จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้บรรจุกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง สำหรับลดค่า TKN โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสีย ##การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมทำให้ได้ผลดีและต้นทุนต่ำกว่าวิธีอื่นๆการดูแลรักษาทำได้ง่าย
ReadyPlanet.com
bulletใบเสนอราคาจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletห้องน้ำเหม็นตอนฝนตก/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรงช่วงหน้าฝน
bulletวิธีการแก้ปัญหากลิ่นห้องน้ำโชยเข้าห้องนอน
bulletห้องน้ำเหม็นมากๆส้วมเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
bulletวิธีทำความสะอาดห้องน้ำ/ส้วมให้มีกลิ่นหอม
bulletดับกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ/บำบัดกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ
bulletเทคนิคการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่น/บำบัดน้ำเสีย
bulletดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น
bulletดับกลิ่นเหม็นบ่อเกรอะ
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/ กลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletประโยชน์ของการเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายลงไปในบ่อเกรอะ
bulletจุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะ
bulletกลิ่นเน่าเหม็นจากบ่อเกรอะแก้อย่างไร?
bulletจำหน่ายอีเอ็มดับกลิ่น/อีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรง
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำมาจากจุดใด?
bulletวิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็นส้วมเหม็นด้วยจุลินทรีย์-Kasama
bulletจุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย-KASAMA
bulletวิธีดับกลิ่นส้วม/วิธีดับกลิ่นส้วมเหม็น
bulletท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น
bulletการใช้จุลินทรีย์-Kasama ทำความสะอาดห้องน้ำปั๊มน้ำมัน
bulletวิธีดับกลิ่นท่อน้ำทิ้ง/วิธีดับกลิ่นท่อระบายน้ำทิ้ง
bulletของเสียในห้องน้ำห้องส้วม
bulletวิธีดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ
bulletกลิ่นเหม็นห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น ซื้อที่ไหน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ ซื้อที่ไหน
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ลดกลิ่นห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นเหม็นท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ดับกลิ่นส้วม
bulletการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายทำความสะอาดห้องน้ำ
bullet(( การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมและอพาร์ทเม้นท์ ))
bulletการบำบัดน้ำเสียในหมู่บ้านด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการดูแลบ่อเกรอะไม่ให้ส่งกลิ่นรบกวน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นน้ำเน่าเสียดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็น
bulletจำหน่ายอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletอีเอ็มดับกลิ่น
dot
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย
dot
bulletจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletจุลินทรีย์อีเอ็ม( EM )
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในห้องน้ำห้องส้วม
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็น
bulletวิธีแก้ห้องน้ำเหม็น
bulletส้วมเหม็น ทำไงดี?
bulletส้วมเหม็น ทำอย่างไร?
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็นมีวิธีแก้ไข
bulletท่อน้ำทิ้งมีกลิ่น
bulletห้องน้ำคอนโดมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำโรงแรมมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำอพาร์ทเม้นท์มีกลิ่นเหม็น
bulletการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ในการดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในตลาดสด
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดของเสียในร้านอาหารและภัตตาคาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มในโรงพยาบาลและคลีนิก
bulletการทำงานของจุลินทรีย์
bulletประโยชน์ของจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ให้ได้ผลดี
bulletความเข้าใจในการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นต่างๆ
bulletวิธีการกำจัดกลิ่นเหม็นด้วยจุลินทรีย์
bulletการแก้ปัญหาน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย
dot
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
dot
bulletน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย น้ำท่วม
bulletem บำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีบำบัดน้ำเสีย
bulletการบำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีการบำบัดน้ำเสีย
bulletน้ำเสียและการบําบัดน้ำเสียแบบง่ายๆ
bulletอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย/อีเอ็มดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม
bulletการใช้จุลินทรีย์กำจัดไขมันในโรงอาหาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มดับกลิ่นในไซท์งานก่อสร้าง
dot
การใช้จุลินทรีย์ในส่วนอื่นๆ
dot
bulletกลิ่น / กลิ่นไม่พึงประสงค์
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข : น้ำยาดับกลิ่นสุนัข
bulletกลิ่นสุนัข/กลิ่นสัตว์เลี้ยง
bulletวิธีกําจัดกลิ่นสุนัข/วิธีกำจัดกลิ่นสัตว์เลี้ยงด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกชนิด
bulletการกำจัดกลิ่นห้องน้ำด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletส้วมเหม็น / ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/กลิ่นส้วม
bulletห้องน้ำเหม็นอับ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ / ห้องส้วม
bulletส้วมเต็มง่าย
bulletส้วมมีกลิ่น / ห้องน้ำมีกลิ่น/ กลิ่นส้วม
bulletการเก็บรักษาจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นอย่างไรจึงจะได้ผล ?
dot
= การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ =
dot
bulletดับกลิ่นในห้องน้ำและห้องนอนด้วยจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์ทะลวงในท่อที่อุดตัน
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในสวนสัตว์
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข
bulletสารพัดประโยชน์จากจุลินทรีย์
bulletการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ประจำวัน
bulletการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ในบ้าน
bulletจำหน่ายจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletทำไมต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย?
bulletการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
bulletแผนผังเว็บไซต์
bulletไทยรัฐ
bulletเดลินิวส์
bulletคมชัดลึก
bulletแนวหน้า
bulletบริหารจัดการ
bulletLoGo
bulletHotmail
bulletYahoo
dot
ธนาคาร
dot
bulletกรุงเทพ
bulletกสิกร
bulletThailandservices
bulletYoutube
bulletแปลงไฟล์
bulletFB
bulletGmail


