การบำบัดน้ำเสียโดยรวมทั้งหมดทุกๆจุด (( ขอบคุณมากๆที่ท่านกรุณากด แชร์ ( Share ) ให้กับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ))
สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ) เป็นตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด กำจัดไนโตรเจนหรือลดค่า TKN ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถกำจัดไนโตรเจนได้แล้ว เพราะเราได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ตัวที่ลดค่า TKN ในน้ำเสียได้ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเพียงเท่านั้น การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียโดยรวม ( ทั้งหมด ) ของหน่วยงานต่างๆ ด้วยระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละแห่ง น้ำเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละแห่งหรือแต่ละองค์กรอาจแตกต่างกันออกไปตามแหล่งที่มาของน้ำเสีย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละแหล่งก็แตกต่างกัน ตามแหล่งที่มาของน้ำเสีย สำหรับน้ำเสียที่นำไปบำบัดผ่านระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละแห่งนั้นมาจากหลายจุดด้วยกัน แหล่งที่มาของน้ำเสีย ( ก่อนเข้าสู่การบำบัด )บางแห่ง 1. โรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียจะมาจากไลน์ผลิต , ห้องน้ำห้องส้วม , น้ำฝน , น้ำใช้ส่วนอื่นๆ 2. อาคารชุดคอนโดมิเนี่ยม น้ำเสียจะมาจาก กิจกรรมในห้องน้ำการซักล้างและอาบน้ำ และ จากส้วมหรือชักโครก ( ไปลงบ่อเกรอะ ) จากน้ำฝนและน้ำใช้อื่นๆ 3. อาคารสำนักงาน น้ำเสียมาจากกิจกรรมในห้องน้ำเช่นเดียวกันกับข้อ 2 4. โรงพยาบาล น้ำเสียจะมาจากห้องน้ำ ห้องพยาบาลที่ต้องใช้น้ำ ส้วม และจุดอื่นๆที่มีการใช้น้ำ รวมถึงน้ำฝน น้ำเสียจากโรงพยาบาลบางแห่งอาจมีการปนเปื้อนเชื้อติดมากับน้ำเสีย 5. โรงแรมและรีสอร์ท น้ำเสียมาจากห้องน้ำ ห้องส้วมชักโครก( ไปลงบ่อเกรอะ ) การซักล้างต่างๆ ครัวปรุงอาหาร สระว่ายน้ำ ( ถ้ามี ) น้ำฝน 6. ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทุกๆแห่ง น้ำเสียส่วนใหญ่จะมาจากห้องน้ำห้องส้วม ร้านอาหารภายในห้าง ครัวทำอาหาร ส่วนแผนกอาหารสด 7. ภัตตาคารและร้านอาหาร น้ำเสียมาจากห้องน้ำห้องส้วมและครัวทำอาหาร ซึ่งจะมีทั้งไขมันและน้ำมันต่างๆปนเปื้อนในน้ำเสียจำนวนมาก ( FOG : Fat Oil & Grease ) 8. อื่นๆ อีกมากมาย ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งต่างๆนี้ น้ำเสียจากบางแหล่งอาจต้องมีการแยกบำบัดก่อนที่จะเข้าสู่ระบบบำบัดรวมส่วนกลาง เช่น น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ต้องทำการแยกน้ำเสียจากห้องน้ำห้องส้วม( บ่อเกรอะ ) แยกส่วนนี้ไปบำบัดอีกจุดหนึ่งก่อนที่จะนำเข้าระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของโรงงาน และกรณีที่น้ำเสียที่มาจากไลน์ผลิตมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ปนเปือนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆในปริมาณมาก อาจต้องผ่านกระบวนการบำบัดทางเคมีก่อนเข้าระบบบำบัดรวม เพื่อไม่ให้สารเคมีออกฤทธิ์ทำลายจุลินทรีย์ ( บำบัดด้วยกระบวนทางเคมีบำบัดให้หมดสภาพก่อน ) การรวมน้ำเสียที่มาจากหลายๆทาง ( ที่ยังไม่ผ่านการบำบัดขั้นต้น ) อาจทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียทำงานหนักและล้มเหลวได้ง่ายๆ ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ) โดยเฉพาะน้ำเสียที่มาจากบ่อเกรอะ จะมีกากและตะกอนเล็กใหญ่ ตะกรันจำนวนมากจากสิ่งปฏิกูลที่มาจากชักโครกหรือคอห่าน ทำให้ค่า SS , TDS , และ BOD สูงเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงต้องแยกบ่อเกรอะไปทำการบำบัดในเบื้องต้นก่อนส่งน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดส่วนกลาง ( บ่อบำบัดรวม ) หรือ กรณีของน้ำเสียจากอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมและอาคารสำนักงานทั่วๆไป จะมีน้ำเสียในส่วนของห้องส้วมหรือชักโครก และน้ำเสียน้ำใช้ซักล้างทั่วๆไป เป็นต้น การบำบัดน้ำเสียจะทำการแยกส่วนกันดังนี้ 