จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้บรรจุกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง สำหรับลดค่า TKN โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสีย กระบวนการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมจำนวนมากยังมีปัญหาไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งจะแก้ไขอย่างไร บำบัดน้ำเสียอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพประสิทธิผลตามที่ต้องการ
ReadyPlanet.com
bulletใบเสนอราคาจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletห้องน้ำเหม็นตอนฝนตก/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรงช่วงหน้าฝน
bulletวิธีการแก้ปัญหากลิ่นห้องน้ำโชยเข้าห้องนอน
bulletห้องน้ำเหม็นมากๆส้วมเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
bulletวิธีทำความสะอาดห้องน้ำ/ส้วมให้มีกลิ่นหอม
bulletดับกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ/บำบัดกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ
bulletเทคนิคการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่น/บำบัดน้ำเสีย
bulletดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น
bulletดับกลิ่นเหม็นบ่อเกรอะ
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/ กลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletประโยชน์ของการเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายลงไปในบ่อเกรอะ
bulletจุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะ
bulletกลิ่นเน่าเหม็นจากบ่อเกรอะแก้อย่างไร?
bulletจำหน่ายอีเอ็มดับกลิ่น/อีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรง
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำมาจากจุดใด?
bulletวิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็นส้วมเหม็นด้วยจุลินทรีย์-Kasama
bulletจุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย-KASAMA
bulletวิธีดับกลิ่นส้วม/วิธีดับกลิ่นส้วมเหม็น
bulletท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น
bulletการใช้จุลินทรีย์-Kasama ทำความสะอาดห้องน้ำปั๊มน้ำมัน
bulletวิธีดับกลิ่นท่อน้ำทิ้ง/วิธีดับกลิ่นท่อระบายน้ำทิ้ง
bulletของเสียในห้องน้ำห้องส้วม
bulletวิธีดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ
bulletกลิ่นเหม็นห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น ซื้อที่ไหน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ ซื้อที่ไหน
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ลดกลิ่นห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นเหม็นท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ดับกลิ่นส้วม
bulletการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายทำความสะอาดห้องน้ำ
bullet(( การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมและอพาร์ทเม้นท์ ))
bulletการบำบัดน้ำเสียในหมู่บ้านด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการดูแลบ่อเกรอะไม่ให้ส่งกลิ่นรบกวน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นน้ำเน่าเสียดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็น
bulletจำหน่ายอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletอีเอ็มดับกลิ่น
dot
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย
dot
bulletจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletจุลินทรีย์อีเอ็ม( EM )
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในห้องน้ำห้องส้วม
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็น
bulletวิธีแก้ห้องน้ำเหม็น
bulletส้วมเหม็น ทำไงดี?
bulletส้วมเหม็น ทำอย่างไร?
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็นมีวิธีแก้ไข
bulletท่อน้ำทิ้งมีกลิ่น
bulletห้องน้ำคอนโดมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำโรงแรมมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำอพาร์ทเม้นท์มีกลิ่นเหม็น
bulletการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ในการดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในตลาดสด
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดของเสียในร้านอาหารและภัตตาคาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มในโรงพยาบาลและคลีนิก
bulletการทำงานของจุลินทรีย์
bulletประโยชน์ของจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ให้ได้ผลดี
bulletความเข้าใจในการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นต่างๆ
bulletวิธีการกำจัดกลิ่นเหม็นด้วยจุลินทรีย์
bulletการแก้ปัญหาน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย
dot
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
dot
bulletน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย น้ำท่วม
bulletem บำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีบำบัดน้ำเสีย
bulletการบำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีการบำบัดน้ำเสีย
bulletน้ำเสียและการบําบัดน้ำเสียแบบง่ายๆ
bulletอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย/อีเอ็มดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม
bulletการใช้จุลินทรีย์กำจัดไขมันในโรงอาหาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มดับกลิ่นในไซท์งานก่อสร้าง
dot
การใช้จุลินทรีย์ในส่วนอื่นๆ
dot
bulletกลิ่น / กลิ่นไม่พึงประสงค์
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข : น้ำยาดับกลิ่นสุนัข
bulletกลิ่นสุนัข/กลิ่นสัตว์เลี้ยง
bulletวิธีกําจัดกลิ่นสุนัข/วิธีกำจัดกลิ่นสัตว์เลี้ยงด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกชนิด
bulletการกำจัดกลิ่นห้องน้ำด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletส้วมเหม็น / ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/กลิ่นส้วม
bulletห้องน้ำเหม็นอับ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ / ห้องส้วม
bulletส้วมเต็มง่าย
bulletส้วมมีกลิ่น / ห้องน้ำมีกลิ่น/ กลิ่นส้วม
bulletการเก็บรักษาจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นอย่างไรจึงจะได้ผล ?
dot
= การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ =
dot
bulletดับกลิ่นในห้องน้ำและห้องนอนด้วยจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์ทะลวงในท่อที่อุดตัน
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในสวนสัตว์
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข
bulletสารพัดประโยชน์จากจุลินทรีย์
bulletการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ประจำวัน
bulletการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ในบ้าน
bulletจำหน่ายจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletทำไมต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย?
bulletการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
bulletแผนผังเว็บไซต์
bulletไทยรัฐ
bulletเดลินิวส์
bulletคมชัดลึก
bulletแนวหน้า
bulletบริหารจัดการ
bulletLoGo
bulletHotmail
bulletYahoo
dot
ธนาคาร
dot
bulletกรุงเทพ
bulletกสิกร
bulletThailandservices
bulletYoutube
bulletแปลงไฟล์
bulletFB
bulletGmail