มีปัญหาฟาร์มเป็ดส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ฟาร์มไก้ส่งกลิ่นเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น, แก้บ่อเกรอะเหม็น, ห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็นทำอย่างไร? อยากรู้คลิกดูที่นี่..
ดับกลิ่นสุนัข, ดับกลิ่นฟาร์มสุนัข, ดับกลิ่นคอกสุนัข, ดับกลิ่นกรงสุนัข, ดับกลิ่นมูลสัตว์เลี้ยง, ดับกลิ่นมูลสุนัข, ดับกลิ่นสัตว์เลี้ยง
ฟาร์มสุกรส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มหมูส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มสัตว์เลี้ยงส่งกลิ่นเหม็น, กลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, แก้ปัญหากลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มสัตว์เลี้ยง,
ห้องน้ำเหม็น, ส้วมเหม็น, จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น, จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, จุลินทรีย์อีเอ็ม, จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง, อีเอ็ม, จำหน่ายอีเอ็ม, จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ขายอีเอ็ม, ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ดับกลิ่นส้วมเหม็น, บำบัดน้ำเ


การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม

        

กำจัดไนโตรเจนหรือลดค่า TKN ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถกำจัดไนโตรเจนได้แล้ว เพราะเราได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ตัวที่ลดค่า TKN ในน้ำเสียได้ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเพียงเท่านั้น                 

  ค่าพารามิเตอร์ ( Para Meter ) ชื่อนี้มีความหมายและความสำคัญอย่างมากต่อระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เป็นเครื่องชี้วัดว่า ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยเพียงใดอ่านบทความต่อไปนี้ให้จบ

ความรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียแบบต่างๆ

ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น 6 แบบหรือ 6 ระบบด้วยกัน ได้แก่  

1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)
2.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL)
3.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland) 
4.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge : AS )
5.ระบบบำบัดน้ำเสียคลองวนเวียน (Oxidation Ditch)
6.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor ; RBC)

pH ( พีเอช ) เป็นค่าพารามิเตอร์อีกตัวหนึ่งที่สำคัญในระบบบำบัดน้ำเสีย pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion  เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นด่างหรือเบสของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+)  pH ( พีเอช ) เท่ากับ 7 ถือว่าเป็นกลาง ถ้าน้อยกว่า 7 ถือว่าเป็นกรด ถ้ามากกว่า 7 ถือว่าเป็นด่าง ( เบส  ) กลุ่มจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเจริญเติบโตได้ดีที่ค่า pH (พีเอช ) อยู่ระหว่าง 6.5 – 8.5 ถ้าค่า pH ต่ำกว่า 6.5 กลุ่มราก็จะเจริญเติบโตได้ดีกว่าจุลินทรีย์ ทำให้ระบบทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ถ้าค่า pH มีค่าต่ำมากหรือสูงมากจนเกินไป จุลินทรีย์ก็จะไม่สามารถดำรงชีพต่อไปได้ ( ตาย )

สำหรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ควรรู้ในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย 

- BOD ( บีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- COD  ( ซีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในกระบวนการทางเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

COD (Chemical Oxygen Demandคือ ปริมาณ O2ที่ใช้ในการออกซิไดซ์ในการสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) ในปริมาณมากเกินพอ ในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อย สลายได้และย่อยสลายไม่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน โดยทั่วไปค่า COD จะมีค่ามากกว่า BOD เสมอ ดังนั้นค่า COD จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสีย

- TS  หรือปริมาณของแข็งทั้งหมด (Total Solids : TS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- ค่า TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l )

 - ค่า F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

-  ค่า pH ความเป็นกรด-ด่าง (pH) 

      ฯ ล ฯ

 ค่าพารามิเตอร์น้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมแบบคร่าวๆ 

พารามิเตอร์ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม หมายเหตุ
pH 5.5 - 9

BOD ( mg/l ) ไม่เกิน   20

COD ( mg/l ) ไม่เกิน  120

TDS ( mg/l ) ไม่เกิน  3,000

TSS ( mg/l ) ไม่เกิน  50

FOG ( mg/l ) ไม่เกิน 5.0

S Sulfide  ( mg/l ) ไม่เกิน 1

Cyanide HCN( mg/l ) ไม่เกิน 0.2

Formaldehyde( mg/l ) ไม่เกิน 1

Phenols( mg/l ) ไม่เกิน 1

Free Clorine( mg/l ) ไม่เกิน 1

Temperature  ( C. ) ไม่เกิน 40

Color ( ADMI ) ไม่เกิน  300     
       
 
    

  หน้าที่โดยตรงของผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย 

หน้าที่ประจำซึ่งถือว่าเป็นงานที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำอย่างต่อเนื่องของเจ้าของโรงงาน อาคารสำนักงานต่างๆ และนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นคอนโดมิเนียมทุกๆแห่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ 