1. น้ำเสียจากกิจกรรมใช้น้ำทั่วไป เช่น อาบน้ำ ซักล้างต่างๆ น้ำเสียส่วนนี้จะลงไปรวมกันที่บ่อรับน้ำเสียบ่อแรก 2. น้ำเสียจากชักโครกหรือคอห่านห้องส้วม น้ำเสียส่วนนี้จะลงไปรวมกันที่บ่อเกรอะรับของเสียจากส้วมโดยตรง เพื่อทำการบำบัดในเบื้องต้นก่อนปล่อยไปรวมกับบ่อรับน้ำเสียรวมขององค์กร น้ำเสียที่ไปจากบ่อเกรอะอาจต้องทำการกำจัดกลิ่นก่อน ( กรณีที่มีกลิ่น ) นำไปรวมกันกับบ่อรับน้ำเสียส่วนกลาง กระบวนการหรือขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่า ระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( Activated Sludge ) โดยเฉพาะตามอาคารสำนักงานทั่วๆไปและอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมแทบจะทุกๆแห่งล้วนใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้กันทั้งนั้น ส่วนรายใดจะประยุกต์ให้ระบบบำบัดน้ำเสียของตนเองให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้สูงขึ้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นก็เป็นเรื่องของแต่ละหน่วยงานไป แต่บทสรุปน้ำเสียที่ระบบบำบัดทำการบำบัดนั้นต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนดเอาไว้ แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้วส่วนใหญ่ระบบบำบัดน้ำเสียในปัจจุบันยังมีปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในบางแห่งอาจจะผ่านเป็นบางค่าหรือไม่ผ่านเลยหลายๆค่าก็มีให้เห็นบ่อยๆอยู่เช่นกัน การที่จะทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียได้ดี ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ทุกๆค่า ) สามารถทำได้หรือไม่ในความเป็นจริง ? ก็ต้องบอกว่า สามารถทำได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการบริหารจัดการขององค์กรนั้นๆ การควบคุมดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดมีประสิทธิภาพและดีพอหรือไม่ สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่จะส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี แต่ส่วนใหญ่จะมองข้ามและเพิกเฉยในจุดนี้ เพราะคิดว่าต้องสิ้นเปลืองเวลาและใช้งบลงทุนสูง แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น ถ้ามีความรู้และความเข้าใจในระบบจะใช้งบในการบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบไม่มากอย่างที่คิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงบค่าจ้างพนักงงานขององค์กรมากกว่า งบประมาณในการดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งใช้งบไม่ได้มาก คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะนี่คือ การดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมโดยตรง ลดมลภาวะและมลพิษทางสิ่งแวดล้อม เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้ที่สร้างมลภาวะและมลพิษขึ้น ซึ่งต้องทำการบำบัดและรับผิดชอบ
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ระบบบำบัดน้ำเสียของประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( มากกว่า 90% ) และที่พบเห็นบ่อยๆเป็นประจำ ที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาลูกค้าก็คือ ระบบบำบัด ( แบบเติมอากาศ ) ส่วนใหญ่จะมีด้วยกันอยู่ 3 บ่อบำบัด ( แทบทั้งนั้น ) โดยบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียรวม ( บางรายก็เติมอากาศในบ่อนี้ที่พบมา ) บ่อที่ 2 เป็นบ่อเติมอากาศ และบ่อที่ 3 เป็นบ่อพักน้ำทิ้งก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อมต่อไป มีเพียงเท่านี้ ( ส่วนใหญ่ที่พบมา ) จึงมีความเสี่ยงที่บ่อพักน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนดไว้เป็นส่วนใหญ่ ยิ่งน้ำเสียมีปริมาณมากๆ โอกาสค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านสูงมาก ต้องบริหารจัดการระบบบำบัดให้ถึงและมีประสิทธิภาพมากพอที่จะรับภาระปริมาณน้ำเสียที่เพิ่มมากขึ้น ผิดพลาดในจุดใดจุดหนึ่งก็ไม่ได้ ระบบอาจล้มเหลวได้ทุกเมื่อ เคล็ดลับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา โดยการหมั่นตรวจเช็คระบบทุกๆจุดอยู่เป็นประจำ ( ประจำวัน , ประจำเดือน อย่างต่อเนื่อง ) เช็คค่าพารามิเตอร์บางตัวในแต่ละวัน เช่น ค่า BOD และ ค่า DO ในส่วนของค่าพารามิเตอร์รวมให้ทำการตรวจเช็คเดือนละครั้งก็พอ ทำไมต้องเช็คค่า BOD และค่า DO ในแต่ละวัน ? เหตุผลที่ต้องทำการเช็คค่า BOD และค่า DO ( ใช้ BOD Meter และ Do Meter แบบดิจิตอลวัดค่า ) เป็นรายวันนั้นก็เพื่อจะได้รู้ถึงสุขภาพและความเป็นไปของระบบบำบัดน้ำเสียนั่นเอง ถ้าสุขภาพของระบบบำบัดยังดีอยู่ ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก็ยังเป็นปกติ แต่ถ้าเวลาใดที่ค่า BOD สูงเกินมาตรฐานกำหนด ระบบบำบัดเริ่มมีปัญหาแล้ว งานเริ่มเข้าแล้ว ต้องรีบทำการแก้ไขทันทีก่อนที่ระบบจะล้มเหลวไปมากกว่านี้ ค่า BOD จะเป็นตัวชี้วัดสิ่งสกปรกที่เป็นสารอินทรีย์เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆว่ามีมากหรือมีน้อย ถ้าน้ำเสียนั้นๆมีสารอินทรีย์เจือปนเข้ามาในระบบบำบัดมาก จะส่งผลให้ค่า BOD สูงขึ้นทันที หรือ กรณีของค่า DO ( Dissolved Oxygen ) ซึ่งเป็นค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ตามปกติน้ำที่เน่าเสียมากๆจะไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเลย สิ่งมีชีวิต่างๆแม้แต่จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักก็ตายหมด ค่า DO >= 3 mg/l เป็นน้ำดี จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการดำรงชีพจะเจริญเติบโตได้ดี ถ้าค่า DO ต่ำมากจะส่งผลให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักลดลงเรื่อยๆจนไม่มีเหลือในระบบบำบัดก็สามารถเป็นไปได้เช่นกัน ดังนั้น จึงต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษและเป็นประจำใน 2 ค่านี้ คือ BODและ DO นี่คือเคล็ดลับในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพในเบื้องต้นแบบคร่าวๆ ถ้าลงลึกมากกว่านี้ต้องปรึกษาเป็นกรณีพิเศษกับเรา ซึ่งเราให้คำแนะนำลูกค้าแบบเปิดเผยฟรีๆ ไม่มีค่าที่ปรึกษาเหมือนที่ปรึกษาทางด้านเทคนิคการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป แน่นอนว่าไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ 100% แม้กระทั่งระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสียให้ได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งนั้น ในบางครั้งก็เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อนเกิดขึ้นได้เสมอ ( เปรียบเหมือนอุบัติเหตุ ) เช่น น้ำเสียมีปริมาณมากเกินกว่าระบบบำบัดจะรับได้ ( Over Load ) ซึ่งสุดวิสัย นอกจากระบบจะออกแบบเผื่อโอเวอรฺโหลดไว้ล่วงหน้า หรือกรณีที่เครื่องเติมอากาศเสีย เครื่องเติมอากาศกำลังวัตต์หรือกำลังแรงม้าไม่เพียงพอต่อการเติมอากาศ (ซึ่งพบเป็นประจำ) ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ปรึกษาเราได้ เพื่อแก้ปัญหาให้ระบบมา RUN ได้ตามปกติ
ภาพบนระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์ย่อยสลายแบบไม่ใช้ออซิเจน ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียของระบบให้ดีขึ้น ย่อยสลายของเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียภาพบน ( ระบบบำบัดแบบ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) - บ่อรับน้ำเสีย ( บ่อที่ 1 ) ตามปกติบ่อนี้จะเป็นบ่อรับน้ำเสียรวมของระบบบำบัดแบบเติมอากาศ อาจมีการตกตะกอนเล็กน้อย ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียเกิดขึ้นน้อย แต่เมื่อมีการเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปในบ่อที่ 1 ซึ่งเป็นบ่อรับน้ำเสียรวม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะทำฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นทันที แต่ไม่มีการดึงหรือแย่งออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ) กระบวนการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้เกิดขึ้นตั้งแต่บ่อที่ 1 ก่อนจะส่งต่อผ่านไปยังบ่อเติมอากาศซึ่งเป็นบ่อที่ 2 ( ตามภาพบน ) - บ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ) กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนจะทำการย่อยสลายของเสียต่างๆที่เหลือจากการย่อยสลายในบ่อที่ 1 ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลให้ของเสียที่เป็นกากตะกอนส่วนเกินเหลือน้อยลง ( Excess Sludge ) ส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนดได้ง่ายขึ้น เพราะปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้น 2 ชั้น ( ในบ่อที่ 1 และบ่อที่ 2 ) - บ่อตกตะกอน ( บ่อที่ 3 ) บ่อนี้จะเป็นบ่อรองรับน้ำทิ้งหรือน้ำที่ผ่านการบำบัดมาแล้วจากบ่อเติมอากาศ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งก็อยู่ที่จุดนี้เป็นหลัก เป็นบ่อพักน้ำทิ้งเพื่อตกตะกอนส่วนเกิน ( Excess Sludge ) ตะกอนส่วนหนึ่งจะถูกนำไปกำจัดทิ้งฝังกลบหรือนำไปใช้เป็นปุ๋ยพืชผัก และอีกส่วนหนึ่งาจนำกลับไปบำบัดซ้ำอีกรอบ ถ้ามีกากตะกอนมากในบ่อตกตะกอนนี้ ( เกิดจากการย่อยสลายของเสียได้น้อย ) อาจส่งผลให้ค่า BOD , SS , TDS ยังคงมีค่าสูงอยู่ ทำให้ค่ามาตรฐาน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ได้ง่ายๆ แต่ถ้ามีปฏิกิริยาการย่อยสลาย 2 ชั้น จะส่งผลให้มีกากตะกอนส่วนเกินเหลือน้อยลง
ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายระบบบำบัดน้ำเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน และ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( Anaerobic bacteria ) สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงานมีปริมาณน้อย จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้กับทุกๆระบบ โดยเฉพาะกับระบบที่มีปริมาณจุลินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย ( ระบบเติมอากาศทั่วๆไป ) น้ำเน่าเหม็นและน้ำที่เน่าเสียมีที่มาจากปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อยกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียให้มากขึ้นและปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดเร็วขึ้น ช่วยเสริมจุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ซึ่งเกิดปัญหาบ่อยๆ ในเรื่องของปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียไม่เพียงพอหรือมีปริมาณน้อย ส่งผลให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักมีจำนวนน้อยตามไปด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียในจุดนี้ด้วย เพราะจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไม่ดึงหรือไม่แย่งออกซิเจนจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน จึงไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อระบบบำบัดและกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน
จุลินทรีย์หอมคาซาม่าตอบโจทย์จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียในบ่อบำบัดที่มีปัญหาจุลินทรีย์ย่อยสลายมีปริมาณน้อย ระบบบำบัดมีปัญหาทางเทคนิค ระบบบำบัดล่มบ่อยๆ ระบบบำบัดมีค่า DO ต่ำมาก ฯลฯ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าช่วยลดค่า BOD , SS , TDS , FOG ในน้ำเสีย จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) บรรจุแกลลอนขนาด 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ มีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่สมบูรณ์ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ จุลินทรีย์ย่อยสลายในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อยทำให้เกิดน้ำเน่าเหม็น ปัญหาน้ำเสียในอาคาร บ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama )บำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นในเวลาเดียวกัน เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ
ข้อควรระวังการใช้คลอรีนในการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูข้อมูลที่นี่... จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
[[ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุดมาจากแหล่งใด ? คลิกที่นี่.. ]] |