การบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาล
สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย (บำบัดน้ำเสีย ) เป็นตัวจักรสำคัญในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด ปัญหาของการบำบัดน้ำเสีย จุดที่ยากและสลับซับซ้อนมากที่สุดก็คือ ปัญหาทางด้านเทคนิค ทั้งการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เช่น ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากอะไร? มีกี่ค่า ? แต่ละค่าต้องแก้ไขอย่างไร ? ปรับระบบอย่างไรเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย? เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่การใช้จุลินทรีย์บำบัดแล้วก็จบเท่านั้น ปัญหาทางด้านเทคนิคของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับลดบางค่า หรือการเพิ่มบางค่าในระบบบำบัดจะพบบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงเท่านั้น ที่นี่..เราแนะนำให้ลูกค้าของเราฟรีๆ สิ่งที่ลูกค้าจะได้มากที่สุดจากที่นี่..ก็คือการแก้ปัญหาในเรื่องการบำบัดน้ำเสียและการแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน เพราะเราจะให้บริการท่านฟรีๆ ปรึกษาขอคำแนะนำฟรีๆ การซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปบำบัดน้ำเสียจะเป็นเรื่องรอง ปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆค่อนข้างสำคัญต่อการบำบัดน้ำเสียมากๆ จะเห็นได้ว่า เราไม่ได้ขายแค่จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเพียงเท่านั้นจบ แต่เรายังช่วยเหลือและช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าของเราอีกด้วย ( จุดสำคัญ ) นี่คือจุดเด่นและจุดแตกต่างของเราที่ไม่เหมือนใครในการจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วๆไปแบบมืออาชีพ ที่นี่...เราให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆสำหรับลูกค้าโรงพยาบาลและคลินิกที่สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นจากที่นี่ ปรึกษาทางเทคนิคของระบบบำบัดน้ำเสียได้ฟรีๆ ในการบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่างๆทุกๆแห่ง สามารถใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากศ และแบบ RBC ได้ แต่จะมีส่วนเพิ่มเติมเข้ามาอีกจุดหนึ่งที่ขาดไม่ได้ นั่นก็คือ บ่อฆ่าเชื้อหรือบ่อเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อนั่นเอง เพราในโรงพยาบาลจะมีเชื้อค่อนข้างมาก เชื้อบางส่วนอาจปนเปื้อนมากับน้ำเสีย ดังนั้น จึงต้องมีบ่อฆ่าเชื้อเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งบ่อ และควรเป็นบ่อพักน้ำทิ้งบ่อสุดทิ้งก่อนปล่อยทิ้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ควรเพิ่มบ่อเจือจางคลอรีนฆ่าเชื้อ ( Dilute )เพื่อลดความเข้มข้นของคลอรีนลงให้อยู่ในระดับน้ำประปา จะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมสาธารณะข้างนอก ตามผังด้านล่างนี้
การฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อมากับน้ำเสียเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปฏิบัติ แต่ต้องระมัดระวังปริมาณการใช้สารคลอรีนให้เหมาะสมกับการฆ่าเชื้อ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมส่วนรวม ดังนั้น จึงต้องมีการเจือจางความเข้มข้นของตลอรีนให้ลดลงในระดับน้ำประปาในบ่อสุดท้าย ( บ่อที่ 5 ตามภาพบน ) กรณีที่ค่าน้ำทิ้งยังไม่ผ่านมาตรฐานน้ำทิ้ง อาจนำน้ำเสียส่วนเกินนี้เวียนไปบำบัดซ้ำอีกครั้งได้ ( ตามแผนผังบน ) น้ำเสียในโรงพยาบาลเป็นน้ำเสียชนิดพิเศษ ( ปนเปื้อนเชื้อ ) ต้องบริหารจัดการให้เป็น ดูแลและบำบรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียเป็นอย่างดี อย่าให้เกิดปัญหาบ่อยๆหรือระบบล้มเหลวบ่อยๆ น้ำเสียที่ปนเปื้อนเชื้อโรคค่อนข้างอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงไม่ควรให้น้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดที่ได้มาตรฐานน้ำทิ้งเล็ดลอดออกไปสู่สิ่งแวดล้อมเป็นอันขาด เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์โดยรวม การวางระบบและออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลควรเผื่อปริมาณน้ำเสียที่มากขึ้นในอนาคต ( Over Load ) และควรมีฟิลเตอร์ ( Filter )กรองหยาบหลายๆชั้นในบ่อที่ 1 เพื่อกรองของเสียและสิ่งสกปรกที่เป็นชิ้นใหญ่ออกจากระบบ นอกจากนี้ยังสามารถกรองละเอียดในบ่อที่ 3 คือ บ่อตกตะกอน โดยการวางดักฟิลเตอร์ละเอียดในบ่อที่ 2 ( ก่อนน้ำเสียลงบ่อที่ 3 ) จะช่วยลดตะกอนได้อย่างมาก ส่งผลให้ค่า SS , TDS , FOG และค่า BOD ลดลงได้มากพอสมควร และจะเป็นการลดตะกอนส่วนเกิน ( Excess Sludge ) ไปในตัว Filter เป็นการบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นหรือการบำบัดทางกายภาพ จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่ง ในการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายดังต่อไปนี้เป็นหลัก 1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายตัว ( Aerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยอาหารกับออกซิเจน ขาดออกซิเจนหรือออกซิเจนมีน้อยก็มีผลกระทบต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตโดยตรง ออกซิเจนและอาหารจะเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ถ้าขาดออกซิเจนและอาหารจะทำงานย่อยสลายของเสียไม่ได้ และตายได้ตลอดเวลา ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะบ่อเติมอากาศสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) จะต้องมีออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียอย่างเพียงพอสำหรับให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้นำไปใช้ในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ แทบจะทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียจะนิยมใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลักในการบำบัดน้ำเสียในปัจจุบัน เหตุผลก็เพราะว่า เราสามารถดึงจุลินทรีย์กลุ่มนี้จากธรรมชาติมาใช้งานได้ง่ายกว่า เพราะจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ เพียงแต่อยู่แบบกระจัดกระจายไม่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ดังนั้น จึงต้องออกแบบระบบบำบัดและสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ เพื่อดึงมารวมไว้ในที่เดียวกันให้มากที่สุด จุดอ่อนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ถ้ามีปัญหาในเรื่องของสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์กลุ่มนี้ทันที อาจจะส่งผลให้จุลินทรีย์ในระบบลดลงหรืออาจตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ เช่น ในกรณีที่น้ำเสียมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียต่ำมากๆ ( ค่า DO ต่ำ ) จะส่งผลให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ตลอดเวลา หรือ ในกรณีที่ค่า pH ความเป็นกรด-ด่างสูงมากๆ หรือ มีค่าต่ำมากๆ ( เป็นกรด ) จะส่งผลให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ทันทีเช่นกัน นี้คือปัญหาข้อจำกัดและจุดอ่อนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้บางส่วน จึงต้องมีการควบคุมและดูแลสภาวะแวดล้อมในระบบบำบัดให้ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาและเลี้ยงดูจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ให้อยู่ในระบบให้ได้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นจุดยากของระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับระบบในด้านต่างๆ ปัญหาทางด้านเทคนิคของระบบ ล้วนมีผลต่อการดำรงอยู่และขยายตัวของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ 2. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( Anaerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีความแตกต่างและความเหมือนบางอย่างกับจุลินทรีย์กลุ่มที่ 1 โดยมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆ ( บำบัดน้ำเสีย )ได้เช่นเดียวกันกับกลุ่มที่ 1 แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องของปฏิกิริยาการย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนเหมือนกลุ่มแรก ออกซิเจนไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ และจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีความศักยภาพทนกับแรงต้านทานในสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตได้ดี เช่น ในน้ำเสียไม่มีค่าออกซิเจนละลายอยู่เลย หรือ ค่า pH ความเป็นกรดด่างต่ำมากหรือสูงมากๆ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็สามารถทนกับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้และทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ เป็นจุดที่แตกต่างกับจุลินทรีย์กลุ่มที่ 1 ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน ) สำหรับข้อเสียหรือจุดด้อยของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ดึงมาใช้งานจากธรรมชาติได้ค่อนข้างยาก อยู่แบบกระจัดกระจายเช่นเดียวกันกับกลุ่มแรก ไม่ค่อยรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ควบคุมได้ค่อนข้างจะยากเช่นเดียวกันกับกลุ่มแรก ดึงมาใช้งานย่อยสลายของเสียได้ยากกว่ากลุ่มแรก ดังนั้น จึงต้องทำการสังเคราะห์จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) นี่คือ ความแตกต่างของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายทั้งสองกลุ่มนี้บางส่วน จะเห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละกลุ่ม เราสามารถเสริมจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็งของแต่ละกลุ่มได้ ในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด กระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นตอนสุดท้าย จะอยู่ที่การย่อยสลายของจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งเป็นตัวแปรสถานะของสสารต่างๆ ( ของเสีย ) ที่เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียเปลี่ยนไปเป็น น้ำ + พลังงาน + CO2 ( ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ) ซึ่งเป็นกระบวนการย่อยสลายของเสียขั้นสุดท้าย ส่งผลให้ของเสียต่างๆแปรสภาพเปลี่ยนไปเป็นตามปฏิกิริยาสมการจำลองด้านล่าง ( ของเสียเปลี่ยนสภาพ )
