การกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย
การกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย = การลดค่า BOD , SS , TDS , FOG โดยตรง สารอินทรีย์( สารที่มาจากพืชและสัตว์ทุกๆชนิด )ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ปะปนกันไป ในการกำจัดสารอินทรีย์เหล่านี้ให้ออกไปจากน้ำเสียจึงต้องใช้หลากหลายวิธีการร่วมกัน ในน้ำเสียโดยทั่วๆไป โดยเฉพาะน้ำเสียจากอาคารสำนักงานต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียที่ไปจากการใช้น้ำในห้องน้ำและห้องส้วม บรรดาของเสียต่างๆที่เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นสารอินทรีย์ที่ไปจากมนุษย์แทบทั้งสิ้น( จากการใช้ห้องน้ำห้องส้วม )โดยเฉพาะของเสียและสิ่งปฏิกูลต่างๆคือสารอินทรีย์ทั้งหมด สารอินทรีย์ในที่นี้หมายถึงสารที่มาจากพืชและสัตว์ทุกๆชนิด สารอินทรีย์เหล่านี้เกิดการเน่าเสียกลายไปเป็นของเสียได้ สารอินทรีย์เหล่านี้จะถูกย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่มีอยู่ในธรรมชาติ และแปรสภาพเปลี่ยนสถานะสารอินทรีย์ให้มีขนาดโมเลกุลของสสารเล็กลงไปเรื่อยๆจนขั้นตอนสุดท้ายจะแปรสถานะไปเป็นน้ำ พลังงาน และก๊าซในที่สุด ในการแปรสภาพย่อยสลายสารอินทรีย์ของจุลินทรีย์ต้องใช้เวลาที่แตกต่างกัน ถ้าสารอินทรีย์มีขนาดใหญ่ จุลินทรีย์ก็จะใช้เวลาในการแปรสภาพย่อยสลายนานมากขึ้น ถ้าสารอินทรีย์มีขนาดเล็กย่อยสลายได้ง่ายๆก็จะใช้เวลาในการย่อยสลายไม่นานมาก จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก การทำหน้าที่ในการย่อยสลายของเสียต่างๆต้องใช้เวลา และยังขึ้นอยู่กับขนาดของเสียนั้นๆว่ามีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ซึ่งใช้เวลาในการย่อยสลายที่แตกต่างกัน บรรดาของเสียทั้งหมดทั้งมวลในโลกใบนี้จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ทั้งหมด( จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ) การกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย น้ำที่เน่าเสียหรือน้ำเสียส่วนใหญ่เกิดจากการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ ค่า BOD ค่า SS สูงจะทำให้รู้ว่าในน้ำเสียมีปริมาณสารอินทรีย์สูง ในการกำจัดสารอินทรีย์เหล่านี้ออกจากน้ำเสียจะส่งผลทำให้ค่า BOD , SS , TDS , FOG ลดลงในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะค่า SS , TDS จะลดลงได้มากเป็นพิเศษ ในการกำจัดหรือแยกสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียออกจากน้ำเสียนั้นมีหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นการบำบัดน้ำเสียทางกายภาพในเบื้องต้น เช่น การตกตะกอนของเสีย การใช้ฟิลเตอร์กรองหยาบและกรองละเอียด การแยกของเสียที่มีขนาดใหญ่ออกจากน้ำเสียด้วยวิธีการต่างๆเป็นต้น แล้วนำของเสียเหล่านี้ไปกำจัดทิ้งในที่อื่น ซึ่งจะส่งผลให้สารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆลดลงและมีน้อยลง จะมีก็เฉพาะขนาดเล็กที่ผ่านชั้นของการตกตะกอน การกรองหยาบและกรองละเอียด ทำให้ของเสียที่มีขนาดใหญ่ถูกกำจัดออกไปจากระบบบำบัด เป้นการลดค่า SS และ TDS ไปในตัว รวมถึงค่า BOD และ FOG ก็ลดลงไปได้ในระดับหนึ่ง เป็นการลดภาระการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในบ่อเติมอากาศ เมื่อของเสียลดลงและมีน้อยลง จะส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าผ่านเกณฑ์กำหนดได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ในการบำบัดน้ำเสียจึงต้องใช้กรรมวิธีการบำบัดทั้งทางกายภาพ และชีวภาพร่วมกัน หรือในบางกรณีอาจใช้สารเคมีบำบัดร่วมด้วย ถ้าน้ำเสียนั้นๆปนเปื้อนสารเคมีจนไม่สามารถแก้ไขบำบัดด้วยวิธีทางกายภาพและวิธีทางขีวภาพได้ การกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียในเบื้องต้นด้วยวิธีทางกายภาพตามที่กล่าวมา( การบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ )จะช่วยลดปริมาณของเสียต่างๆที่เป็นสารอินทรีย์เจือปนอยู่ในน้ำเสียลงได้มากพอสมควร( มากกว่า 50% ) ลำดับต่อไปจะเข้าสู่กระบวนการกำจัดสารอินทรีย์ด้วยวิธีทางชีวภาพ( การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ ) ซึ่งก็คือ การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย )และกลุ่มจุลินทรีย์ที่จะนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติทั่วๆไป( ดิน น้ำ และอากาศ )เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า บรรดาของเสียทั้งหมดทั้งมวลบนโลกใบนี้ จะถูกย่อยสลายสลายและแปรสภาพโดยจุลินทรีย์ย่อยสลาย ของเสียไม่ล้นโลกก็มาจากผลงานของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายนี้เอง บรรดาสารอินทรีย์ที่มาจากพืชและสัตว์ทุกๆชนิดทุกๆประเภทก็จะถูกย่อยสลายและแปรสภาพโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย สำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆบนโลกใบนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มหลักๆที่มีอยู่ในธรรมชาติ คือ 1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก( Aerobic Bacteria หรือ Aerobic Microorganisms )จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้จะขาดออกซิเจนไม่ได้ มันจะนำออกซิเจนไปใช้ในการดำรงชีพ เจริญเติบโตขยายเซลล์และใช้ในการทำปฏิกิรยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย ดังนั้น ในน้ำเสียต้องมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่มากเพียงพอ เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้นำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ ถ้าออกซิเจนในน้ำเสียมีปริมาณน้อย ก็จะส่งผลให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้มีปริมาณน้อยตามไปด้วย หรือกรณีที่ออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียไม่มีเลย( ค่า DO=0 )ก็จะส่งผลต่อจุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ ซึ่งสังเกตุได้จากกลิ่นเน่าเหม็นที่รุนแรงและน้ำเสียมีสีดำ แทบจะทุกๆระบบบำบัดจะนิยมใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลัก ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่( มากกว่า 