การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนี่ยม
สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ) เป็นตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด ปัญหาของการบำบัดน้ำเสีย จุดที่ยากและสลับซับซ้อนมากที่สุดก็คือ ปัญหาทางด้านเทคนิค ทั้งการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เช่น ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากอะไร? มีกี่ค่า ? แต่ละค่าต้องแก้ไขอย่างไร ? ปรับระบบอย่างไรเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย? เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่การใช้จุลินทรีย์บำบัดแล้วก็จบเท่านั้น ปัญหาทางด้านเทคนิคของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับลดบางค่า หรือการเพิ่มบางค่าในระบบบำบัดจะพบบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงเท่านั้น ที่นี่..เราแนะนำให้ลูกค้าของเราฟรีๆ สิ่งที่ลูกค้าจะได้มากที่สุดจากที่นี่..ก็คือการแก้ปัญหาในเรื่องการบำบัดน้ำเสียและการแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน เพราะเราจะให้บริการท่านฟรีๆ ปรึกษาขอคำแนะนำฟรีๆ การซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปบำบัดน้ำเสียจะเป็นเรื่องรอง ปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆค่อนข้างสำคัญต่อการบำบัดน้ำเสียมากๆ จะเห็นได้ว่า เราไม่ได้ขายแค่จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเพียงเท่านั้นจบ แต่เรายังช่วยเหลือและช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าของเราอีกด้วย ( จุดสำคัญ ) นี่คือจุดเด่นและจุดแตกต่างของเราที่ไม่เหมือนใครในการจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนี่ยม & ระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนี่ยม ( อาคารชุดคอนโดมิเนี่ยม )ส่วนใหญ่จะเป็นดั่งในแบบจำลองภาพบนนี้ ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารชุดคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่จะเป็นแบบเติมอากาศ น้ำเสียในอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณผู้อยู่อาศัยเป้นหลัก น้ำเสียจากคอนโดจะแยกออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ 1. น้ำใช้ในกิจกรรมทั่วๆไป การซักล้าง การอาบน้ำ และอื่นๆ น้ำเสียจากส่วนนี้จะลำเลียงนำไปรวมกันไว้ที่บ่อรวมน้ำเสียส่วนกลางของคอนโด 2. น้ำเสียที่ไปจากส้วมหรือชักโครก สิ่งปฏิกูลต่างๆทั้งหมดจากชักโครกจะลงไปรวมกันที่บ่อเกรอะ ซึ่งเป็นบ่อรับน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลต่างๆจากส้วมโดยเฉพาะ จึงต้องทำการแยกส่วนน้ำเสียจากส้วมหรือชักโครกออกจากน้ำเสียจากส่วนอื่นๆในห้องน้ำ เพื่อไม่ให้ปะปนกัน เพราะน้ำเสียจากส้วมจะมีสิ่งปฏิกูล กากตะกอน ตะกรันจำนวนมาก ต้องทำการบำบัดในเบื้องต้นก่อนจึงจะผ่านเข้าไปยังบ่อรับน้ำเสียรวมได้ ต้องทำการกำจัดกากตะกอนตะกรันและกำจัดกลิ่นให้หมดก่อนนำไปบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสียรวมของคอนโด ซึ่งจะช่วยลดค่า SS , TDS และ BOD ลงได้มาก คอนโดมิเนี่ยมหลายๆแห่งมีปัญหาในจุดนี้ ( นำน้ำเสียและของเสียจากบ่อเกรอะมารวมกันกับน้ำเสียโดยรวมของคอนโด ) ทำให้มีปัญหาทั้งกลิ่นเหม็นจากบ่อเกรอะฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ และค่ามาตรฐานน้ำทิ้งหลายๆค่าไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดเป็นประจำและบ่อยๆ อาจส่งผลให้ถูกปรับได้ง่ายจากทางราชการ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเช่นนี้ขึ้น เจ้าของคอนโดหรือนิติบุคคลฯต้องทำการปรับปรุงระบบบำบัดที่มีอยู่ทันที เพื่อแก้ไขปัญหาให้ระบบบำบัดมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป ซึ่งเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคอนโดโดยตรง ไม่ให้เกิดปัญหามลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อมสาธารณะจากน้ำเสียที่ไปจากคอนโดของเราเอง ซึ่งสามารถทำได้ ในการบำบัดน้ำเสียจะมีคำ 2 คำ ที่สัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันโดยตลอด นั่นก็คือ 1. การบำบัดน้ำเสีย น้ำเสียที่ผ่านการใช้งานแล้วจะต้องได้รับการบำบัดให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้ง ( ตามเกณฑ์กำหนดค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง ) ออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อม เพื่อลดมลภาวะและมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากน้ำเสียนั้นๆ 2. ระบบบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนที่จะปล่อยทิ้งนั้น จำเป็นต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียรองรับน้ำเสียที่จะทำการบำบัดให้เป็นน้ำดี ปัจจุบันระบบบำบัดน้ำเสียมีอยู่ด้วยกัน 6 ระบบ หรือ 6 แบบ ว่าด้วยการบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนี่ยม และ ระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนี่ยม ในการเลือกใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ทั้งพื้นที่ก่อการสร้างระบบ งบประมาณลงทุนการก่อสร้างระบบและการดูแลบำรุงรักษา และอื่นๆ อาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมส่วนใหญ่จะใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( Activated Sludge ) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน และส่วนใหญ่ของระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยจะเป็นระบบแบบเติมอากาศ ( มากกว่า 90% ) คอนโดมิเนี่ยมส่วนใหญ่ก็ใช้ระบบนี้เป็นหลัก ระบบนี้มีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งในตัว ถ้าการบริหารจัดการและการดูแลบำรุงรักษาได้ไม่ดีก็จะเกิดปัญหาขึ้นทันที ถือว่าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศยังมีแยกย่อยไปอีกหลายแบบด้วยกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศในคอนโดมิเนี่ยมซึ่งประกอบไปด้วย 1. บ่อรับน้ำเสียรวม ( บ่อที่ 1 ) บ่อนี้จะเป็นบ่อรับน้ำเสียรวมทั้งหมดของคอนโดมิเนี่ยม ( ยกเว้นน้ำเสียที่ไปจากส้วมหรือชักโครกต้องแยกส่วนออกจากกัน ) จะลงมารวมกันทั้งหมดที่บ่อนี้ก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนการบำบัดและย่อยสลายในบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ) ในบ่อแรกนี้การย่อยสลายจะเกิดขึ้นน้อยมาก ( จุลินทรีย์ย่อยสลายมีปริมาณน้อย ) ส่วนใหญ่จะเป็นการตกตะกอนขั้นต้นและกรองของเสียชั้นเล็กชิ้นใหญ่ออกจากระบบ ซึ่งจะส่งผลช่วยลดค่า SS , TDS , BOD และ FOG บางส่วนลงได้ 2. บ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆทั้งหมดปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นมากที่สุดในบ่อนี้ เพราะเป็นจุดหรือบ่อที่มีปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนรวมกลุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการเติมออกซิเจนลงในน้ำเสียนั่นเอง ที่ใดหรือจุดใดมีออกซิเจนอุดมสมบูรณ์ก็จะมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก เพราะจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพเจริญเติบโตและขยายตัว( แบ่งเซลล์ ) ขาดออกซิเจนไม่ได้ หรือมีปริมาณออกซิเจนน้อยก็จะมีจุลินทรีย์กลุ่มนี้น้อยตามไปด้วย การย่อยสลายของเสียต่างๆก็จะเกิดขึ้นน้อยตามไปด้วย ส่งผลไปถึงค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าหรือทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งได้ง่ายๆ ( เพราะของเสียตกค้างยังไม่ได้รับการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ ) จุดที่สำคัญมากที่สุดจึงอยู่ที่บ่อเติมอากาศนี้ของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ 3. บ่อตกตะกอนหรือบ่อพักน้ำทิ้ง ซึ่งเป้นบ่อสุดท้ายก่อนปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อม บ่อนี้จะรับน้ำที่ทำการบำบัดแล้วมาจากบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ) เพื่อเป็นบ่อพักตกตะกอนเป็นน้ำใส ตะกอนส่วนเกิน ( Excess Sludge ) จะตกลงก้นบ่อ ส่วนหนึ่งจะนำไปกำจัดทิ้งและอีกส่วนหนึ่งอาจนำเวียนไปบำบัดซ้ำในบ่อที่ 1 หรือบ่อเติมอากาศ ( ตามหลักการบำบัด ) ตะกอนส่วนเกินนี้จะเป็นตัวแปรในการวัดค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง การวัดค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะทำที่บ่อสุดท้ายนี้ ผ่านเกณฑ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์จะอยู่ที่บ่อนี้เป็นหลัก ถ้าตะกอนส่วนเกินมีเป็นจำนวนมาก นั่นหมายถึงว่าประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียต่างๆในบ่อที่ 2 ( บ่อเติมอากาศ ) ทำได้ไม่ดีหรือย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆทำได้น้อย กากตะกอนจึงตกค้างล้นมายังบ่อสุดท้ายมาก ส่งผลให้ค่า SS , TDS และ BOD ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง ต้องนำกลับไปบำบัดใหม่ในขั้นตอนที่ 1 ( บ่อที่ 1 ) การบำบัดซ้ำถ้าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งยังไม่ผ่านอีก ต้องทำการปรับปรุงและแก้ไขระบบบำบัดโดยด่วนทันที ในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียให้ออกมาดีมีประสิทธิภาพนั้น ต้องดูทุกภาคส่วนของระบบ การตรวจเช็คสุขภาพของระบบบำบัดอยู่เป็นประจำเป็นเรื่องที่สมควรปฏิบัติ เพื่อติดตามผลของระบบอย่างต่อเนื่อง จากภาพจำลองระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ด้านบนจะเห็นได้ว่า น้ำเสียจากส้วมหรือชักโครกต้องทำการแยกบ่อรับน้ำเสียคนละส่วนกันกับบ่อน้ำเสียส่วนอื่นๆ ( ที่ไม่ใช่มาจากส้วม ) น้ำเสียจากส้วมซึ่งมีสิ่งปฏิกูลจำนวนมากต้องแยกไปลงที่บ่อรับน้ำเสียส้วมโดยเฉพาะหรือที่เรียกกันว่า บ่อเกรอะ ซึ่งเป็นบ่อที่รองรับน้ำเสียและของเสียต่างๆจากส้วมหรือชักโครกโดยตรง น้ำเสียจากส้วมหรือชักโครกไม่ควรนำไปรวมกันกับน้ำเสียโดยรวมของคอนโดมิเนี่ยม เหตุเพราะจะส่งผลให้ค่า SS , TDS , BOD สูงมากขึ้นกว่าปกติ รวมไปถึงกลิ่นไม่พึงประสงค์ฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ ระบบบำบัดล้มเหลวได้ง่ายๆ เพราะน้ำเสียจากส้วมจะมีกากตะกอน ตะกรัน ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ การย่อยสลายทำได้ช้าจึงต้องมีการแยกส่วนบ่อบำบัด ถ้าน้ำเสียจากส้วมจะนำเข้าบ่อน้ำเสียรวมจะต้องทำการบำบัดในเบื้องต้นก่อน ทั้งการกรองกากตะกอนต่างๆของสิ่งปฏิกูลและการกำจัดกลิ่นให้เรียบร้อยก่อนเข้าสู่ระบบบำบัดรวมจึงจะไม่เกิดปัญหาต่อระบบบำบัดน้ำเสีย นี้คือขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ในอาคารชุดคอนโดมมิเนี่ยมทั่วๆไป หรืออาคารสำนักงานทุกๆแห่งจะใช้ระบบนี้เป็นส่วนใหญ่ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้ถ้าการบริหารจัดการดูแลและบำรุงรักษาระบบได้ไม่ดีพอ จะเกิดปัญหาขึ้นได้ง่ายและบ่อยๆอยู่เป็นประจำ นั่นก็คือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าหรือหลายๆค่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง อาจถูกปรับอยู่เรื่อยๆ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งคอนโดมิเนี่ยมไม่ผ่านเกณฑ์จะทำอย่างไร ? ปัญหาการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนี่ยมจุดอ่อนอยู่ที่พื้นที่จำกัด ต้องออกแบบขนาดบ่อบำบัดลึก บางแห่งอาจเกิน 3 เมตร ( ลึดสุดไม่ควรเกิน 3 เมตร) ซึ่งการกระจายอากาศออกซิเจนจะไปไม่ถึง กระจายออกซิเจนได้ไม่ทั่วถึง จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ใช้ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจะอยู่ในจุดที่มีออกซิเจนเพียงพอเท่านั้น จุดที่อับออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อยจะไม่ค่อยมีจุลินทรีย์กลุ่มนี้ การวางเครื่องเติมอากาศต้องสามารถกระจายอากาศได้ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ปัญหาทางเทคนิคเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆทั้งสิ้น น้ำเสียจากคอนโดมิเนี่ยมมีปริมาณมากในแต่ละวัน แต่ละเดือน ถ้าออกแบบระบบำบัดรองรับได้ไม่ดีพอ ก็สามารถทำให้ระบบล้มเหลวได้ง่ายๆ การซักล้างต่างๆ การใช้แชมพู สบู่ จากแต่ละห้องจากคอนโดล้วนส่งผลทำให้ค่า N ซึ่งอยู่ในรูปของ ค่า TKN จะสูงกว่าปกติทั่วๆไป คอนโดหลายๆแห่งจะมีปัญหาค่า TKN สูงมาก การแก้ปัญหาต้องเพิ่มกำลังปฏิกิริยาการย่อยสลายให้มากขึ้นเพื่อกำจัด N ออกจากน้ำเสียให้มากที่สุด ทุกๆปัญหามีวิธีแก้ไขเสมอ ถ้ามีความตั้งใจจริงในการแก้ปัญหาย่อมมีทางออก การแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้ทำได้หลายช่องทาง ทั้งการปรับปรุงระบบในแต่ละจุด การปรับปรุงเครื่องมือต่างๆ การเติมจุลินทรีย์เข้าไปในระบบ ฯลฯ ซึ่งอาจจะทำร่วมๆกันแบบบูรณาการ ต้องดูว่าระบบบำบัดแต่ละแห่งออกแบบไว้อย่างไร จะปรับปรุงแก้ไขอย่างไรเพื่อให้เข้ากับระบบที่ออกแบบไว้ ในส่วนนี้อาจต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคโดยผู้รู้ในเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสียให้คำแนะนำและคำปรึกษาโดยตรง เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้ได้แบบตรงจุด ในการแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้ยุ่งยากจนเกินไป แต่ก็ไม่ง่ายถ้าไม่มีความรู้และความชำนาญเฉพาะด้าน
ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งของคอนโดมิเนี่ยมตามขนาดจำนวนห้อง จำนวน 500 ห้องขึ้นไปจัดอยู่ในประเภท ก. ข้อแนะนำพิเศษสำหรับอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยม สำหรับคอนโดมิเนี่ยมทุกๆแห่งที่มีระบบำบัดน้ำเสียแล้วควรมีโปรแกรมตรวจเช็คสุขภาพของระบบบำบัดน้ำเสียของท่านเป็นประจำวัน ประเดือน สำหรับการเช็คค่าพารามิเตอร์ประจำวันก็มี ค่า BOD , pH และค่า DO สำหรับประจำเดือนให้เช็คทุกค่าพารามิเตอร์แต่ละค่าทั้งหมด ปัจจุบันการตรวจสอบหรือเช็คค่าพารามิเตอร์ทำได้ง่าย เพราะมีเครื่องวัดดิจิตอลรองรับ ทั้ง BOD Meter , DO Meter และ pH Meter สามารถรู้ผลได้ทันที ทำรายงานผลแต่ละค่าประจำวันและประเดือน จะทำให้รู้ถึงความเป็นไปของระบบบำบัดน้ำเสียของท่านว่าปกติดีหรือมีปัญหาในจุดใด - ค่า BOD สูง ทำให้รู้ว่าในน้ำเสียมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่มาก จะกำจัดได้อย่างไร เช็คค่า BOD ในบ่อที่ 1 และบ่อสุดท้าย ( บ่อตกตะกอนหรือบ่อพักน้ำทิ้ง ) เพื่อนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างก่อนบำบัดและหลังบำบัด ค่า BOD ลดลงมากน้อยแค่ไหน ควรปรับปรุงในจุดใด เพื่อให้ค่า BOD ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง ค่า BOD เป็นตัวชี้วัดว่า น้ำเสียวิกฤตหรือไม่วิกฤต ถ้าค่า BOD เกิน 100 mg/l ขึ้นไป น้ำเริ่มเน่าเสีย ค่ายิ่งสูงยิ่งวิกฤตมาก BOD เป็นดัชนี้ชี้วัดน้ำดีน้ำเสียในเบื้องต้นได้ดี - ค่า DO ถึงแม้ว่าค่า DO จะไม่ปรากฎในรายการค่ามาตรฐานน้ำทิ้งก็ตาม แต่ DO ก็มีความหมายที่สำคัญมากอีกตัวหนึ่งสำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย ถ้าค่า DO >= 3mg/l ขึ้นไปคือ น้ำดี แต่ถ้าค่า DO ต่ำกว่า 2 mg/l เมื่อใดคือ น้ำเสีย ยิ่งต่ำมากๆ ก็คือน้ำเน่าเสีย ไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลาย โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ถ้าไม่มีอากาศออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียเลย จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ ความหมายก็คือ ไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆเลย นี่คือ วิกฤตของน้ำเสีย - ค่า pH ทำให้ทราบถึงความเป็นไปของน้ำเสียในระบบว่า น้ำเสียแต่ละจุดมีค่าความเป็นกรด-ด่างมากน้อยเพียงใด ถ้าค่า pH ต่ำมากๆ ( เป็นกรดอย่างรุนแรง ) หรือสูงมากๆ ( เป็นด่างหรือเบสแก่ ) จะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายตายยกบ่อบำบัดได้ เพราะสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ที่นี่..เราให้ความรู้และคำแนะนำคำปรึกษาฟรีๆกับลูกค้าของเราทุกๆท่านที่สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าแบบต่อเนื่อง เพื่อใช้เติมเต็มในระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนี่ยม ลดจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็งให้กับระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนี่ยมด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ตอบโจทย์ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่ผ่านเกณฑ์ ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน ) เพิ่มอัตราการย่อยสลายของเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ลดกากตะกอนส่วนเกิน จะส่งผลให้ค่ามาตรฐาน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น ซื้อสินค้าจากที่นี่เหมือนมีที่ปรึกษาพิเศษอยู่ใกล้ตัว ไม่ต้องจ้างที่ปรึกษาให้สิ้นเปลืองงบประมาณ
ภาพจำลองด้านบนเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + ใช้จุลินทรีย์ทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในระบบอีกชั้นหนึ่ง ตามภาพจำลองโดยปกติทั่วๆไปบ่อรับน้ำเสียบ่อที่ 1 จะไม่มีการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อยมาก เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปในบ่อที่ 1 ( รับน้ำเสีย ) จะเกิดปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียขึ้นทันทีก่อนที่จะผ่านไปยังบ่อเติมอากาศเพื่อทำการย่อยสลายของเสียซ้ำอีกครั้ง จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นใน 2 จุด ซึ่งเป็นการบำบัดซ้ำ ( Double Treatment ) จะส่งผลให้บรรดาของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นกว่าปกติ ( จากระบบเดิมๆ ) และปฏิกิริยาย่อยสลายเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบทำให้กากตะกอนส่วนเกินเหลือน้อยลงในบ่อสุดท้าย ( บ่อตกตะกอน / บ่อพักน้ำทิ้ง ) ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น
ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก และกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) จุลินทรีย์กลุ่มใดบ้างที่มีความสำคัญและบทบาทต่อการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสีย ? 1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดใช้อากาศออกซิเจนเป็นหลัก( Aerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขาดออกซิเจนในการดำรงชีพและการเจริญเติบโตไม่ได้ การขยายเซลล์ให้ได้เป็นจำนวนมากต้องใช้ออกซิเจนและอาหารเสริม ดังนั้น ถ้าการดูแลจุลินทรีย์กลุ่มนี้ทำได้ไม่ดี จะส่งผลให้ระบบบำบัดมีปัญหาเกิดขึ้นทันที จุลินทรีย์มีน้อยและจุลินทรีย์ตายยกบ่อบำบัดได้ง่ายๆ 2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ชนิดไม่ใช้อากาศออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( Anaerobic Bacteria ) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ในธรรมชาติ เราสามารถดึงจุลินทรีย์กลุ่มนี้มาใช้งานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียด้วยการรวมกลุ่มและสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการและขยายผลไปเรื่อยๆแบบไม่มีที่สิ้นสุด การเพาะเลี้ยงและการควบคุมการดูแลรักษาทำได้ง่ายกว่ากลุ่มแรก รวมถึงการเพิ่มปริมาณความหนาแน่นก็สามารถกำหนดได้ง่ายกว่ากลุ่มแรก ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆทุกๆชนิดที่เกิดจากสารอินทรีย์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( Anaerobic bacteria ) โดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสียที่เป็นมลภาวะและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม น้ำเสียนับวันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามการพัฒนาของมนุษย์ที่มีกิจกรรมในแต่ละวันมากมาย ซึ่งจะใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภครวมถึงการใช้น้ำในกิจการอุตสาหกรรมต่างๆในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลกระทบก่อให้เกิดน้ำเสียจากน้ำที่ผ่านการใช้แล้วในแต่ละวันในปริมาณมากตามไปด้วย น้ำเสียต่างๆที่ผ่านการใช้แล้วกฎหมายสิ่งแวดล้อมจะบังคับให้ทุกๆสถานที่ไม่ว่าที่ใดก็ตามต้องทำการบำบัดให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อม เพื่อลดมลภาวะและมลพิษในสิ่งแวดล้อม น้ำเสียไม่มีใครปรารถนาไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ เพราะน้ำเสียจะส่งผลให้พืชและสัตว์ตายได้ง่ายๆ น้ำเสียเกิดขึ้นที่ใดมักจะติดตามมาด้วยการตายของพืชและสัตว์น้ำ ค่า BOD > 100 mg/l น้ำเริ่มเน่าเสีย และ ค่า DO < 1 mg/l น้ำก็เริ่มเน่าเสียเช่นกัน น้ำเสียมีอยู่แทบทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะตามอาคาร บ้านเรือน โรงงาน สถานประกอบการทุกๆแห่ง แต่ส่วนใหญ่ขาดการบำบัดให้เป็นน้ำดีหรือมีการบำบัดแต่ระบบบำบัดไม่สมบูรณ์ ( ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่สมบูรณ์มีมากที่สุดแทบทุกแห่ง ) จึงส่งผลให้น้ำเสียยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง บรรดาน้ำเสียหรือน้ำเน่าเสีย ของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ล้วนต้องพึ่งพาอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายและบำบัดทั้งสิ้น ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ของเสียและน้ำเสียคงล้นโลกไปแล้ว ของเสียบางชนิดใช้เวลาย่อยสลายไม่นาน แต่ของเสียบางชนิดต้องใช้เวลาย่อยสลายเป็นเวลานาน กรณีน้ำเสียหรือน้ำที่เน่าเสียจะใช้เวลาในการบำบัดและย่อยสลายไม่นานมาก ตามปกติของเสียและน้ำเสียโดยทั่วๆไปจะถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ( กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจะมีจุดอ่อนหรือจุดด้อยตรงที่ต้องใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและบำบัดของเสียและน้ำเสีย