นี่คือที่มาของจุลินทรีย์ที่นำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดเป็นหลัก ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะผ่านเกณฑ์กำหนดหรือไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดก็อยู่ตรงที่การควบคุมปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ดีหรือมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเป็นตัวจักรและตัวแปรสสารต่างๆที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นตอนสุดท้ายในทุกๆระบบบำบัด
ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศไทย คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( Activated Sludge ) ซึ่งมีมากกว่า 90% เป็นระบบที่เติมออกซิเจนลงในน้ำเสีย ( บ่อเติมอากาศ ) โดยใช้เครื่องเติมอากาศ ( Aerator ) ลงในบ่อน้ำเสีย เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำเสีย และเพิ่มออกซิเจนในการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์กลุ่มนี้เมื่อได้รับออกซิเจนแล้วจะเจริญเติบโตและขยายตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ) เพื่อให้ของเสียที่อยู่ในรูปของสสารและแร่ธาตุต่างๆกลายไปเป็น -> น้ำ + พลังงาน + คาร์บอนไดออกไซด์ ในที่สุด
จุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( ระบบ AS )อยู่ตรงจุดใด ? 1. การเติมออกซิเจนไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด อาจจะด้วยเครื่องเติมอากาศมีกำลังวัตต์หรือกำลังแรงม้าต่ำ เติมออกซิเจนได้ไม่เพียงพอกับปริมาตรของน้ำเสีย จึงเติมออกซิเจนได้ไม่กระจายทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศโดยตรง 2. เติมออกซิเจนไปไม่ถึงก้นบ่อบำบัด เพราะบ่อบำบัดลึกเกินไป ( บ่อเติมอากาศไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร ) ออกซิเจนจะไปไม่ถึงก้นบ่อ ส่งผลเสียให้น้ำเสียและของเสียก้นบ่อไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลายเหมือนที่ผิวบ่อบำบัด 3. ต้องเติมออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง ( เดินเครื่องเติมอากาศอย่างต่อเนื่อง ) เพื่อไม่ให้ปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดปริมาณลง จะส่งผลเสียต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้น้อยลงตามไปด้วย 4. ไม่สามารถกำหนดปริมาณและความหนาแน่นของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติกำหนด ถ้าต้องการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนให้มากขึ้น ต้องเพิ่มจำนวนบ่อบำบัดและเครื่องเติมอากาศ
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศสามารถเพิ่มบ่อเติมอากาศได้มากกว่า 1 บ่อได้ตามความต้องการ ซึ่งก็จะทำให้งบประมาณเพิ่มตามไปด้วย ไม่จำเป็นต้องมีเพียงแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพด้านบน ) สามารถเพิ่มบ่อเสริมในแต่ละจุดได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียคือ งบประมาณเพิ่มตาม การควบคุมระบบก็จะยากขึ้นตามไปด้วย แต่ส่วนใหญ่จะสร้างบ่อบำบัดแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพบน ) เพราะสะดวกและประหยัดดูแลง่าย แต่ข้อเสียคือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาจไม่ผ่านในบางครั้ง หรือระบบล้มเหลวได้ง่ายๆ ถ้าการดูแลและบำรุงรักษาไม่ดีพอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาในจุดนี้ จึงส่งผลให้น้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหาตัวช่วยเพื่อมาช่วยเพิ่มการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง การบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลสามารถใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าบำบัดได้หรือไม่ ? คำตอบ คือ ได้ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ( ในทั้ง 6 ระบบบำบัด ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีศักยภาพ - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้ดีมากขึ้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดเร็วขึ้น ( เพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับระบบบำบัดน้ำเสีย ) - เสริมศักยภาพและประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียให้ RUN ได้ดีมากขึ้น ในบางครั้งที่ระบบบำบัดมีปัญหาหรือระบบล้มเหลว กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายของเสียในระบบมีปริมาณน้อย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำหน้าที่บำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ทันที - ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานย่อยสลายของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก เพราะในบางครั้งปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆอาจลดลง ในขณะที่มีน้ำเสียเท่าเดิมหรือมากขึ้น ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนจะทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ไม่ทันเวลา จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายแบบคู่ขนานกันไปกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ดี ไม่มีผลกระทบใดๆต่อระบบบำบัด โรงพยาบาลของท่านอยู่ในอาคารประเภทใด ? โรงพยาลที่มีขนาดเตียงตั้งแต่ 30 เตียง ขึ้นไป จะถูกจัดอยู่ในอาคารประเภท ก. โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีขนาดเตียงตั้งแต่ 10 - 29 เตียง จะจัดอยู่ในอาคารประเภท ข. ค่าพารามิเตอร์มาตรฐานน้ำทิ้ง ( ด้านล่างนี้ )
ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงพยาบาลขนาดต่างๆ ตามตารางด้านบนนี้
เปรียบเทียบการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก กับ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพล่าง )
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( Anaerobic Bacteria ) สังเคราะห์ขึ้นจากหัวเชื้อของจุลินทรีย์ต้นฉบับโดยตรง ไม่ใช่หมักจากเปลือกผลไม้ เป็นจุลินทรีย์ที่เข้มข้นและมีความหนาแน่นของจุลินทรีย์สูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่างด้วยกัน ทั้งการบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่น รวมถึงประยุกต์เป็นปุ๋ยในทางการเกษตรก็สามารถทำได้ เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย แต่ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำจากการสังเคราะห์แสง ( บ่อกลางแจ้ง ) คุณสมบัติของจุลินทรีย์คาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) - ใช้บำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย - ย่อยสลายสารอินทรีย์วัตถุให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง - ย่อยสลาย Fat, Greas & Oil ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ - ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ทุกชนิด จุลินทรีย์คาซาม่า ( จุลินทรีย์-Kasama ) ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายกลุ่มดังต่อไปนี้ การสังเคราะห์จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโชน์และมีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria : PSB ) เป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่พบกระจายทั่วไปในธรรมชาติ บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกลุ่มนี้มีความสำคัญในกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 - Assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (Nitrogen Fixation) และยังมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งสัตว์ขนาดเล็กจำพวก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้สามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งต่างๆบ้านเรือนและน้ำเสียจากการทำปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria : LAB ) จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียผลิตกรดแลคติกได้รับการยอมรับว่าเป็นแบคทีเรียที่ปลอดภัย (generally recognized as safe bacteria ) เป็นกลุ่มแบคทีเรียแกรมบวก (Gram Positive Bacteria ) ที่สามารถหมักน้ำตาลกลูโคส น้ำตาลแล็กโทส ให้เกิดกรดแล็กทิก และกรดอินทรีย์อื่นๆ 3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria) เป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่ใช้ก๊าซไนโตรเจน และเป็นแหล่งไนโตรเจนได้โดยเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้กลายเป็นแอมโมเนีย 4. กลุ่มจุลินทรีย์แอคทิโนมัยซีทส์ (Actenomycetes) มีความสามารถในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆทั้งพืชและสัตว์ ย่อยสลายสสารจำพวกกรดอินทรีย์ แป้ง ไขมัน น้ำตาลชนิดต่างๆและโปรตีน 5. กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์ (Yeasts) เซลล์ของยีสต์ประกอบด้วย กรดอะมิโน โปรตีน เกลือแร่ วิตามินและธาตุอาหารที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์และสัตว์ หลักการทํางานของยีสต์คือ การเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 )และแอลกอฮอล์ ( C2H5OH ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( Anaerobic Bacteria ) สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน ) จากภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียระบบ AS เติมอากาศ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดใช้ออกซิเจน ) + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ) จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เดิมในบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนเบื้องต้นธรรมดาเท่านั้น ( การย่อยสลายเกิดขึ้นน้อยมากในบ่อนี้ ) ก่อนที่จะผ่านเข้าไปบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อที่ทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากที่สุดในระบบนี้ ( บ่อย่อยสลายขงเสียโดยใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) และส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วในบ่อที่ 3 ( ตามภาพบน ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่ในระบบ AS นี้จะเกิดขึ้นในจุดเดียวคือ บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี แต่เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปเพิ่มเติม ( ในบ่อที่ 1 ) จะเกิดการย่อยสลายในบ่อที่ 1 หรือบ่อแรกเพิ่มขึ้นทันทีอีกจุดหนึ่ง ( เหมือนบ่อเติมอากาศ ) กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ออกซิเจนจึงไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้ทันที จะเห็นได้ว่าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 จุดหรือ 2 บ่อ ( บ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบดับเบิ้ล คือ บ่อที่ 1 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นตัวบำบัด ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )เป็นด่านแรกก่อนที่จะส่งต่อไปบำบัดอีกชั้นหนึ่งที่บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลาย ) จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะลดลงตั้งแต่การย่อยสลายหรือการบำบัดในบ่อแรกแล้ว การบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆซ้ำในบ่อเติมอากาศ ( โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ยิ่งจะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น BOD , SS , TDS , FOG , TKN ลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีก ตะกอนต่างๆก็จะลดลงเหลือน้อยมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้นดังกล่าว ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรกและบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ) จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งดีขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะผลของการบำบัดหรือการย่อยสลายของเสีย 2 ชั้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงไม่เป็นภาระหนักให้กับบ่อเติมอากาศเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ( ไม่เป็นภาระหนักให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ที่อาจย่อยสลายของเสียได้ไม่หมดหรือย่อยสลายได้เพียงบางส่วนเล็กน้อย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อสุดท้ายบ่อยๆได้
สรุป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ AS และยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศอีกชั้นหนึ่ง การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำให้สสารที่เจือปนอยูในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป หมายเหตุ : จุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ( ในทั้งหมด 6 ระบบ ) นอกจากบำบัดน้ำเสียได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆเพิ่มอีกด้วย การดับกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง จุลินทรีย์คาซาม่าจะเข้าไปกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นเหล่านี้ รวมทั้งการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นประเภทใดได้บ้าง? จุลินทรีย์หอม-kasama ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ ( สารที่มาจากพืชและสัตว์ ) 2. กลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ กลิ่นเหม็นส้วม กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ 3. กลิ่นเหม็นจากปัสสาวะและอุจจาระทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด 4. กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากการเก็บของเสียต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นมา 5. กลิ่นคาวเลือดหรือคาวปลาในโรงงานเชือดไก่ เชือดสุกร หรือโรงงานเชือดปลา เป็นต้น 6. กลิ่นจากบ่อขยะ หรือกลิ่นจากถังขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ 7. กลิ่นเหม็นจากท่อระบายน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็นจากน้ำที่เน่าเสีย 8. กลิ่นเน่าเหม็นจากไขมัน จากบ่อดักไขมันตามร้านอาหารหรือโรงอาหาร เป็นต้น 9. กลิ่นเหม็นจากการหมักพืชและสัตว์ 10. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด กลิ่นใดที่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าดับไม่ได้หรือกำจัดกลิ่นไม่ได้ ? กลิ่นที่เกิดขึ้นจากสารเคมีจำพวกกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์ทำลายหรือกัดกร่อนสูง ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) แกลลอนขนาด 20 ลิตร ( มีขนาดเดียว ) ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ มีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียล้มเหลว ระบบบำบัดน้ำเสียล่มบ่อยๆ น้ำเสียในโรงพยาบาลไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง บ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
[[ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุดมาจากแหล่งใด ? คลิกที่นี่.. ]] |