วิธีการลดค่า TKN ด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า
ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งอยู่ครบทั้งสองสายพันธุ์ คือ ไนโตรแบคเตอร์ และไนโตรโซโมแนส ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งมีคุณสมบัติและมีประสิทธิภาพในการกำจัดไนโตรเจนได้ดี เป็นการลดค่า TKN ในน้ำเสียโดยเฉพาะ ต้องใช้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ในการลดค่า TKN จุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งส่วนใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง( จำหน่ายทั่วไปซีซีละ 30-50 บาท หรือลิตรละ 30,000 - 50,000 บาท ) ค่า TKN ในน้ำเสียคืออะไร ? TKN ย่อมาจาก Total Kjeldahl Nitrogen เป็นค่าไนโตรเจน( N )ซึ่งอยู่ในรูปของทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen : TKN) หมายถึง ปริมาณไนโตรเจนและสารอินทรีย์ไนโตรเจน รวมทั้งแอมโมเนียไนโตรเจน ตรวจวิเคราะห์โดยวิธี Kjeldalh and Titration สารอินทรีย์ไนโตรเจนจะถูกย่อยสลายเปลี่ยนไปเป็นแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไตเตรท ซึ่งเป็นสารพิษอันตรายในน้ำ ตามสมการจำลองด้านล่าง ปัญหาค่า TKN เกินมาตรฐานพบบ่อยๆ โดยเฉพาะน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์เจือปนและปนเปื้อนมากๆ( ค่า BOD สูง )ไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย ส่วนหนึ่งจะมาจากโปรตีน( กรดอะมิโน )ที่อยู่ในสารอินทรีย์ทั้งหลาย โดยเฉพาะในบ่อเกรอะ สิ่งปฏิกูลทั้งหมดล้วนเป็นสารอินทรีย์ทั้งสิ้น ค่า BOD และค่า TKN จะสูงมาก ไม่ควรให้สิ่งปฏิกูลเหล่านี้หลุดเข้าไปในระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสียเป็นอันขาด น้ำเสียจากบ่อเกรอะที่จะเข้าสู่ระบบบำบัดรวมจะต้องทำการกรองแบบละเอียดก่อน เพื่อกรองเอาสิ่งปฏิกูลออกให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาค่า BOD และ TKN ในบ่อบำบัดสูง ซึ่งจะส่งผลให้ให้ระบบบำบัดล้มเหลวได้ง่ายๆ วิธีการลดค่า TKN ในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า โดยการเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงในน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสียบ่อที่ 1 ตามคำแนะนำที่ให้ไว้ เพื่อให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มแรก กรณีที่บ่อพักน้ำทิ้งมีค่า TKN เกินค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง ก็สามารถเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เพื่อลดค่า TKN ได้ ซึ่งอาจใช้เวลาในการออกซิไดซ์ไนโตรเจน 3-5 วัน จะส่งผลให้ค่า TKN ลดลงอย่างต่อเนื่อง ถ้าค่า TKN ในบ่อพักน้ำทิ้งมีค่าสูงมาก ก็สามารถเพิ่มความเข้มข้นจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงในบ่อพักน้ำทิ้งได้ทันที บ่อเติมอากาศเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้หรือไม่? สามารถเติมได้กรณีที่ในบ่อเติมอากาศมีปริมาณจุลินทรีย์น้อยหรือต้องการลดค่า TKN ตั้งแต่ต้นทาง แต่ถ้ามีการเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าตั้งแต่บ่อที่ 1 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเติมที่บ่อเติมอากาศ เพราะน้ำเสียจากบ่อที่ 1 ก็จะผ่านเข้าสู่บ่อเติมอากาศ เพื่อทำการบำบัดต่อไป
การย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์ในบ่อที่ 1 เกิดขึ้นน้อยมาก ยกเว้นมีการเติมจุลินทรีย์เข้าไป ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายได้มากขึ้น จะช่วยให้บ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อเติมอากาศ จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจนจะไม่ทำงานหนักมาก เพราะของเสียส่วนหนึ่งถูกย่อยสลายมาตั้งแต่บ่อที่ 1 แล้ว นี่คือผลดีของการเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียลงในบ่อรับน้ำเสียบ่อที่ 1 คุณภาพน้ำทิ้งบ่อสุดท้ายจะได้เกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ โจทย์จึงอยู่ที่บ่อเติมอากาศและบ่อที่ 1 เป็นหลัก ถ้าทั้งสองบ่อ( บ่อที่ 1 และบ่อที่ 2 )มีปริมาณจุลินทรีย์ทำการย่อยสลายของเสียได้ดีมีประสิทธิภาพ น้ำทิ้งบ่อสุดท้ายก็สามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ตามปกติ เราได้บรรจุกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งทั้งสองสายพันธุ์รวมไว้ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว เพื่อกำจัดไนโตรเจนในน้ำเสียโดยเฉพาะ ซึ่งก็คือการลดค่า TKN ในน้ำเสียนั่นเอง นอกจากนี้กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งยังมีคุณสมบัติและมีประสิทธิภาพในการกำจัดแอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารพิษในน้ำเสียได้เป็นอย่างดี