สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดมีปริมาณน้อย
สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดและสำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัด คือ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย( จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) เพราะมันคือตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายในการแปรรูปของเสียที่อยู่ในสถานะของสสารต่างๆให้สลายไปเป็น น้ำ พลังงาน และก๊าซ ในที่สุด ตามสมการจำลองด้านล่าง สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อยดูได้จากปัจจัยใด ? สำหรับวิธีการดูว่าปริมาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสียเริ่มมีปริมาณน้อยลงหรือมีปริมาณลดลง ดูได้จากข้อมูลต่อไปนี้ 1. ดูจากกลิ่นและสี ถ้าน้ำเสียเริ่มส่งกลิ่นเน่าเหม็น แสดงให้รู้ว่าปริมาณจุลินทรีย์ในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อยกว่าของเสีย ทำให้การบำบัดของเสีย( ย่อยสลายของเสีย )ไม่ทัน จึงทำให้เกิดน้ำเน่าเหม็นขึ้น หรือกรณีจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียตายยกบ่อบำบัดไม่ว่าเกิดจากสาเหตุใดๆก็ตาม น้ำเสียจะเกิดการเน่าเหม็นวิกฤตทั้งระบบบำบัด หรือกรณีที่น้ำเสียมีสีดำผิดปกติ ตามมาด้วยกลิ่นเน่าเหม็น ซึ่งเป็นข้อมูลทางกายภาพที่สามารถรับรู้ได้จากสีและกลิ่นของน้ำเสียนั้นๆ 2. ดูจากข้อมูลรายงานการตรวจสอบค่าน้ำในบ่อบำบัดบ่อสุดท้าย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่า จะเป็นตัวชี้วัด จะรายงานถึงประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ถ้าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งค่าใดค่าหนึ่งหรือหลายๆค่าไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด จะทำให้เรารู้ว่าประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียเริ่มต่ำลง หมายความว่า บรรดาของเสียส่วนใหญ่ถูกบำบัดยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งตัวจักรที่ทำหน้าที่ในการบำบัดของเสีย( ย่อยสลายของเสีย )ก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายนั่นเอง ความหมายก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบมีปริมาณน้อยกว่าของเสีย ผลลัพธ์จึงออกมาในรูปของค่ามาตรฐานน้ำทิ้งหลายๆค่าไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดนั่นเอง 3. ตรวจสอบน้ำเสียในบ่อบำบัดจากค่า pH และ ค่า DO ในเบื้องต้น ถ้าค่า pH ต่ำมากๆหรือสูงมากๆ จะมีผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักทันที อาจส่งผลให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ตายยกบ่อได้ทุกเมื่อ จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วง pH 5 - 9 ถ้าค่า pH ของน้ำเสียต่ำมากกว่านี้คือ ต่ำกว่า 5 หรือสูงมากกว่า 9 ขึ้นไป จะทำให้การเจริญเติบโตและขยายเซลล์ของจุลินทรีย์ย่อยสลายลดลงเรื่อยๆ ทำให้ในระบบบำบัดมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายลดลง ในระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะนิยมใช้งานกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน สำหรับการทดสอบค่า DO ( ปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย ) ของน้ำเสียที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนดำรงชีพอยู่ได้ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 2 mg/l ขึ้นไป ดังนั้น จึงต้องหมั่นตรวจสอบค่า DO ในบ่อบำบัดน้ำเสียอยู่เป็นประจำ ( ในบ่อเติมอากาศ ) ถ้าค่า DO ลดลงเมื่อใด ต้องรีบเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในบ่อเติมอากาศให้มากขึ้นทันที อย่ารอให้จุลินทรีย์ตายหมดเพราะขาดออกซิเจน สิ่งแวดล้อมในบ่อบำบัด( ค่า pH )และปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย( ค่า DO ) เป็นสิ่งจำเป็นและมีผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ดังนั้น จึงควรมีเครื่องมือตรวจสอบทั้งค่า pH และค่า DO ในบ่อบำบัดน้ำเสียอยู่เป็นประจำ ถ้าปฏิบัติได้ในทุกๆวันยิ่งเป็นการดีมาก เพราะจะทำให้รู้ถึงความเป็นไปของระบบบำบัด และถ้าเกิดปัญหาขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง( ค่า pH และค่า DO ) ก็สามารถแก้ไขได้ทันทีและทันเวลา( ก่อนจุลินทรีย์ย่อยสลายตายหมดทั้งบ่อบำบัด ) นี่คือสัญญาณการตรวจสอบปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียในระบบบำบัดมีปริมาณน้อย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย )ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากหลายวิธีตามที่กล่าวมา ทั้งวิธีเชิงกายภาพและวิธีเชิงคุณภาพร่วมกัน เป็นการตรวจสอบสุขภาพของระบบบำบัดน้ำเสียว่ายังมีสุขภาพดีอยู่หรือไม่( มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียดีอยู่หรือไม่ )ข้อดีของการหมั่นตรวจสอบอยู่เป็นประจำ จะทำให้รู้ถึงความเป็นไปของระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆว่ายังมีประสิทธิภาพดีอยู่หรือไม่ และถ้าเกิดปัญหาใดๆขึ้นในระบบบำบัดก็สามารถทำการแก้ไขปัญหาได้ทันที ไม่ต้อง Reboot ระบบบ่อยๆ การตรวจสอบระบบบำบัดควรอยู่ในแผนการดูแลบำรุงรักษาและการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าขององค์กรหรือหน่วยงานแต่ละแห่งที่ต้องรับผิดชอบ
สาเหตุที่จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อยหรือลดลง 1. เครื่องเติมอากาศ( Aerator )มีกำลังแรงม้าหรือกำลังวัตต์ต่ำ ทำให้การเติมอากาศกระจายได้ไม่ทั่วถึงในทุกๆจุดของบ่อบำบัด จุดใดที่ไม่มีออกซิเจนหรือออกซิเจนมีเบาบาง กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจนจะไม่เข้าไป เพราะไม่มีออกซิเจนหล่อเลี้ยงชีวิตและการเจริญเติบโตขยายตัว ของเสียในจุดนั้นๆจึงไม่ได้รับการบำบัด( ย่อยสลาย ) 2. เครื่องเติมอากาศเสียบ่อยๆ หรือ การเดินเครื่องเติมอากาศไม่ต่อเนื่อง เปิดๆปิดๆบ่อยๆ เพราะกลัวสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า 3. ไม่มีการเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสียเลย 4. สิ่งแวดล้อมในบ่อบำบัดไม่เหมาะสม เช่น มีปัญหาในเรื่องค่า DO ต่ำบ่อยๆ , ค่า pH ต่ำหรือสูงบ่อยๆ ส่งผลให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเจริญเติบโตได้ไม่ดี ไม่ค่อยขยายตัวเพิ่มขึ้นตามปกติทั่วไป 5. สารเคมีที่เป็นอันตรายบางชนิดที่ปนเปื้อนอยู่กับน้ำเสียเข้าไปทำลายจุลินทรีย์ย่อยสลาย เนื่องจากระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่( มากกว่า 90% )เป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสีย( Activated Sludge : AS )เพื่อให้น้ำเสียมีปริมาณออกซิเจนเพียงพอสหรับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย )การดำรงชีพและขยายเซลล์ให้ได้มากขึ้น ในน้ำเสียนั้นๆปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียต้องมีมากเพียงพอกับการนำไปใช้ของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ถ้าออกซิเจนในน้ำเสียมีปริมาณน้อย( น้อยกว่า 2 mg/l )ก็จะส่งผลให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนน้อยตามไปด้วย ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียก็จะด้อยลงทันที ของเสียจำนวนมากในน้ำเสียไม่ได้รับการบำบัด( ย่อยสลาย )หรือย่อยสลายได้เล็กน้อย ส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งหลายๆค่าไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด การแก้ไขปัญหาปริมาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดมีน้อย วิธีที่ 1 ตรวจสอบอาหารและออกซิเจนของจุลินทรีย์ว่ามีเพียงพอหรือไม่ สำหรับอาหารของจุลินทรีย์จะไม่น่าเป็นห่วง เพราะของเสียต่างๆในน้ำเสียที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์มีมากเพียงพออยู่แล้ว แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ( ค่า DO )มีมากเพียงพอสำหรับจุลินทรีย์นำไปใช้ในการดำรงชีพการเจริญเติบโตขยายเซลล์และการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ปัญหานี้จะพบบ่อยๆและพบเป็นประจำสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียหลายๆแห่ง การแก้ไขปัญหาปริมาณออกซิเจนในน้ำเสียมีน้อยด้วยการเพิ่มออกซิเจนลงไปในระบบบำบัด( บ่อเติมอากาศ )ให้มากขึ้น เพื่อการเจริญเติบโตและขยายตัวให้ได้มากขึ้นของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน และต้องเติมออกซิเจนให้กระจายทั่วถึงในทุกๆส่วนของบ่อบำบัด เพื่อให้จุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายของเสียต่างๆได้อย่างทั่วถึงในทุกๆจุดของบ่อบำบัด วิธีที่ 2 ด้วยการเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนเข้าไปในระบบบำบัด( เติมลงในบ่อบำบัดบ่อแรก )วิธีนี้จะง่ายกว่าวิธีแรก ซึ่งสามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในแต่ละครั้งมากหรือน้อยได้ตามความต้องการ( กำหนดปริมาณได้ ) จะไม่เหมือนจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มแรก( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน )ที่เราไม่สามารถกำหนดปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในแต่ละครั้งหรือแต่ละช่วงเวลาได้ตามความต้องการใช้งาน ในการใช้วิธีนี้จะเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบบำบัดซ้ำ( Double Treatment )ด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่มคือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งในระบบบำบัดเดิมก็มีอยู่แล้ว แต่ปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะมีปริมาณน้อยมากในระบบบำบัด ในปัจจุบันเราสามารถนำกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนจากธรรมชาติมาสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการได้ เพื่อเพิ่มจำนวนเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ให้มากขึ้นได้ตามความต้องการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆรวมทั้งใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสีย จุดเด่นๆของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้คือ ไม่มีการดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมาใช้งาน( ไม่ไปแย่งออกซิเจนจากลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจน )ไม่ว่าน้ำเสียนั้นๆจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ไม่มีผลกระทบใดๆต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน นอกจากนี้ยังมีความต้านทานต่อสภาพแวดล้อมน้ำเสียที่วิกฤตได้ดีอีกประการหนึ่ง
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย )และการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น )ไม่พึงประสงค์ทุกชนิด เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ช่วยเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถนำไปทดแทนจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสียที่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายมีปริมาณน้อยได้ทันที ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นทันที ไม่ต้องไปเสียเวลารอ Reboot ระบบบำบัดใหม่เป็นสัปดาห์อีกต่อไป Run ระบบบำบัดได้ตามปกติ การบำบัดน้ำเสียเป็นไปอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม จึงเป็นจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ใช้บำบัดน้ำเสียได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่นดับกลิ่นในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีถึงที่ทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2-4 วันทำการขนส่ง( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้-ไกล )
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
|