ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย
สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด ถ้าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ทุกๆค่า ระบบบำบัดน้ำเสียก็ไม่มีปัญหาอะไร ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับน้ำเสีย ทำให้ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้ไม่หมด น้ำทิ้งที่บำบัดแล้วจึงยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง ( ยังมีของเสียตกค้างในน้ำมาก ) ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียหรือปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสีย และ ปัญหาการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสีย ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย และ ปัญหาการบำบัดน้ำเสีย ทั้ง 2 ส่วนนี้จะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรติดตามอ่านเนื้อหาดังต่อไปนี้ 1. ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย ปัญหาหลักๆของระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบก็คือ การขาดปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย หรือ ในระบบบำบัดมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีปริมาณน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของเสียน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง ส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบางค่าหรือหลายๆค่า หรือการที่ตะกอนส่วนเกินในบ่อพักน้ำทิ้งเหลือมาก ( Excess Sludge ) ทำให้ค่า BOD , SS , TDS ยังคงสูงอยู่ สสารต่างๆในน้ำเสียยังไม่ถูกย่อยสลายได้ทั้งหมด ซึ่งอาจต้องนำกลับไปบำบัดซ้ำหรือนำตะกอนส่วนเกินนี้ไปกำจัดทิ้งออกจากระบบ ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ก็มาจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียโดยตรง การย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียอาจไม่ทัน เพราะปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมีน้อยกว่าของเสีย และสาเหตุของจุลินทรีย์ย่อยสลายมีน้อยในระบบ อาจจะมาจากหลายๆปัจจัยด้วยกัน ทั้งปัจจัยทางด้านเทคนิคและด้านอื่นๆ ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้มีผลกระทบต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เพราะระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะเป็นแบบระบบเติมอากาศ เพื่อดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในธรรมชาติมาใช้งานย่อยสลายของเสีย ถ้าควบคุมและดูแลระบบบำบัดได้ไม่ดีพอ ก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้ทุกเมื่อ การบริหารจัดการระบบเป็นสิ่งจำเป็น ผู้ดูแลระบบต้องมีความรู้และมีความเข้าใจในระบบ รู้วิธีแก้ไขปัญหาระบบในแต่ละจุดเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในจุดใดจุดหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบบำบัด ระบบบำบัดน้ำเสียมีทั้งหมด 6 ระบบด้วยกันดังต่อไปนี้ 1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัด ( ระบบบำบัดน้ำเสีย 1 - 6 ) ทั้งหมดล้วนใช้จุลินทรีย์ชีวภาพกลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น ซึ่งจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียมีทั้งประเภทใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศหรือระบบ AS ( Activated Sludge ) ลักษณะพิเศษของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ก็คือ ต้องมีบ่อเติมอากาศหรือถังเติมอากาศ และบ่อตกตะกอนหรือถังตกตะกอน ต้องมี 2 ส่วนนี้เป็นอย่างน้อยในระบบบำบัด ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียของประเทศไทยจะเป็นแบบนี้มากที่สุด ( มากกว่า 90% ) ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียล้วนมีปัญหาในระบบทั้งสิ้น ถ้าการบริหารจัดการระบบได้ไม่ดี การดูแลและการบำรุงรักษาทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเกิดปัญหากับระบบขึ้นทันที ตัวแปรของปัญหาทุกๆอย่างในระบบบำบัดน้ำเสียก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนั่นเอง เพราะทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียที่สร้างขึ้นมาเพื่อต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่อยู่แบบกระจัดกระจายในธรรมชาติมาใช้งานในการบำบัดน้ำเสีย ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียแล้ว ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียก็ไม่มีความหมายหรือมีความสำคัญใดๆ บ่อบำบัดสร้างขึ้นเพื่อเก็บน้ำเสียไว้ให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกำจัดของเสีย ดังนั้น การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียต้องคำนึงถึงการเก็บน้ำเสียและการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายมาใช้งานในการบำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ควรให้วิศวกรด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับวิศวกรก่อสร้างระบบเป็นผู้ออกแบบระบบบำบัด เพราะถ้าสร้างระบบบำบัดเรียบร้อยแล้วจะแก้ไขได้ยากขึ้น ควรออกแบบให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรกที่สร้างระบบบำบัดขึ้นมา
ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียหรือปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียอยู่ที่จุดใด ? ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียใดๆที่สมบูรณ์แบบ 100% และไม่มีปัญหาใดๆเกิดขึ้นในระบบเลย เพียงแต่ปัญหาจะมีมากหรือมีน้อยกว่ากันเท่านั้น จึงต้องมีการบริหารจัดการ การดูแลและบำรุงรักษาติดตามระบบอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อทำการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบในบางช่วงเวลา ยิ่งปริมาณน้ำเสียมาก ยิ่งเป็นภาระหนักของระบบในการบำบัดในแต่ละครั้ง ความพร้อมของระบบบำบัด ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมีพอหรือไม่ เพราะหัวใจหลักหรือตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดของระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย เพราะทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียต้องใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น ไม่มีระบบบำบัดใดที่ไม่ใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียเลย ตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบจึงอยู่ที่จุลินทรีย์ย่อยสลายเป็นหลัก ถ้าปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีมากจะไม่มีปัญหาใดๆติดตามมา แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามในระบบบำบัดมีปริมาณจุลินทรีย์ลดลงหรือมีน้อย ( เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของเสียในน้ำเสียนั้นๆ ) ปัญหาติดตามมาอย่างแน่นอน ปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายจะแปรผันตรงกับปริมาณของน้ำเสีย นั่นหมายความว่า ถ้าน้ำเสียในระบบบำบัดมีปริมาณมาก ก็ต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายมากตามไปด้วยเช่นกัน ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดลดลงมีผลเสียติดตามมาอย่างไร ? เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ดังนั้น ปัญหาจะเกิดขึ้นกับระบบบำบัดน้ำเสียทันที ถ้าปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของน้ำเสียซึ่งมีปริมาณมากในระบบบำบัด ผลที่ติดตามมาก็คือ น้ำเสียและของเสียที่เป็นมลสารในน้ำเสียทั้งหมดถูกย่อยสลายในสัดส่วนที่น้อยลงตามปริมาณหรือกำลังจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้เท่านั้น จึงส่งผลให้ค่าพารามิเตอร์แต่ละค่าหรือบางค่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง เหตุเพราะมีปริมาณของสสารทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆยังไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลายตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก น้ำเสียไม่ได้รับการบำบัดอย่างสมบูรณ์ น้ำเสียจำนวนมากผ่านไปยังบ่อพักน้ำทิ้งหรือบ่อตกตะกอนบ่อสุดท้ายก่อนปล่อยทิ้ง ส่งผลให้เกิดมลภาวะและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมสาธารณะต่อไป ทำไมจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดจึงมีน้อย ? สาเหตุที่ปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดมีน้อยนั้นมาจากหลายๆสาเหตุหรือหลายๆปัจจัยด้วยกัน ทั้งการออกแบบระบบไม่เหมาะสมกับสภาวะสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายดำรงชีพเจริญเติบโตขยายเซลล์ ( หัวใจการบำบัดน้ำเสียอยู่ที่จุลินทรีย์ ) การออกแบบระบบบำบัดต้องเอื้อต่อการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์เพื่อดึงมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสีย ขนาดของบ่อบำบัด ความลึกของบ่อบำบัด ( บ่อบำบัดไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร ) กรณีที่บ่อบำบัดมีความลึกมากจะส่งผลให้ออกซิเจนกระจายไปไม่ถึงก้นบ่อบำบัด ของเสียต่างๆที่ตกค้างอยู่ใต้ก้นบ่อบบำบัดไม่ได้รับการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ หรือปัญหาการเติมอากาศออกซิเจนได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ( เติมออกซิเจนได้เป็นบางจุดหรือบางส่วนของบ่อบำบัด ) ก็จะมีปัญหาส่งผลให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายลดลงในจุดนี้ด้วย กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักขาดอากาศออกซิเจนหรือออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆมีน้อยไม่ได้ จะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายน้อยไปด้วย นี่คือ เหตุผลที่จำเป็นต้องเติมอากาศออกซิเจนลงในถังบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย เพื่อนำไปป้อนอากาศออกซิเจนให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียนั่นเอง ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศจึงขาดอากาศออกซิเจนหรือมีปริมาณค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆมีน้อยไม่ได้ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและขยายเซลล์ของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียทันที ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ เครื่องมือต่างๆต้องสมบูรณ์พร้อมทุกๆด้านจึงจะไม่เกิดปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้น โดยเฉพาะเครื่องเติมอากาศต้องไม่เสียบ่อยๆ หรือมีกำลังวัตต์หรือกำลังแรงม้าต่ำเกินไปกระจายอากาศไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัดส่งผลต่อจุลินทรีย์ย่อยสลาย การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบแบบเติมอากาศปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียจะเกิดขึ้นมากที่สุดในจุดหรือบ่อเติมอากาศนี่เอง ของเสียต่างๆในน้ำเสียทั้งหมดส่วนใหญ่จะถูกย่อยสลายและบำบัดในจุดนี้เป็นหลัก ดังนั้น ถ้าเกิดปัญหาใดๆมากระทบในจุดนี้ ( บ่อเติมอากาศ ) จะส่งผลกระทบไปทั่วทั้งระบบบำบัดทันที จงรักษาและเลี้ยงจุลินทรีย์ย่อยสลายไว้ให้มากที่สุด เพื่อนำมาใช้งานบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสีย ปัญหาใหญ่และเป็นปัญหาหลักๆของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ก็คือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ อาจจะมีบางค่าหรือหลายๆค่าหรือทุกๆค่าล้วนไม่ผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง นี้คือ ปัญหาใหญ่มากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียของหน่วยงานทุกๆแห่งที่มีน้ำเสียต้องบำบัด ระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆแห่งล้วนต้องการให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งทุกๆค่าผ่านเกณฑ์กันทั้งนั้น เป็นเพราะอะไรหรือเป็นเพราะสาเหตุใดค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจึงไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด ? ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณ์โดยตลอดทุกๆค่าเป็นที่ปรารถนาของบรรดาระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ทำไมน้ำทิ้งจึงไม่ผ่านเกณฑ์ ? ถ้าตอบแบบง่ายๆก็คือ ก็เพราะว่าของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้ยังไม่ดีพอที่จะให้ผ่านเกณฑ์ ค่า BOD , SS , TDS , FOG , TKN ยังเกินมาตรฐานอยู่ เป็นต้น เพราะถ้าปล่อยน้ำทิ้งที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้ออกไปสู่สิ่งแวดล้อมแล้วก็จะสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม น้ำเน่าเสีย กลิ่นเน่าเหม็นจากน้ำเสียติดตามมาในสิ่งแวดล้อมสาธารณะ ถ้าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ก็จะไม่เกิดปัญหาดังกล่าวติดตามมาในภายหลัง แล้วจะทำอย่างไรให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ ? ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า บรรดาของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียนี้ทั้งหมดทั้งมวลจะถูกย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย ( ทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน ) เพื่อให้ขนาดโมเลกุลของเสียเล็กลงๆไปเรื่อยๆจนหายสลายแปรเปลี่ยนสภาวะของสสารไปเป็น น้ำ + พลังงาน + CO2 ในที่สุด ( ไม่เหลือของเสียเลย ) ตามภาพสมการจำลองด้านล่าง ดังนั้น ถ้าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นมากที่สุด จุลินทรีย์ทำการย่อยสลายของเสียได้มากที่สุด ( แทบไม่เหลือของเสียเลย ) จะส่งผลให้ของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียเหลือน้อยที่สุด จะส่งผลทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าหรือทั้งหมดผ่านเกณฑ์ได้ง่ายๆ ตัวแปรสำคัญที่เป้นหัวใจหลักในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีจึงอยู่ที่จุลินทรีย์ย่อยสลาย ถ้าควบคุมและดูแลปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดน้ำเสียให้มีมากเพียงพอสำหรับการบำบัดน้ำเสียก็จะไม่เกิดปัญหาขึ้นในระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสีย แต่ในความเป็นจริงแล้วการควบคุมจุลินทรีย์ย่อยสลายทำได้ค่อนข้างจะยาก ดังนั้น จึงต้องมีการเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายบางกลุ่มเข้าไปในระบบบำบัด ซึ่งจะทำได้ง่ายกว่า จะเพิ่มปริมาณมากหรือน้อยก็สามารถทำได้ทันที ทุกๆปัญหามีทางออกเสมอ เช่นเดียวกันกับการบำบัดน้ำเสีย
ค่าพารามิเตอร์คืออะไร ? ค่าพารามิเตอร์ในระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นดัชนี้ชี้วัดถึงคุณภาพน้ำเสียหรือน้ำทิ้งแต่ละค่า เช่น ค่า BOD , COD , SS , TDS , FOG , pH ฯลฯ เป็นต้น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งก็นำค่าต่างๆเหล่านี้มาเป็นเกณฑ์วัดค่ากำหนดค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง ค่าพารามิเตอร์เหล่านี้มีความสำคัญอย่างไรในระบบบำบัดน้ำเสีย ? ต้องบอกว่าสำคัญมากๆ เช่น ค่า pH ในบ่อพักน้ำทิ้ง ( บ่อพักน้ำทิ้งก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม ) มีค่าต่ำกว่า 1 ระบบบำบัดมีปัญหาแน่นอน จุลินทรีย์ย่อยสลายอาจตายยกบ่อได้ตลอดเวลา หรือ กรณีค่า BOD เกิน 100 mg/l น้ำเริ่มเน่าเสียแล้ว ทำให้รู้ว่าในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อยมากๆ ต้องรีบแก้ไขทันที หรือ กรณีค่า DO ในบ่อพักน้ำทิ้งต่ำกว่า 2 mg/l น้ำเริ่มเน่าเสียแล้ว ค่าพารามิเตอร์ต่างๆเหล่านี้จะเป็นตัวดัชนี้ชี้วัดในระบบบำบัดน้ำเสียได้เป็นอย่างดี ค่า DO ตั้งแต่ 3 mg/l ขึ้นไปจุลินทรีย์ย่อยสลายจะเจริญเติบโตได้ดี สิ่งแวดล้อมในระบบบำบัดดี จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและขยายเซลล์ของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน
2. ปัญหาการบำบัดน้ำเสีย จากปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียในข้อที่ 1 มาสู่ปัญหาการบำบัดน้ำเสียในลำดับต่อไปนี้ การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทั้ง 2 ส่วนนี้จะมีความสัมพันธ์กันตลอดเวลา น้ำเสียต้องผ่านเข้าระบบบำบัดจึงจะทำการบำบัดได้ตามระบบบำบัดที่ออกแบบรองรับไว้ จุดที่รองรับน้ำเสียก็คือระบบบำบัดน้ำเสีย ( แต่ละระบบบอาจแตกต่างกันออกไป ) ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศซึ่งจะประกอบไปด้วยบ่อบำบัดน้ำเสียแต่ละบ่อบำบัด เช่น บ่อรับน้ำเสียแรกเข้า บ่อเติมอากาศ บ่อพักน้ำทิ้ง เป็นต้น อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ตัวจักรหรือหัวใจหลักที่สำคัญมากที่สุด ( ขาดไม่ได้ ) ในการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัด ก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ( ในหลายๆด้านรวมทั้งการย่อยสลายของเสีย ) ในการย่อยสลายของเสียต่างๆ ซึ่งมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมประมาณ 10% ของจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่บนโลกใบนี้ การที่จะดึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเหล่านี้มาใช้งานนั้น ต้องออกแบบระบบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์เพื่อทำการย่อยสลายของเสียในบ่อบำบัดน้ำเสีย ปัญหาของการบำบัดน้ำเสียจึงอยู่ที่จุลินทรีย์ย่อยสลายเป็นจุดหลัก ถ้าจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีน้อยจะเกิดปัญหาขึ้นกับระบบบำบัดน้ันๆทันที ไม่ว่าจะเป็นระบบบำบัดใดๆก็ตาม เพราะทุกๆระบบบำบัดล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียทั้งสิ้น อากาศออกซิเจนมีปริมาณเพียงพอในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดหรือไม่ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเดิบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ค่า DO > 2 mg/l ขึ้นไป ดังนั้น จึงต้องมีการเช็คค่า DO เป็นประจำอยู่เสมอ ส่วนค่า BOD จะเป็นตัวชี้วัดถึงปริมาณสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ( มีหน่วยเป็น mg/l )ว่ามีมากน้อยเพียงใด เช่น น้ำเสียบ่อที่ 1 มีค่า BOD 2,000 mg/l หมายถึงในน้ำเสีย 1 ลิตรมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่ในน้ำเสีย 2,000 mg. ในขณะที่ถ้าค่า BOD ตั้งแต่ 100 mg/l คือ น้ำเน่าเสีย ค่า BOD ยิ่งสูงมาก น้ำเน่าเสียก็ยิ่งวิกฤตมากตามไปด้วย สรุปปัญหาการบำบัดน้ำเสีย - การออกแบบระบบดีพอหรือไม่ ? - ระบบบำบัดมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน ? - การบริหารจัดการระบบบำบัดทำได้ดีพอหรือยัง ? - การดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน ? - ผู้ดูแลระบบบำบัดมีความรู้เกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียมากน้อยแค่ไหน ? - อุปกรณ์ต่างๆในระบบบำบัดมีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานมากน้อยแค่ไหน ? ถ้าทุกๆอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดมีความสมบูรณ์พร้อมในทุกๆด้าน ระบบบำบัดน้ำเสียก็จะมีประสิทธิภาพดี ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งต่างๆก็จะผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนด
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( Anaerobic Bacteria ) สังเคราะห์ขึ้นจากหัวเชื้อของจุลินทรีย์ต้นฉบับโดยตรง เป็นจุลินทรีย์ที่มีความเข้มข้นและมีความหนาแน่นของจุลินทรีย์สูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่างด้วยกัน ทั้งการบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่น รวมถึงประยุกต์เป็นปุ๋ยในทางการเกษตรก็สามารถทำได้ เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย แต่ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำจากการสังเคราะห์แสง มาช่วยตอบโจทย์และแก้ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียที่ไม่พร้อมหรือมีจุดอ่อนทั้งในเรื่องปัญหาการบำบัดน้ำเสีย ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่พร้อม หรือระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหา ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้ำเสียในระบบมีน้อย น้ำเสียเสียในระบบบำบัดเริ่มมีกลิ่นเหม็น ( ค่า BOD พุ่งสูง ) ค่า DO ในบ่อบำบัดต่ำมาก ( น้ำเสียจึงเริ่มส่งกลิ่นเหม็น ) ปัญหาเหล่านี้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าตอบโจทย์ได้แน่นอน คุณสมบัติของจุลินทรีย์คาซาม่า - ใช้บำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย - ย่อยสลายสารอินทรีย์วัตถุให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง - ย่อยสลาย Fat, Greas & Oil ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ - ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ทุกชนิด เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ในนามแบรนด์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( Anaerobic Bacteria ) ทำงานได้ดีทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศ ไม่ดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ใน ( น้ำเสีย ) มาใช้งานและการดำรงชีพ จึงทำให้ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆไม่ลดลง ( ค่า DO ) จึงเหมาะสำหรับเป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะ จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง จุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีกลิ่นหอม ซึ่งไม่เหมือนกลิ่นจุลินทรีย์อีเอ็มทั่วๆไปที่จำหน่ายในท้องตลาดที่มีกลิ่นฉุนเปรี้ยว ดังนั้นจึงได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียได้ดี และ การดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียได้ดี กลิ่นหอมทันทีที่เริ่มใช้ในบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน ซึ่งลูกค้าของทางร้านทั้งหมดทั่วประเทศจะชอบใจในจุดนี้เป็นอย่างมาก อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน ) จากภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียระบบ AS เติมอากาศ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดใช้ออกซิเจน ) + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ) จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เดิมในบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนเบื้องต้นธรรมดาเท่านั้น ( การย่อยสลายเกิดขึ้นน้อยมากในบ่อนี้ ) ก่อนที่จะผ่านเข้าไปบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อที่ทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากที่สุดในระบบนี้ ( บ่อย่อยสลายของเสียโดยใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) และส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วในบ่อที่ 3 ( ตามภาพบน ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่ในระบบ AS นี้จะเกิดขึ้นในจุดเดียวคือ บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี แต่เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปเพิ่มเติม ( ในบ่อที่ 1 ) จะเกิดการย่อยสลายในบ่อที่ 1 หรือบ่อแรกเพิ่มขึ้นทันทีอีกจุดหนึ่ง ( เหมือนบ่อเติมอากาศ ) กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ออกซิเจนจึงไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้ทันที จะเห็นได้ว่าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 จุดหรือ 2 บ่อ ( บ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบดับเบิ้ล คือ บ่อที่ 1 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นตัวบำบัด ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )เป็นด่านแรกก่อนที่จะส่งต่อไปบำบัดอีกชั้นหนึ่งที่บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลาย ) จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะลดลงตั้งแต่การย่อยสลายหรือการบำบัดในบ่อแรกแล้ว การบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆซ้ำในบ่อเติมอากาศ ( โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ยิ่งจะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น BOD , SS , TDS , FOG , TKN ลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีก ตะกอนต่างๆก็จะลดลงเหลือน้อยมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้นดังกล่าว ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรกและบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ) จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งดีขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะผลของการบำบัดหรือการย่อยสลายของเสีย 2 ชั้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงไม่เป็นภาระหนักให้กับบ่อเติมอากาศเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ( ไม่เป็นภาระหนักให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ที่อาจย่อยสลายของเสียได้ไม่หมดหรือย่อยสลายได้เพียงบางส่วนเล็กน้อย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อสุดท้ายบ่อยๆได้
สรุป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ AS และยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศอีกชั้นหนึ่ง การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำให้สสารที่เจือปนอยูในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป หมายเหตุ : จุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ( ในทั้งหมด 6 ระบบ ) นอกจากบำบัดน้ำเสียได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆเพิ่มอีกด้วย จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) แกลลอนขนาด 20 ลิตร ( มีขนาดเดียว ) ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ มีปัญหาการบำบัดน้ำเสีย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ บ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
|