
![]() |
โรงงานปลาร้าน้ำเสียและกลิ่นเหม็น การบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นในโรงงานปลาร้าทุกๆแห่ง โรงงานปลาร้าจะอุดมไปด้วยน้ำเสียและกลิ่นไม่พึงประสงค์จนกลายเป็นมลพิษและมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการโรงงานปลาร้าทุกๆแห่งต้องใส่ใจปัญหาน้ำเสียและปัญหาเรื่องกลิ่น เพราะมันสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมและชุมชน น้ำเสียก็มากและอุดมไปด้วยความเค็มจากเกลือที่ใช้หมักปลาร้า ติดตามมาด้วยกลิ่นเน่าเหม็นจากเศษปลาร้า ดังนั้น ผู้ประกอบการโรงงานปลาร้าทุกๆแห่งต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียและมีวิธีกำจัดกลิ่นเป็นของตนเอง สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานปลาร้าที่จะแนะนำก็คือระบบบำบัดแบบ AS ( Activated Sludge : AS ) นั่นเองหรือระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ระบบนี้อย่างน้อยต้องมีบ่อบำบัดน้ำเสียไม่น้อยกว่า 3 บ่อ แต่ละบ่อต้องออกแบบให้รองรับน้ำเสียในอนาคตไว้ไม่น้อยกว่า 10% ขึ้นไป( เผื่อ Overload )ความลึกของบ่อบำบัดไม่ควรเกิน 3 เมตร( เพื่อให้ออกซิเจนกระจายได้ทั่วถึงก้นบ่อ )บ่อแรกจะเป็นบ่อรับน้ำเสียจากโรงาน บ่อที่ 2 จะเป็นบ่อเติมอากาศ และบ่อที่ 3 จะเป็นบ่อน้ำทิ้งก่อนออกสู่สิ่งแวดล้อม จะมีมากกว่า 3 บ่อก็ได้ จะมีบ่อเติมอากาศมากกว่า 1 บ่อก็ยิ่งดี การบำบัดน้ำเสียจะเกิดขึ้นในบ่อเติมอากาศมากที่สุด ดังนั้น การมีบ่อเติมอากาศมากกว่า 1 บ่อจึงเป็นเรื่องดีสำหรับระบบำบัดน้ำเสียแบบ AS จะต้องมีผู้ดูแลและบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามผลการบำบัดน้ำเสียให้ได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งตามที่กำหนด เป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศแบบคร่าวๆของโรงงานปลาร้าสำหรับบำบัดน้ำเสียในโรงงาน สามารถประยุกต์ใช้ได้เลยไม่สงวนลิขสิทธิ์ใดๆถ้าเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการทุกท่าน สำหรับการเติมจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียลงในระบบ ให้เติมในบ่อแรก จะได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียตั้งแต่บ่อแรก และล้นไปบ่อเติมอากาศ Boots จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อเติมอากาศได้อีกต่อหนึ่ง หรือจะเติมทั้งบ่อแรกและบ่อเติมอากาศก็ได้ ไม่มีผลเสียใดๆมีแต่ผลดีต่อระบบบำบัด ผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียต้องหมั่นตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง หมั่นเช็คค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบ่อยๆ ที่สามารถทำได้เลยก็คือ ค่า pH , DO ในบ่อเติมอากาศ( ใช้ DO Meter Digital )ค่า BOD , COD ก็สามารถเช็คในเบื้องต้นได้ เดี๋ยวนี้จะมีเครื่องวัดค่าที่เป็นระบบดิจิตอลจำหน่ายในท้องตลาด โรงงานปลาร้าค่า BOD จะค่อนข้างสูง เนื่องจากปลาร้าเป็นสารอินทรีย์จากเนื้อปลา และถ้าเป็นไปได้ควรเช็คค่าความเค็มในบ่อที่ 1 ด้วยยิ่งเป็นการดี เพื่อเราจะได้รู้ว่าความเค็มของน้ำเท่าไร และจะลดลงเท่าไร ซึ่งจะช่วยให้เราแก้ไขปัญหาเริ่มต้นได้ กรณีน้ำเสียเป็นสีดำในบ่อบำบัดจากการล้างปลาร้า ให้ใช้ PAC( Poly Aluminium C้hloride ) ตกตะกอนเป็นน้ำใสในบ่อแรก ก่อนน้ำเสียเข้าบ่อเติมอากาศ ห้ามใช้โซดาไฟและกรดซัลฟูริคปรับค่า pH เป็นอันขาด เพราะจะเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัด ตายยกบ่อได้ตลอดเวลา มีผู้ประกอบการหลายเจ้าที่เข้าใจผิดๆนำโซดาไฟและกรดซัลฟูริคไปปรับค่า pH ในบ่อบำบัด ส่งผลให้จุลินทรีย์ตายเกลี้ยงบ่อบำบัด ไม่ควรทำอย่างยิ่ง ควรใช้วิธีอื่นในการปรับค่าพีเอช เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบ การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบ AS ส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆกันทุกแห่ง บางแห่งอาจจะประยุกต์เข้ากับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละแห่ง วัตถุประสงค์ของการบำบัดน้ำเสียก็เพื่อให้เปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม เราเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่น เราช่วยให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆกับลูกค้าของเรา ทั้งปัญหาทางด้านระบบบำบัดและปัญหาทางเทคนิคต่างๆ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะเป็นส่วนเติมเต็มในระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปริมาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียน้อย สามารถใช้คู่ขนานกับจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดได้ทันที หรือจะใช้บูทส์จุลินทรีย์ในบ่อบำบัดก็ได้ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะออกซิไดซ์ของเสียโดยไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำ ดังนั้น ไม่ว่าในน้ำเสียจะมีอากาศออกซิเจนหรือไม่มี ก็ไม่มีผลใดๆต่อการทำหน้าที่บำบัดน้ำเสีย ดำรงชีพอยู่ได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและสภาวะที่มีอากาศ ประการสำคัญจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมีกลิ่นหอม ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียและการดับกลิ่นกำจัดกลิ่นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่มีปัญหาน้ำเสียในบ่อบำบัดส่งกลิ่นเน่าเหม็น จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์นำมารวบรวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสีย และการบำบัดกลิ่นกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากสารอินทรีย์ เราได้ทำการเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งทั้งสองสายพันธุ์( Nitrobacter & Nitrosomonas )ลงในจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งจะมีคุณสมบัติพิเศษคือ การกำจัดไนโตรเจนในน้ำเสีย ลดค่า TKN โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังเป็นตัวกำจัดแอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ ได้ดี นี้คือจุดเด่นๆของจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอนละ 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2 - 4 วันทำการขนส่ง ( จัดส่งขั้นต่ำ 3 แกลลอนหรือ 60 ลิตรขึ้นไป ) มีปัญหาจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อย ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า Run และ Boost & Reboost ระบบบำบัดน้ำเสียใหม่ ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า
|