ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์
ปัญหาใหญ่ของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด ระบบบำบัดน้ำเสียค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ทำอย่างไร ? แก้ปัญหาอย่างไร ? ตั้งใจอ่านเนื้อหาต่อไปนี้ ในการบำบัดน้ำเสียจากแต่ละแหล่ง การกำหนดค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะแตกต่างกันออกไปตามแหล่งที่มาของน้ำเสีย สำหรับปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ถือเป็นเรื่องปกติไปแล้ว เพราะพบเป็นประจำ และส่วนใหญ่ของการบำบัดน้ำเสียจะมีปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์พบมากที่สุด ระบบบำบัดน้ำเสียบางแห่งค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาจจะไม่ผ่านเป็นบางค่า แต่บางแห่งไม่ผ่านหลายๆค่าก็มีให้เห็นเป็นประจำ จะทำอย่างไร? แก้ปัญหาอย่างไร? ตั้งใจอ่านเนื้อหาต่อไปนี้ให้เข้าใจ แล้วนำไปแก้ไขและปรับปรุงระบบบำบัด
ภาพบนตัวอย่างค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคารประเภทต่างๆ( ประเภท ก. ข. ค. ง. จ. ) ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะแตกต่างกันออกไป ค่าพารามิเตอร์ ( Parameter ) ค่าพารามิเตอร์เป็นตัวชี้วัดค่าคุณภาพน้ำเสียและน้ำทิ้ง ยกตัวอย่างกรณีค่าพารามิเตอร์ของอาคารชุดตามภาพบน จะประกอบไปด้วย 1. pH ( Potential of Hydrogen ion ) เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นด่าง ( เบส ) ของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+) 2. BOD ( Biochemical Oxygen Demand ) บีโอดีในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมี ( ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ) มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) 3. SS ( Suspended Solid ) คือปริมาณของแข็งแขวนลอยในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) 4. SS ( Settleable Solids ) คือปริมาณของแข็งตะกอนหนักในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) 5. TDS ( Total Dissolved Solid ) คือค่าสารที่ละลายได้ทั้งหมด มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) 6. S ( Sulfide ) ค่าซัลไฟต์ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) 7. N ( TKN ) เป็นปริมาณไนโตรเจนในรูปของ TKN ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l ) 8. FOG ( Fat , Oil & Grease ) เป็นค่าน้ำมันและไขมันที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) การวัดค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียและน้ำทิ้ง 1. กรณีน้ำเสียสามารถวัดค่าพารามิเตอร์ในบ่อรับน้ำเสียรวมบ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศได้ ซึ่งจะทำให้รู้ค่าพารามิเตอร์แต่ละตัวในน้ำเสียของแต่ละบ่อ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียเป็นอย่างดี 2. กรณีน้ำทิ้ง ซึ่งเป็นบ่อรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วพร้อมปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะต่อไป ค่าพารามิเตอร์จาก 1-8 ต้องได้ตามค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนดไว้ในตาราง ถ้าค่าใดค่าหนึ่งหรือหลายๆค่าไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อน้ำทิ้งนี้ ต้องไปทำการปรับปรุงและแก้ไขที่ต้นเหตุ การประเมินค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะเก็บตัวอย่างจากบ่อน้ำทิ้งเป็นหลัก ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ ซึ่งมากกว่า 90% นิยมใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge :AS ) ดังนั้น ต่อไปนี้จะกล่าวถึงระบบนี้เป็นหลัก ( ทุกๆระบบล้วนใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ) ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้จะประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วนด้วยกันคือ บ่อเติมอากาศหรือถังเติมอากาศ และบ่อตกตะกอนสลัดจ์หรือถังตกตะกอนสลัดจ์ ในการบำบัดน้ำเสียของอาคารชุดในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศจะเกี่ยวข้องกับค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ( 1-8 บน ) การประเมินค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์บำบัดหรือไม่ผ่านเกณฑ์บำบัดจะอยู่ที่ค่าพารามิเตอร์เหล่านี้เป็นเกณฑ์ น้ำเสียที่ผ่านเกณฑ์บำบัดหรือได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง การที่น้ำเสียจะผ่านเกณฑ์บำบัดหรือไม่ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการบำบัดและกระบวนการบำบัด ซึ่งการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีนั้น ต้องมีการบำบัดทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ และในบางกรณีอาจใช้เคมีบำบัดร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับของเสียที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย แต่ขั้นตอนสุดท้ายขึ้นอยู่กับตัวแปรหรือตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย นั่นก็คือ การใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเพื่อบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียมีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมีอยู่แบบกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ ในการดึงจุลินทรีย์ย่อยสลายเหล่านี้มาใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) จะต้องออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมในการดำรงชีพและการเจริญเติบโต โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งค่อนข้างดูแลระบบและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี กลุ่มจุลินทรีย์เหล่านี้จึงจะอยู่ในระบบบำบัดได้ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งค่าใดที่พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด กรณีของอาคารชุดและอาคารสำนักงานทั่วๆไป โรงงาน โรงแรม ฯลฯ ที่พบมากที่สุดก็คือ ค่า BOD , SS , TDS , FOG , TKN , S ตามลำดับ ซึ่งมีค่าสูงเกินมาตรฐานกำหนด ที่มาของค่าพารามิเตอร์ต่างๆสูงเกินมาตรฐานมาจากสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ถ้าในน้ำเสียมีสารอินทรีย์เจือปนในปริมาณมาก ก็จะส่งผลให้ค่า BOD สูงตามไปด้วย หรือกรณีที่ในน้ำเสียมีสิ่งเจือปนที่เป็นของแข็ง ทั้งตะกอนแขวนลอยและตะกอนหนักมีจำนวนมาก ก็จะส่งผลให้ค่า SS และ TDS สูงตามไปด้วยเป็นต้น จะลดค่าพารามิเตอร์ที่สูงๆเหล่านี้ได้อย่างไร? ในการลดค่าพารามิเตอร์แต่ละค่าอาจมีวิธีการหลายๆวิธีร่วมกัน เช่น การลดค่า BOD ในขั้นต้นอาจใช้วิธีการตกตะกอนในบ่อแรก ซึ่งเป็นบ่อรับน้ำเสียรวม และมีการใช้ฟิลเตอร์กรองทั้งหยาบและกรองละเอียด เพื่อให้ของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียผ่านไปยังบ่อเติมอากาศให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งจะส่งผลต่อค่า BOD , SS , TDS, FOG ให้ลดลงได้มากพอสมควร เป็นการบำบัดน้ำเสียขั้นต้นที่แยกของเสียต่างๆในน้ำเสียออกให้ได้มากที่สุด ช่วยลดภาระหนักในการย่อยสลายของจุลินทรีย์ย่อยสลายลงได้ การลดค่าพารามิเตอร์ต่างๆโดยจุลินทรีย์ย่อยสลาย สำหรับจุลินทรีย์ที่ใช้ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจน ( Aerobic Bacteria ) จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้จะนิยมนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัดมากที่สุด เพราะสามารถดึงมาใช้ได้ง่าย แต่การดูแลและรักษาต้องดีพอสมควรจุลินทรีย์กลุ่มนี้จึงจะอยู่ในระบบได้ดี ระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมต่างๆต้องเหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโต จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะขาดออกซิเจนและอาหารไม่ได้อย่างเด็ดขาด สามารถตายยกบ่อได้ตลอดเวลาถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างที่กล่าวมา ซึ่งจะทำให้ระบบบำบัดล้มเหลวเกิดขึ้น 2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ดึงมาใช้ค่อนข้างจะยากจึงไม่เป็นที่นิยมเท่าใดนัก นอกจากการสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำมาทดแทนจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน การบำบัดน้ำเสียจะประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อของเสียในน้ำเสียเหลือน้อยที่สุด ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ทุกๆค่า ) ต้องบำบัดน้ำเสียแบบบูรณาการหลายส่วนตามที่กล่าวมา ซึ่งจะส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านได้ง่ายขึ้น จุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดต้องไม่มีขาดหรือมีปริมาณน้อยกว่าของเสีย ต้องมีการบริหารจัดการตรวจเช็คและดูแลควบคุมระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี คุณภาพน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง สำหรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ควรรู้ในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสียมีดังต่อไปนี้.- - pH แสดงความเป็นกรด-ด่าง จุลินทรีย์จะเจริญเติบโตได้ดีที่ค่า pH ประมาณ 6.5 - 8.5 - BOD ( Biochemical Oxygen Demand ) บีโอดีในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมี ( ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ) มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - COD ( ซีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในกระบวนการทางเคมีย่อยสลายสารอินทรีย์ มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) COD (Chemical Oxygen Demand) คือ ปริมาณ O2ที่ใช้ในการออกซิไดซ์ในการสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) ในปริมาณมากเกินพอ ในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อย สลายได้และย่อยสลายไม่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน โดยทั่วไปค่า COD จะมีค่ามากกว่า BOD เสมอ ดังนั้นค่า COD จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสีย - ค่า TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l ) - FOG น้ำมันและไขมัน (Fat , Oil and Grease) - ค่า F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - ค่า DO ( Dissolved Oxygen ) หมายถึง ค่าของปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ - TS หรือปริมาณของแข็งทั้งหมด (Total Solids : TS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - TDS ค่าสารที่ละลายได้ทั้งหมด ( Total Dissolved Solid ) - S ค่าซัลไฟต์ (Sulfide) - ค่าตะกอนหนัก ( Settleable Solids : SS ) - TOC (Total Organic Carbon) คือค่าอินทรีย์คาร์บอนรวม หมายถึงสารอินทรีย์(ที่พื้นฐานมีคาร์บอน) ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในน้าเสียนั้นๆ สารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำนั้น ค่า pH คือ อะไร? ค่า pH เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรด-เบส หรือกรด-ด่าง ของสารที่อยู่ในวัตถุต่างๆ โดยค่า pH จะอยู่ในช่วง 1-14 ถ้าค่า pH น้อยกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นกรด และถ้าค่า pH มากกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นเบสหรือด่าง แต่ถ้าค่า pH นั้นมีค่าเท่ากับ 7 สารชนิดนั้นเป็นกลางหรือที่เรียกว่า pH balance หรือไม่เป็นกรดหรือเบส( ด่าง ) จุลินทรีย์จะเจริญเติบโตได้ดีที่ค่า pH ประมาณ 6.5 - 8.5
ค่า pH มีความสำคัญอย่างไร? ค่า pH ( พีเอช ) เป็นเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำหรือน้ำเสีย ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องการการดำรงชีพของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัด ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียมีวัตถุประสงค์เดียวกันทั้งหมดก็คือ ต้องการดึงปริมาณจุลินทรีย์ในธรรมชาติมาใช้งานบำบัดน้ำเสียให้ได้มากที่สุด ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะกำรงชีพอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมคือ ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำเสียนั้นอยู่ในระหว่าง 6 - 8 ( ค่า pH ประมาณ 6-8 ) ถ้าค่า pH น้อยมากๆหรือสูงมากๆ จุลินทรีย์ก็ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ ( ตายยกบ่อ ) นี่คือความสำคัญของค่าพารามิเตอร์ที่ชื่อ pH Meter ดังนั้น จึงต้องคอนโทรลค่า pH ในบ่อบำบัดให้อยู่ในช่วง 6-8 ซึ่งแล้วแต่มาตรฐานน้ำทิ้งของแต่ละแห่ง อธิบายค่าพารามิเตอร์แต่ละตัวว่ามีความหมายอย่างไร ? ค่า BOD คืออะไร? BOD ( Biochemical Oxygen Demand ) หมายถึง ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์สารที่มีอยู่ในน้ำ ค่า BOD มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร หรือมิลลิกรัมของอ๊อกซเจนต่อน้ำ 1 ลิตร ค่า BOD ถูกนำมาเป็นค่าพารามิเตอร์ตัวหนึ่งเพื่อบ่งบอกถึงคุณภาพของน้ำว่าเป็นน้ำดีหรือน้ำเสีย ซึ่งใช้กันมากในอุตสาหกรรมการบำบัดน้ำเสีย ถ้าค่า BOD สูง ( ปนเปื้อนสารอินทรีย์ในน้ำมาก )แสดงว่าน้ำนั้นต้องการออกซิเจนจำนวนมากเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ในน้ำ ( จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) แสดงว่าน้ำนั้นมีคุณภาพไม่ดี ( น้ำเสียค่า BOD เกิน 100 ขึ้นไป ) ซึ่งตรงข้ามกับค่า BOD ต่ำ แสดงว่าน้ำนั้นมีคุณภาพดีหรือน้ำดีนั่นเอง ( สารอินทรีย์ปนเปื้อนในน้ำนั้นมีน้อย น้ำที่มีคุณภาพดี BOD <=6 ) น้ำเสียวิกฤตมากหรือน้อยดูที่ค่า บีโอดี ( BOD ) และค่า DO เป็นเกณฑ์ ขยายความหมายของค่า BOD น้ำที่มีคุณภาพดี ควรมีค่าบีโอดี ไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าค่าบีโอดีสูงมากแสดงว่าน้ำนั้นเน่าเสียมาก แหล่งน้ำที่มีค่าบีโอดีสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตรจะจัดเป็นน้ำเน่าหรือน้ำเสีย พระราชบัญญัติน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดไว้ว่า น้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องมีค่าบีโอดีไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร การหาค่าบีโอดี หาได้โดยใช้แบคทีเรียย่อยสลายอินทรีย์สารซึ่งจะเป็นไปช้า ๆ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลานานหลายสิบวัน ตามหลักสากลใช้เวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส แต่ในปัจจุบันมีเครื่องวัดค่า BOD ที่เป็นระบบดิจิตอลที่ทราบผลได้ทันที วัดค่าเวลาใดก็สามารถทราบค่าทันที ค่า COD คืออะไร? COD (Chemical Oxygen Demand) คือ ความต้องการปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการออกซิไดซ์ย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) ในปริมาณมากเกินพอ ในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อยสลายได้และย่อยสลายไม่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน โดยทั่วไปส่วนใหญ่ค่า COD จะมีค่ามากกว่า BOD เสมอ ดังนั้นค่า COD จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญอีกตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสียว่าสกปรกมากน้อยแค่ไหน ค่า DO คืออะไร? DO (Dissolved Oxygen) คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำเสียทุกๆแห่งล้วนมีความต้องการออกซิเจน (aerobic bacteria) ในการย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ความต้องการออกซิเจนของแบคทีเรียนี้จะทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำนั้นๆลดลง เนื่องจากจุลินทรีย์ดึงออกซิเจนไปใช้ในปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ดังนั้นในน้ำที่สะอาดจะมีค่า DO สูง และน้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำ ( ค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm.) มาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดีโดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 ppm หรือปริมาณ O2 ละลายอยู่ปริมาณ 5-8 มิลลิกรัม / ลิตร หรือ 5-8 ppm น้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm ค่า DO มีความสำคัญในการบ่งบอกว่าแหล่งน้ำนั้นมีปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อความต้องการของสิ่งมีชีวิตในน้ำนั้นหรือไม่ TS ( total solids ) คือ ปริมาณของแข็งที่อยู่ในน้ำทั้งหมด เป็นตัวบ่งชี้ว่าในน้ำเสียนั้นๆมีของแข็งละลายหรือเจือปนอยู่มากน้อยเท่าใด ซึ่งจะส่งผลถึงค่า BOD และ BOD โดยตรง TDS ( Total Dissolved Solids ) ของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำทั้งหมด ปริมาณของแข็งรวมทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ทั้ง SS ( Suspended Solids ) ของแข็งแขวนลอย และ ค่าตะกอนหนัก (Settleable Solids)ในน้ำเสีย SS ( Suspended Solids ) คือของแข็งแขวนลอยที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l ) FOG น้ำมันและไขมันที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย (Fat , Oil and Grease) F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) S ค่าซัลไฟต์ (Sulfide) ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย
จะเริ่มต้นบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านอย่างไร ? 1. อันดับแรกให้ทำการตรวจสอบระบบทั้งหมดว่ายังใช้การทำงานได้ดีอยู่หรือไม่ ? มีสิ่งใดที่มีปัญหาในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดแล้วทำการแก้ไขปัญหานั้นๆ 2. อันดับต่อมาก็คือ การตรวจสอบหรือการเช็คค่าพารามิเตอร์ในระบบบำบัดและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการว่าได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดหรือไม่ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อแรก ( น้ำเสียก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( น้ำเสียหลังบำบัดแล้ว ) ซึ่งจะทำให้รู้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังบำบัด ( บ่อสุดท้าย ) ซึ่งจะทำให้รู้ว่าน้ำเสียในบ่อบำบัดของท่านผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งหรือไม่ ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพหรือไม่ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อสุดท้ายจะเป็นตัวชี้วัดระบบบำบัดน้ำเสียของท่านว่าผ่าน ( บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ )หรือไม่ผ่าน ( ล้มเหลว ) ทำไมน้ำเสียจากที่ต่างๆต้องมีการกำหนดค่าต่างๆขึ้นมา ? แหล่งของน้ำเสียแต่ละแหล่งมีค่ามาตรฐานไม่เหมือนกัน เช่น น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ค่ามาตรฐานจะเป็นอีกค่าหนึ่ง กรณีน้ำเสียจากอาคารสถานที่ต่างๆจะเป็นอีกค่าหนึ่งเป็นต้น แต่ทั้งหมดทั้งมวลไม่ว่าน้ำเสียมาจากแหล่งใดๆก็ตาม ตัวชี้วัดค่าน้ำเสียหรือพารามิเตอร์จะมีหลายตัวชี้วัดด้วยกัน เช่น ค่า pH , COD , BOD , SS , DTS , DO ฯลฯ เป็นต้น ในที่นี้จะขอยกมาอธิบายให้ท่านได้เข้าใจในบางค่าพารามิเตอร์ที่ทั่วๆไปกล่าวถึงในเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ว่าในน้ำดีหรือน้ำเสียจะมีการกำหนดค่าพารามิเตอร์ต่างๆไว้เป็นมาตรฐานของทางราชการ ค่าพารามิเตอร์เหล่านี้เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันอย่างไรกับจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย? ทั้งค่า BOD, COD, DO ล้วนเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่และปริมาณจุลินทรีย์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่ต้องใช้ออกซิเจในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทุกประเภท ถ้าค่าพารามิเตอร์แต่ละค่ามีค่าเกินหรือมากไปหรือน้อยไป ล้วนส่งผลต่อจุลินทรีย์ทั้งสิ้น เพราะจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กก็จริง แต่ก็สามารถตายหรือสลายได้ ถ้ามีปัจจัยทำให้เกิดการตายหรือเส่อมสลายไป ปัจจัยที่มีผลต่อจุลินทรีย์ก็คือปริมาณออกซิเจนนั่นเอง ซึ่งค่าพารามิเตอร์เป็นส่วนบ่งชี้ถึงปัจจัยนี้ เช่น ถ้าค่า DO ในน้ำมีน้อยมากหรือไม่มีเลย แสดงว่าน้ำนั้นเน่าเสียวิกฤตมาก จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำนั้นได้ ดังนั้น ทางออกในการแก้ปัญหานี้จึงต้องพึ่งจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม )เข้าไปทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนั้น ทดแทนจุลินทรีย์แบบที่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์ทั้งสองแบบนี้ ( จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนและจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน )สามารถทำงานย่อยสลายของเสียร่วมกันได้ดี จึงเป็นที่มาของการนำจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนมาบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ จุลินทรีย์อีเอ็มทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆได้ดีทั้งในสภาวะที่ไร้อากาศออกซิเจนและสภาวะที่มีออกซิเจน ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียในสถานประกอบการต่างๆหรือบำบัดน้ำเสียในตึกอาคารสำนักงานอาคารชุด ฯลฯ และการดับกลิ่นเน่าเสียต่างๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียต่างๆในระบบบำบัดน้ำเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อเกรอะ โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน ถ้าอาศัยจุลินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติที่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายของเสียอาจไม่เพียงพอกับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้น เราจึงใช้จุลินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นนี้มาทดแทนและเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในระบบให้มากขึ้นได้ตามความต้องการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายกลุ่มด้วยกัน ใช้ประโยชน์ในด้านการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย รวมถึงการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นน้ำที่เน่าเสีย ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆจะไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน ) จากภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียระบบ AS เติมอากาศ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดใช้ออกซิเจน ) + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ) จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เดิมในบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนเบื้องต้นธรรมดาเท่านั้น ( การย่อยสลายเกิดขึ้นน้อยมากในบ่อนี้ ) ก่อนที่จะผ่านเข้าไปบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อที่ทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากที่สุดในระบบนี้ ( บ่อย่อยสลายของเสียโดยใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) และส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วในบ่อที่ 3 ( ตามภาพบน ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่ในระบบ AS นี้จะเกิดขึ้นในจุดเดียวคือ บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี แต่เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปเพิ่มเติม ( ในบ่อที่ 1 ) จะเกิดการย่อยสลายในบ่อที่ 1 หรือบ่อแรกเพิ่มขึ้นทันทีอีกจุดหนึ่ง ( เหมือนบ่อเติมอากาศ ) กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ออกซิเจนจึงไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้ทันที จะเห็นได้ว่าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 จุดหรือ 2 บ่อ ( บ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบดับเบิ้ล คือ บ่อที่ 1 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นตัวบำบัด ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )เป็นด่านแรกก่อนที่จะส่งต่อไปบำบัดอีกชั้นหนึ่งที่บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลาย ) จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะลดลงตั้งแต่การย่อยสลายหรือการบำบัดในบ่อแรกแล้ว การบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆซ้ำในบ่อเติมอากาศ ( โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ยิ่งจะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น BOD , SS , TDS , FOG , TKN ลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีก ตะกอนต่างๆก็จะลดลงเหลือน้อยมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้นดังกล่าว ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรกและบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ) จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งดีขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะผลของการบำบัดหรือการย่อยสลายของเสีย 2 ชั้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงไม่เป็นภาระหนักให้กับบ่อเติมอากาศเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ( ไม่เป็นภาระหนักให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ที่อาจย่อยสลายของเสียได้ไม่หมดหรือย่อยสลายได้เพียงบางส่วนเล็กน้อย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อสุดท้ายบ่อยๆได้
สรุป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ AS และยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศอีกชั้นหนึ่ง การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำให้สสารที่เจือปนอยูในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป หมายเหตุ : จุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ( ในทั้งหมด 6 ระบบ ) นอกจากบำบัดน้ำเสียได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆเพิ่มอีกด้วย เรา คือ ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์ย่อยสลายและบำบัดน้ำเสีบแบบไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่่อยสลาย เพื่อเสริมการทำงานของจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีในธรรมชาติน้อยกว่าน้ำเสียหรือของเสียที่เกิดขึ้นจริง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายและบำบัดน้ำเสียให้มากขึ้น เพราะน้ำเสียในบางแห่งแทบไม่มีออกซิเจนละลายในน้ำเลย ดังนั้น จึงทำให้ไม่จุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจนเข้าไปย่อยสลายและบำบัดน้ำเสีย ทำให้น้ำเสียนั้นๆเกิดการเน่าเหม็นส่งกลิ่นแรงมากขึ้น จึงต้องพึ่งจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกริยาย่อยสลายและบำบัดน้ำเสียทดแทน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม ) ซึ่งจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม )สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ตามความต้องการ ซึ่งต่างจากจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจนที่สังเคราะห์ขึ้นค่อนข้างมีขีดจำกัด การค้นหาเราใน Google.co.th โดยใช้ คีย์เวิร์ด หรือ คำ ดังต่อไปนี้ .- 1. จุลินทรีย์หอม kasama 2. จุลินทรีย์หอมคาซาม่า 3. จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย 4. จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น หรือ จุลินทรีย์หอมกำจัดกลิ่น คีย์เวิร์ด 1 - 4 เป็นคีย์เวิร์ดตรงของเราในการเข้าสู่เว็บไซต์ของทางร้าน (Bangkokshow.com ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) แกลลอนขนาด 20 ลิตร ( มีขนาดเดียว ) ราคาแกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ มีปัญหาการบำบัดน้ำเสียไม่ผ่านเกณฑ์ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน ระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหา บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ บำบัดน้ำเสียในสถานประกอบการทุกแห่ง บำบัดน้ำเสียในตึกอาคารสำนักงานทุกๆที่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เข้มข้นสูง ไม่เก่าเก็บ ปริมาณจุลินทรีย์มาก ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที
สำหรับค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางตัวจากอาคารบางประเภทและบางขนาด ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2537)
- ค่าบีโอดี (BOD) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร - ค่า SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/ลิตร - ค่า pH 5 - 9 - TDS ไม่เกิน 500 mg/l - FOG ไม่เกิน 20 mg/l TOC (Total Organic Carbon) คือค่าอินทรีย์คาร์บอนรวม เป็นคำศัพท์ที่ใช้อธิบายถึง สารอินทรีย์(ที่พื้นฐานมีคาร์บอน) ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในน้าเสียนั้นๆ สารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำนั้น สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำได้ น้ำที่มีสารอินทรีย์เจอปนมากจะส่งผลให้การละลายของออกซิเจนในน้ำนั้นน้อยลง ส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายโดยตรง ค่า BOD ของน้ำดีจะอยู่ที่ <= 6 mg/l จะส่งผลทำให้ค่า DO >= 6 ขึ้นไป ค่ากลางน้ำดีของ DO อยู่ที่ 5-8 mg/l หรือ 5-8 ppm. มาตรฐานน้ำทิ้ง ค่า BOD ( กลาง ) ประมาณ 20 mg/l ถ้าค่า BOD เกิน 100 mg/l ขึ้นไป น้ำก็จะเน่าเสียแล้ว ( สารอินทรีย์เจือปนในน้ำมีมาก ) การควบคุมค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสีย ( Para Meter Control ) ทำไมต้องคอนโทรลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เหตุผลก็เพื่อต้องการทราบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังการบำบัดแล้ว ( น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดให้เป็นน้ำดี ) ซึ่งค่าพารามิเตอร์จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดว่า บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้หรือไม่ รวมถึงจะบอกถึงประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียในหน่วยงานนั้นๆ น้ำที่มีสีใสๆไม่ใช่น้ำที่มีคุณภาพดีเสมอไป อาจมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่มากก็ได้ ( เป็นน้ำเสีย ) ค่าพารามิเตอร์พื้นฐานที่ต้องคอนโทรลในระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย เช่น ค่า ph , BOD , COD , SS , TDS , FOG , TKN , S ,DO เป็นต้น ถ้าคอนโทรลค่าพารามิเตอร์พื้นฐานเหล่านี้ได้ตามกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งได้แล้ว ถือว่าระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพดีมาก และต้องคอนโทรลได้อย่างต่อเนื่อง การวัดค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียในบ่อบำบัดประจำเดือน ( ในแต่ละครั้ง ) ให้เก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อที่ 1 ( ก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( ผ่านการบำบัดแล้ว ) มาวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการแล้วนำไปขึ้นเป็นรีพอร์ท ( รายงานผลการวิเคราะห์ ) ประจำเดือนในแต่ละเดือนต่อไป ( ส่งให้หน่วยงานราชการได้ ) สิ่งที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะน้ำเสียที่ไปจากอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนี่ยมต่างๆทุกๆแห่งจะมีสารอินทรีย์และตะกอนปนเปื้อนในน้ำเสียค่อนข้างสูง ส่งผลให้ค่า BOD , TOC , SS , TDS สูงตามไปด้วย การลดสารอินทรีย์ ( ถ้าทำได้ ) จะส่งผลให้ค่า BOD และ TOC , SS , TDS ลดลงตามไปด้วย ถ้าตะกอนสารอินทรีย์มีขนาดใหญ่อาจใช้ตัวกรองของเสียและกรองตะกอนตะกรัน ( Filter ) กรองดักของเสียก่อนลงในบ่อแรก เพื่อลดค่า SS , TDS ไปในตัว ซึ่งมีส่วนช่วยลดค่า BOD , COD , TOC โดยเฉพาะการใช้ฟิลเตอร์กรองแบบละเอียดก่อนน้ำเสียลงบ่อสุดท้าย ( ก่อนปล่อยน้ำทิ้งออกสู่สาธารณะ ) การเพิ่มตัวฟิลเตอร์ในแต่ละบ่อจะช่วยลดค่า BOD , TOC , SS , TDS ไปได้มากพอสมควร ตัวฟิลเตอร์ก่อนลงในบ่อแรกอาจจะหยาบพอประมาณ เพิ่มตัวกรองสัก 2-3 ชั้น ( กรองแบบหยาบในบ่อแรก ) ส่วนบ่อลำดับต่อไปจนถึงบ่อสุดท้ายก็สามารถเพิ่มความละเอียดของฟิลเตอร์มากขึ้นตามความต้องการ เป็นวิธีการลดค่าพารามิเตอร์บางตัวแบบง่ายๆ แต่จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการบำบัดของระบบได้มากขึ้น ในส่วนของค่า pH สามารถปรับได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนกรณีค่า BOD , COD
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
[ ดูค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคารสำนักงานชนิด( ขนาดต่างๆ )ต่างๆ คลิกดูที่นี่..]
[ ระบบบำบัดน้ำเสีย และ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ คลิกที่นี่.. ]
|