บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
กำจัดไนโตรเจนหรือลดค่า TKN ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถกำจัดไนโตรเจนได้แล้ว เพราะเราได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ตัวที่ลดค่า TKN ในน้ำเสียได้ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเพียงเท่านั้น ที่นี่..เราวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาแนะนำให้กับลูกค้าที่ซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปจากเรา ให้ใช้งานจุลินทรีย์ในแต่ละเรื่องอย่างถูกต้อง เช่น การนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียใช้อย่างไร ใช้ในจุดใด ใช้ในปริมาณเท่าใด ปรับให้เข้ากับบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่ลูกค้ามีอยู่อย่างไร หรือกรณีการนำจุลินทรีย์ไปใช้ในการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น ) จะใช้อย่างไร ใช้ในจุดไหน ใช้ปริมาณเท่าใด ฯลฯ การใช้จุลินทรีย์อย่างตรงจุดและตรงประเด็น การใช้งานจุลินทรีย์เป็นและใช้ถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า เราปฏิบัติเช่นนี้ ตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) ทุกๆระบบบำบัด คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย ซึ่งเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายในการแปรเปลี่ยนสถานะของสสารที่เป็นของเสียไปเป็น น้ำ พลังงานและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียของท่านในวันนี้ ด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่นดับกลิ่นในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที
ความหมายของ น้ำเสีย น้ำเสีย คือ น้ำที่ปนเปื้อนและเจือปนสิ่งสกปรกและสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย ( สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ) ทำให้น้ำมีสภาพเปลี่ยนไปกลายเป็นสภาพน้ำเสีย อุปโภคและบริโภคไม่ได้ น้ำเสีย จะมีค่า BOD >= 100 ppm. และค่า DO < 3 ppm. ยิ่งค่า DO ต่ำมากๆจะเกิดการเน่าเสียของน้ำวิกฤตมากๆ จนเป็นมลภาวะและมลพิษทางสิ่งแวดล้อม น้ำเสียที่เกิดขึ้นในทุกๆแห่งล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นรวมถึงการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ทั้งสิ้น น้ำเสียมาจากไหน? น้ำเสียมีที่มาจาก 2 ประการด้วยกัน คือ น้ำเสียที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ และ น้ำเสียที่เกิดขึ้นจากมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นมา ซึ่งน้ำเสียส่วนใหญ่มาจากการกระทำของมนุษย์ โดยเฉพาะกิจกรรมหรือธุรกิจที่ก่อให้เกิดน้ำเสียจำนวนมากๆ จึงมีความจำเป็นต้องบำบัดน้ำเสียเหล่านี้ให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะต่อไป น้ำดีต้องมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำมากกว่า 3 ขึ้นไป ( ค่า DO > 3 ) น้ำเสียจะมีค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลยก็มี ( ค่า DO น้อย ) ดังนั้น จึงส่งผลให้ในน้ำเสียนั้นไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายหรือแทบไม่มีเลย จึงทำให้น้ำเสียวิกฤตมากขึ้นนั่นเอง ส่งผลต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนในน้ำเป็นหลัก วิธีการแก้ไขปัญหานี้จึงต้องเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสียนั้นๆ เพื่อเพิ่มค่า DO ในน้ำเสียให้มากขึ้นเพียงพอกับจุลินทรีย์ที่จะนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสีย แต่ถ้าค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียยังมีน้อยหรือไม่เพียงพอกับปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ น้ำเสียนั้นก็จะถูกบำบัดได้ระดับเล็กน้อยเท่านั้น น้ำเสียยังคงไม่เป็นน้ำดี เพราะปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนมีน้อยกว่าปริมาณน้อยเสียที่เกิดขึ้ย แต่ก็มีวิธีการแก้ไขได้อีกวิธีหนึ่งคือ การเติมหรือเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียโดยไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็ม ) ซึ่งสามารถทำได้ง่ายกว่าการเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ง่าย เพิ่มความเข้มข้นและปริมาณความหนาแน่นของจุลินทรีย์ได้ง่าย และประการสำคัญสามารถทำงานร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ทุกที่ ดังนั้น ไม่ว่าน้ำเสียนั้นๆจะมีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำหรือไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นเลย กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มก็สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที ปริมาณน้ำเสียมากหรือวิกฤตมาก ก็ใช้ปริมาณของจุลินทรีย์อีเอ็มมากตามไปด้วย การใช้จุลินทรีย์ในแต่ละครั้งจะแปรผันตรงกับปริมาณของเสีย สามารถนำกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มไปปรับค่า pH ได้กรณีที่น้ำเสียนั้นๆมีความเป็นด่างหรือเบส สามารถใช้จุลินทรีย์อีเอ็มปรับค่าน้ำได้ทันที แต่ถ้าน้ำเสียนั้นมีค่าเป็นกรดให้ใช้ปูนขาวปรับค่า pH เพื่อให้ค่าเข้าใกล้ 7
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( Waste Water Treatment Bacteria ) จุลินทรีย์ที่จะใช้ในการบำบัดน้ำเสียหรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสีย ) จะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น จะไปนำจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆที่ไม่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียมาใช้งานย่อยสลายก็ไม่ได้ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อยด้วยกันตามลักษณะการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาดังต่อไปนี้ .- 1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขาดออกซิเจนไม่ได้ ต้องใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ รวมถึงใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้มากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัด ระบบบำบัดน้ำเสียแทบจะทุกๆระบบจะใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลักในการบำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสีย ) เพราะสามารถดึงจากธรรมชาติมาใช้งานง่าย เพียงออกแบบระบบต่างๆและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการดำรงชีพ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ทำงานย่อยสลายให้ตามที่ต้องการ แต่ก็มีข้อจำกัดและเงื่อนไขหลายอย่างที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ เช่น อุณหภูมิพอเหมาะ ค่า pH ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ( เจริญเติบโตได้ดีในช่วงค่า pH 6 -8 ) ถ้าต่ำมากๆหรือสูงมากๆจะทำให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ทันที หรือกรณีค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียมีน้อย ( ค่า DO ต่ำ ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะดำรงชีพอยู่ไม่ได้ เพราะขาดออกซิเจนไม่ได้ จุลินทรีย์ตายยกบ่อบำบัดได้ถ้าขาดออกซิเจน บ่อบำบัดจะส่งกลิ่นเน่าเหม็นทันที 2. กลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( Anaerobic Bacteria ) ซึ่งก็มีหลากหลายสายพันธุ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียโดยไม่ใช้ออกซิเจนเหมือนกลุ่มแรก ทำปฏิกิริยาย่อยสลายได้ทั้งในสภาวะมีออกซิเจนหรือไม่มีอากาศออกซิเจน สามารถทำงานย่อยสลายร่วมกับกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็ได้ การดึงมาใช้งานบำบัดน้ำเสียทำได้ค่อนข้างยาก จะไม่เหมือนกลุ่มแรกที่สามารถดึงมาใช้งานได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องมีการสังเคราะห์จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้ขึ้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียดังกล่าว ข้อดีของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ทนทานหรือต้านทานต่อสภาวะแวดล้อมได้ดีกว่ากลุ่มแรก ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่วิกฤตได้ กลุ่มจุลินทรีย์ที่จะแปรสภาพย่อยสลายของเสียต่างๆทั้งหลายทั้งปวง ต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ( ทั้งกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มที่ 1+กลุ่มที่ 2 ) มีอยู่กระจัดกระจายในธรรมชาติ จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่บำบัดน้ำเสียหรือย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จะเห็นได้ว่าระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ ( ทุกๆระบบ ) ออกแบบเพื่อรองรับการดึงออกซิเจนเข้าไปเติมในระบบบำบัด ( เติมในบ่อบำบัด ) เพื่อต้องการให้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักมารวมกลุ่มเจริญเติบโตขยายเซลล์ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายยิ่งมาก ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียก็เกิดขึ้นมาก กากตะกอนของเสียต่างๆในน้ำเสียก็จะเหลือน้อยลงหรือลดลงตามศักยภาพการย่อยสลายของจุลินทรีย์ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถคอนโทรลหรือควบคุมจำนวนหรือปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนให้ได้ตามที่ต้องการในบ่อบำบัดน้ำเสีย ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในแต่ละช่วงเวลา อาจจะมีปริมาณมากเพียงพอกับการย่อยสลายของเสีย หรืออาจจะมีน้อยกว่าปริมาณของเสีย แต่ส่วนใหญ่ของระบบบำบัดน้ำเสียจะมีปัญหาปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดบ่อยๆ ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( Activated Sludge ) ระบบบำบัดชนิดนี้มีจุดอ่อนหลายจุดด้วยกัน ถ้าการบริหารจัดการดูแลและบำรุงรักษาไม่ดีพอระบบล้มเหลวได้ง่ายๆ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าหรือหลายๆค่าอาจไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนจะควบคุมค่อนข้างยาก ( ควบคุมไม่ได้ตามที่ต้องการ ) ถ้าออกแบบสิ่งแวดล้อมของระบบบำบัดไม่เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของมันก็จะมีปัญหาระบบบำบัดมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียไม่ทัน ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์เป็นประจำ นี่คือเรื่องราวของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสีย จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้อย่างไร ? สำหรับการบำบัดน้ำเสียไม่ว่าจะใช้กรรมวิธีใดๆก็ตาม ซึ่งในน้ำเสียจะมีสิ่งเจือปนและปนเปื้อนของเสียอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ สสารทั้งหลายเหล่านี้ขั้นตอนสุดท้ายจะต้องถูกย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็ได้ทั้งนั้น การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียของจุลินทรีย์ย่อยสลายถือว่าเป็นกลไกขั้นตอนสุดท้ายของการแปรเปลี่ยนรูปของสสารให้หายไปกลายเป็นน้ำและก๊าซต่างๆรวมถึงพลังงานตามสมการด้านล่างของปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายนี้