ถ้าปราศจากซึ่งออกซิเจนแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในน้ำเสียหรือบนบก จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็ไม่สามารถทำงานได้ น้ำเสียและของเสียก็ยังคงไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลาย ซึ่งจะสร้างมลพิษและมลภาวะต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียจึงมาลงเอยที่กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มหรืออีเอ็ม ) ซึ่งสามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียโดยไม่จำเป็นต้องมีออกซิเจน ไม่ว่าในน้ำหรือบนบกก็สามารถทำงานได้ ประการสำคัญกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย ต้องการปริมาณมากเท่าใดก็สามารถทำได้ ซึ่งจะแตกต่างไปจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นมาค่อนข้างยากใช้งบลงทุนค่อนข้างสูง จุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายคล้ายๆกัน ในการรีบูทระบบบำบัดน้ำเสียจึงนิยมนำจุลินทรีย์อีเอ็มมาเป็นตัวตั้งต้นในการเซทระบบให้แอกทีฟมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้ทันที ใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียอย่างไรจึงจะออกมาสมบูรณ์เป็นน้ำดีได้ ? น้ำเสียจะมีสิ่งสกปรกที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์เจือปนหรือปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่สารปนเปื้อนจะเป็นสารอินทรีย์และสารเคมีบางส่วนปะปนกันอยู่ ในบางกรณีอาจทำให้น้ำเสียนั้นเกิดการเน่าเหม็นขึ้นถ้าปริมาณสารอินทรีย์มีมาก ส่งผลให้น้ำเสียนั้นๆยิ่งวิกฤติมากขึ้น น้ำเสียและของเสียที่ปะปนในน้ำเสียนั้นต้องถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และปริมาณจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียต้องมีปริมาณมากกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงจะเอาชนะของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นได้ ของเสียทุกๆอย่างในโลกนี้ ซึ่งรวมทั้งน้ำเสียด้วย ล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการย่อยสลายของเสียต่างๆแทนจุลินทรีย์ได้ในปัจจุบัน น้ำดีหรือน้ำเสียวัดได้จากค่าพารามิเตอร์เช่น ค่า pH , BOD , COD , DO , SS , TTS เป็นต้น ยิ่งค่าออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆมีสูง ( ค่า DO มากกว่า 3 ขึ้นไป ) ยิ่งเป็นการดีและค่าอื่นๆได้มาตรฐานนั่นคือ น้ำดี ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะแปรผันไปตามปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลาย ถ้าในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายจำนวนมาก จะส่งผลต่อค่าพารามิเตอร์ต่างๆเข้าใกล้ค่ามาตรฐาน จะเห็นว่า จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและน้ำเสียเป็นตัวจักรสำคัญในระบบบำบัดน้ำเสียที่จะทำให้น้ำเสียเปลี่ยนเป็นน้ำดีได้ นี่คือความสำคัญของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียอย่าให้ขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายและอย่าให้จุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีน้อยจนเกินไป เพราะจะเกิดปัญหาหลายอย่างติดตามมาในภายหลัง น้ำดีและน้ำเสียสามารถแบ่งแยกได้ด้วยการวัดระดับ BOD (Biochemical Oxygen Demand/Biological Oxidation Demand) ซึ่งเป็นปริมาณของ O2 ที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ อาทิ สารประกอบ Hydrocarbons (น้ำมันเชื้อเพลิง) แอลกอฮอล์ และน้ำตาล เป็นต้น ดังนั้น น้ำที่มีค่า BOD ต่ำคือ น้ำที่ดี เพราะจุลินทรีย์ต้องการ O2 จำนวนน้อยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ สำหรับประเทศไทยค่ามาตรฐานน้ำทิ้งกำหนดไว้ว่าค่า BOD จะต้องไม่เกิน 20 mg/l (มิลลิกรัมต่อลิตร) สำหรับค่ามาตรฐานน้ำทิ้งทั่วๆไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( Anaerobic bacteria ) สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้กับทุกๆระบบ โดยเฉพาะกับระบบที่มีปริมาณจุลินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย ( ระบบเติมอากาศทั่วๆไป ) น้ำเน่าเหม็นและน้ำที่เน่าเสียมีที่มาจากปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อยกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียให้มากขึ้นและปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดเร็วขึ้น ช่วยเสริมจุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ซึ่งเกิดปัญหาบ่อยๆ ในเรื่องของปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียไม่เพียงพอหรือมีปริมาณน้อย ส่งผลให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักมีจำนวนน้อยตามไปด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียในจุดนี้ด้วย เพราะจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไม่ดึงหรือไม่แย่งออกซิเจนจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน จึงไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อระบบบำบัดและกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน
โดยทั่วๆไปตามหลักที่ถูกต้อง น้ำเสียที่ไปจากบ่อเกรอะต้องทำการแยกบ่อบำบัด ( จากน้ำเสียจุดอื่นๆที่มิใช่บ่อเกรอะ ) เพื่อให้ง่ายต่อการบำบัด เพราะน้ำเสียที่ไปจากบ่อเกรอะจะมีทั้งกาก ตะกอนเล็กใหญ่จำนวนมาก ดังนั้น จึงไม่ให้น้ำเสียในส่วนนี้เข้าไปปะปนกับน้ำเสียที่มาจากจุดอื่นๆ เพื่อง่ายต่อการบำบัดและไม่สร้างปัญหาในเรื่องกลิ่น แต่ในความเป็นจริงยังมีการนำน้ำเสียจากทุกๆจุดมารวมไว้ในบ่อเกรอะ โดยเฉพาะอาคารบ้านเรือนรุ่นเก่า หรือรุ่นใหม่ๆก็พบบ่อยๆเช่นกัน อาจจะด้วยพื้นที่มีจำกัดหรือสาเหตุใดก็ตาม แต่จะสร้างปัญหาให้กับเจ้าของบ้านหรืออาคารนั้นๆในภายหลังได้ทุกเมื่อ ทั้งในเรื่องของกลิ่นและของเสียล้นบ่อเกรอะ ต้องสูบส้วมบ่อยๆ บ้านทุกๆหลัง คอนโดทุกๆแห่ง อาคารสำนักงานทุกๆแห่งล้วนต้องมีส้วมหรือชักโครกกันทั้งสิ้น ชักโครกหรือส้วมเป็นจุดที่รับสิ่งปฏิกูลทั้งหลายไปจากมนุษย์ และสิ่งปฏิกูลทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ก็จะถูกลำเลียงไปทิ้งลงที่บ่อเกรอะ ( บ่อรับสิ่งปฏิกูลจากชักโครกหรือส้วม ) ซึ่งของเสียต่างๆจะถูกย่อยสลายด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่มีอยู่ในธรรมชาติ และจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียต่างๆในบ่อเกรอะจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำหน้าที่ย่อยกาก ตะกอนเล็กใหญ่ที่ไปจากมนุษย์ ( ไปจากชักโครก ) ให้มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ( ตามสมการด้านล่าง ) ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของจุลินทรีย์ย่อยสลาย ของเสียต่างๆในน้ำเสียรวมทั้งในบ่อเกรอะจะถูกย่อยสลายแปรเปลี่ยนสภาพไปในที่สุด ภาพด้านล่างเป็นการจำลองกระบวนการย่อยสลายของเสียต่างๆที่เกิดขึ้นในบ่อเกรอะ แต่ปฏิกิริยาย่อยสลายเกิดไม่สมบูรณ์จึงสร้างปัญหาในเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในบ่อเกรอะ ของเสียและสิ่งปฏิกูลต่างๆถูกย่อยสลายได้น้อย จึงเกิดการหมักหมมและเน่าเหม็นเกิดขึ้น
ปัญหาบ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นมาจากสาเหตุใด ? อย่างที่รู้อยู่แล้วว่า บ่อเกรอะเป็นแหล่งรวมของเสียที่เป็นสิ่งปฏิกูลมาจากชักโครกหรือส้วม ของเสียต่างๆจะถูกลำเลียงผ่านท่อลำเลียงของเสีย ( ท่อพีวีซี ) ลงไปยังบ่อเกรอะรับของเสียสิ่งปฏิกูล แล้วของเสียเหล่านี้เดินทางไปไหนต่อ ? ของเสียต่างๆในบ่อเกรอะจะถูกย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย ซึ่งมีกระจัดกระอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติ จุลินทรีย์ที่ทำการย่อยสลายของเสียในบ่อเกรอะ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศออกซิเจนเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียดำรงชีพและการเจริญเติบโต ดังนั้น ในบ่อเกรอะ น้ำเสียในบ่อเกรอะต้องมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียที่มากพอ เพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในบ่อเกรอะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว บ่อเกรอะเป็นจุดที่อับอากาศออกซิเจนหรือแทบจะไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียในบ่อเกรอะเลย จึงส่งผลให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถดำรงชีพและเจริญเติบโตย่อยสลายของเสียในบ่อเกรอะได้ หรือย่อยสลายของเสียได้น้อยมาก จึงส่งผลให้ของเสียสิ่งปฏิกูลต่างๆในบ่อเกรอะเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายไม่ทัน ) ตามมาด้วยเกิดการเน่าเสียเน่าเหม็นจากสิ่งปฏิกูลทั้งหลายส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง นี่คือที่มาของกลิ่นเน่าเหม็นในบ่อเกรอะ จะทำการแก้ไขปัญหาบ่อเกรอะเหม็นได้อย่างไร ? บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นมาจากของเสียสิ่งปฏิกูลต่างๆเกิดการเน่าเสีย เพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียในบ่อเกรอะมีปริมาณน้อยกว่าของเสียที่เกิดขึ้น จึงส่งกลิ่นเน่าเหม็นติดตามมา วิธีการแก้ไขก็ด้วยการเพิ่มหรือเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเข้าไปในระบบคือบ่อเกรอะ รวมทั้งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นเน่าเหม็นในบ่อเกรอะได้ ถ้าปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีมากเพียงพอต่อการย่อยสลายของเสียที่มีอยู่ในบ่อเกรอะก็จะไม่เกิดปัญหากลิ่นเน่าเหม็นเกิดขึ้น การเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทำได้ค่อนข้างยาก เพราะน้ำเสียในบ่อเกรอะจะมีกลิ่นแรงมาก ( จากสิ่งปฏิกูลทั้งหลายที่มาจากชักโครก) ถ้าใช้เครื่องเติมอากาศลงไปในบ่อเกรอะจะเกิดปัญหากลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะฟุ้งกระจายมากกว่าเดิม ดังนั้น จึงต้องหากลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายมาสำรองทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนที่ทำงานย่อยสลายไม่ได้ เพื่อทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆและการกำจัดกลิ่นในบ่อเกรอะ
ภาพบนเป็นการจำลองกระบวนการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติพิศษในการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆรวมทั้งกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะไม่ไปแย่งหรือดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ทำงานย่อยสลายของเสียได้ทั้งในสภาวะที่ไร้ออกซิเจนและมีออกซิเจน ( ในน้ำเสียจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนก็ได้ ) นี่คือจุดเด่นๆของจุลินทรีย์หอมคาซาม่าที่แตกต่างจากจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆ การเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายและกำจัดกลิ่นควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตราบใดที่ยังมีของเสียอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งจะช่วยทั้งการลดกลิ่น ดับกลิ่น ย่อยสลายของเสียต่างๆในบ่อเกรอะ จะส่งผลให้บ่อเกรอะไม่เต็มง่าย ( ส้วมไม่เต็มง่าย ) และข้อควรปฏิบัติอีกประการหนึ่งก็คือ ควรมีการสูบบ่อเกรอะอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อนำกาก ตะกอน ตะกรัน ไปกำจัดทิ้ง เป็นการลดปริมาณของเสียและสิ่งปฏิกูลต่างๆในบ่อเกรอะให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยในเรื่องการลดมลภาวะและมลพิษทางสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านหรืออาคารสำนักงาน ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายทุกๆคน เซฟสิ่งแวดล้อมซึ่งเท่ากับเซฟโลกไปในตัว จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) แกลลอนขนาด 20 ลิตร ( มีขนาดเดียว ) ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ ปัญหาการบำบัดน้ำเสียของอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมส่วนใหญ่คือ ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด ซึ่งอาจจะไม่ผ่านเกณฑ์เป็นบางค่า เช่น ค่า BOD , TKN , S เป็นต้น หรือในคอนโดบางแห่ง อาจจะมีค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านหลายๆค่าพร้อมๆกัน ซึ่งอาจจะติดตามมาด้วยการถูกปรับจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสิ่งแวดล้อมของประเทศ มีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่สมบูรณ์ ระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโดมีปัญหา กลิ่นเหม็นจากบ่อเกรอะฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ จุลินทรีย์ย่อยสลายในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อยทำให้เกิดน้ำเน่าเหม็น ปัญหาน้ำเสียในอาคาร บ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama )บำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นในเวลาเดียวกัน เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
[[ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุดมาจากแหล่งใด ? คลิกที่นี่.. ]]
|