1 . การดูแลและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆส่วนให้อยู่ในสภาพพร้อมการใช้งานได้ตลอดเวลา การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจะมีผลต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง หมั่นตรวจสอบเครื่องมือต่างๆให้พร้อมทำงานและสภาพบ่อบำบัดอยู่เป็นประจำ  

2.  การตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ของบ่อบำบัดน้ำเสียเป็นประจำทุกเดือน ( หรือไม่น้อยกว่า 3 เดือน / ครั้ง ) เก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อที่ 1 ( ก่อนบำบัด ) และเก็บตัวอย่างน้ำในบ่อสุดท้าย ( ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ) เข้าตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏืบัติการ เพื่อตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำเสียที่ทางราชการกำหนดไว้  บันทึกในตารางค่าพารามิเตอร์ในแต่ละเดือน

จะเริ่มต้นบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านอย่างไร ?

1. อันดับแรกให้ทำการตรวจสอบระบบทั้งหมดว่ายังใช้การทำงานได้ดีอยู่หรือไม่ ? มีสิ่งใดที่มีปัญหาในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดแล้วทำการแก้ไขปัญหานั้นๆ 

2. อันดับต่อมาก็คือ การตรวจสอบหรือการเช็คค่าพารามิเตอร์ในระบบบำบัดและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการว่าได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดหรือไม่ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อแรก ( น้ำเสียก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( น้ำเสียหลังบำบัดแล้ว ) ซึ่งจะทำให้รู้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังบำบัด ( บ่อสุดท้าย ) ซึ่งจะทำให้รู้ว่าน้ำเสียในบ่อบำบัดของท่านผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งหรือไม่ ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพหรือไม่ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อสุดท้ายจะเป็นตัวชี้วัดระบบบำบัดน้ำเสียของท่านว่าผ่าน ( บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ )หรือไม่ผ่าน ( ล้มเหลว )

 ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม 

ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมมีการเลือกใช้หลากหลายระบบด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงงาน รูปแบบของโรงงานและความเหมาะสมในด้านต่างๆ ทั้งขนาดพื้นที่และงบประมาณหลายๆอย่างเป็นตัวกำหนดว่าเจ้าของโรงงานสมควรใช้ระบบใดที่เหมาะสมกับตัวเอง สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดระบบบำบัดน้ำเสียส่วนหนึ่ง ถ้าเป็นโรงงานขนาดใหญ่อาจใช้ระบบ AS หรือ RBC ซึ่งเป็นระบบที่ค่อนข้างแม่นยำสูง ( ระบบบำบัดน้ำเสียที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ) แต่การลงทุนค่อนข้างสูงไปถึงสูงมากและค่าเมนเทนแน้นส์ก็สูงตามไปด้วย แต่ถ้าเป็นโรงงานขนาดกลางไปถึงโรงงานขนาดเล็กมักจะนิยมใช้ระบบแบบเติมอากาศเป็นหลักและระบบ AL กลางแจ้ง ไม่ว่าโรงงานจะใช้ระบบบำบัดน้ำเสียใดก็ตาม จุดประสงค์ของทุกๆระบบบำบัดก็เพื่อต้องการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานให้เป็นน้ำดีตามมาตรฐานน้ำทิ้งของทางราชการกำหนดไว้ น้ำเสียต่างๆจากโรงงานแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันออกไปตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตของโรงงานต่างๆแต่ละแห่ง ดังนั้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆมากหรือน้อยก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ค่าพารามิเตอร์น้ำทิ้งจากโรงงานที่ทางราชการกำหนดไว้เป็นกฎหมายก็จะแตกต่างกันออกไป

มีปัญหาน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม หรือระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมของท่านมีปัญหา ระบบบำบัดน้ำเสียยังไม่สมบูรณ์ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆยังไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด น้ำเสียยังบำบัดได้ไม่ดีค่าต่างๆ ( ค่าพารามิเตอร์ ) ยังไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ต้องการให้น้ำเสียในระบบได้รับการบำบัดให้สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้รับประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสีย และการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสีย กลิ่นหอมทันทีที่ใช้งาน โรงงานอุตสาหกรรมทุกๆแห่ง ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เพียงใด กฎหมายระบุให้ต้องทำระบบบำบัดน้ำเสียทั้งหมด ส่วนจะทำระบบแบบใดนั้นยังขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรมว่ามีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมนั้นๆมีอันตรายมากน้อยเพียงใด ต้องสร้างระบบบำบัดน้ำเสียให้สอดคล้องกับสภาพอุตสาหกรรมที่ทำ น้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมมีทั้งมาจากไลน์ผลิตของโรงงานและห้องน้ำห้องส้วม โรงอาหาร ในการบำบัดน้ำเสียแต่ละส่วนต้องแยกกันก่อนเข้าบ่อบำบัดรวมและออกไปที่บ่อพักรวมที่เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป

ระบบบำบัดน้ำเสีย (Waste water Treatment Plant) มีความจำเป็นต่อโรงงานอุตสาหกรรมทุกๆแห่ง ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียเป็นของโรงงานโดยเฉพาะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของชนิดโรงงานและขนาดของโรงงาน โดยระบบบำบัดน้ำเสียทั่วๆไปในประเทศไทยมีดังต่อไปนี้.-

ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น 6 แบบ ได้แก่ 

1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)
2.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL)
3.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland) 
4.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge : AS )
5.ระบบบำบัดน้ำเสียคลองวนเวียน (Oxidation Ditch)
6.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor ; RBC)

แบบที่ 4 และแบบที่ 6 การลงทุนสูงและค่าเมนเทนแนนส์รายเดือนค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับโรงงาน โรงพยาบาล ชุดชุนขนาดใหญ่ที่มีน้ำเสียปริมาณมากๆ ส่วนระบบแบบอื่นการลงทุนไม่มาก แต่อาจใช้พื้นที่มากในบางระบบ ระบบลากูนแบบกลางแจ้งจะใช้พื้นที่มาก ทุกๆระบบที่กล่าวมาล้วนต้องการออกซิเจนเข้าไปทำปฏิกิริยาในระบบ เพราะจุลินทรีย์ที่ใช้ในระบบเป็นแบบใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย อีกทั้งน้ำก็ต้องการออกซิเจนเพื่อให้เป็นน้ำดี เพราะถ้าค่าออกซิเจนในน้ำต่ำกว่า 3 ( ค่า DO < 3 )ก็จะเป็นน้ำเสียถึงน้ำจะมีสีใสก็ตาม ยังถือว่าเป็นน้ำเสียอยู่ ดังนั้น ออกซิเจนในน้ำจึงมีความสำคัญมาก น้ำดีหรือน้ำเสียจึงดูค่า DO เป็นจุดหลัก ส่วนค่าพารามิเตอร์ตัวอื่นๆเป็นส่วนประกอบที่สำคัญไล่เลี่ยกันไป ของเสียและน้ำเสียในบางหน่วยงานจะค่อนข้างวิกฤตในปัจจุบัน เพราะของเสียมากขึ้น น้ำเสียเพิ่มมากขึ้น จนระบบย่อยสลายและบำบัดไม่ทัน จึงเกิดการเน่าเหม็นส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งทำให้รู้ว่าระบบนั้นมีปัญหาในเรื่องของปริมาณจุลินทรีย์ในระบบนั้นๆมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง  ทางออกคือการเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เข้าไปในระบบให้เพียงพอหรือมากกว่าปริมาณของเสียและน้ำเสีย การเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาทำได้ค่อนข้างยาก ยกเว้นระบบ AS และ RBC สามารถทำได้โดยระบบของมันเอง  แต่ก็อย่างว่า ถ้าสองระบบนี้เกิดชำรุดหรือเสียขึ้นมา ก็ไม่มีจุลินทรีย์อยู่ในระบบหรือมีแต่ปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย สิ่งที่ติดตามมาก็คือ น้ำเสียเริ่มส่งกลิ่นเน่าเหม็นมากยิ่งขึ้น  แล้วจะทำอย่างไร? ทางออกของปัญหานี้ก็คือ เติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( จุลินทรีย์อีเอ็ม)เข้าไปในระบบให้มากหรือเพียงพอกับปริมาณของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มจะไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำมาทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน  กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายต้องอาศัยออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นทุกๆครั้งตลอดเวลา  ถ้าน้ำเสียนั้นมีออกซิเจนละลายอยู่น้อยหรือแทบไม่มีเลย ( น้ำเสียวิดฤตมาก )ปัญหาที่ตามมาก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทำงานย่อยสลายของเสียในน้ำนั้นได้  แต่ขณะเดียวกันกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม )สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที  ออกซิเจนไม่มีความจำเป็นกับกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มกลุ่มนี้  ดังนั้น น้ำเสียที่วิกฤตมากๆ ( ออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียนั้นมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย ) จุลินทรีย์อีเอ็มจึงสามารถทำงานทดแทนย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที ประสิทธิภาพไม่ค่อยแตกต่างกันจากจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน  จึงเป็นทางเลือกในปัจจุบันที่จะนำจุลินทรีย์อีเอ็มมาเสริมประสิทธิภาพการย่อยสลายในระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียและการย่อยสลายของเสียมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียบอกอะไรได้บ้าง ?

ค่าพารามิเตอร์ ( Parameter ) คือ ตัวกำหนดชี้วัดค่าของน้ำเสียและคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งต่างๆ มีความสำคัญต่อระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อมต่อไป

สำหรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ควรรู้ในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสียมีดังต่อไปนี้.- 

- pH  แสดงความเป็นกรด-ด่าง

- BOD ( บีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมี ( ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ) มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- COD  ( ซีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในกระบวนการทางเคมีย่อยสลายสารอินทรีย์ มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- ค่า TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l )

-  FOG น้ำมันและไขมัน (Fat , Oil and Grease)

 - ค่า F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

-  ค่า DO ( Dissolved Oxygen ) หมายถึง ค่าของปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ

- TS  หรือปริมาณของแข็งทั้งหมด (Total Solids : TS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) 

- SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

TDS ค่าสารที่ละลายได้ทั้งหมด (Total Dissolved Solid)

-  S ค่าซัลไฟต์ (Sulfide) 

-  ค่าตะกอนหนัก (Settleable Solids)

- TOC (Total Organic Carbon) คือค่าอินทรีย์คาร์บอนรวม หมายถึงสารอินทรีย์(ที่พื้นฐานมีคาร์บอน) ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในน้าเสียนั้นๆ สารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำนั้น

ค่า pH  คือ อะไร?

ค่า pH เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรด-เบส หรือกรด-ด่าง ของสารที่อยู่ในวัตถุต่างๆ โดยค่า pH จะอยู่ในช่วง 1-14 ถ้าค่า pH น้อยกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นกรด และถ้าค่า pH มากกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นเบสหรือด่าง แต่ถ้าค่า pH นั้นมีค่าเท่ากับ 7 สารชนิดนั้นเป็นกลางหรือที่เรียกว่า pH balance หรือไม่เป็นกรดหรือเบส( ด่าง )

ค่า pH มีความสำคัญอย่างไร?

ค่า pH ( พีเอช ) เป็นเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำหรือน้ำเสีย ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องการการดำรงชีพของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัด ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียมีวัตถุประสงค์เดียวกันทั้งหมดก็คือ ต้องการดึงปริมาณจุลินทรีย์ในธรรมชาติมาใช้งานบำบัดน้ำเสียให้ได้มากที่สุด ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะกำรงชีพอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมคือ ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำเสียนั้นอยู่ในระหว่าง 6 - 8 ( ค่า pH ประมาณ 6-8 ) ถ้าค่า pH น้อยมากๆหรือสูงมากๆ จุลินทรีย์ก็ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ ( ตายยกบ่อ ) นี่คือความสำคัญของค่าพารามิเตอร์ที่ชื่อ pH Meter ดังนั้น จึงต้องคอนโทรลค่า pH ในบ่อบำบัดให้อยู่ในช่วง 6-8 ซึ่งแล้วแต่มาตรฐานน้ำทิ้งของแต่ละแห่ง

  อธิบายค่าพารามิเตอร์แต่ละตัวว่ามีความหมายอย่างไร ? 

ค่า BOD คืออะไร?

BOD ( Biochemical Oxygen Demand ) หมายถึง ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์สารที่มีอยู่ในน้ำ  ค่า BOD มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร หรือมิลลิกรัมของอ๊อกซเจนต่อน้ำ 1 ลิตร ค่า BOD ถูกนำมาเป็นค่าพารามิเตอร์ตัวหนึ่งเพื่อบ่งบอกถึงคุณภาพของน้ำว่าเป็นน้ำดีหรือน้ำเสีย ซึ่งใช้กันมากในอุตสาหกรรมการบำบัดน้ำเสีย ถ้าค่า BOD สูง ( ปนเปื้อนสารอินทรีย์ในน้ำมาก )แสดงว่าน้ำนั้นต้องการออกซิเจนจำนวนมากเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ในน้ำ ( จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) แสดงว่าน้ำนั้นมีคุณภาพไม่ดี ( น้ำเสียค่า BOD เกิน 100 ขึ้นไป ) ซึ่งตรงข้ามกับค่า BOD ต่ำ แสดงว่าน้ำนั้นมีคุณภาพดีหรือน้ำดีนั่นเอง ( สารอินทรีย์ปนเปื้อนในน้ำนั้นมีน้อย น้ำที่มีคุณภาพดี BOD <=6  ) น้ำเสียวิกฤตมากหรือน้อยดูที่ค่า บีโอดี ( BOD ) และค่า DO เป็นเกณฑ์ ขยายความหมายของค่า BOD  น้ำที่มีคุณภาพดี ควรมีค่าบีโอดี ไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าค่าบีโอดีสูงมากแสดงว่าน้ำนั้นเน่าเสียมาก แหล่งน้ำที่มีค่าบีโอดีสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตรจะจัดเป็นน้ำเน่าหรือน้ำเสีย พระราชบัญญัติน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดไว้ว่า น้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องมีค่าบีโอดีไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร การหาค่าบีโอดี หาได้โดยใช้แบคทีเรียย่อยสลายอินทรีย์สารซึ่งจะเป็นไปช้า ๆ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลานานหลายสิบวัน ตามหลักสากลใช้เวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส แต่ในปัจจุบันมีเครื่องวัดค่า BOD ที่เป็นระบบดิจิตอลที่ทราบผลได้ทันที วัดค่าเวลาใดก็สามารถทราบค่าทันที

ค่า COD คืออะไร?

COD (Chemical Oxygen Demand) คือ ความต้องการปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการออกซิไดซ์ย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) ในปริมาณมากเกินพอ ในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อยสลายได้และย่อยสลายไม่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน โดยทั่วไปส่วนใหญ่ค่า COD จะมีค่ามากกว่า BOD เสมอ ดังนั้นค่า COD จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญอีกตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสียว่าสกปรกมากน้อยแค่ไหน

ค่า  DO  คืออะไร?

DO (Dissolved Oxygen) คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำเสียทุกๆแห่งล้วนมีความต้องการออกซิเจน (aerobic bacteria) ในการย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ความต้องการออกซิเจนของแบคทีเรียนี้จะทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำนั้นๆลดลง เนื่องจากจุลินทรีย์ดึงออกซิเจนไปใช้ในปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ดังนั้นในน้ำที่สะอาดจะมีค่า DO สูง และน้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำ ( ค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm.) มาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดีโดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 ppm หรือปริมาณ O2 ละลายอยู่ปริมาณ 5-8 มิลลิกรัม / ลิตร หรือ 5-8 ppm น้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm ค่า DO มีความสำคัญในการบ่งบอกว่าแหล่งน้ำนั้นมีปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อความต้องการของสิ่งมีชีวิตในน้ำนั้นหรือไม่

TS ( total solids )  คือ ปริมาณของแข็งที่อยู่ในน้ำทั้งหมด เป็นตัวบ่งชี้ว่าในน้ำเสียนั้นๆมีของแข็งละลายหรือเจือปนอยู่มากน้อยเท่าใด ซึ่งจะส่งผลถึงค่า BOD และ BOD โดยตรง

TDS ( Total Dissolved Solids ) ของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำทั้งหมด ปริมาณของแข็งรวมทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ทั้ง SS  ( Suspended Solids ) ของแข็งแขวนลอย และ ค่าตะกอนหนัก (Settleable Solids)ในน้ำเสีย

SS  ( Suspended Solids ) คือของแข็งแขวนลอยที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย

TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l )

FOG น้ำมันและไขมันที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย  (Fat , Oil and Grease) 

F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย  มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

S ค่าซัลไฟต์ (Sulfide) ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย

 

ทำไมน้ำเสียจากที่ต่างๆต้องมีการกำหนดค่าต่างๆขึ้นมา ?

แหล่งของน้ำเสียแต่ละแหล่งมีค่ามาตรฐานไม่เหมือนกัน เช่น น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ค่ามาตรฐานจะเป็นอีกค่าหนึ่ง  กรณีน้ำเสียจากอาคารสถานที่ต่างๆจะเป็นอีกค่าหนึ่งเป็นต้น  แต่ทั้งหมดทั้งมวลไม่ว่าน้ำเสียมาจากแหล่งใดๆก็ตาม ตัวชี้วัดค่าน้ำเสียหรือพารามิเตอร์จะมีหลายตัวชี้วัดด้วยกัน เช่น ค่า  pH , COD , BOD , SS , DTS , DO ฯลฯ เป็นต้น ในที่นี้จะขอยกมาอธิบายให้ท่านได้เข้าใจในบางค่าพารามิเตอร์ที่ทั่วๆไปกล่าวถึงในเบื้องต้นเท่านั้น  ไม่ว่าในน้ำดีหรือน้ำเสียจะมีการกำหนดค่าพารามิเตอร์ต่างๆไว้เป็นมาตรฐานของทางราชการ

  ค่าพารามิเตอร์เหล่านี้เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันอย่างไรกับจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย?

ทั้งค่า BOD, COD, DO ล้วนเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่และปริมาณจุลินทรีย์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่ต้องใช้ออกซิเจในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทุกประเภท ถ้าค่าพารามิเตอร์แต่ละค่ามีค่าเกินหรือมากไปหรือน้อยไป ล้วนส่งผลต่อจุลินทรีย์ทั้งสิ้น เพราะจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กก็จริง แต่ก็สามารถตายหรือสลายได้ ถ้ามีปัจจัยทำให้เกิดการตายหรือเส่อมสลายไป ปัจจัยที่มีผลต่อจุลินทรีย์ก็คือปริมาณออกซิเจนนั่นเอง ซึ่งค่าพารามิเตอร์เป็นส่วนบ่งชี้ถึงปัจจัยนี้ เช่น ถ้าค่า DO ในน้ำมีน้อยมากหรือไม่มีเลย แสดงว่าน้ำนั้นเน่าเสียวิกฤตมาก จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำนั้นได้  ดังนั้น ทางออกในการแก้ปัญหานี้จึงต้องพึ่งจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม )เข้าไปทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนั้น ทดแทนจุลินทรีย์แบบที่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์ทั้งสองแบบนี้ ( จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนและจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน )สามารถทำงานย่อยสลายของเสียร่วมกันได้ดี

จึงเป็นที่มาของการนำจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนมาบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ จุลินทรีย์อีเอ็มทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆได้ดีทั้งในสภาวะที่ไร้อากาศออกซิเจนและสภาวะที่มีออกซิเจน ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ 

กับคำถามที่ยังค้างคาใจหลายๆท่านที่ว่า  ทำไมต้องใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย หรือมีความจำเป็นอย่างไรถึงต้องใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย? ไม่ใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียไม่ได้หรือ? มีสิ่งอื่นหรือสารอื่นมาทดแทนจุลินทรีย์มีไหม? มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนถ้าไม่ใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย ? ต่อไปนี้ท่านจะเข้าใจจุลินทรีย์มากขึ้น