90% )จะเป็นระบบแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS )ระบบบำบัดน้ำเสียระบบนี้จะเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสีย กระจายออกซิเจนไปให้ทั่วทั้งบ่อบำบัดให้มากที่สุด เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้นำไปใช้ในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย บรรดาของเสียต่างๆซึ่งรวมทั้งสารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายมากที่สุดในบ่อเติมอากาศนี้ เพราะมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมาก จึงเกิดการย่อยสลายของเสียมากที่สุด 2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน( Anaerobic Bacteria หรือ Anaerobic Microorganisms )จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะแตกต่างไปจากจุลินทรีย์ในกลุ่มแรก( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน )ตรงที่จะไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ ดังนั้น ในน้ำเสียจะมีออกซิเจนละลายอยู่หรือไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลย จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ก็สามารถทำหน้าที่ย่อยสลายได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อการดำรงชีพและการทำหน้าที่ย่อยสลายของเสีย จุลินทรีย์ย่อยสลายทั้ง 2 กลุ่มที่กล่าวมา มีอยู่ในธรรมชาติรวมกันประมาณ 10% ของจุลินทรีย์รวมทุกๆกลุ่มในโลกนี้ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ในหลายๆด้าน และหนึ่งในประโยชน์ของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ นำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย( ปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสีย )ของจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้ง 2 กลุ่มที่กล่าวมาจะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน คือ การแปรสภาพย่อยสลายของเสียต่างๆ( ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ )ให้เปลี่ยนสถานะของสสารกลายไปเป็น น้ำ พลังงาน และก๊าซ ซึ่งเป็นการกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำเสียให้หายไปกลายไปเป็นน้ำ พลังงานและก๊าซในที่สุดตามสมการจำลองด้านล่าง เป็นการบำบัดของเสียขั้นตอนสุดท้ายโดยจุลินทรีย์ย่อยสลาย
นี้คือกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีชีวภาพ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย )หรือบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ คือ การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในธรรมชาติ และส่วนหนึ่งมนุษย์สร้างขึ้น( ระบบบำบัดน้ำเสีย )เพื่อทำลายของเสียที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียออกให้หมด น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทั้งการรดต้นไม้และอื่นๆ น้ำเสียสร้างทั้งมลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม และยังเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ( ทั้งพืชและสัตว์ )น้ำที่เน่าเสียวิกฤตหนักจะไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ จะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำเสียโดยตรง ในการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย )จะเป็นการกำจัดหรือทำลายสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการแปรสถานะของสารอินทรีย์ให้สลายกลายไปเป็น น้ำ พลังงาน และก๊าซ ในที่สุด( ตามสมการจำลองด้านบน ) ดังนั้น กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียจึงเป็นตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดในการแปรสภาพสารอินทรีย์ในขั้นตอนสุดท้ายของการกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียในน้ำเสียจะต้องแปรผันตรงกับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น จึงจะสมดุลกัน น้ำเสียมีมาก ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายต้องมีมากตามไปด้วย แต่ถ้าเกิดการไม่สมดุลกันขึ้นเมื่อใดระหว่างน้ำเสียกับปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลาย ระบบบำบัดและการบำบัดน้ำเสียก็จะมีปัญหาทันที ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดปัญหาจุลินทรีย์ย่อยสลายมีปริมาณน้อยกว่าน้ำเสียและของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงติดตามมาด้วยค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด จุลินทรีย์หอมคาซาม่าช่วยแก้ปัญหาในการกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย( ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย )เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( บำบัดน้ำเสีย )ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย จะไม่มีการดึงเอาออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ( ไม่ไปแย่งออกซิเจนจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก )สามารถนำไปทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนได้ทันที ในกรณีที่ระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อย หรือจุลินทรีย์ย่อยสลายในบ่อบำบัดตายยกบ่อ อันเนื่องมาจากขาดออกซิเจนหรือจากปัญหาอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายที่มีอยู่ในบ่อบำบัด จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะช่วยทั้งเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้ผลลัพธ์ในการย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย )ได้เหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ช่วยเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้ดีมากยิ่งขึ้น เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม จึงเป็นจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ใช้บำบัดน้ำเสียได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น )ในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่ายแกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2-4 วันทำการขนส่ง( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้-ไกล )
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
|