การบริหารจัดการในฟาร์มเลี้ยงหมู
เทคนิคการเลี้ยงหมูให้ของเสียเป็นศูนย์( Waste = 0 ) บริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงหมูอย่างไรให้ของเสียเป็น ศูนย์ ? ( Waste = 0 ) ในการเลี้ยงสุกรหรือเลี้ยงหมู ถ้าเลี้ยงตัวสองตัวก็ไม่ค่อยมีปัญหามาก แต่ถ้าเลี้ยงตั้งแต่ 10 ตัวขึ้นไป ปัญหาจะเริ่มมาเยือนแล้ว ของเสียและกลิ่นคือปัญหาหนักอกหนักใจของเกษตรกรหรือผู้ประกอบการ กรณีผู้ประกอบการขนาดใหญ่อาจมีกำลังงบประมาณแก้ปัญหาในจุดนี้ได้ แต่เกษตรกรรายย่อยขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง กำลังงบลงทุนอาจจะไม่เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหานี้ ซึ่งอาจต้องใช้งบประมาณสูงในการวางระบบต่างๆในฟาร์มเลี้ยงหมู อาจส่งผลให้ขาดทุนได้ทุกเมื่อ ต่อไปนี้จะเป็นคำแนะนำที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวโดยใช้งบประมาณไม่มากอย่างที่คิด แต่ของเสียจะเป็นศูนย์( Waste = 0 )ทั้งของเสียที่เป็นมูลหมู( ขี้หมู )น้ำเสียและกลิ่นเหม็นต่างๆจากการเลี้ยงหมูที่เกิดขึ้นภายในฟาร์ม ทั้งหมดเป็นมลพิษและมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าอยู่ใกล้แหล่งชุมชนจะมีปัญหาเรื่องกลิ่นและน้ำเสีย อาจถูกร้องเรียนทั้งเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงหมูได้ ดังนั้น ต้องจัดการแก้ปัญหาทั้งสองเรื่องนี้( กลิ่นและของเสียมูลหมู )ให้เบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะให้ของเสียทั้งหมดภายในฟาร์มเป็นศูนย์( ไม่มีของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม )ซึ่งสามารถทำได้ถ้าตั้งใจจะทำกันจริงๆ โดยใช้งบประมาณไม่มากนัก ถ้าเราบริหารจัดการของเสียในฟาร์มเลี้ยงหมูทั้งหมดเป็นศูนย์ ก็ไม่ต้องไปคำนึงถึงค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ประการใด เพราะผ่านอย่างแน่นอนอยู่แล้ว เราต้องควบคุมของเสียทั้งหมด( กลิ่นและมูลหมู )ภายในฟาร์มเลี้ยงหมูให้ได้อย่างต่อเนื่อง จนสามารถเป็นฟาร์มมาตรฐานและเป็นฟาร์มตัวอย่างที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม จัดการของเสียทั้งหมดเป็นศูนย์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีความรู้มากก็สามารถทำได้จากคำแนะนำต่อไปนี้ เป็นคำแนะนำที่ผ่านการทดสอบปฏิบัติจริงมาหลายฟาร์มแล้ว ได้ผลดีแน่นอน แต่ประการสำคัญปัญหาที่พบก็คือ เจ้าของฟาร์มส่วนใหญ่ไม่ค่อยใส่ใจทำจริงๆจังๆในการแก้ไขปัญหา เพราะกลัวสิ้นเปลืองงบประมาณหรือต้องลงทุนสูง แต่ในความจริงแล้วลงทุนไม่มากอย่างที่คิด ถ้าตั้งใจจริงๆให้คุณทำอย่างจริงจังและทำให้ถึงที่สุด มันจะปรากฎผลของเสียเป็นศูนย์อย่างแน่นอน( Waste = 0 )นี่คือเรื่องจริงที่สามารถทำให้เป็นรูปธรรมจับต้องได้ การบริหารจัดการเรื่องต่างๆภายในโรงเลี้ยงหมู ภายในโรงเลี้ยงหมู หลักสำคัญมากที่สุดก็คือ ความสะอาด ทั้งพื้นโรงเลี้ยง สิ่งแวดล้อมต่างๆในโรงเลี้ยงหมู ต้องสะอาดถูกหลักอนามัย อากาศต้องถ่ายเทได้โดยสะดวก เพื่อให้หมูไม่เครียดและอารมณ์ดีมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นอกจากความสะอาดแล้ว คราวนี้เรามาบริหารจัดการในเรื่องของกลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นมูลหมูและกลิ่นปัสสาวะหมู เนื่องจากมูลหมูหรือขี้หมูและปัสสาวะหมู ทั้งหมดเป็นสารอินทรีย์ ดังนั้น จึงต้องอาศัยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการดับกลิ่นบำบัดกลิ่นมาบำบัดหรือกำจัดกลิ่นเหล่านี้ ไม่ควรใช้สารเคมี เพราะสารเคมีจะตกค้างในหมูและในสิ่งแวดล้อม สารเคมีบางชนิดสลายตัวได้ยาก ให้ผู้ประกอบการใช้จุลินทรีย์หอมทำความสะอาดพื้นโรงเลี้ยงหมูให้ทั่วๆถ้าปฏิบัติได้ทุกๆวันยิ่งเป็นการดีมากๆ เพราะของเสียเกิดขึ้นกลิ่นก็จะเกิดขึ้นตลอดเวลา นอกจากนี้ก็ให้ใช้จุลินทรีย์หอมทำความสะอาดอาบน้ำให้กับหมูแต่ละตัว โดยอาจจะใช้เครื่องฉีดพ่นที่บรรจุจุลินทรีย์หอมฉีดพ่นลงบนตัวหมูแต่ละตัวให้ทั่วๆซึ่งจะช่วยให้ประหยัดจุลินทรีย์ได้มากขึ้น ในส่วนของมูลหมูหรือขี้หมูก็ให้เก็บรวบรวมนำไปเป็นปุ๋ยหรือตากแห้งส่งขาย หรือแจกจ่ายเพื่อนบ้านนำไปใช้เป็นปุ๋ยต้นไม้ต่อไป ห้ามนำไปทิ้งในสิ่งแวดล้อมสาธารณะอย่างเด็ดขาด เพราะเราจะทำให้ของเสียมูลหมูเป็นศูนย์ ( Waste = 0 )ไม่สร้างมลพิษและมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อมสาธารณะ ในส่วนของจุลินทรีย์หอมอาจสิ้นเปลืองนิดหนึ่ง เพราะต้องใช้ทำความสะอาดโรงเลี้ยงหมูในแต่ละวัน เพื่อกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในโรงเลี้ยงหมู และให้หมูไม่เครียดจากกลิ่นมูลของเขาเอง หมูมีอารมณ์ดีจะทำให้เจริญเติบโตได้เร็วขึ้น หมูไม่เป็นโรคผิวหนังจากสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพราะในฟาร์มเลี้ยงหมูจะเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยเชื้อโรคนานาชนิด จุลินทรีย์หอมจะช่วยในเรื่องการควบคุมโรคผิวหนังให้กับหมูไม่มีผื่นคันตามตัว จะกลายไปเป็นหมูอินทรีย์คือเลี้ยงโดยไม่ใช้สารเคมี ปัญหาในฟาร์มเลี้ยงหมูมี 2 เรื่องใหญ่ๆดังนี้ 1. ของเสียที่เป็นมูลหมูหรือขี้หมู ปัสสาวะหมู และน้ำเสียที่เกิดขึ้นภายในฟาร์ม ถ้าของเสียเหล่านี้ไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะ จะส่งผลให้เกิดมลพิษทางน้ำเสีย สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่อาจได้รับผลกระทบตายได้ตลอดเวลา เพราะของเสียเหล่านี้จะทำให้น้ำในสิ่งแวดล้อมเกิดการเน่าเสียไปด้วย ทำให้น้ำขาดออกซิเจน สิ่งมีชีวิตในน้ำไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ จึงเป็นที่มาของการบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะปล่อยออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อม ดูวิธีการบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมูจากด้านล่าง 2. กลิ่นจากการเลี้ยงหมู โดยเฉพาะกลิ่นมูลหมูหรือกลิ่นขี้หมู ถ้าตกค้างเป็นเวลานานๆกลิ่นจะรุนแรงมาก สร้างมลภาวะในเรื่องกลิ่นในสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงต้องทำการบำบัดกลิ่น เพื่อไม่ให้สร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อมสาธารณะ นี้คือ 2 เรื่องใหญ่ๆในฟาร์มเลี้ยงหมูที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ต้องทำการแก้ปัญหาใน 2 เรื่องนี้ให้ได้ ซึ่งสามารถทำได้ตามที่กล่าวมา วิธีการวางระบบบริหารจัดการของเสียในฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดเล็กไปถึงขนาดกลาง การวางระบบบริหารจัดการของเสียต่างๆนี้ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งการเลี้ยงหมูระบบปิดและการเลี้ยงระบบเปิด โดยเริ่มจาก ( ให้ดูภาพบนประกอบไปกับคำอธิบาย ) 1. บ่อรับน้ำเสียบ่อที่ 1 ซึ่งอยู่ติดกับโรงเลี้ยงหมู ให้ทำเป็นบ่อปูน 4 เหลี่ยม ขนาดของบ่อให้คำนวณจากปริมาณของน้ำเสียทั้งสัปดาห์ เช่น ในแต่ละวันมีน้ำเสียเกิดขึ้นประมาณ 1,000 ลิตร ( 1 คิว ) ดังนั้น 1 สัปดาห์จะมีน้ำเสียรวม 7,000 ลิตร( 7 คิว ) ขนาดของบ่อจะต้องรองรับน้ำเสียได้ไม่น้อยกว่า 15 คิว ซึ่งเป็นการเผื่อไว้ในอนาคตที่มีการเลี้ยงหมูเพิ่มขึ้น การใช้น้ำก็จะเพิ่มตามไปด้วย ดังนั้น ต้องทำบ่อที่ 1 นี้ให้จุน้ำเสียได้ไม่น้อยกว่า 15 คิว ขนาดของบ่อ กว้าง x ยาว x ลึก = 3x3x2 = 18 คิว ประมาณนี้ บ่อนี้ทำเป็นบ่อปูนแบบง่ายๆรอบบ่อและเทปูนพื้นบ่อ เพื่อไม่ให้น้ำเสียและของเสียเล็ดลอดออกจากพื้นบ่อที่เราควบคุม ระหว่างโรงเลี้ยงหมูที่ต่อน้ำเสียมาลงที่บ่อที่ 1 นี้ ให้วางตัวกรอง( Filter ) 5-6 ชั้น โดยใช้ตาข่ายพลาสติกสีฟ้าที่มีขายตามร้านการเกษตรทั่วๆไป โดยเลือกที่มีความถี่ของตาข่ายสูง( อย่าให้ตาข่ายห่างจนกรองมูลหมูไม่ได้ )พับเป็น 4 เหลี่ยม 5-6 พับเย็บเข้าด้วยกัน แล้วนำไปวางดักของเสียที่เป็นมูลหมูหรือขี้หมูก่อนที่จะลงในบ่อที่ 1 ในจุดนี้เจ้าของฟาร์มอาจสร้างบ่อดักมูลหมูขนาดเล็ก 1x1x1 เมตร เพื่อทำการดักขี้หมูให้ได้มากที่สุดก่อนน้ำเสียจะไหลลงบ่อที่ 1 ก็สามารถทำได้เช่นกัน และให้เติมจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในจุดบ่อที่ 1 นี้ประมาณ 2-3 ลิตร ต่อน้ำเสีย 1 คิว สัปดาห์ละครั้งหรือบ่อยได้ตามความต้องการ เพื่อให้จุลินทรีย์ทำการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย ถ้าเป็นไปได้ควรหาผ้าใบปิดบ่อให้มิดชิด โดยเฉพาะบ่อที่อยู่กลางแจ้ง ให้ทำความสะอาดบ่อนี้เดือนละครั้ง เพื่อนำตะกอนส่วนเกินที่ตกใต้ก้นบ่อออกไปกำจัดทิ้งฝังดินหรือนำไปเป็นปุ๋ยต้นไม้ยิ่งเป็นการดีมาก น้ำเสียในบ่อนี้สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยรดต้นไม้ได้เลย ถ้าเข้มข้นมาก ก็ให้ผสมน้ำเปล่าจนเจือจางแล้วนำไปรดต้นไม้ 2. บ่อรับน้ำเสียบ่อที่ 2 เป็นบ่อปูนแบบง่ายๆให้ทำขนาดเท่ากันกับบ่อแรก ให้ทำระบบน้ำล้นจากบ่อที่ 1 ไปบ่อที่ 2 ทั้งสองบ่อนี้จะติดกัน และระหว่างบ่อที่ 1 กับบ่อที่ 2 ให้วางตัวกรอง( Filter )ที่มีความละเอียดมากกว่าบ่อแรก( ตามภาพบน ) โดยใช้ฟิลเตอร์ 5-6 ชั้นเช่นกัน ซึ่งจะเป็นกรองของเสียแบบละเอียดขึ้นมากกว่าบ่อแรก อาจเป็นผ้าที่มีความละเอียดและทนทาน น้ำเสียในบ่อที่ 2 จะเริ่มใสขึ้นแล้ว ให้เติมจุลินทรีย์ในบ่อนี้เช่นกัน บ่อที่ 2 นี้ใช้จุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อน้ำเสีย 1 คิว และใช้ผ้าใบปิดปากบ่อนี้เช่นเดียวกันกับบ่อที่ 1 ถ้าน้ำเริ่มเต็มบ่อ ให้นำน้ำในบ่อนี้ไปรดต้นไม้ได้เลย เน้นต้นไม้ขนาดใหญ่ ถ้าต้นไม้ขนาดเล็กต้องใช้น้ำเปล่ามาเจือจางก่อนนำไปรดต้นไม้( น้ำเสียที่มีความเข้มข้นสูงต้นไม้ขนาดเล็กตายได้ ) ให้ทำความสะอาดตัวกรองหรือฟิลเตอร์ทุกๆสัปดาห์หรือบ่อยได้ตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้ฟิลเตอร์อุดตันจากของเสีย บ่อแรกก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้ ท่านที่มีพื้นที่น้อยหรือมีพื้นที่จำกัดอาจสร้างบ่อเพียง 2 บ่อนี้ก็ได้ ห้ามปล่อยน้ำในบ่อนี้ออกสู่สาธารณะเป็นอันขาด ให้นำไปรดต้นไม้เพราะเป็นปุ๋ยน้ำชั้นดี ทั้งการรดต้นไม้และการนำไปบำรุงดินให้ดินดี หรือจะแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านนำไปใช้เป็นปุ๋ยน้ำก็ยิ่งเป็นการดีมากๆ เป็นการแบ่งปันให้กับสังคมส่วนรวม 3. บ่อที่ 3 บ่อนี้จะมีขนาดเท่ากันกับบ่อแรกและบ่อที่สอง ทำเหมือนกันทุกประการ บ่อนี้จะรับน้ำมาจากบ่อที่ 2 ที่ผ่านการบำบัดแล้ว เป็นน้ำดีและน้ำเริ่มใสแล้ว น้ำในบ่อนี้สามารถนำกลับไปใช้ในฟาร์มได้เลย( ทำความสะอาดพื้น ) เพราะเป็นน้ำที่ผ่านการบำบัดเรียบร้อยแล้ว หรือให้นำไปรดต้นไม้เป็นปุ๋ยน้ำชั้นดี หรือนำไปทำความสะอาดราดตามพื้นโรงเลี้ยงหมูก็สามารถทำได้ แต่ห้ามปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะอย่างเด็ดขาด เพราะเราจะทำให้ของเสียทุกอย่างในฟาร์มเลี้ยงหมูเป็นศูนย์นั่นเอง นี่ก็คือ คำตอบที่ว่า ทำไมไม่ปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะ ก็เพราะเราต้องการให้ Waste = 0 นี่คือคือตอบ บ่อที่ 3 นี้ สำหรับผู้ประกอบการที่มีพื้นที่เพียงพอในการสร้างบ่อ จะเป็นผลดีสำหรับการบำบัดน้ำเสีย การบริหารจัดการมูลหมูหรือขี้หมู ในการบริหารจัดการมูลหมูหรือขี้หมู ให้นำมูลหมูที่กรองได้ในแต่ละจุดไปทำปุ๋ยหรือตากแห้งเป็นปุ๋ยมูลหมูจำหน่ายหรือแจกจ่ายเพื่อนบ้านได้เลย ( มูลหมูหรือขี้หมู+จุลินทรีย์ = ปุ๋ยชั้นดี ) อย่านำไปทิ้งในสิ่งแวดล้อมสาธารณะเป็นอันขาด จะส่งผลให้ไม่มีของเสียที่เป็นมูลหมูหลุดออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะแม้แต่น้อย มูลหมูเป็นสารอินทรีย์และเป็นปุ๋ยที่ดีไม่ควรทิ้งเป็นของเสีย ถ้าไม่ขายก็สามารถแจกจ่ายเพื่อนบ้านได้นำไปเป็นปุ๋ยหรือบำรุงดินให้ดีได้ ข้อปฏิบัติอาจจะมาก แต่การลงทุนจะใช้งบน้อยในครั้งแรกเท่านั้น ผู้ประกอบการท่านใดที่เป็นช่างปูนอยู่แล้ว ยิ่งทำได้ง่ายๆไม่ต้องสวยหรูอะไร พอให้เป็นระบบรองรับของเสียเท่านั้นเป็นใช้ได้แล้ว เนื้อหาที่กล่าวมาทั้งหมด ท่านสามารถนำไปปรับใช้หรือประยุกต์ใช้กับฟาร์มเลี้ยงหมูของท่านได้ทันที ปรับให้เข้ากับพื้นที่และความเหมาะสมกับทรัพยากรต่างๆที่ท่านมีอยู่แล้ว โดยพยายามใช้เงินลงทุนให้น้อยที่สุด ซึ่งสามารถทำได้
ฟาร์มเลี้ยงหมูทุกๆขนาด ทั้งขนาดเล็กๆและขนาดใหญ่ สามารถนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปทำการแก้ไขปัญหาต่างๆได้ทันที ทั้งการบำบัดน้ำเสียในฟาร์มและการดับกลิ่นกำจัดกลิ่นมูลหมูหรือกลิ่นขี้หมู ถ้าใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าทำความสะอาดโรงเลี้ยงหมูและทำความสะอาดหมูทุกๆตัวจะมีกลิ่นหอมทันที จะส่งผลให้หมูแต่ละตัวมีอารมณ์ดีไม่เครียดกับกลิ่นมูลหมูของตัวเองต่อไป สุขภาพและสิ่งแวดล้อมดีอารมณ์ดี ทำให้หมูเจริญเติบโตสมบูรณ์ไม่มีโรคผื่นคัน เรายินดีให้คำแนะนำกับผู้เลี้ยงหมูทุกๆท่าน ว่าเลี้ยงหมูอย่างไรให้ของเสียเป็นศูนย์ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตัวของท่านเอง.... |