ไนโตรเจนในน้ำเสียมีผลเสียอย่างไร?
กำจัดไนโตรเจนหรือลดค่า TKN ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถกำจัดไนโตรเจนได้แล้ว เพราะเราได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ตัวที่ลดค่า TKN ในน้ำเสียได้ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเพียงเท่านั้น สิ่งมีชีวิตในน้ำตายหมด( DO คือ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ ) ไนโตรเจน( N ) กับการบำบัดน้ำเสีย ไนโตรเจน ถ้าละลายอยู่ในน้ำมากๆจะทำให้ค่า DO ลดลงเรื่อยๆ อาจเป็นศูนย์ได้ ถ้าเจือปนอยู่ในน้ำมากๆ ไนโตรเจนแหล่งที่มาของสารพิษแอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ ในน้ำ เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำทุกๆชนิด ไนโตรเจนมีแหล่งที่มาจากหลายแหล่ง ทั้งจากสารอินทรีย์ที่เป็นโปรตีน( กรดอะมิโน )จากสารเคมีซักล้าง จากบรรยากาศ เป็นต้น ในระบบบำบัดน้ำเสีย ถ้ากล่าวถึงไนโตรเจนเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย จะหมายถึงค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง ซึ่งจะอยู่ในรูปของ TKN ( Total Kjeldahl Nitrogen ) ค่า TKN ในน้ำเสียคืออะไร ? TKN ย่อมาจาก Total Kjeldahl Nitrogen เป็นค่าไนโตรเจน( N )ซึ่งอยู่ในรูปของทีเคเอ็น ( TKN) หมายถึง ปริมาณไนโตรเจนและสารอินทรีย์ไนโตเจน รวมทั้งแอมโมเนียไนโตรเจน ตรวจวิเคราะห์โดยวิธี Kjeldalh and Titration สารอินทรีย์ไนโตรเจนจะถูกย่อยสลายเปลี่ยนไปเป็นแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไตเตรท ตามสมการจำลองด้านล่าง ปัญหาค่า TKN เกินมาตรฐานพบบ่อยๆ โดยเฉพาะน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์เจือปนและปนเปื้อนมากๆ( ค่า BOD สูง )ไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย ส่วนหนึ่งจะมาจากโปรตีน( กรดอะมิโน )ที่อยู่ในสารอินทรีย์ทั้งหลาย
ไนโตรเจนในน้ำเสีย TKN ไนโตรเจนรวมทั้งหมดในน้ำเสีย( N รวม ) = ก๊าชไนโตรเจน( N2 < g > ) + ไนเตรท (NO3- ) + ไนไตรต์ (NO2- ) + แอมโมเนียอิสระ (NH3) + แอมโมเนียอิออน (NH4+) + สารอินทรีย์ไนโตรเจน ไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในน้ำมีผลเสียอย่างไร? ไนโตรเจน(รวม)ถ้าละลายอยู่ในน้ำในปริมาณมากๆก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเสียขึ้นทันที ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียลดลง( ค่า DO ลด )ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำในสิ่งแวดล้อม แอมโมเนียอิสระถ้ามีความเข้มข้นเกิน 5 ppm. ขึ้นไปจะเป็นอันตราย สัตว์น้ำตายได้ง่ายๆ นี่คือผลเสียและผลกระทบจากไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ ไนโตรเจน( N )ในน้ำเสียมีที่มาจากแหล่งใด ? ในบรรยากาศมีก๊าซไนโตเจนอยู่ประมาณ 80% ซึ่งอยู่ในรูปของก๊าซ ส่วนไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น จากการซักล้าง ในสารซักล้างจะมีสารประกอบไนโตรเจน จากเศษอาหาร ในเศษอาหารมีทั้งพืชและสัตว์ที่มีส่วนประกอบของกรดอะมีโนจากโปรตีนจากพืชและสัตว์ กรดอะมีโนจะแปรสภาพไปเป็นไนโตรเจนสารอินทรีย์จากการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของจุลินทรีย์ในธรรมชาติ จากสิ่งปฏิกูลในบ่อเกรอะหรือบ่อส้วมซึ่งเป็นแหล่งสร้างไนโตรเจนและแอมโมเนียอิสระ( ก๊าซแอมโมเนีย ) ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง TKN สำหรับค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในส่วนของค่า TKN น้ำเสียจากแต่ละแหล่งค่า TKN จะไม่เท่ากัน เช่น น้ำเสียจากอาคารประเภท ก. และ ข. จะถูกกำหนดค่า TKN ไว้ที่ไม่เกิน 35 mg/l ส่วนประภท ค. และ ง. จะถูกกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 40 mg/l ในส่วนของค่า TKN ของโรงงานอุตสาหกรรมก็เช่นกัน ยังขึ้นอยู่กับโรงงานแต่ละประเภท ค่า TKN โรงงานบางประเภทจะถูกกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 100 mg/l แต่บางประเภทกำหนดไว้ไม่เกิน 200 mg/l ( โรงงานบางประเภท )ก็มี ซึ่งขึ้นอยู่กับที่มาของแหล่งน้ำเสียเป็นหลัก จะกำจัดหรือทำลายไนโตรเจนได้อย่างไร? ในการกำจัดไนโตรเจนอาจมีหลายวิธี แต่วิธีที่เป็นที่นิยมและไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมก็คือ ใช้วิธีกระบวนการทางชีวภาพบำบัดหรือกำจัด ซึ่งไม่ส่งผลเสียหรือผลกระทบใดๆต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในน้ำ นั่นก็คือ การใช้จุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการกำจัดหรือสลายไนโตรเจน จุลินทรีย์กลุ่มไนตริฟลายอิ้ง( Nitriflying Bacteria )จะมีบทบาทและทำลายสลายไนโตรเจนได้ตามสมการจำลองได้ล่าง
