การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์
ภาพบนตัวอย่างการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic Bacteria ) สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย) เป็นตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด
กระบวนการบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ หรือ การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ กระบวนการบำบัดน้ำเสียมีหลายขั้นตอนด้วยกัน ตั้งแต่การบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ เช่น การตกตะกอน การกรอง การคัดแยกของเสียชิ้นใหญ่ การบำบัดน้ำเสียด้วยเคมีบำบัด ใช้กับกรณีที่น้ำเสียนั้นๆมีสารเคมีที่เป็นอันตรายปนเปื้อน จนถึงกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายคือ กระบวนการชีวบำบัดหรือการบำบัดโดยใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายแปรสถานะของสสารให้สลายไปดั่งสมการด้านล่าง ทุกๆการบำบัดน้ำเสีย ( ไม่ว่ามาจากแหล่งใดก็ตาม ) ต้องใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดทั้งสิ้น และทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ทุกๆบ่อบำบัดน้ำเสีย จะต้องใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียทั้งหมดที่กล่าวมา ยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนจุลินทรีย์ได้ การบำบัดน้ำเสียด้วยสารเคมีเป็นเพียงบางจุดหรือบางกรณีเท่านั้น ขั้นตอนสุดท้ายก็มาจบลงที่การย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์เหมือนเดิม ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับโลกใบนี้ การย่อยสลายของเสียต่างๆรวมทั้งน้ำเสียจะเป็นหน้าที่โดยตรงของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย ซึ่งมีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆ จุลินทรีย์มีอยู่ในธรรมชาติตามสภาวะแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ส่วนใหญ่จะอยู่แบบกระจัดกระจายกันออกไป ไม่ค่อยรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน นอกจากจะสร้างที่อยู่ที่เหมาะสมและมีอาหารดำรงชีพให้มัน ( สารอินทรีย์ ) ดังนั้น จึงมีการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบต่างๆขึ้นมา เพื่อเป็นจุดรวมตัวของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย เพื่อดึงจุลินทรีย์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในขั้นตอนสุดท้ายต้องใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆยังจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้. - 1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพเจริญเติบโต 2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ใช้วิธีการแลกอิเล็คตรอนกับสารประกอบต่างๆ ) ความสำคัญของจุลินทรีย์ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระะบบบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งและทุกๆระบบ ไม่ว่าน้ำเสียที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมา และไม่ว่าระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆจะลงทุนมากหรือลงทุนน้อยเพียงใดก็ตาม ทุกๆระบบที่สร้างขึ้นล้วนต้องใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสิ้นในการบำบัด ถึงแม้ในบางครั้งอาจใช้สารเคมีเข้าร่วมบำบัดด้วยในบางกรณี แต่กระบวนการย่อยสลายขั้นสุดท้ายก็มาจบลงที่จุลินทรีย์เหมือนเดิม น้ำเสียที่เกิดขึ้นในทุกๆแห่งล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆ รวมถึงการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ทั้งสิ้น ซึ่งเท่ากับจุลินทรีญืย่อยสลายเหล่านี้มีคุณประโยชน์ต่อโลกใบนี้ ช่วยพิทักษ์และรักษาไม่ให้ของเสียและน้ำเสียล้นโลกมาจนถึงปัจจุบันนี้ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไปมีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่พอจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้ 1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดใช้อากาศออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ( Aerobic Bacteria ) 2. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ( Anaerobic Bacteria ) จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้จะทำหน้าที่บางอย่างคล้ายๆกัน นั่นก็คือ การทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้ดีเหมือนกัน ซึ่งสามารถนำมาทดแทนกันได้ เพื่อให้การย่อยสลายของเสียในน้ำเสียเป็นไปอย่างต่อเนื่องในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
กระบวนการบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียในโลกใบนี้ ( ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสีย ) ล้วนต้องใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดทั้งสิ้น ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ ) โดยจุลินทรีย์จะใช้สารอินทรีย์ต่างๆที่อยู่ในน้ำเสียเป็นอาหารและสารตั้งต้นในกระบวนการดำรงชีพ การเจริญเติบโต และการสังเคราะห์เซลล์ใหม่ๆขึ้นมาแทนที่เซลล์ที่สลายไป และจะได้ผลผลิตที่ติดตามมาก็คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) + น้ำ (H 2 O) และ พลังงานรวมทั้งสารตกค้างบางส่วนที่ไม่สามารถย่อยสลายต่อไปได้อีก ซึ่งมีขนาดโมเลกุลขนาดเล็กมากๆ ประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ 1. การบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศออกซิเจน (Aerobic wastewater treatment) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียสำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้ถ้าไม่มีออกซิเจน ( ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ) ก็ไม่สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพในน้ำเสียนั้นๆได้ น้ำก็จะเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ทางกายภาพและเช็คค่า BOD 2. การบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศออกซิเจน (Anaerobic wastewater treatment) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียสำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศออกซิเจนในการดำรงชีพและในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆ ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ( ค่า DO ) ไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ (ไม่มีการดึงออกซิเนในน้ำเสียไปใช้ ) ดังนั้น ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีปริมาณเท่าใดก็ยังคงมีปริมาณไม่ลดลง ในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่ง จากระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสองกลุ่มนี้เป็นหลัก ถ้าขาดหรือปราศจากจุลินทรีย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ( ในทั้งสองกลุ่มนี้ ) แล้ว น้ำเสียทั้งหมดก็จะไม่ได้รับการบำบัดให้เป็นน้ำดี น้ำเสียและของเสียต่างๆคงล้นโลกใบนี้ไปนานแล้ว นี้คือ กระบวนการต่างๆในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี
จะเริ่มต้นบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านอย่างไร ? 1. อันดับแรกให้ทำการตรวจสอบเช็คระบบทั้งหมดว่ายังใช้งานได้ดีอยู่หรือไม่ ? มีสิ่งใดที่มีปัญหาในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดแล้วทำการแก้ไขปัญหานั้นๆ เมื่อระบบต่างๆทุกๆส่วนไม่มีปัญหาแล้ว ให้ปฏิบัติในขั้นต่อไป 2. อันดับต่อมาก็คือ การตรวจสอบหรือการเช็คค่าพารามิเตอร์น้ำเสียในระบบบำบัดและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการว่าได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดไว้หรือไม่ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อแรก ( น้ำเสียก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( น้ำเสียหลังการบำบัดแล้ว ) ซึ่งจะทำให้รู้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังบำบัด ( บ่อสุดท้าย ) จะทำให้ท่านรู้ว่าน้ำเสียในบ่อบำบัดของท่านผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งหรือไม่ ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพหรือไม่ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อสุดท้ายจะเป็นตัวชี้วัดระบบบำบัดน้ำเสียของท่านว่าผ่าน ( บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ )หรือไม่ผ่าน ( ล้มเหลว ) ถ้าไม่ผ่านก็ทำการแก้ไข โดยการปรึกษาผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย อาจต้องแก้ไขระบบหรือปรับปรุงในบางจุด เพื่อให้ระบบทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำการบำบัดน้ำเสียได้อย่างสมบูรณ์แบบตามที่ต้องการ
ภาพบนตัวอย่างการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic Bacteria ) บำบัดน้ำเสียอย่างไรจึงจะออกมาสมบูรณ์เป็นน้ำดีได้ ? คำตอบสั้นๆง่ายๆก็คือ ปริมาณจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียต้องมีปริมาณมากกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงจะเอาชนะของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นได้ ของเสียทุกๆอย่างในโลกนี้ ซึ่งรวมทั้งน้ำเสียด้วย ล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการย่อยสลายของเสียต่างๆแทนจุลินทรีย์ได้ในปัจจุบัน น้ำดีหรือน้ำเสียวัดได้จากค่าพารามิเตอร์เช่น ค่า pH , BOD , COD , DO , SS , TDS เป็นต้น ยิ่งค่าออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆมีสูง ( ค่า DO มากกว่า 3 ขึ้นไป ) ยิ่งเป็นการดีและค่าอื่นๆได้มาตรฐานนั่นคือ น้ำดี ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะแปรผันไปตามปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลาย ถ้าในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายจำนวนมาก จะส่งผลต่อค่าพารามิเตอร์ต่างๆเข้าใกล้ค่ามาตรฐาน จะเห็นว่า จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและน้ำเสียเป็นตัวจักรสำคัญในระบบบำบัดน้ำเสียที่จะทำให้น้ำเสียเปลี่ยนเป็นน้ำดีได้ นี่คือความสำคัญของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียอย่าให้ขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายและอย่าให้จุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีน้อยจนเกินไป เพราะจะเกิดปัญหาหลายอย่างติดตามมาในภายหลัง น้ำดีต้องมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำมากกว่า 3 ขึ้นไป ( ค่า DO > 3 ) น้ำเสียจะมีค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลยก็มี ( ค่า DO น้อย ) ดังนั้น จึงส่งผลให้ในน้ำเสียนั้นไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายหรือแทบไม่มีเลย จึงทำให้น้ำเสียวิกฤตมากขึ้นนั่นเอง ส่งผลต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนในน้ำเป็นหลัก วิธีการแก้ไขปัญหานี้จึงต้องเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสียนั้นๆ เพื่อเพิ่มค่า DO ในน้ำเสียให้มากขึ้นเพียงพอกับจุลินทรีย์ที่จะนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสีย แต่ถ้าค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียยังมีน้อยหรือไม่เพียงพอกับปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ น้ำเสียนั้นก็จะถูกบำบัดได้ระดับเล็กน้อยเท่านั้น น้ำเสียยังคงไม่เป็นน้ำดี เพราะปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนมีน้อยกว่าปริมาณน้อยเสียที่เกิดขึ้ย แต่ก็มีวิธีการแก้ไขได้อีกวิธีหนึ่งคือ การเติมหรือเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียโดยไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็ม ) ซึ่งสามารถทำได้ง่ายกว่าการเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ง่าย เพิ่มความเข้มข้นและปริมาณความหนาแน่นของจุลินทรีย์ได้ง่าย และประการสำคัญสามารถทำงานร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ทุกที่ ดังนั้น ไม่ว่าน้ำเสียนั้นๆจะมีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำหรือไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นเลย กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มก็สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที ปริมาณน้ำเสียมากหรือวิกฤตมาก ก็ใช้ปริมาณของจุลินทรีย์อีเอ็มมากตามไปด้วย การใช้จุลินทรีย์ในแต่ละครั้งจะแปรผันตรงกับปริมาณของเสีย สามารถนำกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มไปปรับค่า pH ได้กรณีที่น้ำเสียนั้นๆมีความเป็นด่างหรือเบส สามารถใช้จุลินทรีย์อีเอ็มปรับค่าน้ำได้ทันที แต่ถ้าน้ำเสียนั้นมีค่าเป็นกรดให้ใช้ปูนขาวปรับค่า pH เพื่อให้ค่าเข้าใกล้ 7 จำเป็นอย่างไรจึงต้องใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน ? ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้สมบูรณ์แบบก็คงไม่มีความจำเป็นแต่ประการใด เรารู้ปัญหาในระบบบำบัดน้ำเสียจากประสบการณ์ที่สัมผัสกับลูกค้าจำนวนมากมาโดยตลอดเกือบ 20 ปี และช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าประสบความสำเร็จมาจำนวนมาก โดยที่เราไม่ได้คิดค่าที่ปรึกษาใดๆทั้งสิ้น ลูกค้าที่สั่งซื้อจุลินทรีย์ไปจากเราจะได้รับคำแนะนำและคำปรึกษาฟรีโดยตลอด ระบบบำบัดน้ำเสียค่อนข้างต้องใช้ทั้งความรู้และความเชี่ยวชาญพอสมควร ต้องเข้าใจระบบแต่ละระบบอย่างดีพอ รวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาของระบบต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาบูรณาการกัน เราไม่ได้จำหน่ายเพียงแค่จุลินทรีย์เท่านั้น แต่เราช่วยลูกค้าของเราด้วยในการแก้ไขปัญหาโดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าที่ปรึกษาให้สิ้นเปลือง ซึ่งเป็นจุดที่ลูกค้าของเราถูกใจมากที่สุด ลูกค้าจะได้คำแนะนำและคำปรึกษาต่างๆที่มีค่ามากกว่าสินค้าที่ซื้อไปจากเรา ซึ่งเป็นนโยบายของทางร้านฯ ที่ต้องการให้ข้อแนะนำต่างๆกับลูกค้าได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราขายความจริงและนำเสนอความจริงที่ลูกค้าควรรับทราบ ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียของลูกค้าสมบูรณ์อยู่แล้ว เราจะไม่จำหน่ายสินค้าให้ เพราะไม่มีความจำเป็นใดๆ เราจะพิจารณาปัญหาและความเหมาะสมและอีกหลายอย่างมาประกอบกัน เราต้องการเติมเต็มและแก้ปัญหาจุดด้อยให้กับลูกค้า เราจะวิเคราะห์ให้กับลูกค้าก่อนว่าสมควรซื้อหรือไม่ซื้อจุลินทรีย์จากเรา จะไม่มีการยัดเยียดอย่างเด็ดขาด และไม่มีการให้ข้อมูลแบบผิดๆกับลูกค้า เพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อจุลินทรีย์จากเรา ซึ่งสังเกตได้จากที่เราจะเน้นให้ข้อมูลและความรู้ในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียกับลูกค้าให้มากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจก่อน แล้วจึงค่อยตัดสินใจในภายหลัง นี่คือจุดประสงค์ของเราที่ต้องการช่วยเหลือลูกค้าในการแก้ไขปัญหาของลูกค้า ข้อมูลของร้านฯค่อนข้างมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกค้าศึกษาและทำความเข้าใจในด้านต่างๆอย่างละเอียด ปริมาณ 1. น้ำเน่าเสียมากขึ้น 2. กลิ่นเน่าเหม็นมากขึ้นและแรงขึ้นเรื่อยๆ 3. ค่า BOD จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ฯ ล ฯ เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ในนามแบรนด์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( Anaerobic Bacteria ) ทำงานได้ดีทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศ ไม่ดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ใน ( น้ำเสีย ) มาใช้งานและการดำรงชีพ จึงทำให้ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆไม่ลดลง ( ค่า DO ) จึงเหมาะสำหรัยเป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะ จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง จุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีกลิ่นหอม ซึ่งไม่เหมือนกลิ่นจุลินทรีย์อีเอ็มทั่วๆไปที่จำหน่ายในท้องตลาดที่มีกลิ่นฉุนเปรี้ยว ดังนั้นจึงได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียได้ดี และ การดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียได้ดี กลิ่นหอมทันทีที่เริ่มใช้ในบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน ซึ่งลูกค้าของทางร้านทั้งหมดทั่วประเทศจะชอบใจในจุดนี้เป็นอย่างมาก จุลินทรีย์คาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโดยชน์หลายๆด้าน โดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียให้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เข้าไปในระบบเพื่อย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะลำพังกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียอาจไม่เพียงพอ เหตุเพราะปริมาณน้ำเสียและของเสียในน้ำเสียมีปริมาณมากกว่ากลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนจะทำการย่อยสลายและบำบัดน้ำเสียได้ทั้งหมด ทางออกในการแก้ไขปัญหานี้จึงต้องพึ่งพาอาศัยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ) นั่นก็คือกลุ่มจุลิทรีย์อีเอ็มนั่นเอง ซึ่งมีความสามารถและทำหน้าที่คล้ายๆกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนที่มีอยู่ในธรรมชาติ ในสภาวะที่มีปัญหาน้ำเสียวิกฤตหนักๆ ในน้ำเสียมีจุลินทรีย์น้อยหรือแทบไม่มีเลย ( เพราะออกซิเจนในน้ำเสียมีน้อยหรือแทบไม่มีออกซิเจน ) กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนจำเป็นต้องอาศัยอากาศออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ถ้าไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนก็จะไม่มีในน้ำเสียหรือมีแต่มีปริมาณน้อยมากๆ จึงทำให้น้ำยิ่งเน่าเสียมากยิ่งขึ้น ในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ วัตถุประสงค์ทุกๆระบบเหมือนกันคือต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนมาทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ ดังนั้น จึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนเข้าไปในระบบให้เพียงพอ แต่ส่วนใหญ่ในระบบจะได้อากาศออกซิเจนเติมเข้าไปในระบบน้ำเสียในปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อการเพิ่มปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสีย จึงส่งผลทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆยังด้อยประสิทธิภาพอยู่ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีน้อยกว่าปริมาณของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง ทางออกจึงมาลงตัวที่กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็ม ( ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลานของเสียและบำบัดน้ำเสีย ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์แอนแอร์โรบิคที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( ทำหน้าที่ได้เหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ตามความต้องการ ความหนาแน่นของปริมาณจุลินทรีย์มีมากกว่า สามารถทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียในน้ำเสียได้ทันที เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดปริมาณน้ำเสียและของเสียในระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบ โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบง่ายๆชนิดเติมอากาศ ส่วนใหญ่จะมีปริมาณจุลินทรีย์ในระบบมีปริมาณน้อย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจัดทำขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น เราสังเคราะห์ขึ้นมาจากหัวเชื้อของจุลินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศต้นฉบับโดยตรง เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายด้าน มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย รวมไปถึงการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ สามารถทำงานร่วมกันกับจุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจนได้เป็นอย่างดี ทำหน้าที่คล้ายๆกัน ดังนั้น จึงสามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ ในสภาวะที่ในน้ำเสียไร้ออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้น จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ ดังนั้น จึงต้องหันไปเพิ่งกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย นี่คือทางออกในการแก้ไขปัญหาในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ ( ค่า DO ต่ำหรือแทบเป็น 0 ) จุลินทรีย์อีเอ็มสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ง่ายกว่าจุลินทรีย์ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ต้นทุนต่ำกว่าและง่ายกว่า ดังนั้น จึงเป็นทางเลือกในการ RUN & REBOOT ระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน ไม่ว่าระบบจะเล็กหรือขนาดใหญ่ สามารถทำได้ทั้งนั้นในทุกๆระบบ เป็นผลดีต่อระบบโดยตรง กรณีที่ระบบบำบัดน้ำเสียชนิด AS หรือ RBC ล่มหรือเสียรอซ่อม ก็สามารถนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปทดแทนได้ระหว่างรอซ่อมและ RUN ระบบอีกครั้ง โดยไม่ต้องรอให้ซ่อมแล้วเสร็จก่อน เพราะของเสียและน้ำเสียเกิดขึ้นในทุกๆวัน น้ำเสียที่เกิดขึ้นไม่สามารถรอระบบให้เสร็จก่อนได้ ต้องทำการบำบัดทันทีก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้ได้ดีกับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น 6 แบบ ได้แก่ 1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) แบบที่ 4 และแบบที่ 6 การลงทุนสูงและค่าเมนเทนแนนส์รายเดือนค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับโรงงาน โรงพยาบาล ชุดชุนขนาดใหญ่ที่มีน้ำเสียปริมาณมากๆ ส่วนระบบแบบอื่นการลงทุนไม่มาก แต่อาจใช้พื้นที่มากในบางระบบ ระบบลากูนแบบกลางแจ้งจะใช้พื้นที่มาก ทุกๆระบบที่กล่าวมาล้วนต้องการออกซิเจนเข้าไปทำปฏิกิริยาในระบบ เพราะจุลินทรีย์ที่ใช้ในระบบเป็นแบบใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย อีกทั้งน้ำก็ต้องการออกซิเจนเพื่อให้เป็นน้ำดี เพราะถ้าค่าออกซิเจนในน้ำต่ำกว่า 3 ( ค่า DO < 3 )ก็จะเป็นน้ำเสียถึงน้ำจะมีสีใสก็ตาม ยังถือว่าเป็นน้ำเสียอยู่ ดังนั้น ออกซิเจนในน้ำจึงมีความสำคัญมาก น้ำดีหรือน้ำเสียจึงดูค่า DO เป็นจุดหลัก ส่วนค่าพารามิเตอร์ตัวอื่นๆเป็นส่วนประกอบที่สำคัญไล่เลี่ยกันไป ของเสียและน้ำเสียในบางหน่วยงานจะค่อนข้างวิกฤตในปัจจุบัน เพราะของเสียมากขึ้น น้ำเสียเพิ่มมากขึ้น จนระบบย่อยสลายและบำบัดไม่ทัน จึงเกิดการเน่าเหม็นส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งทำให้รู้ว่าระบบนั้นมีปัญหาในเรื่องของปริมาณจุลินทรีย์ในระบบนั้นๆมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง ทางออกคือการเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เข้าไปในระบบให้เพียงพอหรือมากกว่าปริมาณของเสียและน้ำเสีย การเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาทำได้ค่อนข้างยาก ยกเว้นระบบ AS และ RBC สามารถทำได้โดยระบบของมันเอง แต่ก็อย่างว่า ถ้าสองระบบนี้เกิดชำรุดหรือเสียขึ้นมา ก็ไม่มีจุลินทรีย์อยู่ในระบบหรือมีแต่ปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย สิ่งที่ติดตามมาก็คือ น้ำเสียเริ่มส่งกลิ่นเน่าเหม็นมากยิ่งขึ้น แล้วจะทำอย่างไร? ทางออกของปัญหานี้ก็คือ เติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( จุลินทรีย์อีเอ็ม)เข้าไปในระบบให้มากหรือเพียงพอกับปริมาณของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มจะไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำมาทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายต้องอาศัยออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นทุกๆครั้งตลอดเวลา ถ้าน้ำเสียนั้นมีออกซิเจนละลายอยู่น้อยหรือแทบไม่มีเลย ( น้ำเสียวิดฤตมาก )ปัญหาที่ตามมาก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทำงานย่อยสลายของเสียในน้ำนั้นได้ แต่ขณะเดียวกันกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม )สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที ออกซิเจนไม่มีความจำเป็นกับกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มกลุ่มนี้ ดังนั้น น้ำเสียที่วิกฤตมากๆ ( ออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียนั้นมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย ) จุลินทรีย์อีเอ็มจึงสามารถทำงานทดแทนย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที ประสิทธิภาพไม่ค่อยแตกต่างกันจากจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน จึงเป็นทางเลือกในปัจจุบันที่จะนำจุลินทรีย์อีเอ็มมาเสริมประสิทธิภาพการย่อยสลายในระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียและการย่อยสลายของเสียมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น คุณสมบัติของจุลินทรีย์คาซาม่า - ใช้บำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย - ย่อยสลายสารอินทรีย์วัตถุให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง - ย่อยสลาย Fat, Greas & Oil ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ - ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ทุกชนิด จุลินทรีย์คาซาม่า ( จุลินทรีย์-Kasama ) ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายกลุ่มดังต่อไปนี้ การสังเคราะห์จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโชน์และมีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria : PSB ) เป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่พบกระจายทั่วไปในธรรมชาติ บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกลุ่มนี้มีความสำคัญในกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 - Assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (Nitrogen Fixation) และยังมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งสัตว์ขนาดเล็กจำพวก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้สามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งต่างๆบ้านเรือนและน้ำเสียจากการทำปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria : LAB ) จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียผลิตกรดแลคติกได้รับการยอมรับว่าเป็นแบคทีเรียที่ปลอดภัย (generally recognized as safe bacteria ) เป็นกลุ่มแบคทีเรียแกรมบวก (Gram Positive Bacteria ) ที่สามารถหมักน้ำตาลกลูโคส น้ำตาลแล็กโทส ให้เกิดกรดแล็กทิก และกรดอินทรีย์อื่นๆ 3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria) เป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่ใช้ก๊าซไนโตรเจน และเป็นแหล่งไนโตรเจนได้โดยเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้กลายเป็นแอมโมเนีย
อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน ) จากภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียระบบ AS เติมอากาศ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดใช้ออกซิเจน ) + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ) จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เดิมในบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนเบื้องต้นธรรมดาเท่านั้น ( การย่อยสลายเกิดขึ้นน้อยมากในบ่อนี้ ) ก่อนที่จะผ่านเข้าไปบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อที่ทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากที่สุดในระบบนี้ ( บ่อย่อยสลายขงเสียโดยใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) และส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วในบ่อที่ 3 ( ตามภาพบน ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่ในระบบ AS นี้จะเกิดขึ้นในจุดเดียวคือ บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี แต่เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปเพิ่มเติม ( ในบ่อที่ 1 ) จะเกิดการย่อยสลายในบ่อที่ 1 หรือบ่อแรกเพิ่มขึ้นทันทีอีกจุดหนึ่ง ( เหมือนบ่อเติมอากาศ ) กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ออกซิเจนจึงไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้ทันที จะเห็นได้ว่าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 จุดหรือ 2 บ่อ ( บ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบดับเบิ้ล คือ บ่อที่ 1 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นตัวบำบัด ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )เป็นด่านแรกก่อนที่จะส่งต่อไปบำบัดอีกชั้นหนึ่งที่บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลาย ) จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะลดลงตั้งแต่การย่อยสลายหรือการบำบัดในบ่อแรกแล้ว การบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆซ้ำในบ่อเติมอากาศ ( โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ยิ่งจะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น BOD , SS , TDS , FOG , TKN ลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีก ตะกอนต่างๆก็จะลดลงเหลือน้อยมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้นดังกล่าว ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรกและบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ) จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งดีขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะผลของการบำบัดหรือการย่อยสลายของเสีย 2 ชั้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงไม่เป็นภาระหนักให้กับบ่อเติมอากาศเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ( ไม่เป็นภาระหนักให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ที่อาจย่อยสลายของเสียได้ไม่หมดหรือย่อยสลายได้เพียงบางส่วนเล็กน้อย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อสุดท้ายบ่อยๆได้
สรุป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ AS และยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศอีกชั้นหนึ่ง การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำให้สสารที่เจือปนอยูในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป หมายเหตุ : จุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ( ในทั้งหมด 6 ระบบ ) นอกจากบำบัดน้ำเสียได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆเพิ่มอีกด้วย
ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศไทย คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( Activated Sludge ) ซึ่งมีมากกว่า 90% เป็นระบบที่เติมออกซิเจนลงในน้ำเสีย ( บ่อเติมอากาศ ) โดยใช้เครื่องเติมอากาศ ( Aerator ) ลงในบ่อน้ำเสีย เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำเสีย และเพิ่มออกซิเจนในการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์กลุ่มนี้เมื่อได้รับออกซิเจนแล้วจะเจริญเติบโตและขยายตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ) เพื่อให้ของเสียที่อยู่ในรูปของสสารและแร่ธาตุต่างๆกลายไปเป็น -> น้ำ + พลังงาน + คาร์บอนไดออกไซด์ ในที่สุด
จุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( ระบบ AS )อยู่ตรงจุดใด ? 1. การเติมออกซิเจนไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด อาจจะด้วยเครื่องเติมอากาศมีกำลังวัตต์หรือกำลังแรงม้าต่ำ เติมออกซิเจนได้ไม่เพียงพอกับปริมาตรของน้ำเสีย จึงเติมออกซิเจนได้ไม่กระจายทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศโดยตรง 2. เติมออกซิเจนไปไม่ถึงก้นบ่อบำบัด เพราะบ่อบำบัดลึกเกินไป ( บ่อเติมอากาศไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร ) ออกซิเจนจะไปไม่ถึงก้นบ่อ ส่งผลเสียให้น้ำเสียและของเสียก้นบ่อไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลายเหมือนที่ผิวบ่อบำบัด 3. ต้องเติมออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง ( เดินเครื่องเติมอากาศอย่างต่อเนื่อง ) เพื่อไม่ให้ปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดปริมาณลง จะส่งผลเสียต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้น้อยลงตามไปด้วย 4. ไม่สามารถกำหนดปริมาณและความหนาแน่นของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติกำหนด ถ้าต้องการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนให้มากขึ้น ต้องเพิ่มจำนวนบ่อบำบัดและเครื่องเติมอากาศ
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศสามารถเพิ่มบ่อเติมอากาศได้มากกว่า 1 บ่อได้ตามความต้องการ ซึ่งก็จะทำให้งบประมาณเพิ่มตามไปด้วย ไม่จำเป็นต้องมีเพียงแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพด้านบน ) สามารถเพิ่มบ่อเสริมในแต่ละจุดได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียคือ งบประมาณเพิ่มตาม การควบคุมระบบก็จะยากขึ้นตามไปด้วย แต่ส่วนใหญ่จะสร้างบ่อบำบัดแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพบน ) เพราะสะดวกและประหยัดดูแลง่าย แต่ข้อเสียคือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาจไม่ผ่านในบางครั้ง หรือระบบล้มเหลวได้ง่ายๆ ถ้าการดูแลและบำรุงรักษาไม่ดีพอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาในจุดนี้ จึงส่งผลให้น้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหาตัวช่วยเพื่อมาช่วยเพิ่มการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
การดับกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง จุลินทรีย์คาซาม่าจะเข้าไปกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นเหล่านี้ รวมทั้งการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นประเภทใดได้บ้าง? จุลินทรีย์หอม-kasama ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ ( สารที่มาจากพืชและสัตว์ ) 2. กลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ กลิ่นเหม็นส้วม กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ 3. กลิ่นเหม็นจากปัสสาวะและอุจจาระทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด 4. กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากการเก็บของเสียต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นมา 5. กลิ่นคาวเลือดหรือคาวปลาในโรงงานเชือดไก่ เชือดสุกร หรือโรงงานเชือดปลา เป็นต้น 6. กลิ่นจากบ่อขยะ หรือกลิ่นจากถังขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ 7. กลิ่นเหม็นจากท่อระบายน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็นจากน้ำที่เน่าเสีย 8. กลิ่นเน่าเหม็นจากไขมัน จากบ่อดักไขมันตามร้านอาหารหรือโรงอาหาร เป็นต้น 9. กลิ่นเหม็นจากการหมักพืชและสัตว์ 10. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด กลิ่นใดที่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าดับไม่ได้หรือกำจัดกลิ่นไม่ได้ ? กลิ่นที่เกิดขึ้นจากสารเคมีจำพวกกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์ทำลายหรือกัดกร่อนสูง ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา บรรจุแกลลอนขนาด 20 ลิตร ( มีขนาดเดียว ) ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ มีปัญหาบ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. ค่าพารามิเตอร์เบื้องต้นของน้ำเสียและค่ามาตรฐานน้ำทิ้งประเภทต่างๆที่ควรรู้ ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสียสอบตกค่าพารามิเตอร์จะเป็นเครื่องบอกเหตุว่า บ่อบำบัดน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหายังไม่มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้ และยังทำให้รู้ว่ามีปัญหาในเรื่องของปริมาณจุลินทรีย์ในบ่อบำบัด อาจจะขาดหรืออาจจะเกิน ( แต่ส่วนใหญ่จะขาด )
ตัวอย่างค่าพารามิเตอร์ต่างๆของอาคารสำนักงานทั่วๆไป
