จุดประสงค์ของการบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่ง
กำจัดไนโตรเจนหรือลดค่า TKN ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถกำจัดไนโตรเจนได้แล้ว เพราะเราได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ตัวที่ลดค่า TKN ในน้ำเสียได้ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเพียงเท่านั้น น้ำเสียจากทุกๆแห่ง ทำไมต้องทำการบำบัดก่อนปล่อยทิ้ง? ไม่บำบัดไม่ได้หรือ? และต้องบำบัดน้ำเสียอย่างไร น้ำเสียจึงจะเปลี่ยนเป็นน้ำดีได้? โปรดติดตามอ่านเนื้อหาจากด้านล่างนี้ ความหมายของ " น้ำเสีย " น้ำเสีย คือ น้ำที่ปนเปื้อนและเจือปนไปด้วยสิ่งสกปรกต่างๆจะมากหรือน้อยก็ถือว่าเป็นน้ำเสียในที่สุด อาจมีสีขุ่น ดำ หรือสีใส ก็ถือว่าเป็นน้ำเสีย สิ่งที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำใส ในบางครั้งเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาเปล่า ต้องทำการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ จึงจะรู้ว่าเป็นน้ำเสียหรือไม่ น้ำที่ผ่านการใช้งานแล้วถือว่าเป็นน้ำเสีย เช่น น้ำล้างมือ น้ำล้างเท้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจำแนกในเรื่องของน้ำเสียมาก( น้ำเสียที่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกจำนวนมาก )หรือน้ำเสียน้อย( น้ำเสียที่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกเล็กน้อย )ออกไปอีกต่อหนึ่ง เพื่อวางแนวทางในการแก้ไขและแนวทางการบำบัดต่อไป นี่คือเรื่องราวของน้ำเสียที่เรารู้จักในชีวิตประจำวัน ทุกๆคนล้วนสร้างน้ำเสียขึ้นในทุกๆวัน เพราะทุกๆคนต้องอาบน้ำ ดื่มน้ำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับน้ำโดยตรง มนุษย์จึงเป็นแหล่งผลิตน้ำเสียมากที่สุด โดยมากกว่าน้ำเสียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ น้ำเสียมาจากแหล่งใดบ้าง ? ถ้าจะตอบแบบง่ายๆก็คือ ที่ใดมีมนุษย์อยู่ ที่นั่นมีน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยทั่วไปน้ำเสียจะมาจากธรรมชาติส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งมาจากกิจกรรมของมนุษย์ในแต่ละวันที่ต้องใช้น้ำ ทั้งการอุปโภคอาบน้ำทำความสะอาดและบริโภคดื่มน้ำในแต่ละวัน รวมไปถึงการใช้น้ำในกระบวนการผลิตต่างๆของโรงงานอุตสาหกรรม นี่คือแหล่งที่มาของน้ำเสียโดยภาพรวม น้ำเสียเมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร? น้ำเสียสามารถสร้างทั้งมลพิษและมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตทุกๆชนิดได้ตลอดเวลา ถ้าน้ำเสียวิกฤตหนักๆ( มีสารปนเปื้อนจำนวนมาก )น้ำเสียเป็นสีดำและมีกลิ่นเน่าเหม็นเกิดขึ้น สิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่สามารถดำรงชีพได้อยู่ในน้ำเสีย น้ำที่เสียมากจะส่งผลให้ค่าออกซิเจนในน้ำเสียนั้นต่ำมากหรืออาจเป็นศูนย์( ไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเลย )ดังนั้น การประเมินว่า น้ำเสียมากหรือเสียน้อย ส่วนหนึ่งจะพิจารณาที่ค่าของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำนั้นๆ( ค่า DO )สิ่งมีชีวิตทุกๆชนิด( ทั้งพืชและสัตว์ )ต่างต้องการออกซิเจนในการดำรงชีพ ในน้ำต้องมีออกซิเจนเพียงพอให้กับสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำห้วยหนองคลองบึง ถ้าน้ำเสียวิกฤตหนัก สิ่งมีชีวิตในน้ำก็อาจตายเกลี้ยงได้ทุกเมื่อ จึงเป็นที่มาของ น้ำเสียก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะส่วนรวม ต้องทำการบำบัดน้ำเสียนั้นๆให้กลายเป็นน้ำดีเสียก่อนที่จะปล่อยทิ้ง ในการบำบัดน้ำเสียจะมีการกำหนดค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากแต่ละแหล่ง( ที่มา ) และแต่ละแห่งจากหน่วยงานราชการ ซึ่งค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละแหล่งที่มาอาจไม่เหมือนกันทุกค่า เช่น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม ยังมีการแยกย่อยเป็นขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรมแต่ละชนิดก็อาจแตกต่างกัน หรือกรณีอาคารชุด อาคารสำนักงานต่างๆ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาจแตกต่างกันไปตามปริมาณจำนวนห้องและขนาดของอาคาร