มีปัญหาฟาร์มเป็ดส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ฟาร์มไก้ส่งกลิ่นเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น, แก้บ่อเกรอะเหม็น, ห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็นทำอย่างไร? อยากรู้คลิกดูที่นี่..
ดับกลิ่นสุนัข, ดับกลิ่นฟาร์มสุนัข, ดับกลิ่นคอกสุนัข, ดับกลิ่นกรงสุนัข, ดับกลิ่นมูลสัตว์เลี้ยง, ดับกลิ่นมูลสุนัข, ดับกลิ่นสัตว์เลี้ยง
ฟาร์มสุกรส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มหมูส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มสัตว์เลี้ยงส่งกลิ่นเหม็น, กลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, แก้ปัญหากลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มสัตว์เลี้ยง,
ห้องน้ำเหม็น, ส้วมเหม็น, จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น, จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, จุลินทรีย์อีเอ็ม, จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง, อีเอ็ม, จำหน่ายอีเอ็ม, จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ขายอีเอ็ม, ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ดับกลิ่นส้วมเหม็น, บำบัดน้ำเ


การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยม

           

                        

สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย เป็นตัวจักรสำคัญในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด

ปัญหาของการบำบัดน้ำเสีย จุดที่ยากและสลับซับซ้อนมากที่สุดก็คือ ปัญหาทางด้านเทคนิค ทั้งการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เช่น ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากอะไร? มีกี่ค่า ? แต่ละค่าต้องแก้ไขอย่างไร ? ปรับระบบอย่างไรเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย? เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่การใช้จุลินทรีย์บำบัดแล้วก็จบเท่านั้น ปัญหาทางด้านเทคนิคของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับลดบางค่า หรือการเพิ่มบางค่าในระบบบำบัดจะพบบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงเท่านั้น ที่นี่..เราแนะนำให้ลูกค้าของเราฟรีๆ

สิ่งที่ลูกค้าจะได้มากที่สุดจากที่นี่..ก็คือการแก้ปัญหาในเรื่องการบำบัดน้ำเสียและการแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน เพราะเราจะให้บริการท่านฟรีๆ ปรึกษาขอคำแนะนำฟรีๆ การซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปบำบัดน้ำเสียจะเป็นเรื่องรอง ปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆค่อนข้างสำคัญต่อการบำบัดน้ำเสียมากๆ จะเห็นได้ว่า เราไม่ได้ขายแค่จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเพียงเท่านั้นจบ  แต่เรายังช่วยเหลือและช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าของเราอีกด้วย ( จุดสำคัญ ) นี่คือจุดเด่นและจุดแตกต่างของเราที่ไม่เหมือนใครในการจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย 

           

อาคารชุดคอนโดมิเนี่ยม มีปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์จำนวนมาก ซึ่งเป็นรองลงมาจากโรงแรม ( อันดับ 1 ) จะแก้ไขอย่างไร ?

ที่นี่..ไม่ได้รับดูแลหรือสำรวจระบบบำบัดน้ำเสียให้กับลูกค้า แต่จะให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆ ทั้งทางด้านเทคนิคและการบำบัดน้ำเสียสำหรับลูกค้าที่สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจากทางร้านของเรา

  การบำบัดน้ำเสียของอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมและระบบบำบัดน้ำเสีย

น้ำเสียจากอาคารชุดคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง ทุกๆขนาด รวมถึงอาคารสำนักงานทุกๆแห่งทั่วๆไป จะมีน้ำเสียแบ่งเป็น 2  ส่วนดังต่อไปนี้ .-

1. น้ำเสียจากกิจกรรมต่างๆในห้องน้ำ ทั้งการซักล้าง อาบน้ำ และอื่นๆ ( ยกเว้นน้ำเสียจากชักโครกหรือส้วม ) ค่า TKN ค่อนข้างสูงและไม่ค่อยผ่านค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบ่อยๆ

2. น้ำเสียจากชักโครกหรือส้วม ซึ่งมีสิ่งปฏิกูลเจือปนจำนวนมาก ( น้ำเสียที่ไปจากส่วนนี้จะทำให้ค่า SS , TDS , BOD สูง )