เราจึงนำคุณสมบัติเด่นๆเหล่านี้มาบรรจุลงในจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เพื่อเพิ่มผลประโยชน์ให้กับลูกค้าและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียอีกกลุ่มหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องการกำจัดไนโตรเจน กำจัดแอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ ในน้ำเสีย ที่จุลินทรีย์กลุ่มอื่นไม่สามารถทำได้หรือไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีให้เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำในการกำจัดไนโตรเจนหรือแอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ จุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งสามารถกำจัดได้ เป็นที่ยอมรับกันในทางวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก ปฏิกิริยาการกำจัดไนโตรเจน( ลดค่า TKN )ของจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง
ปฏิกิริยาส่วนแรก จุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งจะทำการออกซิไดซ์แอมโมเนียมอิออน ไนไตรท์อิออน ไนเตรทอิออน เป็นปฏิกิริยาแบบใช้อากาศ เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ไนตริฟิเคชั่น( Nitrification ) ปฏิกิริยาส่วนที่สอง จุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งจะทำการออกซิไดซ์ไนเตรทอิออน ไนไตรท์อิออน ไนตรัสออกไซด์ ไปเป็นก๊าซไนโตรเจน( N2 )ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศต่อไป เป็นปฏิกิริยาแบบไม่ใช้อากาศ เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ดีไนตริฟิเคชั่น( Denitrification ) ในการแปรสภาพไนโตรเจน( ลดค่า TKN )ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย สามารถอธิบายด้วยหลักวิทยาศาสตร์ตามสมการจำลองข้างต้น เป็นปฏิกิริยาแบบลูกโซ่ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ตราบใดที่มีจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งอยู่ในระบบ ไนโตรเจนก็จะถูกแปรสภาพไปเป็นก๊าซไนโตรเจนลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยายกาศต่อไป สำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย )ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน และเราได้พัฒนาให้มีกลิ่นหอม เพื่อประโยชน์ในการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น )อีกทางหนึ่ง โดยทั่วไปจุลินทรีย์จะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติใดๆ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสังเคราะห์ขึ้นจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์นำมารวบรวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน โดยเฉพาะการนำไปใช้บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )และการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ) ซึ่งเป็นคุณสมบัติเด่นๆของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่าโดยตรง( เจ้าของ )เราจำหน่ายมามากกว่า 20 ปีแล้ว มีลูกค้าที่ใช้บริการของเรากระจายอยู่ทั่วประเทศ และส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าประจำมากกว่า 80% เราให้คำแนะนำและคำปรึกษาลูกค้าฟรีๆเมื่อซื้อสินค้าไปจากเรา ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆในการปรึกษาแต่ละครั้งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับระบบบำบัดน้ำเสียของลูกค้า ซึ่งจะไม่เหมือนกับที่ปรึกษาทั่วๆไปที่ต้องคิดคอร์สค่าที่ปรึกษาในแต่ละครั้ง แต่ที่นี่เราบริการลูกค้าของเราฟรีๆทุกๆท่านในการแก้ปัญหาให้ในแต่ละครั้ง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าขอเป็นผู้ให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก้ปัญหาให้กับลูกค้าของเราทุกๆท่านด้วยความเต็มใจ จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์ลดค่า TKN ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอนละ 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2 - 4 วันทำการขนส่ง ( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้หรือไกลเป้นตัวกำหนด ) มีปัญหาจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อย ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า Run และ Boost & Reboost ระบบบำบัดน้ำเสียใหม่ ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า
ค่า TKN ของอาคารประเภท ก. และ ข. ไม่เกิน 35 mg/l ประเภท ค. และ ง. ไม่เกิน 40 mg/l
ข้อควรระวังการใช้คลอรีนในการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูข้อมูลที่นี่... จุลินทรีย์หอมคาซาม่าช่วยเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในจุดใด? จุดประสงค์ของการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. |