การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมหรืออพาร์ทเม้นท์
หน้าที่โดยตรงของผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย ท่านเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียม ? ท่านเป็นนิติบุคคลอาคารชุดคอนโดมิเนียม? วันนี้ท่านได้ตรวจสอบบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านหรือระบบบำบัดน้ำเสียของท่านว่ายังคงมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้จริงๆหรือไม่ ? หรือจะรอให้ทางราชการเข้ามาตรวจสอบก่อนแล้วค่อยลงมือแก้ไขปัญหาทีหลัง? เตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้ดีกว่าไหม? ลงมือแก้ไขปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม ค่ามาตรฐานพารามิเตอร์ต่างๆจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียได้มากน้อยเพียงใด โปรดศึกษาได้จากเนื้อหาด้านล่างสุดของเพจนี้ หน้าที่โดยตรงของผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย หน้าที่ประจำซึ่งถือว่าเป็นงานที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำอย่างต่อเนื่องของเจ้าของอาคารสำนักงานต่างๆ และนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นคอนโดมิเนียมทุกๆแห่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ 1 . ดูแลและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆส่วนให้อยู่ในสภาพพร้อมการใช้งานได้ตลอดเวลา การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจะมีผลต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง หมั่นตรวจสอบเครื่องมือต่างๆให้พร้อมทำงานและสภาพบ่อบำบัดอยู่เป็นประจำ 2. ตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ของบ่อบำบัดน้ำเสียเป็นประจำทุกเดือน ( หรือไม่น้อยกว่า 3 เดือน / ครั้ง ) เก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อที่ 1 ( ก่อนบำบัด ) และเก็บตัวอย่างน้ำในบ่อสุดท้าย ( ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ) เข้าตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏืบัติการ เพื่อตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำเสียที่ทางราชการกำหนดไว้ บันทึกในตารางค่าพารามิเตอร์ในแต่ละเดือน สำหรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ควรรู้ในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย - BOD ( บีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - COD ( ซีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในกระบวนการทางเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) COD (Chemical Oxygen Demand) คือ ปริมาณ O2ที่ใช้ในการออกซิไดซ์ในการสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) ในปริมาณมากเกินพอ ในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อย สลายได้และย่อยสลายไม่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน โดยทั่วไปค่า COD จะมีค่ามากกว่า BOD เสมอ ดังนั้นค่า COD จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสีย - TS หรือปริมาณของแข็งทั้งหมด (Total Solids : TS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - ค่า TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l ) - ค่า F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - ค่า pH ความเป็นกรด-ด่าง (pH) สำหรับค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางตัวจากอาคารบางประเภทและบางขนาด ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2537)
- ค่าบีโอดี (BOD) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร - ค่า SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/ลิตร - ค่า pH 5 - 9 - TDS ไม่เกิน 500 mg/l - FOG ไม่เกิน 20 mg/l
ฯ ล ฯ จะเริ่มต้นบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านอย่างไร ? 1. อันดับแรกให้ทำการตรวจสอบระบบทั้งหมดว่ายังใช้การทำงานได้ดีอยู่หรือไม่ ? มีสิ่งใดที่มีปัญหาในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดแล้วทำการแก้ไขปัญหานั้นๆ 2. อันดับต่อมาก็คือ การตรวจสอบหรือการเช็คค่าพารามิเตอร์ในระบบบำบัดและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการว่าได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดหรือไม่ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อแรก ( น้ำเสียก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( น้ำเสียหลังบำบัดแล้ว ) ซึ่งจะทำให้รู้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังบำบัด ( บ่อสุดท้าย ) ซึ่งจะทำให้รู้ว่าน้ำเสียในบ่อบำบัดของท่านผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งหรือไม่ ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพหรือไม่ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อสุดท้ายจะเป็นตัวชี้วัดระบบบำบัดน้ำเสียของท่านว่าผ่าน ( บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ )หรือไม่ผ่าน ( ล้มเหลว )
ระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน อพาร์ทเม้นท์ ส่วนใหญ่เป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศแทบทั้งนั้น เพราะลงทุนน้อยและดูแลง่าย แต่จะมีปัญหาตรงที่การดูแลและบำรุงรักษาระบบ ถ้าการดูแลและการบำรุงรักษาทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของระบบจะด้อยลงทันที ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่จะมีด้วยกันทั้งหมด 3 บ่อ คือ บ่อที่ 1 บ่อรับน้ำเสีย บ่อที่ 2 บ่อเติมอากาศ บ่อที่ 3 เป็นบ่อพักน้ำ ( น้ำดี ) ก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อมต่อไป ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของบ่อบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ทั้งการออกแบบระบบทั้งหมด การเติมอากาศ เครื่องเติมอากาศ ปริมาณของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบและอื่นๆ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีทั้งสิ้น จากที่พบมาระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ยังคงมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ในการดูแลบำรุงรักษาระบบบำบัดให้มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในระบบบำบัดนั้นๆพอสมควร ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศอาจล้มเหลวได้ง่ายๆ ถ้าช่วงใดที่มีปริมาณน้ำเสียมากๆ ระบบบำบัดอาจรับไม่ทันจึงต้องปล่อยน้ำเสียทิ้งไปในที่สาธารณะบ่อยๆ ติดตามมาด้วยมลพิษและมลภาวะของน้ำเสียที่ปล่อยทิ้งออกไป ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสีย ไม่ว่าระบบนั้นๆจะลงทุนมากหรือลงทุนน้อย วัตถุประสงค์ของการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นมาก็เพื่อต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีอยู่แล้วในธรรมชาติ แต่อยู่แบบกระจัดกระจายกันไปไม่เป็นกลุ่มก้อนเท่าที่ต้องการ มีทั้งประเภทใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียใดมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยจึงไปดูที่การดึงปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเข้ามาในระบบให้ได้มากที่สุดนั่นเอง มีคำถามว่าทำไมบ่อบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียมบางแห่งจึงส่งกลิ่นเหม็นของน้ำเสียในบ่อบำบัด ? เหตุผลก็เพราะว่าปริมาณของเสียและน้ำเสียมีมากกว่าปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายนั่นเองจึงเกิดปัญหานี้ขึ้น ตามหลักการที่ถูกต้องทั่วๆไปน้ำเสียที่เกิดจากการซักล้าง อาบน้ำ ใช้น้ำในห้องน้ำ จะต้องแยกออกจากกันกับน้ำเสียที่ไปจากชักโครกหรือคอห่าน ( น้ำเสียจากส้วมในห้องน้ำ ) แต่คอนโดมิเนียมบางแห่งผู้ก่อสร้างคอนโดเขาไม่แยกในส่วนนี้ เพราะมันยุ่งยากและใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น จึงสร้างรวมเป็นบ่อเดียวกันทั้งหมด น้ำเสียและของเสียจากชักโครก น้ำซักล้าง ฯลฯ ลงที่บ่อเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจะสร้างปัญหาให้แก้ไขอย่างมากในภายหลัง การบำบัดน้ำเสียก็ทำได้ยากขึ้น เพราะมีทั้งน้ำเสียและตะกรันจากชักโครก ซึ่งเป็นการออกแบบที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่แรกแล้ว ระบบบ่อบำบัดเช่นนี้ก็พบเห็นบ่อยๆเช่นกัน แล้วระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านเป็นแบบใด ? ส่วนมากร้อยทั้งร้อยต้องแก้ไขและปรับปรุงระบบแทบทั้งหมด การบำบัดน้ำเสียจึงจะมีประสิทธิภาพ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจึงจะได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดไว้ บ่อบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมบางแห่งที่พบมาไม่มีเครื่องเติมอากาศก็มีจำนวนมาก หรือบางแห่งมีเครื่องเติมอากาศแต่เสียยังไม่ได้ซ่อม หรือบางแห่งมีเครื่องเติมอากาศรันตลอด 24 ชั่วโมง แต่กำลังแรงม้าเครื่องต่ำเติมออกซิเจนได้น้อย ในขณะที่น้ำเสียมีปริมาณมาก ซึ่งไม่สมดุลกัน ทำให้ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียด้อยลง ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียต้องได้รับการดูแลบำรุงรักษาโดยผู้มีความรู้ในระบบพอสมควรและดูแลอย่างจริงจังระบบจึงจะมีประสิทธิภาพดีตามที่ต้องการ อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย นั่นก็คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักที่สำคัญมากที่สุดของระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบแบบเติมอากาศหรือระบบอื่นๆก็ตาม ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียล้วนต้องการดึงจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะใช้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนหรือใช้อากาศออกซิเจนเป็นหลัก ดังนั้น การเติมอากาศลงในน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสียจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุด เพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนั่นเอง ยิ่งค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีมาก ( ค่า DO ) จะส่งผลดีต่อปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศโดยตรง ( Aerobic bacteria ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียในน้ำเสียในบ่อบำบัดนั้นๆก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่การจะทำได้เช่นนี้ต้องดูแลบำรุงรักษาให้ถึงโดยผู้ที่เข้าใจและมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับระบบบำบัดจริงๆ มีน้อยมากๆที่ระบบบำบัดจะสมบูรณ์แบบ การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียก็สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือ การเพิ่มหรือเติมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเข้าไปในระบบ ซึ่งเป็นทางลัดที่ทำได้ง่ายกว่าและเป็นที่นิยมปฏิบัติกันในปัจจุบัน อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนั้น มีทั้งประเภทใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( Aerobic bacteria และ Anaerobic bacteria ) กลุ่มจุลินทรีย์Anaerobic bacteria เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนหรือไม่ใช้อากาศในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย สามารถสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการได้ง่ายกว่ากลุ่มที่ใช้อากาศออกซิเจนเป็นหลัก โดยเฉพาะน้ำเสียที่วิกฤตหนักๆ ในบ่อบำบัดน้ำเสียบางแห่งจะเป็นที่อับอากาศ ( ออกซิเจนมีน้อย ) กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักทำงานไม่ได้ เพราะขาดออกซิเจนในการทำปฏิกิริยานั่นเอง ดังนั้น ทางออกขอปัญหานี้จึงต้องไปพึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ซึ่งทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ดีเช่นเดียวกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำไมจึงต้องใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียและย่อสลายของเสียต่างๆในบ่อบำบัด ? บรรดาของเสียทุกๆชนิดซึ่งรวมทั้งน้ำเสียด้วยจะถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์โดยตรง ถือว่าเป็นหน้าที่ของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็ว่าได้ ถ้าปราศจากจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายกลุ่มนี้แล้ว ของเสียและน้ำเสียต่างๆทั่วโลกก็คงจะล้นโลกใบนี้ไปนานแล้ว จุลินทรีย์มีอยู่ด้วยกันหลากหลายกลุ่มหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งชนิดมีประโยชน์ ชนิดเป็นกลาง และชนิดให้โทษ และจุลินทรีย์ทั้งหมดที่กล่าวมายังมีทั้งกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพ ( Aerobic bacteria และ Anaerobic bacteria ) เราคัดเลือกเอาเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เท่านั้นมาใช้งาน โดยเฉพาะการนำมาใช้งานในระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย เราจะคัดเลือกเอาเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดน้ำเสียเท่านั้นเติมลงในระบบ การเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียลงในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง เพราะระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อต้องการดึงจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในธรรมชาติมาใช้งานบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียในบ่อบำบัดและระบบบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งจะขาดจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายไม่ได้อย่างเด็ดขาดหรือมีปริมาณน้อยก็จะเกิดปัญหาไม่สามารถบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้ต่อไป ดังนั้น จะเห็นว่าระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียใดจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยหรือไม่มีประสิทธิภาพเลยขึ้นอยู่กับการควบคุมปริมาณของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้ได้มากเพียงพอกับของเสียและน้ำเสียหรือไม่ ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบต้องมีการบำรุงรักษาระบบอย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงมักจะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่ต้องยอมรับ ถ้าไม่เกิดปัญหาการ้องเรียนขึ้นก็ปล่อยปละละเลยไปเรื่อยๆ เพราะประเทศไทยยังขาดระเบียบวินัยและสามัญสำนึกขั้นสูง ต้องรอให้ทางราชการตรวจสอบจึงค่อยลงมือแก้ไข จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียในบ่อบำบัด รวมถึงการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย( Anaerobic bacteria ) ดังนั้น ถึงแม้ในบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นๆไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลยหรือมีน้อย ก็ไม่มีผลในการทำงานย่อยสลายและบำบัดน้ำเสียของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศออกซิเจนและในสภาวะมีอากาศออกซิเจน และสามารถทำงานแบบคู่ขนานไปกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักได้โดยไม่ส่งผลเสียใดๆต่อระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ในทางตรงกันข้ามกลับส่งผลดีต่อระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง ทำให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว ปัญหาที่พบบ่อยๆในระบบบำบัดน้ำเสียแต่ละแห่ง ( บ่อบำบัดน้ำเสียแต่ละหน่วยงาน ) ก็คือ ปริมาณน้ำเสียมีมากกว่าปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย ซึ่งสามารถสังเกตุได้จากทั้งค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียในบ่อบำบัดและจากปัญหาในเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ รวมไปถึงสีของน้ำเสีย สภาพของบ่อบำบัดน้ำเสียที่ขาดการดูแล ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดถึงสภาพของน้ำเสียที่ยังไม่สามารถบำบัดให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหานี้ก็ด้วยการเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเข้าไปในระบบ ( เติมจุลินทรีย์ลงในบ่อบำบัดน้ำเสีย ) ทำไมต้องเติมจุลินทรีย์ลงในบ่อบำบัดน้ำเสีย ? คำตอบก็คือ ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆหรือบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมากพอ ( มากกว่าปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น ) ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าไปในระบบหรือลงในบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องของปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่เพียงพอต่อปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ลงในบ่อบำบัดน้ำเสีย เพื่อทำให้การบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จุดบอดหรือจุดด้อยของระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานต่างๆและอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมคือ ในเรื่องของพื้นที่ที่ใช้สร้างบ่อบำบัดน้ำเสียมีพื้นที่น้อยและจำกัด สร้างบ่อบำบัดน้ำเสียได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร ( อาคารสำนักงานทั่วๆไปและอาคารชุดคอนโดมิเนียมมีปริมาณน้ำเสียค่อนข้างมาก ) น้ำเสียมีมาก ในขณะที่บ่อรับน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียทำได้จำกัดและมีจำนวนบ่อรับน้ำเสียน้อยกว่าปกติ ( ส่วนมากไม่เกิน 3 บ่อ ) ในการบำบัดน้ำเสียนั้นต้องใช้ระยะเวลาบำบัดและย่อยสลาย ซึ่งจุลินทรีย์ย่อยสลายจะทำหน้าที่นี้ ยิ่งน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ยิ่งต้องใช้ระยะเวลาย่อยสลายนานมากขึ้น จึงส่งผลให้น้ำเสียตามอาคารสำนักงานและอาคารชุดส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของทางราชการกำหนดไว้ การที่จะทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพ ( บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้ )ได้นั้นสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งต้องดูข้อมูลของระบบบำบัดน้ำเสียแต่ละสถานที่เป็นหลักในการแก้ไขปัญหา อาจต้องแก้ไขทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพหรือทางเคมี ซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้รอบด้านและความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียในการแก้ไขปัญหา การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆต้องใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆยังจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้. - 1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพเจริญเติบโต
2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ใช้วิธีการแลกอิเล็คตรอนกับสารประกอบต่างๆ ) ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ อาคารสำนักงานทุกๆแห่ง รีสอร์ท ฯลฯ สามารถใช้งานบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้ทันที ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นเหม็นในน้ำเสียในบ่อบำบัด ให้คำแนะนำในการใช้และปรับระบบบ่อบำบัดฟรีๆกับลูกค้าของเราทุกๆท่าน เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่าโดยตรง ไม่มีผ่านคนกลางใดๆทั้งสิ้น ให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีกับลูกค้าของเราทุกๆแห่งในระบบบำบัดน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นระบบเดิมๆหรือการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นมาใหม่ เราให้คำแนะนำฟรีๆ เพียงสั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าของเราท่านจะได้รับสิทธิ์ในการปรึกษาจากเราทันทีและต่อเนื่องได้ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( Anaerobic bacteria ) สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้กับทุกๆระบบ โดยเฉพาะกับระบบที่มีปริมาณจุลินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย ( ระบบเติมอากาศทั่วๆไป ) น้ำเน่าเหม็นและน้ำที่เน่าเสียมีที่มาจากปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อยกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น
มีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่สมบูรณ์ ปัญหาน้ำเสียในอาคาร บ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama )บำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นในเวลาเดียวกัน เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ เพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านได้ดีมากขึ้น สำหรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ควรรู้ในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย - BOD ( บีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - COD ( ซีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในกระบวนการทางเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - TS หรือปริมาณของแข็งทั้งหมด (Total Solids : TS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - ค่า TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l ) - ค่า F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - ค่า pH ความเป็นกรด-ด่าง (pH) สำหรับค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางตัวจากอาคารบางประเภทและบางขนาด ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2537)
- ค่าบีโอดี (BOD) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร - ค่า SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/ลิตร - ค่า pH 5 - 9 - TDS ไม่เกิน 500 mg/l - FOG ไม่เกิน 20 mg/l
ฯ ล ฯ
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
|