ภาพบนเป็นปฏิกิริยาแปรรูปหรือเปลี่ยนรูปไนโตรเจนตามลำดับโดยกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง จะเห็นได้ว่าสารอินทรีย์ไนโตรเจนถูกย่อยสลายไปเป็นแอมโมเนียอิสระ และแอมโมเนียอิสระแปรเปลี่ยนไปเป็นแอมโมเนียมอิออน => ไปเป็นไนไตรท์อิออน => ไนเตรทอิออน => ไนตรัสออกไซด์( ก๊าซ ) และระเหยเป็นก๊าซไนโตรเจนสู่บรรยากาศต่อไป ตามสมการจำลองด้านล่าง
กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งจะแปรรูปสารประกอบแต่ละตัวตามลำดับดังนี้.- แปรรูปแอมโมเนียมอิออน( NH4 + ) ไปเป็นไนไตรท์อิออน => ไนเตรทอิออน ( ปฏิกิริยาไนตริฟีเคชั่น ) และแปรรูปไนเตรทอิออน( NO3 - ) ไปเป็นไนไตรท์อิออน( NO2 - ) => N2O ไนตรัสออกไซด์( ก๊าซ ) => ได้ก๊าซไนโตรเจน( N2 )ในที่สุด อิออนแต่ละตัวที่ละลายอยู่ในน้ำจะไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และไม่ทำให้ค่าออกซิเจนลด นี้คือกระบวนการกำจัดไนโตรเจนในน้ำเสีย หรือกำจัด TKN นั่นเอง ร้านบางกอกโปรดักส์ ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่าโดยตรง( ไม่ใช่ตัวแทน )เราผลิตและจำหน่ายมาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน มีลูกค้ากระจายอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่สั่งซื้อประจำ( มากกว่า 80% )ลูกค้าบางท่านซื้อมาตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปัจจุบันก็มีหลายท่าน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการดับกลิ่น โดยเฉพาะดับกลิ่นห้องน้ำเหม็นจะมาอันดับหนึ่ง รองลงมาจึงเป็นการบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมและอาคารสำนักงานจะมากที่สุด รองลงมาจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่ใช้จุลินทรีย์ของเรา เราไม่ได้ขายเพียงจุลินทรีย์เท่านั้น แต่เราให้ความรู้ความเข้าใจ ให้คำแนะนำและคำปรึกษากับลูกค้าของเราทุกๆท่าน ช่วยลูกค้าแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของลูกค้าแต่ละท่าน เป็นบริการเสริมที่เราตั้งใจให้ฟรีๆกับลูกค้าที่ซื้อจุลินทรีย์จากเรา ไม่ต้องให้ลูกค้าจ้างที่ปรึกษาให้สิ้นเปลืองงบประมาณเพิ่ม ซึ่งเป็นการช่วยลดภาระรายจ่ายที่ปรึกษาของลูกค้าโดยตรง โดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสีย ต้องใช้ทั้งความรู้และความเชี่ยวชาญชำนาญเป็นพิเศษ ต้องวิเคราะห์และแก้ปัญหาทั้งทางเทคนิคและด้านอื่นๆ ซึ่งในบางกรณีมีความสลับซับซ้อนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ BOD , COD , SS , TDS , FOG จะต้องแก้ไขอย่างไร? เป็นต้น ซึ่งต้องนำโจทย์ลูกค้าแต่ละรายนำไปวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆรอบด้าน ไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่ใครก็สามารถทำได้ จะต้องมีความรู้และความเข้าใจกระบวนการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียเป็นอย่างดีจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ร้านฯของเราปฏิบัติเช่นนี้กับลูกค้าของเราทุกๆท่านที่ต้องการคำแนะนำและคำปรึกษา เราจะไม่มีการยัดเยียดให้ลูกค้า แต่ให้ลูกค้าแจ้งความต้องการคำแนะนำและคำปรึกษาได้โดยตรงตามความต้องการของเจ้าภาพ เรื่องใด? แก้ปัญหาอะไร? เป็นต้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท( ราคานี้เป็นราคาตั้งแต่ปี 2544 - ปัจจุบัน ) ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ( ในบางพื้นที่ขนส่งอาจเข้าไม่ถึง จะงดจำหน่าย ) ได้รับสินค้าภายใน 2-4 วันทำการขนส่ง( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้-ไกล )
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย อ่านหัวข้อที่น่าสนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
ข้อควรระวังการใช้คลอรีนในการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูข้อมูลที่นี่... จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. |