จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจน ขอบคุณทุกๆท่านที่กด แชร์ (Share )ให้กับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจน( Aerobic Bacteria หรือ Aerobic Microorganism ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ซึ่งรวมถึงการย่อยสลายของเสียทั่วๆไปด้วย จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้เป็นสัตว์เซลล์เดียว การดำรงชีพและเจริญเติบโต ขยายตัว( แบ่งเซลล์ )รวมถึงปฏิกิริยาการย่อยขยายของเสียจำเป็นต้องมีอาหาร คือ ของเสียต่างๆและอากาศออกซิเจนที่เพียงพอ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ไม่ได้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญทั้งสองอย่างที่กล่าวมานี้ตายทันที ดังนั้น การที่จะดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจนนี้มาใช้งานบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย )จำเป็นจะต้องออกแบบระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ให้ได้ ปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ คือ 1. อาหาร ซึ่งก็คือ บรรดาของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ส่วนใหญ่จะมีอาหารที่มากพอ ไม่ค่อยมีปัญหาในปัจจัยนี้ 2. อากาศออกซิเจน ในน้ำเสียนั้นๆต้องมีปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมากเพียงพอ( มากกว่าหรือเท่ากับ 2 mg/l ขึ้นไป )เพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ต้องนำไปใช้ในการดำรงชีพ เจริญเติบโต ขยายเซลล์ และใช้ในปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสีย ถ้าออกซิเจนในน้ำเสียมีน้อยหรือไม่เพียงพอ( ค่า DO ต่ำกว่า 2 mg/l )จะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ย่อสลายกลุ่มนี้ทันที ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ( ระบบ AS : Activated Sludge )จึงต้องควรหมั่นเช็คค่า DO อยู่เป็นประจำ เพื่อจะทำให้ทราบว่า ในบ่อเติมอากาศมีปริมาณออกซิเจนให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายเพียงพอกับความต้องการใช้ในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย ) สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ สำหรับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ เช่น อุณหภูมิของน้ำเสียต้องไม่ร้อนและเย็นจนเกินไป( อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 18 - 40 C ) ค่า pH ( ความเป็นกรด-ด่าง )ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 5 - 9 และค่า DO >= 2 mg/l ขึ้นไป( ค่า DO ที่เหมาะสม 2-3 mg/l ) ในบ่อเติมอากาศควรเช็คค่าเหล่านี้อยู่เป้นประจำทุกวัน เพื่อให้ระบบบำบัดมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเกิดปัญหาจะทำให้รู้และแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว สิ่งที่พึงเฝ้าระวังในระบบบำบัดน้ำเสีย 1. ไม่ควรให้ค่า pH ต่ำมากๆ หรือสูงมากๆ โดยเฉพาะในบ่อเติมอากาศ เพราะจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนโดยตรง ตายยกบ่อบำบัดได้ตลอดเวลา จุลินทรีย์ย่อยสลายตายสังเกตุจากกลิ่นของน้ำเสียเริ่มเหม็น น้ำเสียมีสีดำ ต้องรีบแก้ไขทันที โดยการปรับปรุงค่า pH ให้อยู่ในช่วง 5 - 9 ให้ได้ 2. ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียหรือค่า DO ( Dissolved Oxygen ) ในบ่อเติมอากาศ ควรควบคุมให้ค่า DO อยู่ในช่วง 2-3 mg/l ให้ได้ ( น้ำดื่มบริสุทธิ์ ค่า DO ประมาณ 5 mg/l ที่อุณหภูมิ 20 C )
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ( AS )จะมีการเติมอากาศลงไปในน้ำเสียในบ่อเติมอากาศ( บ่อที่ 2 ) ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียในบ่อเติมอากาศ( ค่า DO )ต้องคอนโทรลให้ได้ในช่วง 2-3 mg/l จะเหมาะกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จุดเด่นของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจน - ดึงจากธรรมชาติมาใช้งานในการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย )ได้ง่ายๆ เพียงออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมก็สามารถดึงมาใช้งานได้แล้ว ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่( มากกว่า 90% )จึงนิยมใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้มาบำบัดน้ำเสียในระบบ จุดด้อยหรือจุดอ่อนของจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจน - ขาดออกซิเจน หรือออกซิเจนมีน้อยก็ไม่ได้ มีปัญหาทันที อาจตายยกบ่อบำบัดได้ตลอดเวลา - น้ำเสียต้องไม่เป็นกรดหรือด่างมากจนเกินไป ค่า pH ต้องอยู่ในช่วง 5 - 9 จึงจะเหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโต - ทนกับสภาพวิกฤตน้ำเสียมากๆไม่ได้ ( น้ำที่เน่าเสียไม่มีออกซิเจน ) ตายยกบ่อบำบัดได้ตลอดเวลา - ต้องหมั่นตรวจสอบและเช็คค่าต่างๆที่จำเป็นอยู่เป็นประจำ เพื่อไม่ให้กระทบกับการดำรงชีพของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
|