จุลินทรีย์ที่ใช้บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย
สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย เป็นตัวจักรสำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบ เกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่ใช้บำบัดน้ำเสีย หรือ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน บรรดาของเสียทั้งหมดทั้งมวลบนโลกใบนี้ ซึ่งรวมถึงน้ำเสียและของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย ล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น แต่ต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักหรือกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็ถือว่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้บำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น เพียงแต่จะใช้ประโยชน์จากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากกว่ากันเท่านั้น ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) แต่โดยส่วนใหญ่จะนิยมดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนมาใช้งานมากที่สุด จุลินทรีย์ที่ใช้บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ไม่ใช่จุลินทรีย์ทุกๆชนิดสามารถใช้บำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้ สำหรับจุลินทรีย์ที่ใช้บำบัดน้ำเสียหรือจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียนั้น จะต้องเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้คือ 1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic Bacteria ) 2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic Bacteria ) จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้จะกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ การที่จะทำให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้รวมตัวกันเป็นกลุ่มในปริมาณมากจำเป็นต้องออกแบบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและมีอาหารเลี้ยงอย่างเพียงพอ จึงจะทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียได้ ดังนั้น จึงต้องมีการออกแบบระบบบ่อบำบัดน้ำเสียขึ้นมา เพื่อดึงกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียมาใช้งานในระบบบำบัดที่ออกแบบไว้ สำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียที่นิยมนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบมากที่สุดก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เพราะออกซิเจนหาได้ง่ายและมีปริมาณมากบนโลก จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะทำงานย่อยสลายได้ดีถ้ามี อาหารคือสารอินทรีย์ต่างๆในน้ำเสียและอากาศออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย ดังนั้น ในน้ำเสียจะขาดออกซิเจนไม่ได้ หรือมีออกซิเจนน้อยก็ไม่ได้ เพราะถ้ามีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียน้อย ก็จะส่งผลให้มีปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมีน้อยตามไปด้วย ของเสียต่างๆในน้ำเสียก็จะถูกย่อยสลายน้อยตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงต้องมีการเติมออกซิเจนลงในน้ำเสีย จึงเป็นที่มาของการเติมอากาศลงในบ่อบำบัดน้ำเสีย ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียจะเกิดขึ้นในบ่อเติมอากาศมากที่สุด ก็เพราะว่าบ่อเติมอากาศมีปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนมากที่สุดนั่นเอง ขยายความจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายดังต่อไปนี้เป็นหลัก 1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายตัว ( Aerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยอาหารกับออกซิเจน ขาดออกซิเจนหรือออกซิเจนมีน้อยก็มีผลกระทบต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตโดยตรง ออกซิเจนและอาหารจะเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ถ้าขาดออกซิเจนและอาหารจะทำงานย่อยสลายของเสียไม่ได้ และตายได้ตลอดเวลา ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะบ่อเติมอากาศสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) จะต้องมีออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียอย่างเพียงพอสำหรับให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้นำไปใช้ในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ แทบจะทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียจะนิยมใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลักในการบำบัดน้ำเสียในปัจจุบัน เหตุผลก็เพราะว่า เราสามารถดึงจุลินทรีย์กลุ่มนี้จากธรรมชาติมาใช้งานได้ง่ายกว่า เพราะจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ เพียงแต่อยู่แบบกระจัดกระจายไม่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ดังนั้น จึงต้องออกแบบระบบบำบัดและสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ เพื่อดึงมารวมไว้ในที่เดียวกันให้มากที่สุด จุดอ่อนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ถ้ามีปัญหาในเรื่องของสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์กลุ่มนี้ทันที อาจจะส่งผลให้จุลินทรีย์ในระบบลดลงหรืออาจตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ เช่น ในกรณีที่น้ำเสียมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียต่ำมากๆ ( ค่า DO ต่ำ ) จะส่งผลให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ตลอดเวลา หรือ ในกรณีที่ค่า pH ความเป็นกรด-ด่างสูงมากๆ หรือ มีค่าต่ำมากๆ ( เป็นกรด ) จะส่งผลให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ทันทีเช่นกัน นี้คือปัญหาข้อจำกัดและจุดอ่อนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้บางส่วน จึงต้องมีการควบคุมและดูแลสภาวะแวดล้อมในระบบบำบัดให้ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาและเลี้ยงดูจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ให้อยู่ในระบบให้ได้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นจุดยากของระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับระบบในด้านต่างๆ ปัญหาทางด้านเทคนิคของระบบ ล้วนมีผลต่อการดำรงอยู่และขยายตัวของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ 2. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( Anaerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีความแตกต่างและความเหมือนบางอย่างกับจุลินทรีย์กลุ่มที่ 1 โดยมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆ ( บำบัดน้ำเสีย )ได้เช่นเดียวกันกับกลุ่มที่ 1 แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องของปฏิกิริยาการย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนเหมือนกลุ่มแรก ออกซิเจนไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ และจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีความศักยภาพทนกับแรงต้านทานในสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตได้ดี เช่น ในน้ำเสียไม่มีค่าออกซิเจนละลายอยู่เลย หรือ ค่า pH ความเป็นกรดด่างต่ำมากหรือสูงมากๆ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็สามารถทนกับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้และทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ เป็นจุดที่แตกต่างกับจุลินทรีย์กลุ่มที่ 1 ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน ) สำหรับข้อเสียหรือจุดด้อยของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ดึงมาใช้งานจากธรรมชาติได้ค่อนข้างยาก อยู่แบบกระจัดกระจายเช่นเดียวกันกับกลุ่มแรก ไม่ค่อยรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ควบคุมได้ค่อนข้างจะยากเช่นเดียวกันกับกลุ่มแรก ดึงมาใช้งานย่อยสลายของเสียได้ยากกว่ากลุ่มแรก ดังนั้น จึงต้องทำการสังเคราะห์จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) นี่คือ ความแตกต่างของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายทั้งสองกลุ่มนี้บางส่วน จะเห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละกลุ่ม เราสามารถเสริมจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็งของแต่ละกลุ่มได้ ในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด กระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นตอนสุดท้าย จะอยู่ที่การย่อยสลายของจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งเป็นตัวแปรสถานะของสสารต่างๆ ( ของเสีย ) ที่เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียเปลี่ยนไปเป็น น้ำ + พลังงาน + CO2 ( ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ) ซึ่งเป็นกระบวนการย่อยสลายของเสียขั้นสุดท้าย ส่งผลให้ของเสียต่างๆแปรสภาพเปลี่ยนไปเป็นตามปฏิกิริยาสมการจำลองด้านล่าง ( ของเสียเปลี่ยนสภาพ )
นี่คือที่มาของจุลินทรีย์ที่นำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดเป็นหลัก ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะผ่านเกณฑ์กำหนดหรือไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดก็อยู่ตรงที่การควบคุมปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ดีหรือมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเป็นตัวจักรและตัวแปรสสารต่างๆที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นตอนสุดท้ายในทุกๆระบบบำบัด ระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียในแต่ละแห่งนั้น จำเป็นต้องสร้างระบบบำบัดขึ้นมา ( บ่อบำบัดน้ำเสีย ) เพื่องรองรับน้ำเสียที่มีอยู่ทั้งหมด ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่นิยมใช้แบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS จะมีบ่อเติมอากาศและบ่อตกตะกอนเป็นจุดสำคัญในระบบนี้ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศยังมีการแยกย่อยๆเป็นระบบแบบต่างๆอีกหลายแบบด้วยกัน แต่ทุกๆระบบบำบัด ( ใน 6 ระบบบำบัด ) ล้วนใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น ระบบบำบัดน้ำเสียออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำเสียและเป็นบ้านให้กับจุลินทรีย์ได้อยู่อาศัยเพื่อกินของเสียต่างๆ ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) ให้มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆและหมดสภาพไปในที่สุดตามโมเดลจำลองปฏิกิริยาการย่อยสลายด้านล่างนี้จากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน
ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) โดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ผลจากปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะได้ผลผลิตออกมาเป็น น้ำ + พลังงาน + ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) นี่คือ ปฏิกิริยาการแปลี่ยนแปลงสถานะของสสารต่างๆ ( ของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย )หรือการแปรสภาพของสสารนั่นเอง ซึ่งต้องอาศัยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายเป้นตัวกลางในการย่อยสลายสสารเหล่านี้ให้แปรเปลี่ยนสภาพได้ตามสมการด้านบน นี่คือบทบาทที่สำคัญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจน อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ต่อไปนี้จึงจะขอกล่าวถึงบทบาทของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะดำรงชีพได้ทั้งในสภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน แต่จะจัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน เพื่อการแบ่งแยกกลุ่มได้ชัดเจนมากขึ้น จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้มีอยู่กระจัดกระจายทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศเหมือนกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน และทำงานย่อยสลายหรือทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆได้เหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน เพียงแต่จุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยานี้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ดังนั้น ไม่ว่าในน้ำเสียนั้นๆจะมีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียหรือไม่ก็ตาม กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายได้ตามปกติไม่มีผลกระทบใดๆต่อการย่อยสลายของเสีย ซึ่งจะไม่เหมือนกับจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งขาดอากาศออกซิเจนไม่ได้ นี่คือความแตกต่างของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ซึ่งแตกต่างกันในส่วนที่ใช้ออกซิเจนกับไม่ใช้ออกซิเจนเท่านั้น ส่วนหน้าที่ในการย่อยสลายจะทำหน้าที่เหมือนกัน ดังนั้น จึงสามารถทดแทนกันได้เมื่อขาดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในทั้งสองกลุ่มนี้ เพราะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายทั้งคู่ ในบ่อบำบัดน้ำเสียหรือในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อสลายที่ใช้ออกซิเจนน้อย สามารถดึงเอากลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนมาทดแทนได้ตลอดเวลา เพราะทำหน้าที่เหมือนกันคือ การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย จุดใดในบ่อบำบัดน้ำเสียมีปัญหาออกซิเจนเข้าไปไม่ถึง ก็สามารถเอากลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนไปทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียแทนที่ได้ทันที หรือในกรณีที่เครื่องเติมอากาศเสีย หรือการเคิมอากาศไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ก็สามารถนำจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนไปใช้ได้ทันที จุดใดที่มีน้ำเน่าเหม็น ( น้ำเสียที่ไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ ) ก็สามารถนำจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนทำงานย่อยสลายทดแทนได้ทันที นี่คือเรื่องราวของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ) จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย คือ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ในด้านการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่น ( จุลินทรีย์อีเอ็มหรือ EM เดิม ) เราได้พัฒนาให้มีกลิ่นหอมตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อตอบโจทย์การกำจัดกลิ่นเน่าเหม็น กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียอีกทางหนึ่ง ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ จึงเป็นจุดเด่นที่เพิ่มขึ้นของจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย และการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่เกิดขึ้นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่มาของจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) การบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งต้องใช้จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเท่านั้น ซึ่งจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้จะมีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียคาซาม่า หรือจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย เราได้พัฒนากลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดไม่ใช้ออกซิเจนให้มีกลิ่นหอมเพิ่มขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งตากปกติจุลินทรีย์จะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติใดๆ เพื่อการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์กลุ่มนี้ให้มากขึ้นและตอบโจทย์ได้ดีในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ โดยเฉพาะน้ำเสียหรือน้ำเน่าเสียที่วิกฤตหนัก ในน้ำที่เน่าเสียไม่มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายเลย ( เพราะน้ำที่เน่าเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำ ) จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียคาซาม่าจึงตอบโจทย์ในปัญหานี้ได้ดี เพราะจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ในขณะที่ทำหน้าที่บำบัดกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นน้ำที่เน่าเหม็นในน้ำที่เน่าเสียไปในตัวอีกหน้าที่หนึ่งในเวลาเดียวกัน ซึ่งได้ประโยชน์สองต่อในเวลาเดียวกันคือ การบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นน้ำที่เน่าเสีย ตามสมการจำลองการทำงานของจุลินทรีย์หอมคาซาม่าด้านล่าง
น้ำเสียมีอยู่แทบทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะตามอาคาร บ้านเรือน โรงงาน สถานประกอบการทุกๆแห่ง แต่ส่วนใหญ่ขาดการบำบัดให้เป็นน้ำดีหรือมีการบำบัดแต่ระบบบำบัดไม่สมบูรณ์ ( ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่สมบูรณ์มีมากที่สุดแทบทุกแห่ง ) จึงส่งผลให้น้ำเสียยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง บรรดาน้ำเสียหรือน้ำเน่าเสีย ของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ล้วนต้องพึ่งพาอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายและบำบัดทั้งสิ้น ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ของเสียและน้ำเสียคงล้นโลกไปแล้ว ของเสียบางชนิดใช้เวลาย่อยสลายไม่นาน แต่ของเสียบางชนิดต้องใช้เวลาย่อยสลายเป็นเวลานาน กรณีน้ำเสียหรือน้ำที่เน่าเสียจะใช้เวลาในการบำบัดและย่อยสลายไม่นานมาก ตามปกติของเสียและน้ำเสียโดยทั่วๆไปจะถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ( กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจะมีจุดอ่อนหรือจุดด้อยตรงที่ต้องใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและบำบัดของเสียและน้ำเสีย ถ้าปราศจากซึ่งออกซิเจนแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในน้ำเสียหรือบนบก จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็ไม่สามารถทำงานได้ น้ำเสียและของเสียก็ยังคงไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลาย ซึ่งจะสร้างมลพิษและมลภาวะต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียจึงมาลงเอยที่กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มหรืออีเอ็ม ) ซึ่งสามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียโดยไม่จำเป็นต้องมีออกซิเจน ไม่ว่าในน้ำหรือบนบกก็สามารถทำงานได้ ประการสำคัญกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย ต้องการปริมาณมากเท่าใดก็สามารถทำได้ ซึ่งจะแตกต่างไปจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นมาค่อนข้างยากใช้งบลงทุนค่อนข้างสูง จุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายคล้ายๆกัน ในการรีบูทระบบบำบัดน้ำเสียจึงนิยมนำจุลินทรีย์อีเอ็มมาเป็นตัวตั้งต้นในการเซทระบบให้แอกทีฟมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้ทันที บำบัดน้ำเสียอย่างไรจึงจะออกมาสมบูรณ์เป็นน้ำดีได้ ? คำตอบสั้นๆง่ายๆก็คือ ปริมาณจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียต้องมีปริมาณมากกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงจะเอาชนะของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นได้ ของเสียทุกๆอย่างในโลกนี้ ซึ่งรวมทั้งน้ำเสียด้วย ล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการย่อยสลายของเสียต่างๆแทนจุลินทรีย์ได้ในปัจจุบัน น้ำดีหรือน้ำเสียวัดได้จากค่าพารามิเตอร์เช่น ค่า pH , BOD , COD , DO , SS , TTS เป็นต้น ยิ่งค่าออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆมีสูง ( ค่า DO มากกว่า 3 ขึ้นไป ) ยิ่งเป็นการดีและค่าอื่นๆได้มาตรฐานนั่นคือ น้ำดี ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะแปรผันไปตามปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลาย ถ้าในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายจำนวนมาก จะส่งผลต่อค่าพารามิเตอร์ต่างๆเข้าใกล้ค่ามาตรฐาน จะเห็นว่า จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและน้ำเสียเป็นตัวจักรสำคัญในระบบบำบัดน้ำเสียที่จะทำให้น้ำเสียเปลี่ยนเป็นน้ำดีได้ นี่คือความสำคัญของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียอย่าให้ขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายและอย่าให้จุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีน้อยจนเกินไป เพราะจะเกิดปัญหาหลายอย่างติดตามมาในภายหลัง น้ำดีและน้ำเสียสามารถแบ่งแยกได้ด้วยการวัดระดับ BOD (Biochemical Oxygen Demand/Biological Oxidation Demand) ซึ่งเป็นปริมาณของ O2 ที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ อาทิ สารประกอบ Hydrocarbons (น้ำมันเชื้อเพลิง) แอลกอฮอล์ และน้ำตาล เป็นต้น ดังนั้น น้ำที่มีค่า BOD ต่ำคือ น้ำที่ดี เพราะจุลินทรีย์ต้องการ O2 จำนวนน้อยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่าค่า BOD จะต้องเท่ากับหรือไม่เกิน 20 mg/l (มิลลิกรัมต่อลิตร) เมื่อค่า BOD ต่ำกว่า 20 mg/l ค่า DO มักจะสูงกว่า 3 ขึ้นไป
ภาพบนเป็นภาพจำลองการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่ม ( ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ) คือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนตามธรรมชาติ และ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนที่สังเคราะห์ขึ้น ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ซึ่งเป็นการบำบัดและย่อยสลาย 2 ชั้นหรือสองต่อ ( Double Treatment ) ซึ่งจะส่งผลให้ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากยิ่งขึ้นและเร็วขึ้น จะทำให้กากตะกอนส่วนเกิน ( Excess Sludge ) เหลือน้อยในบ่อตกตะกอน ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้กับทุกๆระบบ โดยเฉพาะกับระบบที่มีปริมาณจุลินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย ( ระบบเติมอากาศทั่วๆไป ) น้ำเน่าเหม็นและน้ำที่เน่าเสียมีที่มาจากปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อยกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น การดับกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง จุลินทรีย์คาซาม่าจะเข้าไปกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นเหล่านี้ รวมทั้งการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา จุลินทรีย์หอมคาซาม่าประกอบไปด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายกลุ่มหลากหลายสายพันธุ์ การสังเคราะห์จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ เพื่อนำไปใช้งานแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นประเภทใดได้บ้าง? จุลินทรีย์หอม-kasama ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ ( สารที่มาจากพืชและสัตว์ ) 2. กลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ กลิ่นเหม็นส้วม กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ 3. กลิ่นเหม็นจากปัสสาวะและอุจจาระทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด 4. กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากการเก็บของเสียต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นมา 5. กลิ่นคาวเลือดหรือคาวปลาในโรงงานเชือดไก่ เชือดสุกร หรือโรงงานเชือดปลา เป็นต้น 6. กลิ่นจากบ่อขยะ หรือกลิ่นจากถังขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ 7. กลิ่นเหม็นจากท่อระบายน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็นจากน้ำที่เน่าเสีย 8. กลิ่นเน่าเหม็นจากไขมัน จากบ่อดักไขมันตามร้านอาหารหรือโรงอาหาร เป็นต้น 9. กลิ่นเหม็นจากการหมักพืชและสัตว์ 10. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด กลิ่นใดที่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าดับไม่ได้หรือกำจัดกลิ่นไม่ได้ ? กลิ่นที่เกิดขึ้นจากสารเคมีจำพวกกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์ทำลายหรือกัดกร่อนสูง ที่นี่...จำหน่ายจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเน่าเสีย ขายจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ขายจุลินทรีย์หอมดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสีย ในนามยี่ห้อหรือแบรนด์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ มีกลิ่นหอมทันทีที่เริ่มใช้งาน จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) แกลลอนขนาด 20 ลิตร ( มีขนาดเดียว ) ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ มีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียล้มเหลวบ่อยๆ บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเน่าเหม็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร บ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น คิดถึงและใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
|