เป็นต้น ในแต่ละวันจะมีน้ำเสียปริมาณมากที่ถูกผลิตขึ้นโดยมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ ถ้าบรรดาน้ำเสียทั้งหมดที่ผลิตขึ้นมานี้ไม่มีการบำบัดให้เป็นน้ำดีเลย อะไรจะเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ ? ลองนึกภาพดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น สิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดในน้ำอาจตายเกลี้ยงได้ตลอดเวลา น้ำดื่มอาจไม่มีให้บริโภค ซึ่งจะกระทบสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกใบนี้ ขาดอาหารหนึ่งวันสามารถอยู่ได้ แต่ถ้าขาดน้ำหนึ่งวัน อาจอยู่ไม่ได้ จึงเป้นที่มาของคำว่า น้ำ คือ ชีวิต ทุกๆชีวิตต้องการน้ำ แม้แต่พืชยังขาดน้ำไม่ได้ ขาดน้ำคือ ตายสถานเดียวเท่านั้น น้ำเสียไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้น ต้องทำน้ำเสียให้เป็นน้ำดี โดยต้องผ่านการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อน เราจะบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้อย่างไร? กับหัวข้อของบทความนี้ก็คือ จุดประสงค์ของการบำบัดน้ำเสียก็เพื่อ ต้องการให้น้ำเสียทั่วๆไปจากทุกๆแหล่งและทุกๆแห่งกลายไปเป็นน้ำดี( ตามค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนดไว้ )ไม่สร้างมลพิษและมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยดำรงชีพอยู่ในน้ำห้วยหนองคลองบึงในธรรมชาติ ที่ใดก็ตามที่เป็นแหล่งผลิตน้ำเสียขึ้นมา ก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะส่วนรวม เพื่อไม่ให้น้ำเสียนั้นๆไปสร้างมลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อมต่อไป ก่อนที่เราจะทำการบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นของเรา เราต้องทราบก่อนว่า น้ำเสียที่เกิดขึ้นมาจากแหล่งใด? จากจุดใด? เช่น น้ำเสียของคอนโดมิเนียมขนาด 500 ห้อง( รวมทั้งหมด ) น้ำเสียของคอนโดมิเนียมจะประกอบไปด้วย น้ำเสียจากการใช้น้ำ อาบน้ำ ซักล้าง และน้ำเสียจากชักโครก ซึ่งน้ำเสียจากจุดนี้จะลงไปรวมกันที่บ่อเกรอะ( บ่อส้วม )ทั้งหมด ในการออกแบบระบบรับน้ำเสีย ต้องทำการแยกบ่อรับน้ำเสียเป็นคนละบ่อ ไม่ควรนำมารวมกัน เพราะจะสร้างปัญหาตามมาในภายหลังได้ ซึ่งจะแก้ไขได้ยากขึ้น น้ำเสียจากคอนโดมิเนียมทั้งสองส่วนนี้จะต้องทำการบำบัดก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะ ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียออกแบบดีมีประสิทธิภาพ การบำบัดน้ำเสียก็ออกมาดี ได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งตามที่กำหนดไว้ แต่ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาอยู่เรื่อยๆและหลายแห่งจำนวนมาก( ที่ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ) หรือกรณีของน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ก็ต้องดูว่าแหล่งน้ำเสียมาจากจุดใดบ้าง เช่น น้ำเสียจากห้องน้ำ น้ำเสียจากโรงอาหาร น้ำเสียจากไลน์ผลิต น้ำเสียจากสารเคมี เป็นต้น ซึ่งต้องดูในรายละเอียดทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การวางแผนการบำบัดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพเต็มที่ ส่วนขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย แต่ละแห่งและแต่ละแหล่งอาจแตกต่างกันออกไป แต่ทุกๆแห่งต้องได้ผลลัพธ์เหมือนกันก็คือ น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดให้เป็นน้ำดีเรียบร้อยแล้ว ต้องได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งตามเกณฑ์ที่ทางราชการได้กำหนดไว้ ถ้าที่ใดก็ตามทำการบำบัดน้ำเสียเรียบร้อยแล้ว แต่ปรากฎว่าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งยังไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดในหลายๆค่าหรือบางค่า ต้องนำไปแก้ไขและปรับปรุงการบำบัดใหม่ ซึ่งอาจต้องไปแก้ไขระบบบำบัดหรือปรับปรุงทางเทคนิคของระบบบำบัด เพื่อให้การบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพดีได้ผลลัพธ์คือค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ทุกๆค่า นี้คือเรื่องราวของการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี จุดประสงค์ของการบำบัดน้ำเสีย( ทุกๆแห่ง ) น้ำ คือ ชีวิต น้ำเสียไม่สามารถนำมาใช้งานได้ นอกจากจะทำการบำบัดให้ได้มาตรฐานเรียบร้อยแล้วเท่านั้น สำหรับจุดประสงค์ของการบำบัดน้ำเสียก็เพื่อ ต้องการเปลี่ยนน้ำเสียให้กลายไปเป็นน้ำดี ด้วยกระบวนการกำจัดสารปนเปื้อนและสิ่งเจือปนที่อยู่ในน้ำเสียออกให้ได้มากที่สุด จะด้วยวิธีการทางด้านกายภาพ เช่น การกรอง การตกตะกอน การคัดแยกต่างๆ หรือบางกรณีอาจใช้วิธีการทางเคมีร่วมด้วย เช่น การตกตะกอนด้วย PAC การตกตะกอนสี หรือการแยกสารด้วยพลังงานไฟฟ้า และกระบวนการทางชีวภาพคือ การใช้จุลินทรีย์บำบัดของเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย )ซึ่งเป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายของการกำจัดของเสีย บรรดาของเสียทุกๆอย่างบนโลกใบนี้จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ทั้งสิ้น ของเสียต่างๆไม่ล้นโลกในทุกวันนี้ก็เป็นผลงานของจุลินทรีย์ย่อยสลายนั่นเอง การย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์จะได้ผลลัพธ์เป็นไปตามสมการจำลองด้านล่างนี้
ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลาย ซึ่งจะแปรเปลี่ยนสภาพของสสาร( ของเสีย )กลายไปเป็น น้ำ + พลังงงาน + ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นตลอดเวลาในธรรมชาติ แต่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ที่สุดของการย่อยสลายของจุลินทรีย์จะได้ผลลัพธ์ออกมาเช่นนี้ ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์ จะคล้ายกันหรือเหมือนกันกับปฏิกิริยาการเผาไหม้แบบสมบูรณ์( ออกซิเจนเพียงพอ ) กล่าวคือ ได้ผลลัพธ์เหมือนกันตามสมการด้านล่าง การเผาไหม้แบบสมบูรณ์( ออกซิเจนเพียงพอ ) => น้ำ + พลังงาน + ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ ดังนั้น ที่สุดของที่สุดของการเผาไหม้แบบสมบูรณ์( ไม่เหลืออะไรเลย ) จะได้ผลลัพธ์ออกมาตามสมการด้านบน ระบบบำบัดน้ำเสียของประเทศไทย สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียของประเทศไทย ส่วนใหญ่( มากกว่า 90% )เป็นระบบแบบเติมอากาศ( Activated Sludge : AS )ระบบบำบัดนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด อออแบบง่าย ใช้งบประมาณไม่สูงมาก( ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของน้ำเสียและปริมาตรน้ำเสีย )มีทั้งที่ออกแบบระบบแบบง่ายๆที่เหมาะสำหรับน้ำเสียมีปริมาณน้อยและไม่วิกฤต และระบบที่ออกแบบยากขึ้นสลับซับซ้อนมากขึ้นก็มี การออกแบบระบบบำบัดต้องสอดคล้องกับแหล่งที่มาของน้ำเสียและปริมาตรของน้ำเสียที่เกิดขึ้น แต่ละแหล่งและแต่ละแห่งน้ำเสียและปริมาตรอาจแตกต่างกันออกไป ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้ มีทั้งจุดด้อยและจุดเด่นในตัว ถ้าดูแลบำรุงรักษาหรือบริหารจัดการระบบไม่ดีพอ ก็ล้มเหลวได้ง่ายๆ การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ปัญหาทางด้านเทคนิคค่อนข้างจะมีมาก ผู้ดูแลระบบและการบำบัดน้ำเสีย จำเป็นต้องเข้าใจระบบบำบัดนี้เป็นอย่างดี และต้องเข้าใจกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศด้วย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่า ถ้าเกินมาตรฐานต้องรู้ว่า สาเหตุเกิดจากอะไร? และจะแก้ไขอย่างไร? ระบบล้มเหลวเกิดจากสาเหตุใด? และแก้ไขอย่างไร? เป็นต้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์เติมเต็มให้กับระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหา กระบวนการบำบัดน้ำเสีย ขั้นตอนสุดท้ายต้องใช้จุลินทรีย์บำบัด( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย )ในขั้นตอนการใช้จุลินทรีย์บำบัดนี้ จะสามารถลดค่า BOD ได้ถึง 80% มากที่สุดของกระบวนการบำบัดน้ำเสียในทุกๆวิธี ของเสียที่มีโมเลกุลขนาดเล็กมากที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย เราไม่สามารถกรองออกมากำจัดทิ้งได้ด้วยฟิลเตอร์ แต่จุลินทรีย์สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียที่มีขนาดเล็กๆได้ ในการบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะการบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ปัญหาที่พบมากที่สุดก็คือ ค่า BOD ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง ซึ่งเป็นที่หนักอกหนักใจของเจ้าของระบบบำบัดและผู้กำกับดูแลระบบบำบัด ตัวที่จะลดค่า BOD ได้มากก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายนั่นเอง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะเข้ามามีบทบาทและเติมเต็มความต้องการ เพื่อเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้ดีมากยิ่งขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย )และการบำบัดกลิ่นกำจัดกลิ่น ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา( ย่อยสลายของเสีย )ถึงแม้ในน้ำเสียนั้นๆจะไม่มีออกซิเจนเลย( ค่า DO = 0 )จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำการย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ โดยทั่วๆไปจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจะมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพขยายตัว และอีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพขยายตัว ซึ่งจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจัดอยู่ในจุลินทรีย์กลุ่มหลังคือชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ปัญหาต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะการเติมอากาศไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด เครื่องเติมอากาศมีกำลังวัตต์ต่ำเกินไป จะส่งผลให้การเติมกาศไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร หรือบางครั้งเครื่องเติมอากาศเสียรอซ่อม ทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก เพราะจุลินทรีย์กลุ่มนี้ขาดออกซิเจนไม่ได้ ถ้าน้ำเสียเริ่มมีสีดำหรือเริ่มส่งกลิ่นเหม็น แสดงให้เห็นว่าจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดเริ่มมีปริมาณน้อยแล้ว ถ้ากลิ่นเหม็นรุนแรงมาก แสดงว่าจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนตายเกลี้ยงบ่อบำบัด และจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาเติมเต็มในจุดภาวะที่วิกฤตนี้ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องทำการรีบูทระบบใหม่ ในบ่อบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนเช่นกัน แต่มีในปริมาณน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้น จึงต้องเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเข้าไปในระบบบำบัดหรือเติมจุลินทรีย์ลงไปในบ่อบำบัดนั่นเอง จุลินทรีย์หอมคาซาม่า( จุลินทรีย์หอม 2 in 1 ) เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย และ เป็น จุลินทรีย์บำบัดกลิ่นดับกลิ่นในตัวเดียวกัน ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด เพื่อเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้ดีมากยิ่งขึ้น ใช้ในบ่อบำบัดน้ำเสียจะได้รับประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่นกำจัดกลิ่น )ในเวลาเดียวกันทันที ใช้ดับกลิ่นบำบัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ทุกๆชนิด โดยเฉพาะกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากสารอินทรีย์ โดยธรรมชาติบำบัด 100% กลิ่นต่างๆทุกๆชนิดจะถูกบำบัดโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นปฏิกิริยาทางเคมีในธรรมชาติ เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่าโดยตรง สำหรับลูกค้าที่สั่งซื้อจากเรา จะได้รับคำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์ดับกลิ่น ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ( บางพื้นที่ขนส่งอาจเข้าไม่ถึง จะงดจำหน่าย ) ได้รับสินค้าภายใน 2-4 วันทำการขนส่ง( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้-ไกล )
ข้อควรระวังการใช้คลอรีนในการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูข้อมูลที่นี่... จุดประสงค์ของการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัด คลิกดูที่นี่.. ปัญหาที่พบมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. |