จุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศ
สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย เพราะเป็นตัวจักรสำคัญในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด ปัญหาของการบำบัดน้ำเสีย จุดที่ยากและสลับซับซ้อนมากที่สุดก็คือ ปัญหาทางด้านเทคนิค ทั้งการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เช่น ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากอะไร? มีกี่ค่า ? แต่ละค่าต้องแก้ไขอย่างไร ? ปรับระบบอย่างไรเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย? เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่การใช้จุลินทรีย์บำบัดแล้วก็จบเท่านั้น ปัญหาทางด้านเทคนิคของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับลดบางค่า หรือการเพิ่มบางค่าในระบบบำบัดจะพบบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงเท่านั้น ที่นี่..เราแนะนำให้ลูกค้าของเราฟรีๆ สิ่งที่ลูกค้าจะได้มากที่สุดจากที่นี่..ก็คือการแก้ปัญหาในเรื่องการบำบัดน้ำเสียและการแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน เพราะเราจะให้บริการท่านฟรีๆ ปรึกษาขอคำแนะนำฟรีๆ การซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปบำบัดน้ำเสียจะเป็นเรื่องรอง ปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆค่อนข้างสำคัญต่อการบำบัดน้ำเสียมากๆ จะเห็นได้ว่า เราไม่ได้ขายแค่จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเพียงเท่านั้นจบ แต่เรายังช่วยเหลือและช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าของเราอีกด้วย ( จุดสำคัญ ) นี่คือจุดเด่นและจุดแตกต่างของเราที่ไม่เหมือนใครในการจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( AS )เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทย ระบบบำบัดน้ำเสียแทบจะทุกๆแห่งในประเทศไทยจะเป็นระบบบำบัดแบบเติมอากาศ ระบบนี้มีทั้งจุดด้อยและจุดเด่น ถ้าดูแลและการบำรุงรักษาบริหารจัดการดีก็จะเป็นจุดเด่นทันที แต่ถ้าดูแลและบำรุงรักษาบริหารจัดการไม่ดีและดูแลได้ไม่ถึงก็จะมีปัญหาเป็นจุดด้อยทันที นั่นก็คือ ปัญหามาตรฐานน้ำทิ้งไม่่ผ่านเกณฑ์อยู่บ่อยๆหรือเป็นประจำ ซึ่งมีสถานประกอบการจำนวนมากที่ค่าน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ( ดูสถานประกอบการที่ไม่ผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละแหล่ง ) ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ถ้ามีความตั้งใจจริงๆ แต่ส่วนใหญ่จะละเลยมากกว่า เพราะคิดว่าสิ้นเปลืองงบประมาณเปล่าๆ เป็นเรื่องไกลตัว แต่อย่าลืมว่าการทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย หรือการสร้างมลภาวะและมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมสาธารณะส่วนรวมเป็นเรื่องที่ิผิดกฎหมายโดยตรง เราควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพดีปราศจากมลพิษและมลภาวะของน้ำเสีย เป็นการรักษาโลกใบนี้ของเราทุกๆคน
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( Activated Sludge ) เป็นระบบบำบัดน้ำเสียชนิดที่เติมอากาศออกซิเจนลงในน้ำเสีย ( บ่อเติมอากาศ ) โดยใช้เครื่องเติมอากาศ ( Aerator ) ออกซิเจนลงในบ่อน้ำเสีย เพื่อเพิ่มปริมาณอากาศออกซิเจนให้กับน้ำเสีย และเพิ่มออกซิเจนในการดำรงชีพให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์กลุ่มนี้เมื่อได้รับออกซิเจนแล้วจะเจริญเติบโตและขยายตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( ย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ) เพื่อให้ของเสียที่อยู่ในรูปของสสารและแร่ธาตุต่างๆแปรเปลี่ยนสภาพจากของเสียกลายไปเป็นตามสมการ -> น้ำ + พลังงาน + คาร์บอนไดออกไซด์ ในที่สุด การย่อยสลายของเสียจะเกิดขึ้นตลอดเวลาตราบใดที่มีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายดำรงชีพและเจิรญเติบโตได้ดีในบ่อบำบัด
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS มีจุดเด่นที่สามารถดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้ง่ายจากธรรมชาติ โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายและเติมอากาศออกซิเจนให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ แต่ในขณะเดียวกันระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS ก็มีจุดด้อยหรือจุดอ่อนเช่นกัน ทั้งการออกแบบระบบ การเติมอากาศทำได้ทั่วถึงทั้งบ่อเติมอากาศหรือไม่ คุณภาพของน้ำเสียเป็นอย่างไร เครื่องเติมอากาศกำลังวัตต์เพียงพอหรือไม่ มีการดูแลและบำรุงรักษาระบบอยู่เป็นประจำหรือไม่ ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อระบบบำบัดโดยตรง อย่าลืมว่าหัวใจหลักของการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัดก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลาย ถ้าดูแลและรักษาจุลินทรีย์สลายไว้ได้เป็นอย่างดีในระบบ ก็จะส่งผลดีต่อระบบให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้ สำหรับปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งต่างๆไม่ผ่านเกณฑ์ส่วนใหญ่ก็มาจากจุดนี้เป็นหลัก คือปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีน้อย ในการแก้ไขปัญหาต้องดูรวมทั้งระบบว่าเกิดจากจุดใดบ้าง สรุปจุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( ระบบ AS )อยู่ตรงจุดใดบ้าง ? 1. การเติมออกซิเจนไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด อาจจะด้วยเครื่องเติมอากาศมีกำลังวัตต์หรือกำลังแรงม้าต่ำ เติมออกซิเจนได้ไม่เพียงพอกับปริมาตรของน้ำเสีย จึงเติมออกซิเจนได้ไม่กระจายทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศโดยตรง 2. เติมออกซิเจนไปไม่ถึงก้นบ่อบำบัด เพราะบ่อบำบัดลึกเกินไป ( บ่อเติมอากาศไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร ) ออกซิเจนจะไปไม่ถึงก้นบ่อ ส่งผลเสียให้น้ำเสียและของเสียต่างๆที่ตกตะกอนอยู่ก้นบ่อไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลายเหมือนที่ผิวบ่อบำบัด 3. การเติมออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง ( เดินเครื่องเติมอากาศอย่างต่อเนื่อง ) เพื่อไม่ให้ปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดปริมาณลง จะส่งผลเสียต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้น้อยลงตามไปด้วย ส่วนใหญ่เดินเครื่องเติมอากาศไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะกลัวค่าใช้จ่าย( ค่าไฟฟ้า)เพิ่มขึ้น 4. ไม่สามารถกำหนดปริมาณและความหนาแน่นของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติกำหนด ถ้าต้องการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนให้มากขึ้น ต้องเพิ่มจำนวนบ่อบำบัดและเครื่องเติมอากาศ
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศสามารถเพิ่มบ่อเติมอากาศได้มากกว่า 1 บ่อได้ตามความต้องการ ซึ่งก็จะทำให้งบประมาณเพิ่มตามไปด้วย ระบบบำบัดน้ำเสียทั่วๆไปไม่จำเป็นต้องมีเพียงแค่ 3 บ่อเท่านั้น ( ตามภาพด้านบน ) สามารถเพิ่มบ่อเสริมในแต่ละจุดได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียคือ งบประมาณเพิ่มตาม การควบคุมระบบก็จะยากขึ้นตามไปด้วย แต่ส่วนใหญ่จะสร้างบ่อบำบัดเพียงแค่ 3 บ่อ ( ตามภาพบน ) เพราะสะดวกและประหยัดดูแลง่าย แต่ข้อเสียคือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาจไม่ผ่านในบางครั้ง หรือระบบล้มเหลวได้ง่ายๆ ถ้าการดูแลและบำรุงรักษาไม่ดีพอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาในจุดนี้ จึงส่งผลให้น้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหาตัวช่วยเพื่อมาช่วยเพิ่มการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียให้ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียเกิดมากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ซึ่งก็คือ การเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าไปในระบบบำบัดนั่นเอง การแก้ปัญหาจุดอ่อนและการสร้างจุดแข็งให้กับระบบ AS ( Activated Sludge ) แบบเติมอากาศ ( ภาพล่าง )
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศภาพบนนี้เหมาะสำหรับองค์กรที่มีน้ำเสียและของเสียในน้ำเสียเจือปนมีปริมาณมากและโรงงานที่มีปริมาณน้ำเสียมากและวิกฤตหนัก มีสสารเจือปนอยู่ในน้ำเสียในปริมาณที่มาก ค่า BOD ละค่าพารามิเตอร์ตัวอื่นๆสูงมาก จึงต้องเพิ่มการบำบัดของเสียและย่อยสลายของเสียให้มากขึ้น(ตามภาพบน) หรือการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดและย่อยสลายของเสียให้มากขึ้นนั่นเอง การย่อยสลายของเสียในน้ำเสียจะเกิดขึ้น 3 ชั้น ( 3 บ่อเติมอากาศ ) ประสิทธิภาพการบำบัดจะเพิ่มขึ้นทันที ของเสียต่างๆในน้ำเสียจะถูกย่อยสลายตั้งแต่บ่อเติมอากาศที่ 1 จนถึงบ่อเติมอากาศที่ 3 ซึ่งจะเหลือของเสียตะกอนละเอียดน้อยมาก และจะส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านได้โดยง่ายขึ้นด้วย แต่ข้อเสียก็คือ งบประมาณเพิ่มขึ้นและใช้พื้นที่ค่อนข้างมากขึ้น คำอธิบายจากภาพด้านบน - บ่อที่ 1 ตกตะกอนและกรองหยาบเอาของเสียบางส่วนออกจากระบบ โดยเฉพาะขยะชิ้นใหญ่ชิ้นเล็ก ซึ่งจะช่วยลดค่า SS , TDS ได้ดี - บ่อที่ 2 กรองละเอียด เพื่อกรองเอาตะกอนละเอียดออกให้ได้มากที่สุด รวมถึงไขมันและน้ำมัน ( FOG ) ซึ่งจะช่วยลดค่า FOG ได้ในระดับหนึ่ง - บ่อที่ 3 บ่อเติมอากาศบ่อที่ 1 ทำการเติมอากาศลงในบ่อที่ 1 เพื่อดึงจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมาใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเป็นจุดแรก แล้วผ่านไปย่อยสลายของเสียต่อยังบ่อเติมอากาศที่ 2 - บ่อเติมอากาศที่ 2 ทำการย่อยสลายของเสียที่เหลือจากบ่อที่ 1 ซ้ำ ก่อนที่จะผ่านไปยังบ่อเติมอากาศที่ 3 - บ่อเติมอากาศที่ 3 ซึ่งเป็นบ่อเติมอากาศบ่อสุดท้าย จะทำการย่อยสลายของเสียที่เป็นสสารและแร่ธาตุที่หลุดมาจากบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งของเสียจะน้อยและลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่บ่อเติมอากาศบ่อที่ 1 