สวนสัตว์
สวนสัตว์และฟาร์มสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่จะมีเชื้อโรคกระจายอยู่ทั่วไปในบรรยายกาศรอบๆ การใช้จุลินทรีย์ฉีดหรือพ่นในอากาศบริเวณรอบๆสวนสัตว์หรือฟาร์มสัตว์นอกเหนือไปจากฉีดพ่นในพื้นที่สวนสัตว์หรือฟาร์มสัตว์เลี้ยงแล้ว จะช่วยลดเชื้อโรคต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเดินหายใจ เชื้อรา ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากสัตว์สู่มนุษย์ได้ตลอดเวลาทางอากาศ ดังนั้นการใช้จุลินทรีย์กำจัดเชื้อโรคจึงเป็นการกำจัดอย่างตรงจุด ประการสำคัญคือความปลอดภัยไม่มีสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อมและในคนที่เข้าใกล้หรืออยู่ในบริเวณโดยรอบ
เนื่องจากในสวนสัตว์ส่วนใหญ่จะมีสัตว์หลากหลายชนิดในแต่ละจุด ดังนั้นสิ่งสกปรกต่างๆย่อมมากตามไปด้วยรวมทั้งเชื้อโรคสารพัดชนิด บรรดากลิ่นไม่พึงประสงค์ซึ่งมาจากมูลและปัสสาวะของสัตว์ รวมถึงกลิ่นสาบต่างๆย่อมรบกวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมสวนสัตว์ ถึงแม้จะมีการทำความสะอาดในทุกๆวันก็ไม่ได้แก้ปัญหาให้กลิ่นหายไปได้ การใช้สารเคมีบางชนิดล้างพื้นอาจมีผลกระทบต่อสัตว์ ซึ่งทำให้มีสารเคมีตกค้างในสัตว์นั้นได้
การใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในสวนสัตว์ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ นั่นก็คือกลิ่นเน่าเหม็นหรือกลิ่นสาบสัตว์มาจากของเสียต่างๆที่สัตว์ถ่ายหรือฉี่ลงตามพื้น และของเสียเหล่านี้จะถูกจุลินทรีย์กลุ่มที่ให้โทษเข้าไปย่อยสลาย ซึ่งจะก่อให้เกิดของเสียเน่าเหม็นเกิดขึ้น จุลินทรีย์ดับกลิ่นซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ในการย่อยสลายสิ่งต่างๆให้สมบูรณ์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษสามารถแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้ การใช้จุลินทรีย์บำบัดของเสียควรใช้ชนิดเข้มข้นสูง ไม่เก่าเก็บ การใช้ในครั้งแรกควรใช้แบบสดๆไม่ผสมกับน้ำ รดไปบนพื้นให้ทั่วๆ เพื่อให้จุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายสิ่งสกปรกซึ่งเป็นต้นเหตุของกลิ่นทั้งหลาย การใช้ต่อครั้งไม่ควรจะประหยัดเกินเหตุ ควรใช้ให้สมน้ำสมเนื้อกับปัญหานั้นๆ การใช้จุลินทรีย์ในปริมาณที่น้อยกว่าสิ่งสกปรกที่มีอยู่ย่อมไม่ได้ประสิทธผลเท่าที่ควร การใช้จุลินทรีย์ในสวนสัตว์ได้ผลหรือไม่นั้นมีองค์ประกอบอยู่หลายส่วน เช่น
1 ) ความเข้มข้นของจุลินทรีย์หรือความหนาแน่นของจุลินทรีย์นั่นเอง ซึ่งจะมีผลต่อการย่อยสลายของเสีย
2 ) ความแข็งแรงของจุลินทรีย์ ควรใช้ที่สดใหม่ไม่เก่าเก็บนานจนเกินไป เพราะจะมีผลให้จุลินทรีย์ไม่แข็งแรง
3 ) ปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้บำบัดของเสีย ไม่ควรน้อยจนเกินไป ต้องใช้ให้เหมาะสมครอบคลุมปริมาณของเสีย
4 ) ความถี่ในการใช้ กรณีสิ่งปฏิกูลมีมากและมีทุกวัน อาจต้องใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายทุกวันก็ได้
5 ) การใช้ตรงจุดของปัญหาหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยหลักๆในการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งสิ้น ส่วนมากมักจะเข้าใจว่า ใช้ในปริมาณที่น้อยๆผสมกับน้ำแล้วได้ผล ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไป การใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นเจือจางและมีความหนาแน่นของจุลินทรีย์ที่น้อยกว่าสิ่งปฏิกูลจะทำให้การย่อยสลายไม่ทั่วถึง เนื่องจากปริมาณจุลินทรีย์ดับกลิ่นมีน้อยกว่าปริมาณของเสียนั่นเอง การบำบัดจึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร และที่สำคัญที่เข้าใจผิดกันอยู่บ่อยๆเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นบำบัดของเสียเพียงครั้งเดียวก็จบ ไม่ต้องใช้อีก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดถนัด ในเมื่อสิ่งสกปรกหรือของเสียเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นก็จำเป็นต้องใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นให้ย่อยสลายสิ่งสกปรกหรือของเสียเหล่านั้นอย่างต่อเนื่องเช่นกันจึงจะถูกต้อง
การใช้จุลินทรีย์ปรับอากาศในสวนสัตว์
โดยการผสมจุลินทรีย์กับน้ำสะอาดด้วยอัตราส่วน น้ำสะอาด 500 ซีซี ต่อจุลินทรีย์ 100 ซีซี. เติมหัวน้ำหอมผสมลงไป ( กลิ่นใดก็ได้ )ประมาณ 15-20 ซีซี. เสร็จแล้วเทลงในขวดที่สามารถสเปรย์น้ำจุลินทรีย์ที่ผสมแล้ว สเปรย์ไปทั่วๆบริเวณสวนสัตว์และตามคอกหรือกรงของสัตว์แต่ละชนิด จะช่วยให้บรรยากาศมีกลิ่นหอมไปทั่วได้ มีผลทำให้ผู้เข้าชมหรือนักท่องเที่ยวสวนสัตว์มีสุขภาพจิตที่ดี
การใช้งานสิ่งใดก็ตาม ถ้าใช้เป็นก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด เช่นเดียวกับการใช้จุลินทรีย์ ซึ่งมีประโยชน์หลายด้านให้คุณมากมายทั้งพืชและสัตว์
<< กลับหน้าแรกจุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย >>