
![]() |
ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ บ่อเกรอะเป็นแหล่งที่ค่า TKN , BOD สูง เช่น ห้างสรรพสินค้า , โรงแรม , คอนโดมิเนียม , อาคารสำนักงาน , ศูนย์การค้า เป็นต้น เพราะมีของเสียสิ่งปฏิกูลจำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งเป็นที่มาของค่า BOD และค่า TKN ในน้ำเสียสูง ปัญหาค่าไนโตรเจน ( ค่า TKN )สูงพบทั้งในคอนโดมิเนียมและอาคารสำนักงานที่มีน้ำเสียปริมาณมาก โรงงานอุตสาหกรรมหลายๆแห่ง ที่มีสารอินทรีย์เจือปนในน้ำเสียในปริมาณมาก มักจะติดตามมาด้วยค่า BOD และ TKN สูงมากกว่าปกติทั่วไป ในจุลินทรีย์อีเอ็มหรือ EM ที่จำหน่ายทั่วๆไปในท้องตลาด จะไม่มีกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง จะมีก็เฉพาะจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน( Nitrofixing Bacteria )เท่านั้น ซึ่งเหมาะกับการบำรุงพืชผักโดยตรง กำจัดไนโตรเจนหรือลดค่า TKN ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถกำจัดไนโตรเจนได้แล้ว เพราะเราได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ตัวที่ลดค่า TKN ในน้ำเสียได้ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเพียงเท่านั้น เพิ่ม และ เสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน ด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้รับประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย และการดับกลิ่นกำจัดกลิ่นในเวลาเดียวกันทันที Boost & Reboost ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆครั้งด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัด เพื่อการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียได้รวดเร็วมากขึ้น ลดค่า BOD,SS,TDS,FOG,TKN ในน้ำเสียบ่อบำบัด จุลินทรีย์หรือจุลชีพ( Micro organism ) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีอยู่ในธรรมชาติ ไม่ใช่สารเคมี ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียมแบบเติมอากาศ( Activated Sludge : AS ) ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม( ส่วนใหญ่ )ในปัจจุบันที่เป็นคอนโดมิเนียมรุ่นใหม่ๆ จะเป็นแบบจำลองด้านบนนี้แทบทุกๆแห่ง ซึ่งเป็นแบบระบบเติมอากาศลงไปในน้ำเสียที่รับน้ำเสียมาจากคอนโดมิเนียม ระบบนี้ต้องแยกบ่อเกรอะกับบ่อบำบัดรวมออกจากกัน ห้ามนำของเสียและสิ่งปฏิกูลจากชักโครกหรือส้วมมาลงในบ่อบำบัดรวมหรือบ่อบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง เช่น บ่อรับน้ำเสียบ่อที่ 1 หรือบ่อที่ 2 ( บ่อเติมอากาศ )เพราะจะทำให้ระบล้มเหลวได้ง่ายๆ ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่มากกว่า 90% คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศหรือ AS ทั้งนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( Activated Sludge )จะประกอบไปด้วย.- 1. บ่อรับน้ำเสียบ่อแรก( บ่อตกตะกอน )หรือบ่อบำบัดน้ำเสียบ่อที่ 1 ตามภาพด้านบน บ่อนี้จะรองรับน้ำเสียทั้งหมดที่มาจากคอนโด กิจกรรมการอาบน้ำ ล้างมือ ซักผ้าและอื่นๆ ยกเว้นน้ำเสียจากชักโครก( ซึ่งต้องไปลงที่บ่อเกรอะแยกต่างหาก )บ่อนี้จะมีการตกตะกอนสิ่งสกปรกของเสียขนาดใหญ่ การบำบัดด้วยจุลินทรีย์ทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะเกิดขึ้นน้อยในบ่อนี้ 2. บ่อบำบัดน้ำเสียบ่อที่ 2 จะเป็นบ่อเติมอากาศ ซึ่งรับน้ำเสียมาจากบ่อที่ 1 เพื่อนำน้ำเสียมาบำบัดให้เป็นน้ำดีก่อนไปบ่อพักน้ำทิ้ง การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนจะเกิดขึ้นมากที่สุดที่บ่อนี้ มาตรฐานน้ำทิ้งจะผ่านเกณฑ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์ก็อยู่ที่บ่อนี้เป็นหลัก