ตัวอย่างค่าพารามิเตอร์ของอาคารต่างๆแบบคร่าวๆ ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนห้อง
ค่าพารามิเตอร์บางตัวที่ควรทราบไว้ TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) หมายถึงปริมาณรวมทั้งหมดของไนโตรเจนอนินทรีย์และแอมโมเนีย-ไนโตรเจนที่อยู่ในโปรตีนของพืชและสัตว์ FOG ( Fat, Oil &Grease ) แสดงค่า ไขมัน Grease , Oil ในน้ำเสีย TOC (Total Organic Carbon) คือค่าอินทรีย์คาร์บอนรวม เป็นคำศัพท์ที่ใช้อธิบายถึง สารอินทรีย์(ที่พื้นฐานมีคาร์บอน) ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในน้าเสียนั้นๆ สารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำนั้น สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำได้ น้ำที่มีสารอินทรีย์เจอปนมากจะส่งผลให้การละลายของออกซิเจนในน้ำนั้นน้อยลง ส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายโดยตรง ค่า BOD ของน้ำดีจะอยู่ที่ <= 6 mg/l จะส่งผลทำให้ค่า DO >= 6 ขึ้นไป ค่ากลางน้ำดีของ DO อยู่ที่ 5-8 mg/l หรือ 5-8 ppm. มาตรฐานน้ำทิ้ง ค่า BOD ( กลาง ) ประมาณ 20 mg/l ถ้าค่า BOD เกิน 100 mg/l ขึ้นไป น้ำก็จะเน่าเสียแล้ว ( สารอินทรีย์เจือปนในน้ำมีมาก ) การควบคุมค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสีย ( Para Meter Control ) ทำไมต้องคอนโทรลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เหตุผลก็เพื่อต้องการทราบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังการบำบัดแล้ว ( น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดให้เป็นน้ำดี ) ซึ่งค่าพารามิเตอร์จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดว่า บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้หรือไม่ รวมถึงจะบอกถึงประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียในหน่วยงานนั้นๆ น้ำที่มีสีใสๆไม่ใช่น้ำที่มีคุณภาพดีเสมอไป อาจมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่มากก็ได้ ( เป็นน้ำเสีย ) ค่าพารามิเตอร์พื้นฐานที่ต้องคอนโทรลในระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย เช่น ค่า ph , BOD , COD , SS , TDS , FOG , TKN , S ,DO เป็นต้น ถ้าคอนโทรลค่าพารามิเตอร์พื้นฐานเหล่านี้ได้ตามกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งได้แล้ว ถือว่าระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพดีมาก และต้องคอนโทรลได้อย่างต่อเนื่อง การวัดค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียในบ่อบำบัดประจำเดือน ( ในแต่ละครั้ง ) ให้เก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อที่ 1 ( ก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( ผ่านการบำบัดแล้ว ) มาวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการแล้วนำไปขึ้นเป็นรีพอร์ท ( รายงานผลการวิเคราะห์ ) ประจำเดือนในแต่ละเดือนต่อไป ( ส่งให้หน่วยงานราชการได้ ) สิ่งที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะน้ำเสียที่ไปจากอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนี่ยมต่างๆทุกๆแห่งจะมีสารอินทรีย์และตะกอนปนเปื้อนในน้ำเสียค่อนข้างสูง ส่งผลให้ค่า BOD , TOC , SS , TDS สูงตามไปด้วย การลดสารอินทรีย์ ( ถ้าทำได้ ) จะส่งผลให้ค่า BOD และ TOC , SS , TDS ลดลงตามไปด้วย ถ้าตะกอนสารอินทรีย์มีขนาดใหญ่อาจใช้ตัวกรองของเสียและกรองตะกอนตะกรัน ( Filter ) กรองดักของเสียก่อนลงในบ่อแรก เพื่อลดค่า SS , TDS ไปในตัว ซึ่งมีส่วนช่วยลดค่า BOD , COD , TOC โดยเฉพาะการใช้ฟิลเตอร์กรองแบบละเอียดก่อนน้ำเสียลงบ่อสุดท้าย ( ก่อนปล่อยน้ำทิ้งออกสู่สาธารณะ ) การเพิ่มตัวฟิลเตอร์ในแต่ละบ่อจะช่วยลดค่า BOD , TOC , SS , TDS ไปได้มากพอสมควร ตัวฟิลเตอร์ก่อนลงในบ่อแรกอาจจะหยาบพอประมาณ เพิ่มตัวกรองสัก 2-3 ชั้น ( กรองแบบหยาบในบ่อแรก ) ส่วนบ่อลำดับต่อไปจนถึงบ่อสุดท้ายก็สามารถเพิ่มความละเอียดของฟิลเตอร์มากขึ้นตามความต้องการ เป็นวิธีการลดค่าพารามิเตอร์บางตัวแบบง่ายๆ แต่จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการบำบัดของระบบได้มากขึ้น ในส่วนของค่า pH สามารถปรับได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนกรณีค่า BOD , COD
ตัวอย่างแบบคร่าวๆของการทำรายงานผลประจำเดือนบ่อบำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสีย ผลการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์น้ำเสียและน้ำทิ้งของบ่อบำบัดน้ำเสียนิติบุคคลอาคารชุด A ประจำเดือน ..... พ.ศ. 2563 ( ค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันออกไปสถานะของหน่วยงาน )
เพราะอะไรจึงต้องทำการบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะต่อไป เหตุผลก็เพราะ น้ำ คือ ชีวิต ทุกๆชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ขาดน้ำไม่ได้ คือ ตายสถานเดียวเท่านั้น น้ำเสียไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆปรารถนา แม้แต่พืชและสัตว์ก็ไม่มียกเว้น รักษาน้ำ เท่ากับรักษาโลกให้ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น น่าอยู่ขึ้น |