ทำไมต้องใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ?
ทำไมต้องใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย ? ไม่ใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียได้ไหม? บรรดาของเสียทั้งหมดในโลกใบนี้ ตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็กสุด ล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายในขั้นตอนสุดท้ายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์หรือสารเคมี การย่อยสลายในขั้นตอนสุดท้าย ล้วนต้องพี่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น กรณีการบำบัดน้ำเสียด้วยสารเคมี จะเป็นเพียงกระบวนการบำบัดน้ำเสียบางส่วนเท่านั้น แต่ขั้นตอนสุดท้ายก็ต้องมาพึ่งจุลินทรีย์อยู่ดี ส่วนปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย เป็นไปตามสมการด้านล่าง การเกิดปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย เราจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาเปล่า เพราะจุลินทรีย์มีขนาดเล็ก เราจึงวัดการบำบัดน้ำเสียของจุลินทรีย์ด้วยค่ามาตรฐานน้ำทิ้งเป็นเกณฑ์ ถ้าการบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดไว้
จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย )ยังมีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือจุลินทรีย์รักษ์โลกนั่นเอง ของเสียไม่ล้นโลก น้ำเสียไม่ล้นโลกก็มาจากผลงานของจุลินทรีย์เหล่านี้นั่นเอง กรณีที่น้ำเสียมีปริมาณมาก เช่น น้ำเสียจากโรงงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียจากอาคารสำนักงานต่างๆ จำเป็นต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียเป็นของตัวเอง ทำไมหน่วยงานต่างๆต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย กรณีที่น้ำเสียมีปริมาณมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบบำบัด เพื่อบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะ ถ้าน้ำเสียไม่ได้รับการบำบัดให้เป็นน้ำดีก่อนออกสู่สิ่งแวดล้อม จะส่งผลทำให้เกิดมลภาวะและมลพิษในสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในน้ำในสิ่งแวดล้อมอาจไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ ทำให้ระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมเสียหาย นี่ก็คือเหตุผลที่ว่า ทำไมต้องบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม การบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย )ของจุลินทรีย์ใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ? การย่อยสลายของจุลินทรีย์( บำบัดน้ำเสีย )ใช้เวลามากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของเสียว่า มีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ย่อยสลายง่ายหรือย่อยสลายยาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลาลายมีปริมาณมากหรือมีปริมาณน้อย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียหรือบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะผ่านเกณฑ์หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการย่อยสลายของจุลินทรีย์ว่าทำได้ดีและสมบูรณ์หรือไม่ ระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS ( Activated Sludge )คือมีการเติมอากาศลงในบ่อน้ำเสีย เพื่อให้ในน้ำเสียนั้นๆมีปริมาณออกซิเจนเพียงพอ( ค่า DO >= 2 )นอกจากนี้ ออกซิเจนยังจำเป็นสำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า จุลินทรีย์คือตัวการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย( บำบัดน้ำเสีย )ซึ่งในธรรมชาติก็จะมีจุลินทรีย์กลุ่มนี้อยู่แล้ว แต่มีปริมาณน้อย( เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำเสีย )และอยู่กันแบบกระจัดกระจาย ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS ออกแบบมาเพื่อดึงกลุ่มจุลินทรีย์ในธรรมชาติมารวมกันไว้ในระบบ เพื่อนำมาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั่นเอง ที่ใดมีน้ำเสียเกิดขึ้น แต่ไม่มีระบบบำบัด วิธีแก้ปัญหาก็คือ ต้องหาจุลินทรีย์ย่อยสลายมาบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะ( กรณีมีน้ำเสียปริมาณน้อย )หรือกรณีที่ระบบบำบัดน้ำเสียเกิดปัญหาขึ้น ทั้งจากปัญหาทางเทคนิคและปัญหาจุลินทรีย์ในระบบลดปริมาณลง ส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าหรือหลายๆค่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง ปัญหาเช่นนี้ก็สามารถเพิ่มหรือเติมจุลินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นเข้าไปในระบบได้ เพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายให้กับระบบบำบัด( บูสท์จุลินทรีย์ให้กับระบบบำบัด ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย สามารถนำไปบูสท์( Boost )จุลินทรีย์ให้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด เพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายให้กับระบบบำบัด ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียอยู่หลายสายพันธุ์ด้วยกัน และมีกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง( Nitriflying Bacteria )ทั้งสองสายพันธุ์รวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งจะแตกต่างไปจากอีเอ็ม( em )ที่จำหน่ายทั่วๆไปในท้องตลาด เราได้พัฒนาจุลินทรีย์หอมคาซาม่าให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มประโยชน์ให้มากยิ่งขึ้น กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งมีคุณสมบัติและมีประสิทธิภาพในการกำจัดไนโตรเจน แอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ ในน้ำเสียได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ คำแนะนำการเติมหรือเพิ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียลงในบ่อบำบัดน้ำเสีย สำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เท่านั้น ใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ จุดที่ต้องเติมหรือเพิ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า 1. ให้เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงในบ่อรับน้ำเสียบ่อที่ 1 อัตราการเติม 1-2 ลิตรจุลินทรีย์ ต่อปริมาตรน้ำเสีย 1 ลูกบาศก์เมตร กรณีที่น้ำเสียวิกฤตหนัก ส่งกลิ่นเหม็น ก็ให้เพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS ( Activated Sludge )จะมีบ่อรับน้ำเสียอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 3 บ่อ จะมีบ่อรับน้ำเสียบ่อแรกหรือบ่อที่ 1 เป็นบ่อตกตะกอนขั้นแรก ก่อนที่น้ำเสียจะเข้าบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อเติมอากาศ การบำบัดน้ำเสียจะเกิดขึ้นมากที่สุดในบ่อเติมอากาศ เนื่องจากมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมากที่สุด ก่อนที่จะไปบ่อพักน้ำทิ้งบ่อที่ 3 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS จะเป็นเช่นนี้ การตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง จะใช้น้ำจากบ่อที่ 3 แต่การซุ่มตรวจ สามารถใช้น้ำเสียได้ทุกๆบ่อ เพื่อเป็นการเช็คประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย และเป็นการซุ่มตรวจ เพื่อทดสอบคุณภาพของน้ำเสีย นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เร็วขึ้น กรณีเกิดปัญหาขึ้นกับระบบบำบัดน้ำเสีย 2. ให้เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าที่บ่อเกรอะด้วย ในกรณีที่น้ำเสียจากบ่อเกรอะเข้าทำการบำบัดกับระบบบำบัดน้ำเสีย ตัวอย่างเช่น น้ำเสียในคอนโดมิเนียมแทบจะทุกๆแห่ง จะมีการต่อน้ำเสียจากบ่อเกรอะเข้ากับระบบบำบัดส่วนกลาง ให้เติมจุลินทรีย์ในบ่อเกรอะในปริมาณเท่าๆกันกับข้อ 1 ในบ่อเกรอะจะมีสารอินทรีย์เป็นจำนวนมากที่มาจากสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย บ่อเกรอะต้องมีระบบส่วนเกรอะและส่วนกรองต้องแยกกัน น้ำเสียจากบ่อเกรอะก่อนที่จะเข้าไปรวมกับน้ำเสียในระบบบำบัด ต้องทำการกรองเอาสิ่งปฏิกูลออกทั้งหมด ก่อนจะเข้าสู่ระบบบำบัด ถ้าไม่มีการกรองจะส่งผลให้ระบบบำบัดล้มเหลวได้ง่ายๆ จะมีปัญหากับระบบบำบัดอย่างต่อเนื่อง 3. ให้เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเติมอากาศ กรณีที่ต้องการบูสท์จุลินทรีย์ในบ่อเติมอากาศให้มีปริมาณมากขึ้น เช่น บ่อเติมอากาศบางแห่งจะเติมอากาศเป็นบางเวลา หรือบ่อเติมอากาศบางแห่งเครื่องเติมอากาศมีกำลังวัตต์ต่ำ เติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อ ทำให้ค่าออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ อัตราการเติมต่อครั้ง 3-5 ลิตรจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ต่อน้ำเสีย 1 ลูกบาศก์เมตร ระยะเวลาการเติมจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสีย ให้เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเดือนละ 1 ครั้ง เพราะรอบของการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย )ของจุลินทรีย์จะอยู่ที่ประมาณ 30 วัน ก่อนที่จะสลายตัวไปในธรรมชาติ สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรใดที่ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียเลย สมควรหมั่นเติมจุลินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้น้ำเสียได้ถูกบำบัดให้เป้นน้ำดีโดยจุลินทรีย์จากธรรมชาติ( ที่สังเคราะห์ขึ้น ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์นำมารวบรวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสีย และการบำบัดกลิ่นกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากสารอินทรีย์ เราได้ทำการเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งทั้งสองสายพันธุ์( Nitrobacter & Nitrosomonas )ลงในจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งจะมีคุณสมบัติพิเศษคือ การกำจัดไนโตรเจนในน้ำเสีย ลดค่า TKN โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังเป็นตัวกำจัดแอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ ได้ดี นี้คือจุดเด่นๆของจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอนละ 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2 - 4 วันทำการขนส่ง ( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้หรือไกลเป้นตัวกำหนด ) มีปัญหาจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อย ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า Run และ Boost & Reboost ระบบบำบัดน้ำเสียใหม่ ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า
ข้อควรระวังการใช้คลอรีนในการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูข้อมูลที่นี่... จุลินทรีย์หอมคาซาม่าช่วยเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในจุดใด? จุดประสงค์ของการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. |