ในการบริหารจัดการน้ำเสียทั้ง 2 ส่วนนี้ต้องแยกกัน ผู้ออกแบบระบบต้องแยกน้ำเสียที่ไปจากส้วมหรือชักโครกออกจากน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆในห้องน้ำที่ไม่ใช่ชักโครก ( ตามภาพบนประกอบ ) ดังนั้น ต้องสร้างและออกแบบระบบบ่อรับน้ำเสียแยกส่วนจากกัน น้ำเสียที่ไปจากชักโครกหรือส้วมจะต้องไปลงรวมกันที่บ่อเกรอะจุดเดียวทั้งหมด ส่วนน้ำเสียที่ไม่ใช่ไปจากส้วมหรือชักโครกให้ลงไปรวมกันที่บ่อรับน้ำเสียในบ่อแรก ( บ่อที่ 1 ) ก่อนเข้าสู่การบำบัดในบ่อที่ 2 ( บ่อเติมอากาศ ) บ่อเติมอากาศสามารถมีได้มากกว่า 1 บ่อต่อเนื่องกัน หลังจากนั้นน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไปรวมกันที่บ่อพักน้ำทิ้งซึ่งเป็นบ่อสุดท้าย ( ก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะต่อไป ) น้ำทิ้งจะผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งหรือไม่ให้ตรวจสอบหรือเช็คค่าพารามิเตอร์ที่บ่อสุดท้ายนี้เป็นหลัก เราไม่สามารถกำหนดน้ำเสียในแต่ละวัน แต่ละเดือนให้ได้ตามปริมาณที่กำหนด เพราะน้ำเสียขึ้นอยู่กับปริมาณผู้ใช้น้ำในอาคารชุดทั้งหมด ใช้น้ำมาก น้ำเสียก็มีปริมาณมากตามไปด้วย การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียต้องเผื่อน้ำเสียที่มากเกินในแต่ละช่วง (  Over Load ) 

ทำไมต้องแยกน้ำเสียที่ไปจากชักโครกหรือส้วมออกจากน้ำเสียที่ไปจากกิจกรรมในห้องน้ำ ( ที่ไม่ใช่จากส้วม ) ? 

สาเหตุที่ต้องแยกน้ำเสียทั้ง 2 ส่วนออกจากกัน ( น้ำเสียที่ไปจากชักโครกและน้ำเสียที่ไปจากกิจกรรมอาบน้ำและอื่นๆ ) จะไปเกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสียโดยตรง ถ้านำน้ำเสียทั้งสองส่วนนี้มารวมกันในจุดเดียวทั้งหมด จะส่งผลให้การบำบัดและระบบบำบัดน้ำเสียล้มเหลวได้ง่ายๆและมีปัญหามากยิ่งขึ้น ขนาดแยกส่วนกันแล้วระบบบำบัดน้ำเสียยังมีปัญหาบ่อยๆ ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน ) ดังนั้น จึงต้องแยกส่วนกันบำบัด ทั้งบ่อรับน้ำเสียและบ่อบำบัดจึงต้องแยกบ่อกันเป็นคนละบ่อ ( ตามภาพบน ) การบำบัดและการควบคุมระบบก็จะทำได้ง่ายขึ้น ระบบบำบัดมีปัญหาก็สามารถแก้ไขได้ง่ายขึ้น จึงเป็นที่มาของการแยกส่วนบ่อเกรอะ บ่อบำบัดน้ำเสียจากบ่อเกรอะ และบ่อบำบัดน้ำเสียจากน้ำเสียส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่น้ำเสียจากบ่อเกรอะ ซึ่งอาจจะลงทุนเพิ่มมากขึ้น แต่ตรงจุดตามหลักการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่ถูกต้อง ถ้าอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมใดๆก็ตามมีการนำน้ำเสียทั้ง 2 ส่วนที่กล่าวมาข้างต้นนี้มารวมอยู่ในบ่อเดียวกัน จะเกิดปัญหาขึ้นบ่อยๆ นั่นก็คือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์อยู่เป็นประจำ ถูกทางราชการปรับครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะอะไร ? ก็เพราะว่า น้ำเสียจากชักโครกหรือส้วม ( ที่ลงบ่อเกรอะ ) จะมีสิ่งปฏิกูลจำนวนมากในบ่อเกรอะเรียกว่า ตะกรัน หรือ ตะกอน ซึ่งมีทั้งตะกอนหนักที่จมอยู่ก้นบ่อเกรอะและตะกอนเบาที่ลอยอยู่ผิวน้ำในบ่อเกรอะที่เรียกว่าตะกรัน หรือของแข็งแขวนลอย ( Suspend Solid : SS ) และส่งผลรวมให้ค่า TDS สูง ( Total Disolved Solids ) ค่า BOD สูงตามไปด้วย เพราะเป็นตะกอนของแข็งที่เป้นสารอินทรีย์  ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีสารอินทรีย์เจือปนในระบบในปริมาณมากเกินที่ระบบจะรับได้ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจึงไม่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าว  ดังนั้น การออกแบบระบบในครั้งแรกที่สร้างอาคารชุดจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมทุกๆแห่ง ซึ่งต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยในปัจจุบันและในอนาคตของผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมนั้นๆ ไม่สร้างมลภาวะและมลพิษใดๆให้กับผู้อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมสาธารณะทั่วไปโดยรวม 

        