รายละเอียดของคำตอบจากคำถามข้างบนมีดังต่อไปนี้

ในบรรดาของเสียทุกๆอย่างทุกๆชนิดบนโลกใบนี้ ซึ่งรวมถึงน้ำเสียด้วย จะถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์ย่อยสลายที่มีอยู่ตามธรรมชาติ การย่อยสลายของเสียและการบำบัดของเสียเป็นหน้าที่โดยตรงของจุลินทรีย์ย่อยสลายก็ว่าได้ ของเสียจะถูกย่อยสลายให้เป็นโมเลกุลเล็กลงเรื่อยๆ ของเสียบางอย่างอาจจะใช้เวลาย่อยสลายน้อย แต่ของเสียบางอย่างอาจใช้เวลาย่อยสลายเป็นร้อยๆปีก็มี เช่น จำพวกพลาสติกและสารเคมีบางชนิดก็ล้วนแต่เป็นผลงานของจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ดังนั้น ของเสียที่อยู่ในบ่อเกรอะ ของเสียและน้ำเสียที่อยู่ในบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นก็จะถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในบ่อเกรอะและบ่อบำบัดนั้นๆ ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ย่อยสลายแล้วหรือจุลินทรีย์ย่อยสลายมีน้อยปัญหาต่างๆก็จะติดตามมา เช่น ปัญหาในเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ น้ำเสียมีภาวะวิกฤตมากขึ้น น้ำเน่าเหม็นมากขึ้น สร้างทั้งมลพิษทางอากาศและมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดที่ต้องการน้ำเสีย ทั้งพืชและสัตว์ก็อยู่ไม่ได้ถ้าได้รับน้ำเสียเข้าไป นี่ก็คือ ความสำคัญของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียนั่นเอง ถ้าไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียกลุ่มนี้ทำงาน โลกใบนี้ของเสียต่างๆก็คงล้นโลกไปนานแล้ว เพราะมนุษย์สร้างของเสียขึ้นในแต่ละวันในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามวิวัฒนาการของโลก ในการบำบัดน้ำเสียก็เช่นกัน ในบางกรณีอาจใช้สารเคมี แต่กระบวนการย่อยสลายขั้นสุดท้ายจริงๆก็หนีไม่พ้นจุลินทรีย์ย่อยสลายอยู่ดี นี่คือความจำเป็นและความสำคัญของจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์กับมนุษย์ชาติบนโลกใบนี้

จุลินทรีย์บนโลกนี้มีอยู่ด้วยกัน  3  กลุ่มดังต่อไปนี้ .-

1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือให้ประโยชน์ในหลายๆด้าน

2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลาง ซึ่งเข้าทำงานกับกลุ่มจุลินทรีย์กลุ่มใดก็ได้ทั้งหมด ( กลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 3 )

3. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีโทษหรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้โทษ หรือที่เป็นเชื้อโรค เป็นกลุ่มที่สร้างปัญหาโดยตรง 

เป็นที่ทราบกันแล้วว่า น้ำเสียและของเสียต่างๆทั้งหมดทั้งมวลจะถูกบำบัดและย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ย่อยสลาย ดังนั้นในบ่อบำบัดน้ำเสียจึงขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายไม่ได้เลย ถ้าปราศจากจุลินทรีย์หรือมีปริมาณจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดน้ำเสียมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย ปัญหาหลายๆอย่างก็จะติดตามมาทันที ทั้งปัญหาในเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ มลภาวะและมลพิษต่างๆ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดน้ำเสียนั่นเอง  ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบจะลงทุนมากมหาศาลหรือลงทุนน้อยเพียงใดก็ตาม จุดประสงค์ของการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียก็คือ ต้องการดึงจุลินทรีย์ย่อยสลายในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนั่นเอง ในธรรมชาติจะมีจุลินทรีย์หลากหลายกลุ่มกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปไม่เป็นระเบียบ การจะดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายเหล่านี้มาใช้ประโยชน์จึงต้องสร้างระบบขึ้นมาให้มันรวมกลุ่มอยู่ในแหล่งเดียวกัน เพื่อทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ สารเคมีบางชนิดอาจทำลายจุลินทรีย์ได้ โดยเฉพาะสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเบสแก่ๆจะทำให้จุลินทรีย์ตายได้ง่ายๆ จุลินทรีย์บางกลุ่มอยู่ได้และทำงานได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศ ( จุลินทรีย์อีเอ็ม) 

การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆต้องใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆยังจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้. -

1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพเจริญเติบโต 

2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ใช้วิธีการแลกอิเล็คตรอนกับสารประกอบต่างๆ )

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น  การดับกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง จุลินทรีย์คาซาม่าจะเข้าไปกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นเหล่านี้ รวมทั้งการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา      

คุณสมบัติของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายกลุ่มดังต่อไปนี้

การสังเคราะห์จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโชน์และมีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังต่อไปนี้

1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria)

2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria)

3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria)
            4. กลุ่มจุลินทรีย์แอคทิโนมัยซีทส์ (Actenomycetes) 
            5. กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์ (Yeasts) 

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นประเภทใดได้บ้าง?

จุลินทรีย์หอม-kasama ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้

1. กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ ( สารที่มาจากพืชและสัตว์ )

2. กลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ กลิ่นเหม็นส้วม กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ

3. กลิ่นเหม็นจากปัสสาวะและอุจจาระทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด

4. กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากการเก็บของเสียต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นมา

5. กลิ่นคาวเลือดหรือคาวปลาในโรงงานเชือดไก่ เชือดสุกร หรือโรงงานเชือดปลา เป็นต้น

6. กลิ่นจากบ่อขยะ หรือกลิ่นจากถังขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ

7. กลิ่นเหม็นจากท่อระบายน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็นจากน้ำที่เน่าเสีย

8. กลิ่นเน่าเหม็นจากไขมัน จากบ่อดักไขมันตามร้านอาหารหรือโรงอาหาร เป็นต้น

9. กลิ่นเหม็นจากการหมักพืชและสัตว์

10. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด

กลิ่นใดที่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าดับไม่ได้หรือกำจัดกลิ่นไม่ได้ ?

กลิ่นที่เกิดขึ้นจากสารเคมีจำพวกกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์ทำลายหรือกัดกร่อนสูง 

        

 มีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียด้อยประสิทธิภาพ ต้องการแก้ปัญหาบ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน  บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ  ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ

จุดเด่นๆของการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์แบบไม่ใช้ออกซิเจนบำบัดน้ำเสีย
1. สามารถเพิ่มความเข้มข้นหรือปริมาณของจุลินทรีย์ได้ง่าย
2. การบำบัดด้วยจุลินทรีย์ชนิดนี้ทำได้ง่าย
3. ต้นทุนถูก
4. ได้ผลหรือเห็นผลรวดเร็ว ถ้าใช้ถูกจุด
4. ไม่มีค่าเมนเทนแนนส์รายเดือน
5. บริหารจัดการได้ง่าย
 

โรงงานส่วนมากยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องของการนำจุลินทรีย์ไปบำบัดน้ำเสีย ซึ่งส่วนมากจะเข้าใจว่าใช้จุลินทรีย์ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ และใช้เพียงครั้งเดียงก็พอแล้ว ในความเป็นจริง เป็นความคิดที่ผิดถนัด ต้องเข้าใจว่าน้ำเสียของโรงงานเกิดขึ้นในทุกๆวัน ดังนั้นการบำบัดน้ำเสียต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ส่วนขั้นตอนจะวางระบบบำบัดอย่างไร ต้องดูจากการวางระบบหรือน้ำเสียผ่านของแต่ละแห่ง พิจารณาเป็นกรณีไป

         

กรณีที่โรงงานใดใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเป็นประจำหรือใช้บ่อย  ขอแนะนำวิธีประหยัดซึ่งจะทำให้โรงงานประหยัดงบประมาณในการลงทุนบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์บำบัดได้อย่างมหาศาลยิ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่จะประหยัดได้ปีละหลายล้านบาท  วิธีดังกล่าวที่จะแนะนำคือเราจะสอนให้โรงงานผลิตจุลินทรีย์ขึ้นมาใช้เองได้ที่โรงงานเลย โดยเราจะเป็นผู้สอนและให้คำแนะนำปรึกษาฟรีๆ โดยมีเงื่อนไขคือซื้อหัวเชื้อในการผลิตจากเราอย่างต่อเนื่องและเงื่อนไขอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงงานของท่านประหยัดและมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์บำบัดอย่างเต็มรูปแบบ 

  ใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทำให้ลดมลพิษทางน้ำและอากาศ ช่วยให้สภาพแวดล้อมดีกว่า  ร่วมมือร่วมใจกันใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีนกันเถอะจะทำให้สังคมลดมลภาวะ

  


         

 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่..

จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
แก้ปัญหาค่า BOD,SS,TDS สูงในคอนโดมิเนี่ยมอาคารสำนักงาน คลิกที่นี่.. 

เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง  คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่..

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. 
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงสุกรทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป คลิกดูที่นี่... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 
กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียเกิดมาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียอย่างไร ? คลิกดูที่นี่.. 
สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่..
วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย&จุลินทรีย์ดับกลิ่นที่มีกลิ่นหอม คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูข้อมูลที่นี่..
จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย / จุลินทรีย์หอมย่อยสลายของเสีย คลิกที่นี่.....
ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์  คลิกที่นี่... 
ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่..
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในร้านอาหาร & ภัตตาคารทุกๆแห่ง คลิกที่นี่...
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงแรมและรีสอร์ททั่วๆไป คลิกที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วๆไป คลิกดูที่นี่..   

 

        

 จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น

ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้

จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ  คลิกดูที่นี่..  

วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... 

จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. 

ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่น  คลิกดูที่นี่...   

จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่..  

จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด  คลิกที่นี่..  

จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู  คลิกที่นี่...  

จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. 

จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ  คลิกดูที่นี่..

การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... 

จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นขยะ / จุลินทรีย์กำจัดกลิ่นขยะเหม็น  คลิกดูข้อมูลที่นี่..
ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น/ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น คลิกดูที่นี่.. 

 

 

      [ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ คลิกดูที่นี่..]     

 

                               <<  กลับหน้าแรกจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงาน >>