จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย
กำจัดไนโตรเจนหรือลดค่า TKN ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถกำจัดไนโตรเจนได้แล้ว เพราะเราได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ตัวที่ลดค่า TKN ในน้ำเสียได้ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเพียงเท่านั้น การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธีการด้วยกัน ทั้งวิธีทางกายภาพ เช่น การตกตะกอน การกรอง การนำไปกำจัดทิ้ง ส่วนการบำบัดน้ำเสียทางเคมีด้วยการใช้สารเคมีบางชนิดมาบำบัด ซึ่งส่วนใหญ่น้ำเสียที่ใช้วิธีการบำบัดทางเคมีนั้นจะปนเปื้อนสารเคมี หรือการตกตะกอนด้วยสารเคมีบางชนิดก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดน้ำเสีย ส่วนการบำบัดอีกวิธีหนึ่งก็คือ การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ คือการใช้จุลินทรีย์(ที่มีประโยชน์ในธรรมชาติ)ย่อยสลายของเสียให้มีโมเลกุลเล็กลงเรื่อยๆจนกระทั่งแปรเปลี่ยนสถานะของสสาร(ของเสียในน้ำเสีย)กลายไปเป็น น้ำ + พลังงาน + ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายในการแปรเปลี่ยนสถานะของสสารที่เป้นของเสีย ไม่ว่าการบำบัดน้ำเสียจะด้วยกรรมวิธีใดๆก็ตาม แต่ขั้นตอนสุดท้ายของการบำบัดน้ำเสีย ต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ของเสียและน้ำเสียไม่ล้นโลกก็มาจากผลงานของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์รักษ์โลก(รักษาโลก) มีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพขยายเซลล์ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศที่เหมาะสม สำหรับการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะนิยมใช้งานกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก เพราะสามารถดึงมาจากธรรมชาติใช้งานได้ง่าย ถ้าออกแบบระบบสิ่งแวดล้อมให้มันได้อยู่อาศัยดีพอ แต่ค่อนข้างควบคุมได้ยาก มีความอ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะสิ่งแวดล้อมในระบบบำบัด ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่( มากกว่า 90% )ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันจะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) ระบบนี้จะเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสีย( ในบ่อเติมอากาศ ) เพื่อให้น้ำเสียมีปริมาณออกซิเจนมากเพียงพอที่จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียและการดำรงชีพขยายเซลล์ต่อไป ถ้าในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็อยู่ไม่ได้( ตายยกบ่อบำบัด ) ดังนั้น จึงต้องมีการบำรุงและรักษามันไว้เป็นอย่างดีเพื่อให้อยู่ในระบบบำบัด( บ่อบำบัด ) ให้มากที่สุด เพื่อจะได้ทำการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป การมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัด( บ่อบำบัด ) ถ้ามีปริมาณน้อยก็มีปัญหา ถ้าไม่มีเลย ( จุลินทรีย์ย่อยสลายตายยกบ่อบำบัด ) ยิ่งมีปัญหามากเข้าขั้นวิกฤตน้ำเสียต้องรีบแก้ไขโดยด่วน ความหมายของการบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพ การบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงการบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานน้ำทิ้ง ( น้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกๆค่า ) หรือการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางราชการกำหนด กรณีที่ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าไม่ผ่านเกณฑ์ แต่มีบางค่าผ่านเกณฑ์ก็ไม่ถือว่า การบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีประสิทธิภาพ ถือว่ายังไม่มีประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสีย ต้องนำไปแก้ไขและปรับปรุงใหม่จนกว่าจะมีประสิทธิภาพ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งทุกๆค่าผ่านเกณฑ์กำหนด จึงจะถือว่า การบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพดี บทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายสายพันธุ์จากธรรมชาติ นำมาสังเคราะห์รวมไว้ในที่เดียวกัน มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียได้ดี รวมถึงการบำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ทั้งการย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่เด่นๆอีกคุณสมบัติหนึ่งคือ การบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)ได้ดี แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปใช้ในงานบำบัดน้ำเสีย การทำหน้าที่บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย ) จะเหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ปฏิกิริยาเกิดขึ้นเหมือนกันและได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน( ตามสมการจำลองด้านล่าง ) จะแตกต่างกันตรงที่กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ ถึงแม้ในน้ำเสียจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ อีกทั้งยังสามารถทนแรงต้านทานสิ่งแวดล้อมที่วิกฤตได้ดี เช่น ในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลย และกรณีที่ค่า pH ในน้ำเสียมีค่าต่ำมากหรือสูงมากในบางครั้ง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทนกับสภาวะแวดล้อมเช่นนี้ได้ ในขณะที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทนแรงต้านทานที่วิกฤตเหล่านี้ได้ ( ตายยกบ่อบำบัด ) นี่คือความแตกต่างของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน
สมการจำลองปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย ด้านบนเป็นปฏิกิริยาของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ส่วนด้านล่างเป็นปฏิกิริยาของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งผลลัพธ์จะเป็นไปตามสมการ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัดและน้ำเสียที่มาจากทุกๆแหล่ง มีวงจรชีวิตเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทั่วๆไป จุดเด่นคือ สามารถสังเคราะห์ขึ้นมากหรือน้อยตามความต้องการได้ และเราสามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมากหรือน้อยเข้าไปในระบบบำบัดได้ทันที ไม่ต้องรอเวลาเหมือนกรณีการเพิ่มปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งระบบต้องใช้เวลารันระบบเป็นสัปดาห์จึงจะเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าระบบบำบัดจะมีปัญหาหรือไม่มีปัญหา ทั้งปัญหาทางด้านเทคนิคและสิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัด ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนที่มีจุดอ่อนค่อนข้างมาก ระบบมีปัญหาจุดใดจุดหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทันที จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจึงเป็นตัวเติมเต็มและแก้ปัญหาให้กับการบำบัดน้ำเสีย ทดแทนจุลินทรีย์ย่ยสลายในระบบมีน้อยหรือกรณีที่จุลินทรีย์ย่อยสลายตายเกลี้ยงบ่อบำบัด สามารถนำไปทดแทนการบำบัดน้ำเสียได้ทันที ระบบบำบัดน้ำเสียโดยทั่วๆไปมีทั้งหมด 6 ระบบ แต่ระบบบำบัดที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดก็คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) ดังนั้น ต่อไปนี้จะกล่าวถึงระบบบำบัดน้ำเสียชนิดนี้เป็นหลัก ระบบบำบัดแบบเติมอากาศนี้จะมีจุดที่สำคัญอยู่ 3 จุดด้วยกัน คือ มีบ่อรับน้ำเสีย( บ่อแรก ) บ่อเติมอากาศ และ บ่อตกตะกอน ( บ่อน้ำทิ้ง ) ส่วนจะมีการเสริมหรือเพิ่มจำนวนบ่อขึ้นมาอีกในจุดใดจุดหนึ่งก็สามารถทำได้ จุดเด่นๆของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้จะอยู่ที่บ่อเติมอากาศ เหตุเพราะบ่อเติมอากาศจะเกิดปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) มากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ บ่อเติมอากาศหรือบ่อปฏิกิริยาเป็นบ่อที่มีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักอาศัยอยู่มากที่สุด( เพราะมีการเติมออกซิเจนตลอดเวลา ) จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ มีอาหารเพียงพอ และมีออกซิเจนมากเพียงพอต่อการดำรงชีพและดึงไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสองสิ่งนี้ก็ไม่ได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้จึงต้องออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสม สร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนอยู่ได้ ออกซิเจนและอาหารต้องเพียงพอ เมื่อใดที่ระบบมีปัญหาขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนนี้ทันที ปริมาณอาจลดลงหรือตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ ซึ่งจะส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าโดยตรง ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ) บทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับระบบบำบัดน้ำเสีย สำหรับบทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับระบบบำบัดน้ำเสียนั้นจะช่วยทั้งการเพิ่มและการเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบบำบัดได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ .- 1. ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดมีน้อย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีน้อย ) อันเนื่องมาจากปัญหาเหล่านี้ 1.1 เครื่องเติมอากาศเสียรอซ่อม จะทำให้ในบ่อบำบัดปริมาณออกซิเจนจะลดลงเรื่อยๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จะทำให้น้ำเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น ซึ่งกว่าจะรันระบบเริ่มใหม่หรือบูทระบบใหม่ต้องใช้เวลานาน ในขณะที่ของเสียและน้ำเสียเพิ่มขึ้นตลอดเวลา จนกลายไปเป็นวิกฤตน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นทั่วบ่อบำบัด 1.2 เครื่องเติมอากาศมีกำลังแรงม้าต่ำหรือกำลังวัตต์ต่ำ ซึ่งจะกระจายออกซิเจนได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เครื่องเติมอากาศต้องมีกำลังสมดุลกับปริมาณของน้ำเสีย ( ต้องเผื่อ Overload ประมาณ 10% ) ไม่ควรหยุดเดินเครื่องเติมอากาศเป็นเวลานานๆ เพราะจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดลงได้ 1.3 อาหาร( ของเสีย )ไม่เพียงพอ ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อสลายลดลงได้ 1.4 ออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและขยายเซลล์( ขยายตัว )ของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน 2. สิ่งแวดล้อมในน้ำเสีย ( ในบ่อบำบัด ) มีปัญหา เช่น ค่าออกซิเจนละลายในน้ำเสียต่ำ ( ค่า DO ต่ำ ) โดยทั่วไปค่า DO ไม่ควรต่ำกว่า 2 mg/l หรือกรณีน้ำเสียมีค่า pH ต่ำมาก หรือสูงมาก จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนโดยตรง อาจตายเกลี้ยงบ่อบำบัดได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องมีการเช็คค่าเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ( ค่า DO , pH ) ถ้าเกิดปัญหาขึ้นต้องรีบแก้ไขทันทีให้ทันเวลาก่อนจุลินทรีย์ย่อยสลายจะตายยกบ่อบำบัด 3. ระบบเกิดการโอเวอร์โหลด ( Overload ) คือ น้ำเสียเข้าระบบมากเกินไปในบางครั้ง ในขณะที่ปริมาณจุลินทรีย์ไม่ได้เพิ่มปริมาณตามน้ำเสียและของเสียที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งได้ ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน ) 4. จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อบำบัด ซึ่งสังเกตได้จากกลิ่นเน่าเหม็นที่รุนแรง สิ่งที่จะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ตายยกบ่อได้มีหลายปัจจัย เช่น มีสารเคมีที่เป็นอันตรายหลุดเข้าไปในบ่อบำบัด หรือในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลยเป็นต้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้ในจุดนี้ ( ปัญหา 1 - 4 ) ไม่ว่าค่า DO ในน้ำเสียจะมีมากหรือมีน้อยหรือไม่มีเลย ค่า pH จะต่ำมากหรือสูงมากก็ไม่มีผลกระทบใดๆต่อการดำรงชีพและการทำงานย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย ) ของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ดังนั้น จึงเป็นกำลังเสริมและกำลังสนับสนุนการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบได้เป็นอย่างดีในยามวิกฤตเกิดปัญหาขึ้นตามข้อ 1 - 4 สามารถทดแทนและแก้ไขปัญหาได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา RUN และ REBOOT ระบบบำบัดใหม่เป็นสัปดาห์ให้เสียเวลา เพราะน้ำเสียเกิดขึ้นตลอดเวลาต้องแก้ไขปัญหาทันที ถึงแม้ว่าระบบบำบัดเดิมไม่มีปัญหาใดๆ แต่ต้องการเริ่งปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย ) ให้เร็วขึ้น ให้การย่อยสลายเกิดได้มากขึ้นกว่าปกติก็สามารถใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเริงปฏิกิริยาได้ทันที ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดและการบำบัดน้ำเสียโดยตรง เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมเจ้าแรกของประเทศไทย ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น ) ในเวลาเดียวกันทันที คิดจะใช้จุลินทรีย์ไปบำบัดน้ำเสีย คิดถึงจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆโดยผู้เชี่ยวชาญการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีถึงที่ได้รับของภายใน 2-3 วันทำการขนส่ง ( ส่งแบบด่วนพิเศษ )
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
|