
![]() |
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ที่นี่..ร้านจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ร้านขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัด ใช้ได้ทั้งระบบเติมอากาศ และชนิดไม่ใช้อากาศ ความหมายของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มีชีวิตและที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย( Effective Microorganisms : EM )มีทั้งประเภทเซลล์เดียวและหลายเซลล์ มีทั้งประเภทใช้อากาศ(ออกซิเจน)และไม่ใช้อากาศ(ออกซิเจน)มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปใน ดิน น้ำ อากาศ เป็นประโยชน์ต่อโลกและมนุษย์ บรรดาของเสียต่างๆที่ไม่ล้นโลก ก็มาจากผลงานของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กลุ่มนี้ ซึ่งในธรรมชาติมีมากมายหลายสายพันธุ์ ขึ้นอยู่กับการจะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดเป็นหลัก จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ 1. จุลินทรีย์กลุ่มที่ให้ประโยชน์หรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือ EM ( ไม่มีโทษใดๆ ) มีอยู่ในธรรมชาติประมาณ 10% 2. จุลินทรีย์กลุ่มที่มีโทษหรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้โทษ( เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในพืชและสัตว์ ) มีอยู่ในธรรมชาติประมาณ 10% 3. จุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นกลาง กลุ่มนี้ไม่มีโทษและไม่มีประโยชน์ เข้าร่วมงานกับกลุ่มใดก็ได้ใน 2 กลุ่มแรก มีอยู่ในธรรมชาติมากที่สุด( ประมาณ 80% ) มารู้จักจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย บรรดาของเสียต่างๆและน้ำเสียทุกๆชนิดบนโลกใบนี้ ล้วนต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆทั้งนั้น ถ้าปราศจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายเหล่านี้ ของเสียคงล้นโลกไปนานแล้ว บรรดาของเสียไม่ว่าจะเป็นสารอินทรีย์หรือสารเคมี การย่อยสลายในอันดับสุดท้ายหรือขั้นตอนสุดท้าย คำตอบคือ ต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายในที่สุดของการย่อยสลายของเสีย นี่คือความสำคัญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ของเสียหรือน้ำเสียมีปริมาณมาก จุลินทรีย์ที่ใช้ในการย่อยสลายของเสียก็ต้องใช้มากตามไปด้วย เพื่อให้สมดุลกับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้น ในการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียหรือบำบัดน้ำเสีย จะแปรผันตรงกับปริมาณของเสียน้ำเสียเป็นหลัก จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียบางสายพันธุ์อาจต้องใช้อากาศออกซิเจนในการกำรงชีพและใช้ในการย่อยสลายของเสีย ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียจึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสีย(บ่อเติมอากาศ)เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำเสีย( เพิ่มค่า DO )แต่จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียบางสายพันธู์ก็ไม่ใช้ออกซิเจน จึงเป็นผลดีของระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถคงออกซิเจนได้มากขึ้น ในระบบบำบัดน้ำเสีย(บ่อบำบัดน้ำเสีย)จึงมีทั้งจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจน( Aerobic Microorganisms )และชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน( Anaerobic Microorganisms )ส่วนกลุ่มไหนจะมีมากหรือน้อยกว่ากัน ต้องไปทำการรีเช็คอีกครั้งหนึ่ง ถ้าปริมาณของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียมีมากพอในระบบบำบัดน้ำเสีย ก็จะส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายๆ นี้คือ เรื่องราวของ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? สำหรับสาเหตุที่ต้องสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นมา ก็เพื่อรองรับน้ำเสียทั้งหมดมาทำการบำบัดก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ต้องคำนึงถึงปริมาตรการรับน้ำเสีย และการดึงจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียในระบบมาใช้งาน สาเหตุที่ต้องเติมอากาศลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสีย สำหรับเหตุผลที่ต้องเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสีย(ในบ่อเติมอากาศ)ก็เพื่อต้องการดึงจุลินทรีย์ที่มีประโยน์ในการย่อยสลายของเสียในสิ่งแวดล้อมมาใช้งานในการย่อยสลายของเสียในบ่อบำบัดน้ำเสีย เพราะกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีพและในปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสีย สำหรับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ 1 ) กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน( Aerobic Microorganisms ) 2 ) กลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน( Anaerobic Microorganisms ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทั้ง 2 กลุ่มนี้ ล้วนเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียทั้งคู่ ต่างกันเพียงกลุ่มหนึ่งใช้อากาศ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ใช้อากาศในการดำรงชีพและย่อยสลายของเสีย โดยสรุป จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย มีทั้งประเภทที่ใช้อากาศ และประเภทที่ไม่ใช้อากาศในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย คำแนะนำการเติมหรือเพิ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียลงในบ่อบำบัดน้ำเสีย สำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เท่านั้น ใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ จุดที่ต้องเติมหรือเพิ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า 1. ให้เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงในบ่อรับน้ำเสียบ่อที่ 1 อัตราการเติม 1-2 ลิตรจุลินทรีย์ ต่อปริมาตรน้ำเสีย 1 ลูกบาศก์เมตร กรณีที่น้ำเสียวิกฤตหนัก ส่งกลิ่นเหม็น ก็ให้เพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS ( Activated Sludge )จะมีบ่อรับน้ำเสียอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 3 บ่อ จะมีบ่อรับน้ำเสียบ่อแรกหรือบ่อที่ 1 เป็นบ่อตกตะกอนขั้นแรก ก่อนที่น้ำเสียจะเข้าบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อเติมอากาศ การบำบัดน้ำเสียจะเกิดขึ้นมากที่สุดในบ่อเติมอากาศ เนื่องจากมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมากที่สุด ก่อนที่จะไปบ่อพักน้ำทิ้งบ่อที่ 3 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS จะเป็นเช่นนี้ การตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง จะใช้น้ำจากบ่อที่ 3 แต่การซุ่มตรวจ สามารถใช้น้ำเสียได้ทุกๆบ่อ เพื่อเป็นการเช็คประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย และเป็นการซุ่มตรวจ เพื่อทดสอบคุณภาพของน้ำเสีย นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เร็วขึ้น กรณีเกิดปัญหาขึ้นกับระบบบำบัดน้ำเสีย 2. ให้เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าที่บ่อเกรอะด้วย ในกรณีที่น้ำเสียจากบ่อเกรอะเข้าทำการบำบัดกับระบบบำบัดน้ำเสีย ตัวอย่างเช่น น้ำเสียในคอนโดมิเนียมแทบจะทุกๆแห่ง จะมีการต่อน้ำเสียจากบ่อเกรอะเข้ากับระบบบำบัดส่วนกลาง ให้เติมจุลินทรีย์ในบ่อเกรอะในปริมาณเท่าๆกันกับข้อ 1 ในบ่อเกรอะจะมีสารอินทรีย์เป็นจำนวนมากที่มาจากสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย บ่อเกรอะต้องมีระบบส่วนเกรอะและส่วนกรองต้องแยกกัน น้ำเสียจากบ่อเกรอะก่อนที่จะเข้าไปรวมกับน้ำเสียในระบบบำบัด ต้องทำการกรองเอาสิ่งปฏิกูลออกทั้งหมด ก่อนจะเข้าสู่ระบบบำบัด ถ้าไม่มีการกรองจะส่งผลให้ระบบบำบัดล้มเหลวได้ง่ายๆ จะมีปัญหากับระบบบำบัดอย่างต่อเนื่อง 3. ให้เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเติมอากาศ กรณีที่ต้องการบูสท์จุลินทรีย์ในบ่อเติมอากาศให้มีปริมาณมากขึ้น เช่น บ่อเติมอากาศบางแห่งจะเติมอากาศเป็นบางเวลา หรือบ่อเติมอากาศบางแห่งเครื่องเติมอากาศมีกำลังวัตต์ต่ำ เติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อ ทำให้ค่าออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ อัตราการเติมต่อครั้ง 3-5 ลิตรจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ต่อน้ำเสีย 1 ลูกบาศก์เมตร ระยะเวลาการเติมจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสีย ให้เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเดือนละ 1 ครั้ง เพราะรอบของการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย )ของจุลินทรีย์จะอยู่ที่ประมาณ 30 วัน ก่อนที่จะสลายตัวไปในธรรมชาติ สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรใดที่ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียเลย สมควรหมั่นเติมจุลินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้น้ำเสียได้ถูกบำบัดให้เป้นน้ำดีโดยจุลินทรีย์จากธรรมชาติ( ที่สังเคราะห์ขึ้น ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์นำมารวบรวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสีย และการบำบัดกลิ่นกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากสารอินทรีย์ เราได้ทำการเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งทั้งสองสายพันธุ์( Nitrobacter & Nitrosomonas )ลงในจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งจะมีคุณสมบัติพิเศษคือ การกำจัดไนโตรเจนในน้ำเสีย ลดค่า TKN โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังเป็นตัวกำจัดแอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ ได้ดี นี้คือจุดเด่นๆของจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอนละ 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2 - 4 วันทำการขนส่ง ( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้หรือไกลเป็นตัวกำหนด ) มีปัญหาจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อย ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า Run และ Boost & Reboost ระบบบำบัดน้ำเสียใหม่ ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า
|