บ่อนี้จะมีตะกอนน้อยลงมาก และเป็นตะกอนละเอียด การเช็คค่ามาตรฐานน้ำทิ้งหรือตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำทิ้งให้เช็คค่าในบ่อสุดท้ายก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม ( ตามภาพ ) ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีบ่อเสริมหรือเพิ่มเติมขึ้นมาจะทำให้งบประมาณค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตาม แต่ระบบจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติทั่วๆไป ( มากกว่าระบบที่มีเพียง 3 บ่อ ) การบำบัดน้ำเสียจะทำได้ดีกว่า สมบูรณ์กว่า แต่ค่อนข้างใช้พื้นที่มาก การดูแลและบำรุงรักษต้องมีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอตรวจสอบระบบเป็นประจำ ผู้ดูแลระบบนี้ต้องมีความรู้และความเข้าใจในระบบมากพอสมควร จุลินทรีย์หอมคาซาม่าแก้ปัญหาให้ระบบ AS ได้อย่างไร ?
ภาพบนเป็นกระบวนการปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) จะมีผลพลอยได้เพิ่มขึ้นจากเดิม คือ CH4 และ O2
ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ยังมีปัญหา ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะตอบโจทย์และเติมเต็มแก้ไขปัญหาให้ในจุดอ่อนนี้ ให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีบทบาทและความสำคัญอย่างไรในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ( ทุกๆระบบ ) ? ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆ มีความสมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย มีปริมาณจุลินทรีย์ที่มากพอกับการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียในระบบทั้งหมด ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ตลอดเวลาก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเลย ( ยกเว้นการกำจัดกลิ่น ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน ( มากที่สุด ) ผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมและอาจถูกปรับบ่อยๆอยู่เป็นประจำ ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร หาวิธีการแก้ไขยังไม่ได้ ขอให้คิดถึงจุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับท่าน เรายินดีให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆ โดยไม่มีการคิดค่าที่ปรึกษาใดๆ เพียงเป็นลูกค้าจุลินทรีย์หอมคาซาม่าท่านจะได้สิทธิ์นี้ตลอดไปที่มีการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง การบำบัดน้ำเสียต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง การบำรุงและดูแลรักษาต้องทำให้จริงและทำให้ถึง ระบบบำบัดน้ำเสียจึงจะมีประสิทธิภาพดีอย่างสม่ำเสมอ มีปัญหาในระบบบำบัดจุดใดต้องรีบแก้ไขทันที จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย รวมไปถึงคุณสมบัติพิเศษอีกข้อหนึ่งก็คือ การกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มอื่นไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดำรงชีพได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนและมีออกซิเจน นี่คือจุดเด่นๆของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ที่ไม่เหมือนจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆ - ด้านการบำบัดน้ำเสีย สามารถใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสีย ไม่ว่าน้ำเสียนั้นๆจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนก็ตาม ( มีออกซิเจนน้อยหรือไม่มีออกซิเจนเลย ที่อับอากาศหรืออากาศออกซิเจนเข้าไม่ถึง ) โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์เจือปนในน้ำเสียในปริมาณมาก กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายของเสียไม่สมดุลกับน้ำเสีย ( ย่อยสลายไม่ทันปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น ) ทำให้น้ำเสียบำบัดได้ไม่ค่อยสมบูรณ์ ค่า BOD และค่าพารามิเตอร์ตัวอื่นๆลดลงได้เล็กน้อย ส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด บ่อที่บำบัดและย่อยสลายของเสีย ( บ่อเติมอากาศ) จะทำงานค่อนข้างหนัก จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนต้องมีปริมาณเพียงพอต่อปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น ถ้าปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมีน้อยจะเกิดปัญหาติดตามมาทันที ( ค่าพารามิเตอร์คือตัวชี้วัดระบบล้มเหลว ) ปัญหาหลักๆจึงอยู่ที่จุดบำบัดและย่อยสลายของเสียจุดนี้ ( บ่อเติมอากาศ ) และบ่อสุดท้ายก่อนที่จะปล่อยน้ำทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาทำหน้าที่เติมเต็มในจุดนี้ การเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าไปในระบบบำบัดจะส่งผลทำให้การย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียปฏิกิริยาย่อยสลายเกิดเร็วมากขึ้น ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายเร็วมากขึ้น จึงส่งผลให้ระบบบำบัดโดยรวมทำงานย่อยสลายของเสียต่างๆได้ดี กำจัดสสารต่างๆได้มากขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะเข้าไปแก้ไขปัญหาในจุดด้อยของระบบในแต่ละจุด เสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียให้ดีขึ้น การบำบัดน้ำเสียค่อนข้างใช้ความรู้ทางด้านเทคนิคสูงเป็นพิเศษ ( แบบบูรณาการทุกๆส่วน ) การบำบัดน้ำเสียจึงจะมีประสิทธิภาพได้ ( ผ่านเกณฑ์ ) - ด้านการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นต่างๆ โดยเฉพาะกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากสารอินทรีย์ทั้งหลาย กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ เป็นคุณสมบัติโดยเฉพาะของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นการกำจัดกลิ่นที่ต้นเหตุและเป็นธรรมชาติบำบัดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์โดยรวม ปลอดภัยไม่มีสารเคมีตกค้างในธรรมชาติ
อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน ) จากภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียระบบ AS เติมอากาศ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดใช้ออกซิเจน ) + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ) จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เดิมในบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนเบื้องต้นธรรมดาเท่านั้น ( การย่อยสลายเกิดขึ้นน้อยมากในบ่อนี้ ) ก่อนที่จะผ่านเข้าไปบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อที่ทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากที่สุดในระบบนี้ ( บ่อย่อยสลายของเสียโดยใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) และส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วในบ่อที่ 3 ( ตามภาพบน ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่ในระบบ AS นี้จะเกิดขึ้นในจุดเดียวคือ บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี แต่เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปเพิ่มเติม ( ในบ่อที่ 1 ) จะเกิดการย่อยสลายในบ่อที่ 1 หรือบ่อแรกเพิ่มขึ้นทันทีอีกจุดหนึ่ง ( เหมือนบ่อเติมอากาศ ) กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ออกซิเจนจึงไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้ทันที จะเห็นได้ว่าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 จุดหรือ 2 บ่อ ( บ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบดับเบิ้ล คือ บ่อที่ 1 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นตัวบำบัด ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )เป็นด่านแรกก่อนที่จะส่งต่อไปบำบัดอีกชั้นหนึ่งที่บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลาย ) จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะลดลงตั้งแต่การย่อยสลายหรือการบำบัดในบ่อแรกแล้ว การบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆซ้ำในบ่อเติมอากาศ ( โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ยิ่งจะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น BOD , SS , TDS , FOG , TKN ลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีก ตะกอนต่างๆก็จะลดลงเหลือน้อยมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้นดังกล่าว ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรกและบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ) จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งดีขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะผลของการบำบัดหรือการย่อยสลายของเสีย 2 ชั้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงไม่เป็นภาระหนักให้กับบ่อเติมอากาศเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ( ไม่เป็นภาระหนักให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ที่อาจย่อยสลายของเสียได้ไม่หมดหรือย่อยสลายได้เพียงบางส่วนเล็กน้อย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อสุดท้ายบ่อยๆได้
สรุป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ AS และยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศอีกชั้นหนึ่ง การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำให้สสารที่เจือปนอยูในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป หมายเหตุ : จุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ( ในทั้งหมด 6 ระบบ ) นอกจากบำบัดน้ำเสียได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆเพิ่มอีกด้วย ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัด จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมเจ้าแรกของประเทศไทย นำไปใช้บำบัดน้ำเสียได้รับประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เท่านั้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ขนาดบรรจุ 20 ลิตร จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งฟรีทั่วประเทศ
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
|