เพราะฉะนั้นต้องออกแบบระบบสิ่งแวดล้อมต่างๆในบ่อนี้ให้ดี เพื่อรองรับจุลินทรีย์ที่จะทำการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย )เครื่องเติมอากาศ( Aerator )ต้องมีกำลังการเติมอากาศอย่างเพียงพอในการเติมอากาศออกซิเจนลงในน้ำเสียในบ่อนี้ เพราะนอกจากออกซิเจนต้องมีมากเพียงพอในน้ำแล้ว อีกส่วนหนึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย )ชนิดที่ใช้ออกซิเจน จะดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย )จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะขาดออกซิเจนไม่ได้ ออกซิเจนจะเป็นตัวแปรและปัจจัยที่สำคัญของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ปริมาณออกซิเจนมีน้อยในน้ำเสีย ก็มีปัญหาจะส่งผลให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร การขยายตัวน้อยไปตามปริมาณของออกซิเจน ถ้าออกซิเจนในน้ำเสียไม่มีเลย จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็ทำงานบำบัดน้ำเสียไม่ได้ ตายเกลี้ยงบ่อบำบัด ส่งกลิ่นเน่าเหม็นไปทั่วบริเวณได้ ดังนั้น ในบ่อเติมอากาศนี้ ปริมาณออกซิเจนจะต้องเพียงพอ ควรมากกว่าหรือไม่น้อยกว่า 2 mg/l ขึ้นไป( ค่า DO >= 2 mg/l )การดูแลระบบบำบัดในบ่อเติมอากาศจึงมีความสำคัญมากพอสมควร การเช็คค่า DO เป็นประจำจะทำให้เรารู้ถึงความเป็นไปของระบบบำบัดได้ดีขึ้น ว่าระบบบำบัดมีปัญหาหรือไม่มีปัญหา จะได้ทำการแก้ไขและบริหารจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่ระบบจะล่มหรือล้มเหลว 3. บ่อบำบัดน้ำเสียบ่อที่ 3 บ่อนี้จะรับน้ำที่ผ่านการบำบัดเรียบร้อยแล้วมาจากบ่อที่ 2 ( บ่อเติมอากาศ )จะรอตกตะกอนอีกครั้งที่บ่อนี้ ตะกอนส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนละเอียด เป็นตะกอนส่วนเกิน( Excess Sludge ) ซึ่งตะกอนจะตกลงไปที่ก้นบ่อบำบัด( รอตกตะกอนใช้เวลาไม่น้อยกว่า 24 ชม.) แล้วสูบไปทำลายทิ้งหรือไม่ก็นำไปบำบัดซ้ำในบ่อที่ 2 ก็สามารถทำได้เช่นกัน กรณีที่น้ำเสียมีมากและเกิดการน้ำเสียล้นเร็ว( Overload )น้ำที่ผ่านการบำบัดจากบ่อที่ 2 จะอยู่ในบ่อนี้ไม่นานไม่ถึง 24 ชม. ซึ่งผลส่งผลถึงค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ได้ง่ายๆ การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์จำเป็นต้องใช้ระยะเวลา อาจจะมากกว่า 24 ชม.ขึ้นไป เพราะจุลินทรีย์มีขนาดเล็กย่อยสลายของเสียขนาดใหญ่ไม่ทันในเวลาสั้นๆ ดังนั้น น้ำเสียที่ล้นแต่ละบ่อบำบัดต้องมีระยะเวลาทดให้ล้นช้าลง ไม่ใช่ล้นในแต่ละบ่อน้ำเสียผ่านตลอดในทุกๆบ่อตลอดเวลา ถ้าเป็นเช่นนี้ถือว่าระบบบำบัดล้มเหลวหรือล่มไปแล้ว จุลินทรีย์ทำการย่อยสลายของเสียไม่ทัน เพราะน้ำเสียล้นระบบตลอด และจุลินทรีย์ก็ไหลไปกับน้ำเสียออกจากระบบ เลยย่อยสลายของเสียไม่หมดหรือย่อยสลายได้น้อยมาก จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ โดยเฉพาะน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารอินทรีย์ในปริมาณมาก จะทำให้ค่า BOD สูงเกินมาตรฐานได้ นี้คือปัญหาที่พบและเกิดขึ้นในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศของคอนโดมิเนียมแทบจะทุกแห่ง การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียจำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำเสียเข้าระบบในแต่ละจุดได้ตามวันและเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อไม่ให้ระบบบำบัดล้มเหลวหรือล่มได้ง่ายๆ นี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ดูแลและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม สิ่งที่พบบ่อยๆของการบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมก็คือ น้ำเสียเกิดการ Overload เพราะออกแบบระบบพอดีกับปริมาณผู้อยู่อาศัยตั้งแต่แรก ในความเป็นจริงต้องออกแบบบ่อบำบัดให้รองรับน้ำเสียส่วนเกินที่จะเพิ่มขึ้นมาในอนาคตไม่น้อยกว่า 10% ขึ้นไป จึงจะไม่เกิดปัญหานี้ จุดอ่อนของระบบ AS กดดูที่นี่... ว่าด้วยบ่อเกรอะ( บ่อส้วม ) บ่อเกรอะหรือบ่อส้วม เป็นบ่อที่รองรับสิ่งปฏิกูลทั้งหมดที่มาจากส้วมหรือชักโครก( อุจจาระและปัสสาวะ )ตามปกติผู้ออกแบบระบบบ่อเกรอะต้องเผื่อปริมาณของเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่น้อยกว่า 10% ของสิ่งปฏิกูลและน้ำเสียในปัจจุบัน( เผื่อ Overload ในอนาคต )ในบ่อเกรอะหรือบ่อส้วมนี้จะเต็มไปด้วยตะกอน ตะกรันขนาดใหญ่ที่จับตัวกัน ซึ่งไปจากอุจจาระจากส้วมหรือชักโครก ของเสียขนาดใหญ่จะถูกจุลินทรีย์ในระบบย่อยสลายได้ยากและต้องใช้เวลานานมากขึ้นตามขนาดของของเสียนั้นๆ ดังนั้น จึงต้องมีการทำลายของเสียเหล่านี้อยู่บ่อยๆ ซึ่งก็คือการสูบบ่อเกรอะหรือสูบส้วมนั่นเอง ของเสียล้นบ่อเกรอะบ่อย ก็ต้องสูบนำไปทำลายบ่อยตามไปด้วย โดยทั่วๆไปน้ำเสียจากบ่อเกรอะในคอนโดมิเนียมแทบจะทุกแห่งจะต่อตรงไปบำบัดที่บ่อรับน้ำเสียบ่อแรก( ตามภาพจำลองด้านบน )แต่ที่น่าตกใจมากในบางแห่ง น้ำเสียจากบ่อเกรอะต่อตรงเข้ากับบ่อเติมอากาศ ส่งผลให้เกิดการฟุ้งกระจายของกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ ซึ่งไม่ควรปฏิบัติเช่นนี้ เพราะจะส่งผลเสียต่อระบบบำบัดได้ง่ายๆ ระบบบำบัดล้มเหลวและล่มได้ง่ายๆ หลักปฏิบัติในการต่อน้ำเสียจากบ่อเกรอะหรือบ่อส้วมเข้ากับระบบบำบัดส่วนกลาง( ส่วนรวม )จะต้องกรองตะกอน ตะกรัน สิ่งปฏิกูลที่มีขนาดใหญ่ชิ้นใหญ่ออกให้หมด โดยอาจใช้ฟิลเตอร์กรองออก ทั้งนี้ เพื่อลดของเสียปริมาณมากเข้าไปในระบบบำบัดส่วนกลาง ซึ่งจะส่งผลให้ค่า BOD สูงบ่อยๆ เพราะของเสียที่มาจากบ่อเกรอะล้วนเป็นสารอินทรีย์ทั้งสิ้น จะทำให้จุลินทรีย์ทำงานหนักมากขึ้น ยิ่งถ้าจุลินทรีย์ในระบบบำบัดมีปริมาณน้อยกว่าของเสีย จะมีปัญหาติดตามมาอย่างแน่นอน ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ค่า BOD สูงติดตามมา จะต้องตรวจสอบในจุดนี้อยู่เป็นประจำเช่นกัน แต่ถ้าไม่มีการต่อน้ำเสียจากบ่อเกรอะเข้าสู่ระบบบำบัดส่วนรวมก็ไม่เกิดปัญหาดังที่กล่าวมา การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม( การดูแลและบำรุงรักษา ) ( ใช้ได้กับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆแห่ง ไม่เฉพาะคอนโดมิเนียมเพียงอย่างเดียว ) - ทำรายงานการตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียอยู่เป็นประจำ( งานประจำ ) โดยตรวจสอบระบบบำบัด บ่อบำบัดแต่ละบ่อ น้ำเสียเข้าออกในแต่ละวัน เกิดการ Overload หรือไม่ ถ้าเกิดการ Overload ต้องทำหรือปฏิบัติอย่างไร? แก้ไขอย่างไร เป็นต้น - เช็คค่าพารามิเตอร์บางตัว เช่น ค่า BOD , ค่า DO , ค่า pH เป็นต้น สำหรับค่า BOD ให้เช็คในบ่อที่ 3 ( บ่อพักน้ำทิ้ง )ค่า BOD ในบ่อนี้ต้องไม่เกิน 20 mg/l ถ้าเกินกว่านี้ต้องรีบแก้ไขและปรับปรุงระบบต่อไป เครื่องมือเช็คค่า BOD สามารถหาซื้อในท้องตลาดที่ขายเครื่องมือวัดหรืออุปรณ์วัดค่าต่างๆที่เป็นระบบดิจิตัล ซึ่งมีขายอยู่ทั่วๆไปมากมายหลายเจ้า เช่นเดียวกันกับการเช็คค่า pH สามารถเช็คค่าได้ทุกๆบ่อ แต่ที่ขาดไม่ได้จริงๆคือบ่อที่ 2 หรือบ่อเติมอากาศ บ่อนี้ค่า pH จำเป็นอย่างไร? ต้องบอกว่ามีความจำเป็นมากๆ จุลินทรีย์ที่ใช้บำบัดน้ำเสียอยู่ในบ่อนี้มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดที่ใช้ออกซิเจน ถ้าบ่อเติมอากาศมีความเป็นกรดหรือเป็นเบสสูงๆ จะส่งผลต่อจุลินทรีย์กลุ่มนี้ทันที นอกจากจะไม่ขยายตัวและเจริญเติบโตแล้ว จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้อาจตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ จุลินทรีย์กลุ่มนี้เจริญเติบโตและขยายตัวได้ดีในช่วงค่า pH 5 - 9 ถ้าค่า pH ต่ำกว่า 5 ระบบบำบัดมีปัญหาทันที และถ้าค่า pH สูงกว่า 9 ระบบบำบัดก็มีปัญหาทันทีเช่นกัน นี้คือความสำคัญของค่า pH ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเช็คค่าต่างๆที่กล่าวมาอยู่เป็นประจำ ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นกับระบบบำบัดจะได้แก้ไขปัญหาได้ทันเวลานั่นเอง ต่อมาก็คือค่า DO เป็นค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย ในบ่อที่ 2 หรือบ่อเติมอากาศ ค่า DO ต้องไม่น้อยกว่า 2 mg/l ขึ้นไป ถ้าค่า DO น้อยกว่า 2 mg/l จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจนทันที ถ้าค่า DO = 0 จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็ตายยกบ่อได้ทุกเมื่อ เพราะขาดอากาศออกซิเจนในการดำรงชีพ นี่คือสิ่งที่ควรรู้สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง ซึ่งไม่เฉพาะแต่คอนโดมิเนียมเท่านั้น แต่หมายรวมถึงผู้ที่มีหน้าที่ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งด้วย - ส่งตรวจค่าน้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ( ส่งแลปและรายงานผลตรวจ ) - ทำการ Reboot ระบบบำบัดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง - สูบบ่อเกรอะปีละ 2 ครั้ง ( 6 เดือน/ครั้ง ) ความหมายของการบำบัดน้ำเสีย
การบำบัดน้ำเสีย หมายถึง การทำลายสิ่งเจือปนในน้ำเสียหรือการกำจัดสิ่งที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียให้หมดไป หรือให้เหลือน้อยที่สุด ให้ได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนด และไม่ทำให้เกิดมลพิษมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมสาธารณะ ในการบำบัดน้ำเสียทำได้หลายวิธีด้วยกัน ทั้งทางด้านกายภาพ ทางเคมีบำบัด และการใช้จุลินทรีย์บำบัด( ทางชีวภาพ ) การบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะใช้วิธีการผสมสนานหลายวิธีเข้าด้วยกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของน้ำเสีย ว่าเป็นน้ำเสียประเภทใด มีแหล่งที่มาจากที่ใด ต้องใช้วิธีการบำบัดอย่างไร เช่น น้ำเสียจากคอนโดมิเนียม ขั้นตอนการบำบัดอาจแตกต่างน้ำเสียที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม แม้แต่โรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแหล่งก็อาจมีการบำบัดที่แตกต่างกันในบางขั้นตอน โดยเฉพาะโรงงานที่ใช้สารเคมีในการผลิต ซึ่งอาจต้องมีขั้นตอนการบำบัดด้วยสารเคมีบางชนิดก็เป็นได้
การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ชีวภาพ
ในที่นี้จะกล่าวถึงการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีวภาพ คือการใช้จุลินทรีย์ในธรรมชาติมาบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย )ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด บรรดาของเสียต่างๆแทบทุกชนิดในโลกนี้ ล้วนถูกย่อยสลายหรือทำลายโดยจุลินทรีย์แทบทั้งสิ้นในขั้นตอนสุดท้าย ถ้าปราศจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียกลุ่มนี้ บรรดาของเสียต่างๆคงล้นโลกใบนี้ไปนานแล้ว จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย )จะมีเพียง 2 กลุ่มเท่านั้น คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียบำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจน และกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียบำบัดน้ำเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน จากปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสียของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะได้ผลลัพธ์เหมือนกันตามสมการจำลองด้านล่าง ดังนั้น การบำบัดน้ำเสียไม่ว่าจะใช้วิธีการใดๆก็ตาม ทั้งกระบวนการทางกายภาพบำบัดและการใช้สารเคมีบำบัด แต่ขั้นสุดท้ายของการบำบัดของเสียทุกๆชนิดรวมทั้งสารเคมีทุกชนิดที่ทำให้เป็นกลางแล้ว ก็หนีไม่พ้นต้องใช้จุลินทรีย์บำบัดย่อยสลายของเสียนั้นๆในที่สุด ผลลัพธ์ของการบำบัดย่อยสลายของเสียโดยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จะเป็นไปตามสมการจำลองด้านล่างนี้
สมการจำลองปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย )ของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียทั้งสองกลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น ที่สุดของการบำบัดน้ำเสีย บรรดาของเสียต่างๆที่เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียจะถูกแปรเปลี่ยนสภาพโดยจุลินทรีย์ย่อยสลายจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของเสียจะถูกทำลายแปรเปลี่ยนไปเป็น น้ำ + พลังงาน + CO2 ตามสมการจำลองด้านบน ดังนั้น ในการบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพสมบูรณ์แบบครบถ้วน จะได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งทุกๆค่าเป็นไปตามทางราชการกำหนดไว้ทุกประการ แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะมีน้อยมากที่ระบบบำบัดน้ำเสียจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพครบถ้วนในทุกส่วน ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ยังมีปัญหาของระบบบำบัด ทั้งปัญหาทางด้านเทคนิคและปัญหาการบริหารจัดการ การบำรุงรักษาระบบบำบัดในแต่ละเรื่อง
จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วๆไป
สำหรับจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วๆไปในทุกๆระบบบำบัด จะเป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มในธรรมชาติ คือ
1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียบำบัดน้ำเสีย ชนิดที่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะขาดออกซิเจนไม่ได้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์หรือขยายตัวให้มีจำนวนมากขึ้น ดังนั้น ในน้ำเสียที่จะทำการบำบัดนั้น ต้องมีปริมาณออกซิเจนอย่างเพียงพอ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จึงจะสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และทำการบำบัดน้ำเสียได้ตามปกติ
2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียบำบัดน้ำเสีย ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะแตกต่างไปจากจุลินทรีย์กลุ่มแรกก็คือ ไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียมาทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ ดังนั้น ในน้ำเสียจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็สามารถทำงานและดำรงชีพได้ตามปกติ ไม่มีผลกระทบใดๆ ผลจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย( บำบัดน้ำเสีย )ของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้ง 2 กลุ่มนี้จะได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกัน( ตามสมการจำลองด้านล่าง ) ภาพบนเป็นปฏิกิริยาจากการบำบัดน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียบำบัดน้ำเสีย ชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ผลลัพธ์จะเป็นไปตามสมการจำลอง จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ของปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียบำบัดน้ำเสีย จะมีลักษณะเหมือนกันกับกรณีปฏิกิริยาการเผาไหม้แบบสมบูรณ์( แบบไม่เหลือของเสีย ) ซึ่งได้ผลลัพธ์เหมือนกัน ปฏิกิริยาการเผาไหม้แบบสมบูรณ์( ออกซิเจนเพียงพอ ) => น้ำ + พลังงาน + CO2 ซึ่งถือว่าเป็นการบำบัดของเสียได้เช่นเดียวกันกับการบำบัดน้ำเสียของเสียของจุลินทรีย์ เป็นความเหมือนในความต่างของปฏิกิริยาทางเคมีทั้งสองปฏิกิริยานี้ ข้อควรระวังในการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ ในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบและทุกๆแห่ง ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งและทุกๆระบบบำบัด จะขาดซึ่งจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย )ไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุด ที่จะต้องมีและรักษาไว้ในระบบบำบัดน้ำเสีย( บ่อบำบัดน้ำเสีย )กรณีที่มีปริมาณจุลินทรีย์มากพอในระบบจะเป็นเรื่องดีต่อระบบบำบัด ถ้ามีน้อยหรือไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบเลย ระบบบำบัดนั้นมีปัญหาแน่นอน ต้องพยายามรักษาจุลินทรีย์ให้อยู่ในระบบให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบบำบัด สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม อย่านำปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์เข้าไปในระบบบำบัดโดยไม่จำเป็น หรือสิ่งใดที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของจุลินทรีย์ต้องรีบแก้ไขทันที อีกประการหนึ่งต้องมีระยะเวลาให้จุลินทรีย์ได้มีเวลาย่อยสลายของเสียในบ่อบำบัด( น้ำอยู่กับที่ภายในบ่อ ) อย่าให้น้ำเสียล้นบ่อและไหลผ่านไปยังบ่ออื่นๆตลอดเวลา เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายไหลไปกับน้ำเสียที่ล้นระบบบำบัด จะส่งผลทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียหายไปจากระบบและบ่อบำบัดได้ง่ายๆ ทำให้บ่อบำบัดไม่มีจุลินทรีย์หรือมีน้อย จะส่งผลกระทบต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ได้ตลอดเวลา จุดนี้พึงระวังให้มากเป็นพิเศษ ต้องหมั่นตรวจสอบระบบและบ่อบำบัดอยู่เป็นประจำ ปํญหาที่กล่าวมานี้พบอยู่บ่อยๆ อย่าให้เกิดน้ำเสียล้นระบบบ่อยๆ แต่ละบ่อบำบัดต้องมีขนาดความจุน้ำเสียต้องมากกว่าปริมาณน้ำเสียอย่างน้อย 10%ขึ้นไป เช่น มีน้ำเสีย 20 ลบม. ขนาดความจุของบ่อต้องไม่น้อยกว่า 30 ลบม.ขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อทดเวลาในการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายของเสียในจุดเดิมไม่น้อยกว่า 24 ชม. จึงจะส่งต่อน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดเรียบร้อยแล้วไปยังบ่อพักน้ำทิ้งหรือบ่อรับน้ำเสียบ่อต่อๆไป การแก้ปัญหาการบำบัดน้ำเสียแต่ละแหล่ง และปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาแต่ละแห่ง ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะปัญหาของแต่ละแห่งอาจไม่เหมือนกัน ทั้งการวางระบบบำบัด น้ำเสียที่เกิดขึ้น รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับน้ำเสียและระบบบำบัด เป็นต้น ต้องทำการวิเคราะห์และดูปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ที่สำคัญคือ ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในระบบบำบัดในแต่ละเรื่องเป็นอย่างดี ถ้าพบปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามที่กล่าวมาข้างต้น ต้องรีบแก้ไขและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสียทันที อย่าปล่อยทิ้งปัญหาไว้จนยากที่จะแก้ไข ซึ่งจะติดตามมาด้วยระบบล่มและระบบล้มเหลวในที่สุด จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นบำบัดกลิ่น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่นำมาจากธรรมชาติโดยตรง แล้วทำการสังเคราะห์รวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่นดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ทุกชนิด ช่วยลดค่า BOD , SS , TDS , FOG ในน้ำเสีย เราคือผู้ผลิตและจำหน่าย( เจ้าของ )โดยตรง จำหน่ายมากว่า 20 ปีจนถึงปัจจุบัน มีลูกค้ากระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นคอนโดมิเนียมจะมีมากที่สุด ในเขตกรุงเทพฯมากที่สุด และย่านถนนสุขุมวิทมากที่สุด ย่านทองหล่อส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าของเราแทบทั้งนั้น เราให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆสำหรับลูกค้าคอนโดมิเนียมที่สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปจากเรา เพื่อใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอกับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง หรือบางรายก็นำไป Reboot ระบบ เพื่อ Run ระบบใหม่ก็มีจำนวนมาก รู้ลึกและรู้จริงการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ ปรึกษาเราที่นี่ได้ฟรีๆ( เฉพาะลูกค้าที่สั่งซื้อจริงๆเท่านั้น )จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นของเราจะแตกต่างๆจากที่อื่นๆหรือในท้องตลาดทั่วไปอย่างสิ้นเชิง กรรมวิธีการผลิตแตกต่างกัน ประการสำคัญจุลินทรีย์ของเรามีกลิ่นหอมทันทีที่ใช้งาน นำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ได้ประโยชน์ 2 ต่อ คือ การบำบัดน้ำเสีย และการดับกลิ่นบำบัดกลิ่นน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็น ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเท่านั้น โปรดระวังของลอกเลียนแบบของเรา ห้ามผู้ใดคัดลอกหรือลอกเลียนแบบของเรา ทั้งเนื้อหาและสาระต่างๆในเว็บไซต์นี้ ซึ่งได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายโดยตรง ซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นจากที่นี่ ท่านจะได้อะไรบ้าง ? 1. คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆ ไม่มีคิดค่าบริการที่ปรึกษาใดๆทั้งสิ้น ทั้งปัญหาการบำบัดน้ำเสีย และปัญหาในเรื่องของกลิ่นต่างๆ 2. ช่วยท่านแก้ไขปัญหา ทั้งการบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆ เช่น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่ามีปัญหาไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด 3. ปรึกษาได้อย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่ท่านยังมีการสั่งซื้อจุลินทรีย์จากทางร้านฯอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าจะได้รับสิทธิ์ในการปรึกษาและขอคำแนะนำฟรีๆ 4. มีที่ปรึกษาฟรีๆโดยไม่ต้องจ้างที่ปรึกษาให้เสียค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อนใดๆ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอนละ 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2 - 4 วันทำการขนส่ง ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้-ไกล การบำบัดน้ำเสียจะครอบคลุมระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัด ทั้งการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วๆไป อาคารสำนักงาน อาคารชุดคอนโดมิเนียม ฯลฯ ลูกค้าที่สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจากที่นี่ จะได้รับสิทธิ์ในการปรึกษาและให้คำแนะนำฟรีๆตลอดเวลาที่มีการสั่งซื้อ วิเคราะห์และแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาให้แบบ Case By Case ทางโทร.หรือทางไลน์ ( ไม่รับดูหน้างาน ) ดูเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูจากลิ้งค์ด้านล่างนี้
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]()
|