จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ดับกลิ่นที่มีกลิ่นหอม ขอบคุณทุกๆท่านที่กด แชร์ ( Share ) ให้กับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่นที่มีกลิ่นหอมเจ้าแรกของประเทศไทย กำจัดไนโตรเจนหรือลดค่า TKN ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถกำจัดไนโตรเจนได้แล้ว เพราะเราได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ตัวที่ลดค่า TKN ในน้ำเสียได้ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเพียงเท่านั้น
เพิ่ม และ เสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน ด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้ทั้งการบำบัดน้ำเสีย และการดับกลิ่นกำจัดกลิ่นในเวลาเดียวกันทันที Boost & Reboost ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆครั้งด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัด เพื่อการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียได้รวดเร็วมากขึ้น ลดค่า BOD,SS,TDS,FOG,TKN ในน้ำเสียบ่อบำบัด ต้นกำเนิดของการบำบัดของเสียและบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)ที่แท้จริงคือ จุลินทรีย์จากธรรมชาติ( จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์) ในการบำบัดกลิ่นหรือการดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆบนโลกใบนี้เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกใบนี้จนถึงปัจจุบัน เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในธรรมชาติที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา ปฏิกิริยาของการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น ) เป็นปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างจุลินทรีย์ในธรรมชาติกับสารอินทรีย์ จุลินทรีย์ที่จะมาทำหน้าที่บำบัดกลิ่นจะต้องเป็นกลุ่มจุลินทีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการบำบัดกลิ่นเท่านั้นที่มีอยู่ในธรรมชาติ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นจุลินทรีย์รักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อมของโลก ถ้าปราศจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้ โลกจะเต็มไปด้วยมลพิษและมลภาวะทั้งมาจากธรรมชาติสร้างขึ้นมาและมนุษย์สร้างขึ้น ทั้งการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น )และการบำบัดของเสียต่างๆถือว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ? หลายๆท่านคงจะสงสัยว่า " จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ? " ได้ให้ความหมายของแต่ละคำมาแล้ว ทั้งคำว่า จุลินทรีย์ และ บำบัดน้ำเสีย คราวนี้ก็มาถึงความหมายของ " จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย " คืออะไร ? จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์(ไม่มีโทษ)และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้ดี จึงจะได้ชื่อว่า เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ส่วนจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆที่ไม่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย ก็ไม่ถือว่าเป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซึ่งจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย)ก็มีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่พอสรุปได้เป็น 2 กลุ่มหรือ 2 จำพวกก็คือ 1. จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็มีหลากหลายสายพันธุ์ เป็นกลุ่มที่ต้องใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโตและการดำรงชีพขยายเซลล์ รวมถึงการใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ขาดออกซิเจนไม่ได้ มีอยู่ในธรรมชาติ ดิน น้ำ และอากาศ รอบๆตัวของเรา เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถดึงมาใช้งานย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ได้ง่าย ถ้าออกแบบระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะนิยมใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้เป็นหลัก แทบจะทุกๆระบบบำบัด ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( มากกว่า 90% ) ระบบนี้จะดึงเอากลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในธรรมชาติมาใช้ในงานบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย) โดยการเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสียที่จะทำการบำบัดให้เป้นน้ำดี การบำบัดน้ำเสียจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์ย่อยสลายเป็นหลัก ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียของจุลินทรีย์ย่อยสลายจะได้ผลลัพธ์เป็นไปตามสมการด้านล่างนี้ ของเสียที่เป็นสสารต่างๆในน้ำเสียจะแปรเปลี่ยนสถานะไปเป็น น้ำ พลังงาน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ที่ใช้ออกซิเจน ( Aerobic Bacteria ) 2. จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic Bacteria ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้เช่นเดียวกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน มีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติ ดิน น้ำ และอากาศ จุลินทรีย์กลุ่มนี้อยู่ได้ทั้งในสภาวะมีอากาศออกซิเจนและในสภาวะไร้อากาศออกซิเจน มีหลากหลายสายพันธุ์ ดึงมาใช้งานค่อนข้างยาก ต้องสังเคราะห์ขึ้น ( เพาะเลี้ยงด้วยอุปกรณ์ ) จึงไม่ค่อยนิยมนำมาใช้มามากเหมือนกลุ่มที่ใช้ออกซิเจน แต่มีจุดเด่นตรงที่มีภูมิต้านทานต่อสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตได้ดีกว่ากลุ่มแรก ไม่ว่าในน้ำเสียนั้นๆจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้ก็สามารถอยู่ได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อการทำงานย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย)ทั้งสองกลุ่มที่กล่าวมา ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน )มีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน แต่จุดที่เหมือนกันก็คือ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียหรือบำบัดน้ำเสียทั้งคู่ จึงได้ชื่อว่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า(จุลินทรีย์หอม kasama) จุลินทรีย์ที่มีกลิ่นหอมเจ้าแรกของประเทศไทย คุณสมบัติของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า มีดังต่อไปนี้. -
1. มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) จึงนำไปใช้เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซึ่งใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด บำบัดน้ำเสียได้จากทุกๆแหล่ง เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ช่วยลดค่า BOD , SS , TDS , FOG ในน้ำเสีย 2. มีคุณสมบัติในการบำบัดกลิ่น ( ดับกลิ่น ) จึงนำไปใช้ในการดับกลิ่น( บำบัดกลิ่น ) ไม่พึงประสงค์ทุกๆชนิดทุกๆประเภทที่เกิดจากสารอินทรีย์ ( ที่มาจากพืชและสัตว์ ) เช่น กลิ่นเหม็น กลิ่นคาว ฯลฯ เป็นการบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)แบบธรรมชาติ 100% ไม่ใช้สารเคมี 1 ) การนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์นำมารวมไว้ในที่เดียวกัน เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆ มีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) ไม่ว่าในน้ำเสียนั้นๆจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จุลินรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำงานย่อยสลายทำปฏิกิริยาได้ตามปกติ ไม่มีผลกระทบใดๆต่อจุลินทรีย์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะช่วยเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามรายละเอียดต่อไปนี้ แต่ต้องใช้เป็นและใช้ถึง จึงได้ได้ผลดีตามที่ต้องการ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม Kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียต่างๆและการบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายในน้ำเสีย ( Anaerobic Bacteria ) ไม่ว่าในน้ำเสียนั้นๆจะมีหรือไม่มีออกซิเจนก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ ซึ่งจะแตกต่างไปจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic Bacteria ) ซึ่งจะขาดออกซิเจนไม่ได้โดยเด็ดขาด เหตุผลที่ต้องเติมอากาศลงในบ่อบำบัดน้ำเสียก็เพื่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนนี่เอง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถทำงานย่อยสลายของเสียได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนและมีออกซิเจน และยังสามารถทำงานแบบร่วมกัน ( ย่อยสลายของเสีย ) กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ดี และมีคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่ง นั่นก็คือ การบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น)ไม่พึงประสงค์ต่างๆ โดยเฉพาะกลิ่นที่เกิดจากสารอินทรีย์ทั้งหลาย ( ทั้งพืชและสัตว์ ) ซึ่งคุณสมบัติข้อนี้จะไม่มีในกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์หอมคาซาม่าช่วยทั้งเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ส่งผลให้การย่อยสลายของเสียในน้ำเสียมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย สามารถใช้กับระบบบำบัดได้ทุกๆระบบในประเทศไทย เสริมจุดด้อยและเพิ่มจุดแข็งของระบบบำบัดแบบเติมอากาศที่มีปัญหาปริมาณจุลินรีย์ย่อยสลายมีน้อย หรือการเติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด เครื่องเติมอากาศเสียหรือไม่มีเครื่องเติมอากาศเลย ด้วยการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าย่อยสลายของเสียทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเพิ่มประสิทธิภาพและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในจุดใด ? เนื่องจากจุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียเหมือนกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ระบบบำบัดทุกๆระบบออกแบบมาเพื่อต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าระบบให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียในบ่อบำบัดที่สร้างขึ้นมา ระบบบำบัดในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นระบบบำบัดแบบเติมอากาศ AS ( มากกว่า 90% ) ระบบบำบัดแบบเติมอากาศจะดึงเอาจุลินทรีย์ย่อยสลายในธรรมชาติมาใช้งานย่อยสลายของเสียต่างๆ แต่ไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายให้มีมากเพียงพอกับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงส่งผลให้ของเสียต่างๆบางส่วนในน้ำเสียนั้นๆถูกย่อยสลายได้ไม่หมด ยังคงมีของเสียส่วนหนึ่งตกค้างในระบบบำบัดและผ่านไปยังบ่อพักน้ำทิ้งเพื่อเตรียมปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์อยู่บ่อยๆและเป็นประจำ จะด้วยข้อจำกัดของระบบบำบัดหรือปัญหาอื่นๆที่ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( ช่วยเพิ่มการย่อยสลายของเสีย ) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียให้เพิ่มขึ้นหรือมากขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง เป็นการบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนกับจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ถือว่าเป็นการบำบัดซ้ำหรือการย่อยสลายซ้ำ ( Double Treatment ) ส่งผลให้ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้น เป็นปฏิกิริยาการบำบัด 2 ชั้น หรือ 2 ขั้นตอนตามภาพจำลองด้านล่าง ซึ่งจะส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์มากหรือน้อยได้ตามความต้องการของผู้ใช้ กรณีที่ของเสียหรือน้ำเสียมีปริมาณมากก็สามารถเติมมากได้ตามความต้องการ เพื่อให้สมดุลกับปริมาณน้ำเสียและของเสียที่เกิดขึ้นจริง การบำบัดก็จะสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ภาพบนเป็นภาพจำลองกระบวนการย่อยสลายของเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( บ่อที่ 2 ) และ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนบ่อที่ 1 ) จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียจะเกิดขึ้น 2 ครั้งหรือ 2 จุด ซึ่งระบบบำบัดแบบเติมอากาศทั่วๆไป ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในบ่อเติมอากาศเพียงบ่อเดียวเท่านั้น ( นอกจากมีการเสริมบ่อเติมอากาศเพิ่มขึ้น ) ภาพบนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียในน้ำเสียจะเกิดขึ้นตั้งแต่บ่อแรก ( เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงในบ่อแรก ) ก่อนที่จะส่งไปย่อยสลายต่ออีกครั้งในบ่อที่ 2 ( บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักรอย่อยสลายของเสียที่เหลือในน้ำเสียที่ส่งมาจากบ่อแรก ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายของเสียซ้ำ ( Double Treatment ) ทำให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียทำได้ดีมากขึ้น ของเสียที่เป็นกากตะกอนส่วนเกินในบ่อสุดท้ายเหลือน้อย ( Excess Sludge ) นำไปกำจัดทิ้งหรืออาจนำกลับไปบำบัดซ้ำอีกครั้งหรือหลายๆครั้งได้ ซึ่งที่สุดของการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายจะได้ผลลัพธ์เป็นไปตามสมการจำลองด้านล่าง
บทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับระบบบำบัดน้ำเสีย
สำหรับบทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับระบบบำบัดน้ำเสียนั้นจะช่วยทั้งการเพิ่มและการเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบบำบัดได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ .-
1. ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดมีน้อย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีน้อย ) อันเนื่องมาจากปัญหาเหล่านี้
1.1 เครื่องเติมอากาศเสียรอซ่อม จะทำให้ในบ่อบำบัดปริมาณออกซิเจนจะลดลงเรื่อยๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จะทำให้น้ำเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น ซึ่งกว่าจะรันระบบเริ่มใหม่หรือบูทระบบใหม่ต้องใช้เวลานาน ในขณะที่ของเสียและน้ำเสียเพิ่มขึ้นตลอดเวลา จนกลายไปเป็นวิกฤตน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นทั่วบ่อบำบัด
1.2 เครื่องเติมอากาศมีกำลังแรงม้าต่ำหรือกำลังวัตต์ต่ำ ซึ่งจะกระจายออกซิเจนได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เครื่องเติมอากาศต้องมีกำลังสมดุลกับปริมาณของน้ำเสีย ( ต้องเผื่อ Overload ประมาณ 10% ) ไม่ควรหยุดเดินเครื่องเติมอากาศเป็นเวลานานๆ เพราะจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดลงได้
1.3 อาหาร( ของเสีย )ไม่เพียงพอ ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อสลายลดลงได้
1.4 ออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและขยายเซลล์( ขยายตัว )ของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน
2. สิ่งแวดล้อมในน้ำเสีย ( ในบ่อบำบัด ) มีปัญหา เช่น ค่าออกซิเจนละลายในน้ำเสียต่ำ ( ค่า DO ต่ำ ) โดยทั่วไปค่า DO ไม่ควรต่ำกว่า 2 mg/l หรือกรณีน้ำเสียมีค่า pH ต่ำมาก หรือสูงมาก จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนโดยตรง อาจตายเกลี้ยงบ่อบำบัดได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องมีการเช็คค่าเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ( ค่า DO , pH ) ถ้าเกิดปัญหาขึ้นต้องรีบแก้ไขทันทีให้ทันเวลาก่อนจุลินทรีย์ย่อยสลายจะตายยกบ่อบำบัด
3. ระบบเกิดการโอเวอร์โหลด ( Overload ) คือ น้ำเสียเข้าระบบมากเกินไปในบางครั้ง ในขณะที่ปริมาณจุลินทรีย์ไม่ได้เพิ่มปริมาณตามน้ำเสียและของเสียที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งได้ ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน ) 4. จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อบำบัด ซึ่งสังเกตได้จากกลิ่นเน่าเหม็นที่รุนแรง สิ่งที่จะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ตายยกบ่อได้มีหลายปัจจัย เช่น มีสารเคมีที่เป็นอันตรายหลุดเข้าไปในบ่อบำบัด หรือในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลยเป็นต้น
จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้ในจุดนี้ ( ปัญหา 1 - 4 ) ไม่ว่าค่า DO ในน้ำเสียจะมีมากหรือมีน้อยหรือไม่มีเลย ค่า pH จะต่ำมากหรือสูงมากก็ไม่มีผลกระทบใดๆต่อการดำรงชีพและการทำงานย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย ) ของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ดังนั้น จึงเป็นกำลังเสริมและกำลังสนับสนุนการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบได้เป็นอย่างดีในยามวิกฤตเกิดปัญหาขึ้นตามข้อ 1 - 4 สามารถทดแทนและแก้ไขปัญหาได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา RUN และ REBOOT ระบบบำบัดใหม่เป็นสัปดาห์ให้เสียเวลา เพราะน้ำเสียเกิดขึ้นตลอดเวลาต้องแก้ไขปัญหาทันที ถึงแม้ว่าระบบบำบัดเดิมไม่มีปัญหาใดๆ แต่ต้องการเริ่งปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย ) ให้เร็วขึ้น ให้การย่อยสลายเกิดได้มากขึ้นกว่าปกติก็สามารถใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเริงปฏิกิริยาได้ทันที ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดและการบำบัดน้ำเสียโดยตรง 2 ) การนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปใช้ในการดับกลิ่น( บำบัดกลิ่น )
จุลินทรีย์คาซาม่า นอกจากมีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสียแล้ว ยังมีคุณสมบัติที่เด่นๆในเรื่องของการดับกลิ่น( บำบัดกลิ่น ) ไม่พึงประสงค์ทุกๆชนิดที่กลิ่นนั้นๆเกิดมาจากสารอินทรีย์หรืออินทรีย์วัตถุ ( ที่มาจากพืชและสัตว์ทุกๆชนิด ) ซึ่งถือเป็นธรรมชาติบำบัด 100% ไม่มีสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม ช่วยลดมลภาวะและมลพิษในสิ่งแวดล้อม ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมโดยตรง จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นประเภทใดได้บ้าง? จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ ( สารที่มาจากพืชและสัตว์ ) น้ำเน่าเสีย น้ำเน่าเหม็น 2. กลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ กลิ่นเหม็นส้วม กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ 3. กลิ่นเหม็นจากปัสสาวะและอุจจาระทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด 4. กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากการเก็บของเสียต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นมา 5. กลิ่นคาวเลือดหรือคาวปลาในโรงงานเชือดไก่ เชือดสุกร หรือโรงงานเชือดปลา เป็นต้น 6. กลิ่นจากบ่อขยะ หรือกลิ่นจากถังขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ 7. กลิ่นเหม็นจากท่อระบายน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็นจากน้ำที่เน่าเสีย 8. กลิ่นเน่าเหม็นจากไขมัน จากบ่อดักไขมันตามร้านอาหารหรือโรงอาหาร เป็นต้น 9. กลิ่นเหม็นจากการหมักพืชและสัตว์ 10. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด ฯ ล ฯ
เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า(จุลินทรีย์หอม kasama)จุลินทรีย์หอม 2 IN 1 เจ้าแรกของประเทศไทย เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย และ เป็นจุลินทรีย์ดับกลิ่น( บำบัดกลิ่น )ที่มีกลิ่นหอมในตัวเดียวกัน จำหน่ายมามากกว่า 10 ปี โปรดระวังของปลอมมิจฉาชีพที่ลอกเลียนแบบของเรา ทั้งเนื้อหาสาระต่างๆ ผิดกฎหมายทั้งอาญาและแพ่ง
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา
จุลินทรีย์ดับกลิ่น ราคา
ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท
ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2-3 วันทำการขนส่ง จุลินทรีย์ทุกชนิดเป็นสาร( สิ่งมีชีวิต )จากธรรมชาติไม่ใช่ของวิเศษใดๆ การนำไปใช้งานในแต่ละด้านนั้น จะต้องมีความรู้ในสิ่งที่นำไปใช้ การใช้เป็น(ใช้ถูกต้องและเหมาะสม) และใช้ถึงจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ที่นี่..เราวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาแนะนำให้กับลูกค้าที่ซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปจากเรา ให้ใช้งานจุลินทรีย์ในแต่ละเรื่องอย่างถูกต้อง เช่น การนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียใช้อย่างไร ใช้ในจุดใด ใช้ในปริมาณเท่าใด ปรับให้เข้ากับบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่ลูกค้ามีอยู่อย่างไร หรือกรณีการนำจุลินทรีย์ไปใช้ในการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น ) จะใช้อย่างไร ใช้ในจุดไหน ใช้ปริมาณเท่าใด ฯลฯ การใช้จุลินทรีย์อย่างตรงจุดและตรงประเด็น การใช้งานจุลินทรีย์เป็นและใช้ถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า เราปฏิบัติเช่นนี้
จุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งลดค่า TKN ( กำจัดไนโตรเจน ) คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ลดค่า TKN ( ไนโตรเจน )ในบ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... จุดประสงค์ของการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. |