จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า (( ขอบคุณทุกๆท่านที่กรุณากด แชร์ ( Share ) ให้กับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ))
กำจัดไนโตรเจนหรือลดค่า TKN ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถกำจัดไนโตรเจนได้แล้ว เพราะเราได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ตัวที่ลดค่า TKN ในน้ำเสียได้ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเพียงเท่านั้น เพิ่ม และ เสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน ด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้รับประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย และการดับกลิ่นกำจัดกลิ่นในเวลาเดียวกันทันที Boost & Reboost ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆครั้งด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัด เพื่อการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียได้รวดเร็วมากขึ้น ลดค่า BOD,SS,TDS,FOG,TKN ในน้ำเสียบ่อบำบัด จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียในตัวเดียวกัน( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย&จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย )ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด เป็นกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพ จึงแก้ปัญหาน้ำเสียที่มีออกซิเจนต่ำหรือไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย( Waste Water Treatment Bacteria หรือ Waste Water Treatment Microorganism ) คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นสัตว์เซลล์เดียวที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ ซึ่งรวมถึงของเสียต่างๆที่เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทุกชนิด ในน้ำเสียจะมีสิ่งสกปรกปนเปื้อนอยู่ ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ในการแยกสารเหล่านี้ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียมีหลากหลายวิธีด้วยกัน และหนึ่งในวิธีการแยกสารเหล่านี้ออกมาจากน้ำเสียก็ด้วยวิธีการใช้จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียได้ดี จึงเป็นที่มาของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียนั่นเอง
ทำไมต้องใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย ? กระบวนการบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธีด้วยกัน ทั้งวิธีทางกายภาพ วิธีทางเคมี และวิธีทางชีวภาพ ในการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพก็คือ การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย )ในการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ถือว่าเป็นการกำจัดของเสียในขั้นตอนสุดท้าย เพื่อแปรสภาพและสถานะของเสียทุกๆชนิดให้เปลี่ยนรูปไปเป็น น้ำ พลังงาน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในที่สุดของการกำจัดของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ ซึ่งเป็นไปตามสมการจำลองด้านล่าง ไม่ว่าการกำจัดของเสียต่างๆที่เจือปนและปนเเปื้อนอยู่ในน้ำเสียจะใช้วิธีการใดๆก็ตาม แต่ขั้นตอนสุดท้ายของการกำจัดของเสีย ต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียประการเดียวเท่านั้นของเสียจึงจะแปรเปลี่ยนสภาพและสถานะได้ และจุลินทรีย์ที่จะใช้ในการย่อยสลายของเสียต่างๆนั้นจะต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียเพียงเท่านั้น จึงจะนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้ เปฌนกลุ่มจุลินทรีย์ที่รักษ์โลก ขยะและของเสียรวมถึงน้ำเสียไม่ล้นโลกใบนี้ก็มาจากผลงานของจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลัก จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีกี่ประเภท ? สำหรับจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย )จะมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มหรือ 2 จำพวกดังต่อไปนี้ คือ 1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจน( Aerobic Bacteria หรือ Aerobic Microorgannisms )เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ต้องใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพ เจริญเติบโต การขยายตัว( ขยายเซลล์ )และใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ขาดออกซิเจนไม่ได้ ในน้ำเสียนั้นๆจะต้องมีปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมากเพียงพอที่จุลินทรีย์จะนำออกซิเจนมาใช้งานได้ตลอดเวลา ออกซิเจนลดลงหรือมีปริมาณน้อยเมื่อใดจะส่งผลกระทบโดยตรงกับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ทันที ดังนั้น ในบ่อบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะในบ่อเติมอากาศ จะต้องมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียในปริมาณที่มากเพียงพอสำหรับการนำไปใช้งานของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ ค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียที่เหมาะสม( ค่า DO )จะมีค่ามากว่าหรือเท่ากับ 2 mg/l ขึ้นไป( ค่า DO >= 2 mg/l ) และค่า pH อยู่ในช่วง 5 - 9 ไม่ควรต่ำหรือสูงกว่าปริมาณที่กำหนด ถ้าค่า pH สูงมากๆหรือต่ำมากๆจะมีผลกระทบทันทีต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ อาจตายยกบ่อได้ตลอดเวลา ควรหมั่นตรวจสอบระบบบำบัดอย่างน้อย 2 ค่านี้อยู่เป็นประจำ( ค่า DO และ ค่า pH ของน้ำเสียในบ่อบำบัด ) 2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน( Anaerobic Bacteria หรือ Anaerobic Microorgannisms )เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพ การเจริญเติบโต การขยายเซลล์เหมือนจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มแรก ในน้ำเสียไม่ว่าจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียเลย จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ก็สามารถอยู่ได้และทำงานย่อยสลายได้ตามปกติไม่มีผลกระทบใดๆทั้งสิ้น เป็นคุณสมบัติที่เด่นๆของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ซึ่งแตกต่างไปจากกลุ่มแรก แต่ปฏิกิริยาการของสลายของเสียในน้ำเสีย( บำบัดน้ำเสีย )ได้ผลลัพธ์เหมือนกัน แต่จุดด้อยของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ก็คือ การดึงมาใช้งานจากธรรมชาติค่อนข้างยาก ไม่เหมือนกับกลุ่มแรกที่สามารถดึงมาใช้งานได้ง่ายกว่ากลุ่มนี้ ถ้าจะนำมาใช้งานให้ได้ปริมาณมากตามที่ต้องการ จะต้องใช้วิธีการสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการจึงจะได้มาซึ่งจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ ความยากง่ายจึงอยู่ในจุดนี้ จุลินทรีย์ย่อยสลายทั้ง 2 กลุ่มนี้ ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน และ กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน )มีอยู่กระจัดกระจายทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศรอบๆตัวของเรา ในการดึงมาใช้ประโยชน์หรือใช้งาน จะต้องออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการดำรงชีพ การขยายเซลล์ โดยเฉพาะของแต่ละกลุ่ม ถ้าดูแลและบำรุงรักษาบริหารจัดการไม่ดีพอ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง จะต้องดูแลและรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายให้อยู่กับระบบให้ได้มากที่สุด ออกซิเจนและอาหารในน้ำเสียต้องเพียงพอให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก สิ่งแวดล้อมต่างๆต้องเหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อความเป้นอยู่ของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัด ปฏิกิริยา( การทำงาน )ของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเป็นอย่างไร ? สำหรับการทำงานย่อยสลายของเสียหรือปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้ง 2 กลุ่มที่กล่าวมาจะได้ผลลัพธ์เหมือนกันคือ การแปรสภาพและสถานะของเสียต่างๆให้กลายไปเป็น น้ำ พลังงาน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในที่สุดของปฏิกิริยา ซึ่งเป็นไปตามสมการจำลองด้านล่างนี้
ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆที่เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสีย( ปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสียของจุลินทรีย์ย่อยสลาย )จะได้ผลลัพธ์เป็นไปตามสมการจำลองด้านบน บรรดาขยะและของเสียต่างๆไม่ล้นโลกในทุกวันนี้ ก็มาจากผลงานของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเหล่านี้เป็นหลัก จึงได้ชื่อว่า จุลินทรีย์รักษ์โลก ช่วยรักษาโลก รักษาสิ่งแวดล้อมในโลกนี้ ช่วยลดมลภาวะและมลพิษต่างๆ ของเสียให้หายหรือสลายไป ของเสียถูกแปรสภาพ ขยะถูกย่อยสลาย ฯลฯ ล้วนมาจากผลงานของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งหมด ในการย่อยสลายของเสียแต่ละชนิดของจุลินทรีย์ย่อยสลายจะใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายไม่เท่ากัน ถ้าของเสียที่มีขนาดเล็กก็จะใช้เวลาในการย่อยสลายน้อย แต่ถ้าของเสียมีขนาดใหญ่ก็จะใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนานขึ้น อาจเป็นเดือน เป็นปี หรือหลายๆปีก็มี เพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายมีขนาดเล็ก จุลินทรีย์ทุกชนิดทั้งมีประโยชน์ มีโทษ และเป็นกลางล้วนอยู่ใกล้ๆตัวและติดตัวของเราทุกๆคนอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่เราไม่สามารถมองเห็นได้ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า คืออะไร ? จุลินทรีย์หอมคาซาม่า คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อีกกลุ่มหนึ่งและมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย( บำบัดน้ำเสีย )ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ รวมถึงการเจริญเติบโตขยายเซลล์( ขยายตัว )รวบรวมและสังเคราะห์ขึ้นจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์จากธรรมชาติ เน้นในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น )เป็นพิเศษ เราได้พัฒนาให้มีกลิ่นหอมเพื่อประโยชน์ในการใช้งานการบำบัดกลิ่นดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ พื้นฐานของการแก้ไขปัญหาต่างๆคือ ความรู้ ที่นี่ เรามุ่งให้ความรู้กับลูกค้าของเรา เพื่อให้ทราบถึงที่มาหรือสาเหตุของปัญหาต่างๆ รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยองค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มุ่งขายสินค้าเพียงอย่างเดียว การบำบัดน้ำเสียและการดับกลิ่นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเราทุกคน น้ำเสียมีแทบทุกแห่ง มลภาวะทางกลิ่นมีอยู่ทั่วไป ถ้าเราเข้าใจปัญหารวมถึงวิธีการแก้ปัญหา ก็จะทำให้ปัญหานั้นหมดไปในที่สุด กระบวนการต่างๆเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์คือสิ่งที่สำคัญ เราวิเคราะห์ปัญหาให้ลูกค้า และแนะนำวิธีการในการแก้ไขปัญหาให้แบบตรงจุดและตรงประเด็นในแต่ละเรื่อง เนื้อหาในเว็บไซต์นี้จึงเต็มไปด้วยเนื้อหาทางวิชาการ มุ่งให้ความรู้และความเข้าใจในแต่ละเรื่องที่นำมาเป็นบทความในที่นี้ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2-4 วันทำการขนส่ง( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้-ไกล )
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. |