คราวนี้มาถึงน้ำเสียของอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมทั้งหมดที่ต้องทำการบำบัด ( ซึ่งแยกน้ำเสียจากชักโครกบ่อเกรอะออกแล้ว ) น้ำเสียทั้งหมดในคอนโดลงมารวมกันที่บ่อรับน้ำเสียบ่อที่ 1 ( ภาพบน ) บ่อที่ 1 ควรมีฟิลเตอร์กรองหยาบ 2-3 ชั้น เพื่อกรองของเสียชิ้นใหญ่และอื่นๆที่เป็นขยะทิ้งลงมากับน้ำเสียเพื่อนำออกจากระบบ ( ไม่ให้ผ่านเข้าไปในบ่อที่ 2 ) ควรทำความสะอาดล้างฟิลเตอร์บ่อยๆ เพราะมีของเสียติดในฟิลเตอร์จำนวนมาก การกรองของเสียต่างๆในจุดนี้จะทำให้ค่า SS, TDS , FOG และ BOD ได้มากพอสมควร  น้ำเสียจากบ่อที่ 1 ล้นเข้าสู่บ่อที่ 2 ( บ่อเติมอากาศและย่อยสลายของเสียโดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) บ่อนี้จะทำหน้าที่ย่อยสลายสสารต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย ( สารอินทรีย์และสารอินนทรีย์ ) โดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศออกซิเจนเป็นหลัก ที่เราต้องเติมอากาศลงไปในน้ำเสียก็เพื่อเพิ่มค่าออกซิเจนลงในน้ำเสีย ( ค่า DO : Dissolved Oxygen ) กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนจะดึงไปใช้ในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ถ้าออกซิเจนมีน้อย จุุลินทรีย์ก็จะน้อยตามไปด้วย ถ้าเติมออกซิเจนไม่กระจายทั่วบริเวณบ่อบำบัดทั้งหมดก็มีปัญหาออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการขยายตัวของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ( ปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่ในจุดนี้ ) ส่งผลให้สสารบางส่วนยังไม่ถูกย่อยสลายได้ทั้งหมด ( ผ่านไปยังบ่อสุดท้าย ) จึงเป็นที่มาของตะกอนส่วนเกิน ( Excess Sludge )ใต้ก้นบ่อบำบัด ส่งผลให้ค่า BOD , TDS , SS ยังคงสูงอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง นี่คือที่มาของปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ( ส่วนใหญ่ ) การเพิ่มจุดบำบัดย่อยสลายให้มากขึ้น ( เพิ่มบ่อบำบัดและบ่อเติมอากาศ ) จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวนี้ได้ จะเห็นได้ว่าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้ล้วนมาจากสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียทั้งสิ้น ถ้าลดสารอินทรีย์เหล่านี้ได้มากที่สุด ค่ามาตรฐานต่างๆก็จะผ่านเกณฑ์กำหนดได้ โดยเฉพาะการลดค่า SS , TDS , FOG จะส่งผลให้ค่า BOD ลดลงตามไปด้วย จึงเป็นที่มาของการบำบัดขั้นต้นทางกายภาพด้วยการกรองสสารให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะไปบำบัดขั้นที่ 2 ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์ชีวภาพ ) น้ำเสียจากอาคารชุดเราไม่สามารถควบคุมปริมาณให้จำกัดได้ จะแปรผันไปตามจำนวนประชากรที่อยู่อาศัยในอาคารชุดนั้นๆ ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมติดตามและดูแลอยู่เป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาเมื่อระบบล่มหรือล้มเหลวขึ้นได้ได้อย่างทันการณ์

การแก้ไขปัญหาตะกอนส่วนเกินใต้ก้นบ่อบำบัด ( Excess  Sludge )

ปัญหาตะกอนส่วนเกิน ( Excess  Sludge ) ต้องมีแทบทุกๆระบบบำบัดน้ำเสีย การย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จะมีบางส่วนที่ย่อยสลายไม่หมดในแต่ละครั้ง จึงเป็นที่มาของตะกอนส่วนเกิน ส่วนจะเกินมากหรือน้อยนั้น ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของระบบบำบัด ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม ตะกอนส่วนเกินก็จะมีน้อย ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการกำจัดตะกอนส่วนเกินนี้ขึ้นมา ถ้าตะกอนส่วนเกินสะสมกันมากๆก็จะส่งผลเสียต่อระบบได้เช่นกัน ทั้งค่า BOD สูงขึ้น น้ำอาจกลับมาเน่าเสียอีกรอบได้ เพราะปัญหาตะกอนส่วนเกินตัวนี้ การกำจัดตะกอนส่วนเกิน

1. สูบนำไปทำลายทิ้งฝังกลบดินหรือไปทำเป็นปุ๋ย ( มี N , P สูง )

2. นำกลับไปบำบัดซ้ำในบ่อที่ 1 และ 2 ตามลำดับ เพื่อให้สสารแปรเปลี่ยนไปเป็นพลังงานในที่สุด ( ตามสมการด้านล่างนี้ )

                   

เพราะอะไรอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง ?

อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งหรือที่เรียกกันว่า ค่าพารามิเตอร์มาตรฐานน้ำทิ้ง เป็นค่าที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อเป็นมาตรฐานในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะทำให้รู้ว่าระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียได้มากน้อยแค่ไหน ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ผ่านเกณฑ์จะแสดงให้เห็นได้ว่า ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียผ่านเกณฑ์ ค่าพารามิเตอร์ที่มีปัญหาไม่ผ่านเกณฑ์ เช่น ค่า BOD สูง ค่า SS , TDS , FOG , TKN สูง ซึ่งค่าต่างๆเหล่านี้ที่สูงก็มาจากสารอินทรีย์ต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆยังคงมีปริมาณมาก ( ยังไม่ผ่านการบำบัดและย่อยสลายจากจุลินทรีย์อย่างสมบูรณ์ทั้งหมด ) ยังคงมีกากตะกอนตกค้างอยู่ในระบบในปริมาณที่มาก ( ตะกอนส่วนเกิน ) ต้องทำการกำจัดทิ้งและนำไปบำบัดย่อยสลายซ้ำๆต่อไป เพื่อให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ลดลงให้ได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดให้จงได้ในที่สุด การกำจัดของเสียต่างๆในแต่ละขั้นตอนล้วนมีผลในการลดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ

ปัจจัยใดที่มีผลต่อระบบบำบัดน้ำเสียว่ามีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ? 

1. การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียทั้งระบบ ( รวมถึงบ่อบำบัดแต่ละบ่อ กว้าง ยาว ลึก )

2. พื้นที่ของระบบทั้งหมด

3. การบริหารจัดการระบบ

4. การดูแลและบำรุงรักษาระบบอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ ( การตรวจเช็คค่าต่างๆเป็นประจำ )

5. ผู้ดูแลระบบ ต้องมีความรู้และความเข้าใจในระบบบำบัดของตนเองมากพอสมควร  

ค่าพารามิเตอร์มาตรฐานน้ำทิ้งสำหรับอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยม

สำหรับค่าพารามิเตอร์มาตรฐานน้ำทิ้งของอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมแต่ละแห่งอาจไม่เท่ากัน เพราะจะถูกกำหนดค่ามาตรฐานน้ำทิ้งตามขนาดของจำนวนห้องรวมทั้งหมดของอาคารชุดนั้นๆเป็นหลัก เช่น อาคารชุดที่มีจำนวนห้องตั้งแต่ 500 ห้องขึ้นไป จะอยู่ในประเภท ก. ขนาดห้องตั้งแต่ 100 - 499 ห้อง จัดอยู่ในประเภท  ข. เป็นต้น สำหรับค่าพารามิเตอร์มาตรฐานน้ำทิ้งของอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยม มีดังต่อไปนี้.-

1.  pH  ( Potential of Hydrogen ion) เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นเบส ( ด่าง ) ของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+

2.  BOD   Biochemical Oxygen Demand ) บีโอดีในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมี ( ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ) มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

3.  TDS  (Total Dissolved Solid) ค่ารวมของสารที่ละลายได้ทั้งหมด มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

4.  SS  (Suspended Solid : SS ) ปริมาณของแข็งแขวนลอยในนน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

5.  SS  ( Settleable Solids : SS )  ค่าตะกอนหนัก  มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

6.  FOG   (Fat , Oil & Grease)  น้ำมันและไขมัน  มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

7.  S  (Sulfide) ค่าซัลไฟต์  มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

8.  TKN  (Total Kjeldahl Nitrogen) หมายถึงปริมาณรวมทั้งหมดของไนโตรเจน ปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l )

        

การดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของอาคารชุดควรหมั่นตรวจเช็คค่าพารามิเตอร์ต่างๆเป็นประจำวัน ประจำเดือน เพราะจะทำให้ทราบค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในแต่ละวันหรือแต่ละช่วงเวลา ทำให้ทราบถึงความเป็นไปของระบบบำบัดน้ำเสียโดยรวมว่ายังคงมีประสิทธิภาพดีอยู่หรือไม่ ถ้าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านค่าใดค่าหนึ่งต้องทำการปรับปรุงและแก้ไขระบบทันที โดยเฉพาะค่า BOD ซึ่งเป็นตัวชี้วัดน้ำดี-น้ำเสียได้เป็นอย่างดี  ค่า BOD >= 100 mg/l ถือว่าเป็นน้ำเน่าเสีย และค่า  DO น้อยกว่า 2 mg/l น้ำเริ่มเน่าเสียแล้ว ดังนั้น นอกจากเช็คค่า BOD เป็นประจำแล้ว ควรเช็คค่า DO ด้วยยิ่งเป็นการดี ถ้าน้ำเสียมีค่า DO >= 3 mg/l ขึ้นไปถือว่าเป็นน้ำดี แต่ค่า DO ตัวนี้จะไม่ปรากฎในตารางค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง แต่ใช้เป็นตัวชี้วัดค่าออกซิเจนในน้ำเท่านั้น  กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักขาดออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนลงในน้ำเสีย เพื่อให้น้ำเสียมีออกซิเจนเพียงพอที่กลุ่มจุลินทรีย์ดึงไปใช้ในการย่อยสลายของเสียและการขยายตัวดำรงชีพ ถ้ามีการเช็คหรือตรวจสอบค่า DO อยู่เป็นประจำก็จะทำให้เราทราบถึงความเป็นไปของระบบบำบัดน้ำเสียของเราเอง  

        

ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศไทย คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS  (  Activated  Sludge ) ซึ่งมีมากกว่า 90% เป็นระบบที่เติมออกซิเจนลงในน้ำเสีย ( บ่อเติมอากาศ ) โดยใช้เครื่องเติมอากาศ ( Aerator ) ลงในบ่อน้ำเสีย เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำเสีย และเพิ่มออกซิเจนในการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์กลุ่มนี้เมื่อได้รับออกซิเจนแล้วจะเจริญเติบโตและขยายตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ) เพื่อให้ของเสียที่อยู่ในรูปของสสารและแร่ธาตุต่างๆกลายไปเป็น  ->  น้ำ + พลังงาน + คาร์บอนไดออกไซด์ ในที่สุด

     

จุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( ระบบ AS )อยู่ตรงจุดใด ?

1. การเติมออกซิเจนไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด อาจจะด้วยเครื่องเติมอากาศมีกำลังวัตต์หรือกำลังแรงม้าต่ำ เติมออกซิเจนได้ไม่เพียงพอกับปริมาตรของน้ำเสีย จึงเติมออกซิเจนได้ไม่กระจายทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศโดยตรง

2. เติมออกซิเจนไปไม่ถึงก้นบ่อบำบัด เพราะบ่อบำบัดลึกเกินไป ( บ่อเติมอากาศไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร ) ออกซิเจนจะไปไม่ถึงก้นบ่อ ส่งผลเสียให้น้ำเสียและของเสียก้นบ่อไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลายเหมือนที่ผิวบ่อบำบัด

3. ต้องเติมออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง ( เดินเครื่องเติมอากาศอย่างต่อเนื่อง )  เพื่อไม่ให้ปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดปริมาณลง จะส่งผลเสียต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้น้อยลงตามไปด้วย

4.  ไม่สามารถกำหนดปริมาณและความหนาแน่นของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้  ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติกำหนด  ถ้าต้องการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนให้มากขึ้น ต้องเพิ่มจำนวนบ่อบำบัดและเครื่องเติมอากาศ

      

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศสามารถเพิ่มบ่อเติมอากาศได้มากกว่า 1 บ่อได้ตามความต้องการ ซึ่งก็จะทำให้งบประมาณเพิ่มตามไปด้วย ไม่จำเป็นต้องมีเพียงแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพด้านบน ) สามารถเพิ่มบ่อเสริมในแต่ละจุดได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียคือ งบประมาณเพิ่มตาม การควบคุมระบบก็จะยากขึ้นตามไปด้วย แต่ส่วนใหญ่จะสร้างบ่อบำบัดแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพบน ) เพราะสะดวกและประหยัดดูแลง่าย แต่ข้อเสียคือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาจไม่ผ่านในบางครั้ง หรือระบบล้มเหลวได้ง่ายๆ ถ้าการดูแลและบำรุงรักษาไม่ดีพอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาในจุดนี้ จึงส่งผลให้น้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง  ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหาตัวช่วยเพื่อมาช่วยเพิ่มการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

             

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย เป็นทางเลือกสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียที่ยังไม่ผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งทุกๆระบบบำบัดน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นการเติมอากาศไม่เพียงพอ ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีจำนวนน้อย ( แต่น้ำเสียมีมาก ) เครื่องเติมอากาศเสีย กำลังเครื่องเติมอากาศไม่เพียงพอ หรือไม่มีเครื่องเติมอากาศเลย ระบบบำบัดน้ำเสียล้มเหลวบ่อยๆ ไม่มีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญดูแลระบบ ฯลฯ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะทำหน้าที่เติมเต็มทดแทนการทำงานย่อยสลายของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก เพราะกลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าทำงานหรือทำปฏิกิริยาได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศ และสามารถทำงานย่อยสลายบำบัดน้ำเสียแบบคู่ขนานไปกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ทันที ไม่มีผลกระทยใดๆต่อระบบบำบัด และสามารถเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้ในทุกๆบ่อบำบัด ทั้งบ่อเติมอากาศและบ่ออื่นๆ ประการสำคัญกรณีที่น้ำเน่าเสียนั้นๆมีกลิ่นเหม็น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถกำจัดกลิ่นในระบบบำบัดนั้นได้ในเวลาเดียวกัน จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถเพิ่มความเข้มข้นและความหนาแน่นของปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ย่อยสลายของเสียได้ตามความต้องการของผู้ใช้หรือผู้ควบคุมระบบบำบัด ใช้ได้ในทุกๆที่การบำบัดน้ำเสียและทุกๆเวลาที่ต้องการใช้ทันที             

การทำงานของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย )

ภาพบนเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงในบ่อรับน้ำเสียบ่อที่ 1 ( ตามปกติทั่วๆไปบ่อรับน้ำเสียบ่อที่ 1 นี้จะเป็นบ่อตกตะกอนและกรองของเสียในขั้นแรกเท่านั้น ) การย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นน้อยมาก ดังนั้น เมื่อเราเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงไปในบ่อที่ 1 นี้แล้วก็จะเกิดกระบวนการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นทันที ( เหมือนกรณีบ่อที่ 2 ) เพียงแต่กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะไม่มีการดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ค่า DO ในน้ำเสียไม่มีการลดลงจากระดับเดิม ) 

ผลของปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า

           

เปรียบเทียบกระบวนการบำบัดน้ำเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน กับ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ด้านล่าง )

จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ทำงานได้ผลผลิตคล้ายๆกัน แต่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะได้ผลพลอยได้มาอีกตัวหนึ่งเพิ่มนั่นก็คือ ก๊าซมีเทน ( CH4 ) ซึ่งจะสลายไปในสิ่งแวดล้อม เพราะมีปริมาณน้อย     

           

ตัวอย่างการบำบัดน้ำเสียด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน และ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน )  

 

                

 จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา สังเคราะห์ขึ้นจากหัวเชื้อของจุลินทรีย์ต้นฉบับโดยตรง ไม่ใช่หมักจากเปลือกผลไม้ เป็นจุลินทรีย์ที่เข้มข้นและมีความหนาแน่นของจุลินทรีย์สูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่างด้วยกัน ทั้งการบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่น รวมถึงประยุกต์เป็นปุ๋ยในทางการเกษตรก็สามารถทำได้ เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย แต่ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำจากการสังเคราะห์แสง

คุณสมบัติของจุลินทรีย์คาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama )

- ใช้บำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย

- ย่อยสลายสารอินทรีย์วัตถุให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง

- ย่อยสลาย  Fat, Greas  &   Oil    ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 

- ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ทุกชนิด

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย

สำหรับกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น

กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มย่อยดังต่อไปนี้

1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย (บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดใช้อากาศออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ( Aerobic  Bacteria )

2. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ( Anaerobic  Bacteria )

ขยายความจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย

ในการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายดังต่อไปนี้เป็นหลัก

1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายตัว ( Aerobic  Bacteria ) 

จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยอาหารกับออกซิเจน ขาดออกซิเจนหรือออกซิเจนมีน้อยก็มีผลกระทบต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตโดยตรง ออกซิเจนและอาหารจะเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ถ้าขาดออกซิเจนและอาหารจะทำงานย่อยสลายของเสียไม่ได้ และตายได้ตลอดเวลา ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะบ่อเติมอากาศสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) จะต้องมีออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียอย่างเพียงพอสำหรับให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้นำไปใช้ในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ แทบจะทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียจะนิยมใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลักในการบำบัดน้ำเสียในปัจจุบัน เหตุผลก็เพราะว่า เราสามารถดึงจุลินทรีย์กลุ่มนี้จากธรรมชาติมาใช้งานได้ง่ายกว่า  เพราะจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ เพียงแต่อยู่แบบกระจัดกระจายไม่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน  ดังนั้น จึงต้องออกแบบระบบบำบัดและสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ เพื่อดึงมารวมไว้ในที่เดียวกันให้มากที่สุด  จุดอ่อนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ถ้ามีปัญหาในเรื่องของสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์กลุ่มนี้ทันที อาจจะส่งผลให้จุลินทรีย์ในระบบลดลงหรืออาจตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ เช่น ในกรณีที่น้ำเสียมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียต่ำมากๆ ( ค่า DO ต่ำ ) จะส่งผลให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ตลอดเวลา หรือ  ในกรณีที่ค่า pH ความเป็นกรด-ด่างสูงมากๆ หรือ มีค่าต่ำมากๆ ( เป็นกรด ) จะส่งผลให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ทันทีเช่นกัน นี้คือปัญหาข้อจำกัดและจุดอ่อนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้บางส่วน จึงต้องมีการควบคุมและดูแลสภาวะแวดล้อมในระบบบำบัดให้ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาและเลี้ยงดูจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ให้อยู่ในระบบให้ได้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นจุดยากของระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับระบบในด้านต่างๆ ปัญหาทางด้านเทคนิคของระบบ ล้วนมีผลต่อการดำรงอยู่และขยายตัวของจุลินทรีย์กลุ่มนี้  

2. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( Anaerobic  Bacteria ) 

จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีความแตกต่างและความเหมือนบางอย่างกับจุลินทรีย์กลุ่มที่ 1  โดยมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆ ( บำบัดน้ำเสีย )ได้เช่นเดียวกันกับกลุ่มที่ 1  แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องของปฏิกิริยาการย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนเหมือนกลุ่มแรก ออกซิเจนไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้  และจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีความศักยภาพทนกับแรงต้านทานในสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตได้ดี เช่น ในน้ำเสียไม่มีค่าออกซิเจนละลายอยู่เลย หรือ ค่า pH ความเป็นกรดด่างต่ำมากหรือสูงมากๆ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็สามารถทนกับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้และทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ  เป็นจุดที่แตกต่างกับจุลินทรีย์กลุ่มที่ 1  ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน ) สำหรับข้อเสียหรือจุดด้อยของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ดึงมาใช้งานจากธรรมชาติได้ค่อนข้างยาก อยู่แบบกระจัดกระจายเช่นเดียวกันกับกลุ่มแรก ไม่ค่อยรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ควบคุมได้ค่อนข้างจะยากเช่นเดียวกันกับกลุ่มแรก ดึงมาใช้งานย่อยสลายของเสียได้ยากกว่ากลุ่มแรก ดังนั้น จึงต้องทำการสังเคราะห์จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย )  นี่คือ ความแตกต่างของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายทั้งสองกลุ่มนี้บางส่วน จะเห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละกลุ่ม เราสามารถเสริมจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็งของแต่ละกลุ่มได้

  ในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด กระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นตอนสุดท้าย จะอยู่ที่การย่อยสลายของจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งเป็นตัวแปรสถานะของสสารต่างๆ ( ของเสีย ) ที่เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียเปลี่ยนไปเป็น    น้ำ +  พลังงาน  +  CO2 ( ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ) ซึ่งเป็นกระบวนการย่อยสลายของเสียขั้นสุดท้าย ส่งผลให้ของเสียต่างๆแปรสภาพเปลี่ยนไปเป็นตามปฏิกิริยาสมการจำลองด้านล่าง ( ของเสียเปลี่ยนสภาพ )

     

  นี่คือที่มาของจุลินทรีย์ที่นำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดเป็นหลัก ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะผ่านเกณฑ์กำหนดหรือไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดก็อยู่ตรงที่การควบคุมปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ดีหรือมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเป็นตัวจักรและตัวแปรสสารต่างๆที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นตอนสุดท้ายในทุกๆระบบบำบัด 

อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน )

จากภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียระบบ AS เติมอากาศ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดใช้ออกซิเจน ) + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ) จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เดิมในบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนเบื้องต้นธรรมดาเท่านั้น ( การย่อยสลายเกิดขึ้นน้อยมากในบ่อนี้ ) ก่อนที่จะผ่านเข้าไปบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อที่ทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากที่สุดในระบบนี้ ( บ่อย่อยสลายขงเสียโดยใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) และส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วในบ่อที่ 3 ( ตามภาพบน ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่ในระบบ AS นี้จะเกิดขึ้นในจุดเดียวคือ บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี  แต่เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปเพิ่มเติม ( ในบ่อที่ 1 ) จะเกิดการย่อยสลายในบ่อที่ 1 หรือบ่อแรกเพิ่มขึ้นทันทีอีกจุดหนึ่ง ( เหมือนบ่อเติมอากาศ ) กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ออกซิเจนจึงไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้ทันที จะเห็นได้ว่าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 จุดหรือ 2 บ่อ ( บ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบดับเบิ้ล คือ บ่อที่ 1 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นตัวบำบัด ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )เป็นด่านแรกก่อนที่จะส่งต่อไปบำบัดอีกชั้นหนึ่งที่บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลาย ) จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะลดลงตั้งแต่การย่อยสลายหรือการบำบัดในบ่อแรกแล้ว การบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆซ้ำในบ่อเติมอากาศ ( โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ยิ่งจะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น BOD , SS , TDS , FOG , TKN ลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีก ตะกอนต่างๆก็จะลดลงเหลือน้อยมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้นดังกล่าว ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรกและบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ) จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งดีขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะผลของการบำบัดหรือการย่อยสลายของเสีย 2 ชั้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงไม่เป็นภาระหนักให้กับบ่อเติมอากาศเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ( ไม่เป็นภาระหนักให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ที่อาจย่อยสลายของเสียได้ไม่หมดหรือย่อยสลายได้เพียงบางส่วนเล็กน้อย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อสุดท้ายบ่อยๆได้

   

  สรุป

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ AS และยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศอีกชั้นหนึ่ง การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ  ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย 2  กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำให้สสารที่เจือปนอยูในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป 

  หมายเหตุ  :   จุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ( ในทั้งหมด 6 ระบบ ) นอกจากบำบัดน้ำเสียได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆเพิ่มอีกด้วย


จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( Anaerobic  Bacteria ) สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น

การดับกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง จุลินทรีย์คาซาม่าจะเข้าไปกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นเหล่านี้ รวมทั้งการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นประเภทใดได้บ้าง?

จุลินทรีย์หอม-kasama ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้

1. กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ ( สารที่มาจากพืชและสัตว์ )

2. กลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ กลิ่นเหม็นส้วม กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ

3. กลิ่นเหม็นจากปัสสาวะและอุจจาระทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด

4. กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากการเก็บของเสียต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นมา

5. กลิ่นคาวเลือดหรือคาวปลาในโรงงานเชือดไก่ เชือดสุกร หรือโรงงานเชือดปลา เป็นต้น

6. กลิ่นจากบ่อขยะ หรือกลิ่นจากถังขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ

7. กลิ่นเหม็นจากท่อระบายน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็นจากน้ำที่เน่าเสีย

8. กลิ่นเน่าเหม็นจากไขมัน จากบ่อดักไขมันตามร้านอาหารหรือโรงอาหาร เป็นต้น

9. กลิ่นเหม็นจากการหมักพืชและสัตว์

10. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด

กลิ่นใดที่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าดับไม่ได้หรือกำจัดกลิ่นไม่ได้ ?

กลิ่นที่เกิดขึ้นจากสารเคมีจำพวกกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์ทำลายหรือกัดกร่อนสูง 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ราคา

ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama )

แกลลอนขนาด 20 ลิตร ( มีขนาดเดียว )

ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท   จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ


        

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่..

จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
แก้ปัญหาค่า BOD,SS,TDS สูงในคอนโดมิเนี่ยมอาคารสำนักงาน คลิกที่นี่.. 

เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง  คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่..

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. 
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงสุกรทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป คลิกดูที่นี่... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 
กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียเกิดมาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียอย่างไร ? คลิกดูที่นี่.. 
สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่..
วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย&จุลินทรีย์ดับกลิ่นที่มีกลิ่นหอม คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูข้อมูลที่นี่..
จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย / จุลินทรีย์หอมย่อยสลายของเสีย คลิกที่นี่.....
ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์  คลิกที่นี่... 
ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่..
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในร้านอาหาร & ภัตตาคารทุกๆแห่ง คลิกที่นี่...
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงแรมและรีสอร์ททั่วๆไป คลิกที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วๆไป คลิกดูที่นี่..   

 

       

 จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น

ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้

จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ  คลิกดูที่นี่..  

วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... 

จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. 

ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่น  คลิกดูที่นี่...   

จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่..  

จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด  คลิกที่นี่..  

จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู  คลิกที่นี่...  

จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. 

จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ  คลิกดูที่นี่..

การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... 

จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นขยะ / จุลินทรีย์กำจัดกลิ่นขยะเหม็น  คลิกดูข้อมูลที่นี่..
ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น/ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น คลิกดูที่นี่.. 

 

       

มีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียค่ามาตรฐานน้ำทิ้งของอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมไม่ผ่าน ระบบบำบัดล้มเหลว ฯลฯ บ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน  บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ  ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ 

 

 

[[  ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุดมาจากแหล่งใด ? คลิกที่นี่..   ]]