การเฝ้าระวังและติดตามผลของระบบบำบัดน้ำเสีย
ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งและทุกๆระบบจะเกี่ยวข้องกับค่า BOD ค่า pH และค่า DO สำหรับค่าทั้ง 3 ค่านี้( BOD, pH , DO )จะมีความหมายและความสำคัญกับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบและทุกๆแห่งที่มีน้ำเสียที่จะต้องทำการบำบัด ต้องบริหารจัดการทั้ง 3 ค่านี้ให้อยู่ในกรอบมาตรฐานให้ได้ ถ้าทั้ง 3 ค่านี้มีปัญหาหรือเกิดผิดปกติในค่าใดค่าหนึ่งหรือทั้งหมด จะสร้างปัญหาให้กับระบบบำบัดน้ำเสียทันที ทั้งค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน( ค่า BOD สูง )น้ำเสียมีความเป็นกรดสูง( ค่า pH ต่ำ ) น้ำเสียค่า pH สูงมาก( น้ำเสียเป็นเบสสูง )จะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียโดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ ค่า DO ต่ำมาก( ต่ำกว่า 2 mg/l )จะส่งผลให้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีน้อยและอาจลดลงเรื่อยๆจนเข้าสู่ศูนย์ ซึ่งเป็นจุดที่กลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักตายยกบ่อ เพราะขาดออกซิเจนในการดำรงชีพ นี่คือ ความหมายและความสำคัญของค่า BOD , pH และค่า DO ในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่ง การที่ระบบบำบัดน้ำเสียจะมีประสิทธิภาพดีนั้น( บำบัดน้ำเสียได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ทุกๆค่า )จะต้องมีการควบคุมในเรื่องของค่าพารามิเตอร์ที่ถูกกำหนดเป็นค่ากลางเอาไว้ ทั้งค่ามาตรฐานน้ำทิ้งและค่าอื่นๆที่เป็นองค์ประกอบของการบำบัดน้ำเสีย 1. ค่า BOD มีความหมายหรือบ่งชี้ถึงสิ่งใดในการบำบัดน้ำเสียหรือในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่ง น้ำเสียจากทุกๆแหล่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ BOD ค่า BOD ในน้ำเสียจะบอกให้ทราบว่า ในน้ำเสียมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่มากหรือน้อย ถ้าค่า BOD สูง แสดงให้เห็นว่า น้ำเสียนั้นๆมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่มาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าค่า BOD ต่ำ( ต่ำกว่า 20 mg/l )แสดงว่าในน้ำเสียนั้นๆมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่น้อย ค่ามาตรฐานของ BOD โดยทั่วไปจะอยู่ที่ไม่เกิน 20 mg/l นอกจากนี้ค่า BOD ยังเป็นตัวกำนดคุณภาพน้ำเสีย ถ้าน้ำเสียนั้นๆมีค่า BOD เกิน 100 mg/l ขึ้นไป จะแสดงให้รู้ว่า น้ำเริ่มเน่าเสียแล้ว และอาจติดตามมาด้วยกลิ่นน้ำเน่าเหม็น เพราะมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่ในน้ำมาก จึงทำให้เกิดน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น การลดค่า BOD ทำได้ 2 วิธี วิธีที่ 1 คือ วิธีทางกายภาพ ด้วยกระบวนการตกตะกอนและการกรองหยาบกรองละเอียดหลายชั้น วิธีที่ 2 คือ วิธีการทางชีวภาพ ด้วยการใช้จุลินทรีย์บำบัดและย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย 2. ค่า pH มีความสำคัญอย่างไรในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่ง ค่ามาตรฐาน pH ของน้ำทิ้งโดยทั่วไปจะอยู่ในช่วง 5 - 9 ซึ่งเป็นช่วงที่จุลินทรีย์ในน้ำเสียเจริญเติบโตได้ดี น้ำทิ้งไม่เป็นกรดมากเกินไปและไม่เป็นด่างมากเกินไป แต่ถ้าให้ดีควรเป็น pH Balance ( pH = 7 ) ค่า pH ม่ผลกระทบต่อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดโดยตรง ถ้าค่า pH สูงมากๆหรือต่ำมากๆ อาจทำให้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ ดังนั้น จึงต้องควบคุมค่า pH ไม่ให้สูงหรือต่ำจนเกินไป พยายามให้อยู่ในช่วง 5 - 9 นี้ทั้งระบบบำบัด 3. ค่า DO มีความสำคัญอย่างไรในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะเป็นระบบแบบเติมอากาศ AS ( Activated Sludge )วัตถุประสงค์ของการเติมอากาศลงไปในน้ำเสีย ก็เพื่อให้น้ำเสียมีปริมาณออกซิเจนเพียงพอและให้กลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้งานและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS จะใช้งานจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ในการที่จะดึงจุลินทรีย์กลุ่มนี้มาใช้งาน ในน้ำเสียจะต้องมีปริมาณออกซิเจนและอาหารเพียงพอสำหรับการดำรงชีพ ขยายตัวและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย( บำบัดน้ำเสีย )ถ้าในน้ำเสียนั้นๆมีออกซิเจนน้อย จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็จะมีปริมาณน้อยตามไปด้วย ถ้าในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนเลย ( ค่า DO = 0 )จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้ก็ตายยกบ่อบำบัด เพราะขาดออกซิเจนในการดำรงชีพ นี้คือความสำคัญของค่า DO ในน้ำเสีย น้ำที่มีค่า DO ต่ำกว่า 2 mg/l จะเป็นน้ำเสีย สำหรับน้ำดื่มทั่วๆไป ค่า DO จะอยู่ประมาณ 4 - 5 mg/l การควบคุมค่า DO ในบ่อบำบัด โดยเฉพาะบ่อเติมอากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก การเช็คค่า DO สามารถทำได้ในทุกๆบ่อ ทั้งบ่อเติมอากาศ บ่อพักน้ำทิ้ง สรุป ควรเช็คค่า BOD , pH และ DO เป็นประจำทุกวัน ซึ่งเป็นการบริหารจัดการระบบบำบัดที่ควรปฏิบัติในทุกๆแห่งที่มีระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนค่ามาตรฐานน้ำทิ้งตัวอื่นๆควรตรวจเช็คปีละครั้งเป็นอย่างน้อย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทางเลือกใหม่สำหรับระบบบำบัดที่มีปัญหา สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่วิกฤตในบ่อบำบัดน้ำเสียได้ดี ถึงแม้ว่าค่า DO เป็นศูนย์ก็สามารถทำงานย่อยสลายบำบัดน้ำเสียได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ เพราะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพ หรือกรณีที่ค่า pH ในน้ำเสียต่ำมาก( เป็นกรด )หรือสูงมาก( เป็นเบสหรือด่าง ) ก็สามารถต้ม่า( จุลินทรีย์หอม kasama )เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์ มีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น ทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตของน้ำเสียได้ดี ค่า DO ในน้ำานทานสิ่งแวดล้อมที่วิกฤตเหล่านี้ได้ จึงเป็นทางเลือกในการเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบและการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแห่ง ที่นี่..เราให้คำแนะนำและคำปรึกษากับลูกค้าที่ซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจากเราฟรีๆ ทั้งปรึกษาในเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ขั้นตอนการบำบัด ปัญหาทางเทคนิคในด้านต่างๆ ของระบบบำบัด การแก้ปัญหาระบบบำบัดที่ล้มเหลว ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ฯ ล ฯ ลูกค้าที่สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าทุกๆท่านจะได้รับสิทธิ์ปรึกษาเราได้ฟรีๆ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ได้รับสินค้าภายใน 2 - 4 วันทำการขนส่ง( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้-ไกล )
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
|