็ได้ ( เป็นน้ำเสีย )

ค่าพารามิเตอร์พื้นฐานที่ต้องคอนโทรลในระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย เช่น  ค่า ph , BOD , COD , SS , TDS , FOG , TKN , S ,DO เป็นต้น ถ้าคอนโทรลค่าพารามิเตอร์พื้นฐานเหล่านี้ได้ตามกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งได้แล้ว ถือว่าระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพดีมาก และต้องคอนโทรลได้อย่างต่อเนื่อง

การวัดค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียในบ่อบำบัดประจำเดือน ( ในแต่ละครั้ง )

ให้เก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อที่ 1 ( ก่อนบำบัด )  และ บ่อสุดท้าย ( ผ่านการบำบัดแล้ว ) มาวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการแล้วนำไปขึ้นเป็นรีพอร์ท ( รายงานผลการวิเคราะห์ ) ประจำเดือนในแต่ละเดือนต่อไป ( ส่งให้หน่วยงานราชการได้ ) 

สิ่งที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะน้ำเสียที่ไปจากอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนี่ยมต่างๆทุกๆแห่งจะมีสารอินทรีย์และตะกอนปนเปื้อนในน้ำเสียค่อนข้างสูง ส่งผลให้ค่า BOD , TOC , SS , TDS สูงตามไปด้วย การลดสารอินทรีย์ ( ถ้าทำได้ ) จะส่งผลให้ค่า BOD และ TOC , SS , TDS ลดลงตามไปด้วย ถ้าตะกอนสารอินทรีย์มีขนาดใหญ่อาจใช้ตัวกรองของเสียและกรองตะกอนตะกรัน ( Filter ) กรองดักของเสียก่อนลงในบ่อแรก เพื่อลดค่า SS , TDS ไปในตัว ซึ่งมีส่วนช่วยลดค่า BOD , COD , TOC โดยเฉพาะการใช้ฟิลเตอร์กรองแบบละเอียดก่อนน้ำเสียลงบ่อสุดท้าย ( ก่อนปล่อยน้ำทิ้งออกสู่สาธารณะ ) การเพิ่มตัวฟิลเตอร์ในแต่ละบ่อจะช่วยลดค่า BOD , TOC , SS , TDS ไปได้มากพอสมควร ตัวฟิลเตอร์ก่อนลงในบ่อแรกอาจจะหยาบพอประมาณ เพิ่มตัวกรองสัก 2-3 ชั้น ( กรองแบบหยาบในบ่อแรก ) ส่วนบ่อลำดับต่อไปจนถึงบ่อสุดท้ายก็สามารถเพิ่มความละเอียดของฟิลเตอร์มากขึ้นตามความต้องการ เป็นวิธีการลดค่าพารามิเตอร์บางตัวแบบง่ายๆ แต่จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการบำบัดของระบบได้มากขึ้น ในส่วนของค่า pH สามารถปรับได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนกรณีค่า BOD , COD


 

ตัวอย่างแบบคร่าวๆของการทำรายงานผลประจำเดือนบ่อบำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสีย

ผลการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์น้ำเสียและน้ำทิ้งของบ่อบำบัดน้ำเสียนิติบุคคลอาคารชุด A ประจำเดือน ..... พ.ศ.  2563

( ค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันออกไปสถานะของหน่วยงาน )

 

ค่าพารามิเตอร์ บ่อที่ 1     บ่อสุดท้าย ( น้าดี ) ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง หมายเหตุ
pH



BOD



COD



TDS



SS



TKN



FOG        
DO        
         
         
         
         
         
         

  

 เพราะอะไรจึงต้องทำการบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะต่อไป

เหตุผลก็เพราะ 

น้ำ  คือ  ชีวิต  ทุกๆชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ขาดน้ำไม่ได้ คือ ตายสถานเดียวเท่านั้น น้ำเสียไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆปรารถนา แม้แต่พืชและสัตว์ก็ไม่มียกเว้น รักษาน้ำ เท่ากับรักษาโลกให้ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น น่าอยู่ขึ้น

    เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสีย

 

[ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ ( จุลินทรีย์ใช้อากาศ ) กับระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ ( จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศ ]

 

[[ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง คลิกที่นี่..]]