
![]() |
จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ขอบคุณทุกๆท่านที่กรุณากด แชร์ ( Share ) ให้กับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการทำ SEO ของเว็บไซต์ กำจัดไนโตรเจนหรือลดค่า TKN ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถกำจัดไนโตรเจนได้แล้ว เพราะเราได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ตัวที่ลดค่า TKN ในน้ำเสียได้ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเพียงเท่านั้น
ที่นี่..เราวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาแนะนำให้กับลูกค้าที่ซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปจากเรา ให้ใช้งานจุลินทรีย์ในแต่ละเรื่องอย่างถูกต้อง เช่น การนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียใช้อย่างไร ใช้ในจุดใด ใช้ในปริมาณเท่าใด ปรับให้เข้ากับบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่ลูกค้ามีอยู่อย่างไร หรือกรณีการนำจุลินทรีย์ไปใช้ในการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น ) จะใช้อย่างไร ใช้ในจุดไหน ใช้ปริมาณเท่าใด ฯลฯ การใช้จุลินทรีย์อย่างตรงจุดและตรงประเด็น การใช้งานจุลินทรีย์เป็นและใช้ถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า เราปฏิบัติเช่นนี้ บำบัดน้ำเสียแบบมืออาชีพ ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ใช้เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)และการบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)ในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมเจ้าแรกของประเทศไทย จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คือ อะไร ? จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย(จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย)คือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ซึ่งมีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ในการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบจะต้องเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเหล่านี้ในทุกๆครั้ง และจะต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเพียงเท่านั้น จุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆที่ไม่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียก็ไม่สามารถนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียในระบบได้ ดังนั้น ในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัดจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย )มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มดังต่อไปนี้คือ 1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะขาดออกซิเจนไม่ได้อย่างเด็ดขาด ดำรงชีพโดยใช้ออกซิเจน ในการบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่แทบทุกๆระบบบำบัดจะนิยมใช้งานจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้เป็นหลัก เพราะสามารถดึงมาจากธรรมชาติได้ง่ายกว่ากลุ่มที่ 2 ด้านล่าง เพียงออกแบบสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ ต้องมีอาหาร ( ของเสีย ) และอากาศออกซิเจนหล่อเลี้ยงอย่างต่อเนื่องจุลินทรีย์กลุ่มนี้จึงจะอยู่ได้ 2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย จุลินทรีย์กลุ่มนี้ไม่ต้องการใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย อยู่ได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนและมีออกซิเจน มีอยู่กระจัดกระจายทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ไม่ค่อยนิยมนำมาใช้บำบัดน้ำเสียกันเท่าใดนัก เพราะค่อนข้างหาได้ยากและอยู่อาศัยไม่ค่อยเป็นกลุ่มก้อนเหมือนกลุ่มแรก ( รวมตัวกันได้ยาก ) ดึงจากธธรมชาติมาใช้งานค่อนข้างยากกว่ากลุ่มที่ใช้ออกซิเจน ในบ่อบำบัดน้ำเสียก็มีจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้อยู่เบาบางเล็กน้อย ไม่เพียงพอกับปริมาณของเสียในน้ำเสียที่มีจำนวนมาก ซึ่งเกินศักยภาพที่จะย่อยสลายของเสียเหล่านี้ได้ทั้งหมด ในปัจจุบันจึงได้มีการรวบรวมและสังเคราะห์กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายชนิดไม่ใช้ออกซิเจนขึ้นมาในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งเป็นการเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้ดียิ่งขึ้น นำไปทดแทนและแก้ปัญหาในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดที่มีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมีน้อย ทำไมต้องใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ? ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีนั้น จำเป็นต้องมีตัวจักรสำคัญในกระบวนการบำบัดของเสียต่างๆในน้ำเสียขั้นขั้นสุดท้าย ซึ่งตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียก็คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียนั่นเอง ซึ่งยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายกลุ่มนี้ได้ในปัจจุบัน การบำบัดน้ำเสียด้วยสารเคมีก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย แต่ในขั้นตอนสุดท้ายของการบำบัดน้ำเสียที่สมบูรณ์แบบก็ต้องใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลาย ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีนั้น ต้องทำให้ของเสียที่เป้นสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆหายไปจากน้ำเสีย จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายจะทำหน้าที่แปรสภาพสสารต่างๆ ( ของเสีย ) ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียไปเป็น น้ำ + พลังงาน + ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) ตามสมการจำลองด้านล่างนี้ สมการจำลองด้านบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียกลุ่มนี้จะแปรสภาพของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียโดยแปรสภาพของเสียต่างๆไปเป็นตามสมการด้านบน ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก เพราะดึงมาใช้งานบำบัดน้ำเสียได้ง่ายมีอยู่แบบกระจัดกระจายทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมปัจจัยต่างๆให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ถ้าไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่น ค่าออกซิเจนละลายในน้ำเสียต่ำมาก ( ค่า DO ต่ำ ) หรือแทบไม่มีออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆเลย จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะอยู่ไม่ได้ ( ตายยกบ่อบำบัด ) เพราะขาดออกซิเจนไม่ได้ หรือกรณีที่ค่า pH ต่ำมากๆหรือสูงมากๆ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็จะมีปัญหาตายยกบ่อบำบัดได้เช่นกัน ดังนั้น จึงต้องมีการดูแลและควบคุมปัจจัยต่างๆที่จะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียกลุ่มนี้ในระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นจุดอ่อนหรือจุดด้อยของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะเป็นระบบบำบัดแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) ระบบนี้จะมีการเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสียที่จะทำการบำบัด วัตถุประสงค์ของการเติมอากาศลงในน้ำเสียก็เพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้งานในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียหรือบำบัดน้ำเสียนั่นเอง ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศบางแห่งยังมีข้อด้อยตรงที่การเติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทุกๆจุดของบ่อเติมอากาศ ส่งผลให้จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนไม่ไปย่อยสลายของเสียในจุดที่ไม่มีออกซิเจนหรือมีปริมาณออกซิเจนน้อย ทำให้ของเสียบางส่วนไม่ได้รับการบำบัดหรือย่อยสลายโดยจุลินทรีย์กลุ่มนี้ มีผลทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งหลายๆค่าไม่ผ่านเกณฑ์ เช่น ค่า BOD , SS , TDS เป็นต้น เป็นจุดอ่อนของระบบนี้ที่ส่วนใหญ่มองข้าม การเติมอากาศในบ่อบำบัดหรือบ่อเติมอากาศจะต้องเติมให้ทั่วถึงทุกๆจุดของบ่อเติมอากาศ เครื่องเติมอากาศต้องมีกำลังมากพอกับปริมาณน้ำเสีย ถ้าออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆมีปริมาณน้อยหรือลดลงเมื่อใด กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนก็จะหายไปหรือตายยกบ่อได้ตลอดเวลา ผลที่ติดตามมาก็คือน้ำเน่าเหม็นส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ นั่นก็คือ ค่า DO ต่ำมากๆ ส่งผลให้ค่า BOD เกิน 100 mg/l ทันที ต้องทำการแก้ไขและปรับปรุงระบบ ( Reboot ระบบใหม่ ) เพื่อให้ระบบกลับมาทำการบำบัดน้ำเสียได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งตามเกณฑ์ที่กำหนด จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย( Anaerobic Bacteria ) เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ตอบโจทย์การแก้ปัญหาจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน กรณีที่เกิดปัญหาขึ้นในระบบบำบัด เช่น ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีน้อย หรือในระบบบำบัดจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อบำบัด ฯลฯ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถแก้ปัญหาและทดแทนการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนได้ทันที ซึ่งเป็นการปิดจุดอ่อนหรือจุดด้อยของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ระบบบำบัดก็ยังสามารถทำงานย่อยสลายได้อย่างต่อเนื่อง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าทำงานได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนหรือมีออกซิเจน ทั้งค่า pH ต่ำหรือสูงก็สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นจุดแข็งที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนไม่มี จึงเป็นกำลังเสริมและเพิ่มประสทธิภาพให้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ การบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเร็วขึ้น ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าที่ไม่ใช้ออกซิเจน ของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียจะถูกแปรสภาพจากสสารหายไปจากน้ำเสียตามสมการด้านบน ซึ่งเป็นผลงานของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายทั้งสองกลุ่มนี้ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าถูกออกแบบมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสีย และการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่เกิดจากสารอินทรีย์ เป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีปรโยชน์หลายๆสายพันธุ์นำมาไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งต้องทำการสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ปริมาณตามความต้องการและนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีอยู่กระจัดกระจายทั่วๆไปในธรรมชาติ ช่วยเสริมการย่อยสลายของเสียกรณีที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเข้าไปไม่ถึง เพราะไม่มีออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าทำงานย่อยสลายของเสียได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศหรือมีอากาศก็ได้ ดังนั้น ในน้ำเสียมีออกซิเจนน้อยหรือไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าใช้บำบัดน้ำเสียอย่างไร ? ในการใช้จุลินรีย์หอมคาซาม่าไปบำบัดน้ำเสีย ซึ่งสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( AS ) ที่มีปัญหาบ่อยๆ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเป็นประจำ เพราะมีปัญหาในระบบทางด้านเทคนิคและด้านอื่นๆ การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเหมาะสำหรับระบบที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ 1. ในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียน้อย สำหรับปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมีมากหรือมีน้อย สังเกตุเบื้องต้นทางกายภาพจากปริมาณของเสียต่างๆที่ยังไม่ถูกย่อยสลาย โดยเฉพาะในบ่อพักน้ำทิ้ง ( บ่อสุดท้าย ) ค่า BOD , SS , TDS ที่ยังมีค่าสูงไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง ต่อมาก็คือมีปัญหากลิ่นเน่าเหม็นเกิดขึ้น รวมทั้งสีของน้ำเสียที่มีสีดำไม่ตกตะกอน ข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้จะทำให้รู้ว่าในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดน้ำเสียมีปัญหาปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมีน้อย ( เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของเสียและน้ำเสีย ) จึงต้องมีการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเข้าไปในระบบ 2. ในระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหาเครื่องเติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อเติมอากาศ ซึ่งอาจจะมาจากเครื่องเติมอากาศเก่า กำลังไม่เพียงพอสำหรับน้ำเสีย เครื่องเติมอากาศเสียบ่อยๆ การเดินเครื่องเติมอากาศน้อยไปเพราะกลัวสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า ฯลฯ จะส่งผลให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนมีปริมาณน้อยลง เพราะสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยในการเจริญเติบโตและการดำรงชีพของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ จึงทำให้ระบบมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อย ต้องเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าไปในระบบนั้นๆ 3. จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในระบบถูกทำลายตายยกบ่อบำบัด ซึ่งจะรับรู้ได้จากน้ำเสียในบ่อบำบัดเริ่มส่งกลิ่นเน่าเหม็นรุนแรงมากขึ้น จุลินทรีย์ย่อยสลายถูกทำลายอาจจะมาจากสาเหตุได้รับสารเคมีบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัด เช่น การใช้โซดาไฟ การใช้กรดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง เป็นต้น หรือกรณีที่น้ำเสียมีสภาวะเป็นกรดสูงมากๆ ( ค่า pH ต่ำมากๆ ) หรือน้ำเสียมีความเป็นด่างสูงมาก ( ค่า pH สูงมากๆ ) จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทนกับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ และสามารถตายยกบ่อบำบัดได้ทันที จึงต้องมีการเคิมจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าไปในระบบ 4. มีการ Reboot ระบบบำบัดน้ำเสียใหม่ หรือมีการทำความสะอาดระบบบำบัดน้ำเสียบ่อบำบัดน้ำเสียทั้งหมด เพื่อทำการรีบูทระบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียได้ดียิ่งขึ้น ในระบบจะต้องมีจุลินทรีย์ย่อยสลายตั้งต้นเพื่อ RUN ระบบบำบัดใหม่ 5. ในบ่อพักน้ำทิ้งหรือบ่อสุดท้ายก่อนปล่อยน้ำเสียที่ทำการบำบัดทิ้งออกสู่สาธารณะ น้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน กรณีเช่นนี้ต้องดึงน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายนี้ไปทำการบำบัดซ้ำใหม่ ( Retreatment ) อาจจะมาจากสาเหตุปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบมีน้อย ดังนั้น ต้องเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าไปในระบบ 6. ในบ่อรับน้ำเสียรวม ( บ่อที่ 1 ) เริ่มมีปัญหาในเรื่องของกลิ่นไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ในบ่อนี้จะมีของเสียมากที่สุด เพราะเป็นจุดรับน้ำเสียรวมทั้งหมดของระบบ แต่ในบ่อนี้จะมีปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเบาบางมีปริมาณน้อย จึงทำให้เกิดวิกฤตน้ำเน่าเหม็นขึ้น การแก้ไขปัญหาจึงต้องเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายลงในบ่อนี้ให้มากเพียงพอกับปริมาณขงเสียที่มีอยู่จริง กรณีคอนโด อพาร์ทเม้นท์ โรงแรมหลายๆแห่งพบว่ามีการต่อน้ำเสียจากบ่อเกรอะมาเข้ารวมกันกับบ่อรับน้ำเสียรวมบ่อที่ 1 นี้ ยิ่งสร้างปัญหาในเรื่องของกลิ่นมากยิ่งขึ้น ตามหลักการที่ถูกต้องน้ำเสียและของเสียในบ่อเกรอะต้องแยกออกจากกันกับน้ำเสียรวม กรณีที่มีการต่อน้ำเสียจากบ่อเกรอะตรงเข้ากับบ่อรับน้ำเสียรวม จะสร้างปัญหาให้กับระบบบำบัด ทั้งปัญหาในเรื่องกลิ่น และปัญหาค่า BOD , SS , TDS สูงกว่าปกติ เพราะในบ่อเกรอะจะเต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูลทั้งหลายที่ไปจากส้วมหรือชักโครก ตะกรันและตะกอนจำนวนมากจะไหลเข้าบ่อรับน้ำเสียรวม ( บ่อเกรอะต้องแยกบำบัดต่างหากก่อนเข้าระบบรวม ) การแก้ไขปัญหาในเรื่องของกลิ่นเป็นคุณสมบัติเด่นๆของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า 7. ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียในน้ำเสียให้กับระบบบำบัดที่มีอยู่ ให้ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นมากขึ้นและเร็วขึ้น ซึ่งเป็นการเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียโดยตรง ระบบบำบัดน้ำเสียแทบจะทั้งนั้นยังมีปัญหาในเรื่องค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้มากที่สุด มากกว่า 90% จะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) ปัญหาทางด้านเทคนิคต่อนข้างจะมีมาก เกิดปัญหาขึ้นจากปัจจัยต่างๆในจุดใดจุดหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบบำบัด อาจส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ได้ง่ายๆ คุณสมบัติของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า 1. บำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) โดยไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย 2. บำบัดกลิ่นดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่เกิดจากสารอินทรีย์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าพัฒนามาจากจุลินทรีย์อีเอ็มหรือ em เดิมให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น และปรับกลิ่นให้มีกลิ่นหอมตามความต้องการของลูกค้า นำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียจะได้รับประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ในเวลาเดียวกัน ช่วยดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็น ( น้ำเน่าเสีย ) ดับกลิ่นเหม็นสิ่งปฏิกูลในบ่อเกรอะ ซึ่งเป็นจุดที่อับอากาศ ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและการดับกลิ่น กระบวนการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียจะช่วยลดค่า BOD , SS , TDS และ FOG ( Fat Oil & Grease ) แปรสภาพของสสารต่างๆในน้ำเสียเป็นไปตามสมการด้านบน ที่นี่..จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย / ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ใช้บำบัดน้ำเสียได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่น)ไม่พึงประสงค์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที โปรดระวังของลอกเลียนแบบจุลินทรีย์หอมของเรา ของจริงและของแท้ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเท่านั้น เจ้าแรกและเจ้าเดียวในประเทศไทย จะซื้อจุลินทรีย์ไปบำบัดน้ำเสีย คิดถึง จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เราไม่ได้จำหน่ายเพียงจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเท่านั้น แต่เราจะให้คำแนะนำและคำปรึกษาการบำบัดน้ำเสียของลูกค้าทุกๆท่านที่ซื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียไปจากเรา การบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัดจะต้องใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น(บำบัดน้ำเสีย) ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียมีมากมายหลายประการ โดยเฉพาะปัญหาทางด้านเทคนิคของระบบบำบัดจะพบบ่อยมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ การแก้ปัญหาเหล่านี้ต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ จุลินทรีย์หอมคาซาม่ายินดีช่วยเหลือลูกค้าทุกๆท่านในการแก้ไขปัญหาการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียเกิดปัญหาทางด้านเทคนิค จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ขนาดบรรจุแกลลอนละ 20 ลิตร จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคาขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย แกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งฟรีๆทั่วประเทศ พร้อมให้คำแนะนำในการบำบัดน้ำเสีย และปรึกษาปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดน้ำเสีย ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด บำบัดน้ำเสียแบบมืออาชีพ ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ใช้เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)และการบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)ในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมเจ้าแรกของประเทศไทย
|