การสร้างจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย ) จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบัดน้ำเสียมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ 1. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจน ( Aerobic Bacteria ) ในการบำบัดน้ำเสียระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่นิยมใช้จุลินทรีย์กลุ่มนี้มากที่สุด เพราะสามารถดึงมาใช้งานได้ง่ายกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน แต่มีเงื่อนไขและข้อจำกัดหลายอย่างด้วยกัน ต้องออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมต่างๆในระบบบำบัดให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโต ควบคุมได้ค่อนข้างยาก 2. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic Bacteria ) ในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศจะมีจุลินทรีย์กลุ่มนี้น้อยอยู่แบบกระจัดกระจายไม่เป็นกลุ่มก้อน ในการดึงมาใช้งานบำบัดน้ำเสียให้ได้ปริมาณมากนั้น ต้องทำการสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ แต่มีข้อดีในจุดที่มีความทานทานต้านทานต่อสภาพแวดล้อมสูง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่วิกฤตได้ดี อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักค่อนข้างควบคุมได้ยากและเพิ่มปริมาณไม่ได้ตามที่เราต้องการในบางครั้ง จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะอยู่แบบกระจัดกระจายตามดิน น้ำ อากาศ ซึ่งควบคุมได้ยาก ต้องออกแบบสิ่งแวดล้อมให้ได้ดีจึงจะรวมกลุ่มกันได้ ดังนั้น จึงมีการคิดค้นสังเคราะห์กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในด้านการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่สามารถควบคุมและเพิ่มปริมาณความหนาแน่นของจุลินทรีย์ได้ตามที่เราต้องการ สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ในห้องปฏิบัติการ นั่นก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมในสภาวะไร้ออกซิเจนหรือมีออกซิเจนก็ได้ ทำหน้าที่ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้เหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน จึงมีการนำมาทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทั่วๆไปทีมีปัญหาในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ) จึงหมดปัญหาในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายไม่ได้ เราสามารถสร้างและสังเคราะห์จุลินทรีย์ย่อยสลายขึ้นมาทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ความสำคัญของจุลินทรีย์ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระะบบบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งและทุกๆระบบ ไม่ว่าน้ำเสียที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมา และไม่ว่าระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆจะลงทุนมากหรือลงทุนน้อยเพียงใดก็ตาม ทุกๆระบบที่สร้างขึ้นล้วนต้องใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสิ้นในการบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ถึงแม้ในบางครั้งอาจใช้สารเคมีเข้าร่วมบำบัดด้วยในบางกรณี แต่กระบวนการย่อยสลายขั้นสุดท้ายก็มาจบลงที่จุลินทรีย์ย่อยสลายเหมือนเดิม น้ำเสียที่เกิดขึ้นในทุกๆแห่งล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆ รวมถึงการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก็ต้องอาศัยจุลินทรีย์ทั้งสิ้น ซึ่งเท่ากับจุลินทรีย์ย่อยสลายเหล่านี้มีคุณประโยชน์ต่อโลกใบนี้ ช่วยพิทักษ์และรักษาไม่ให้ของเสียและน้ำเสียล้นโลกมาจนถึงปัจจุบันนี้ ลดมลพิษและมลภาวะให้กับโลก รักษาสิ่งแวดล้อม กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไปมีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่พอจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้ 1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดใช้อากาศออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ( Aerobic Bacteria ) 2. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ( Anaerobic Bacteria ) จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้จะทำหน้าที่บางอย่างคล้ายๆกัน นั่นก็คือ การทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้ดีเหมือนกัน ซึ่งสามารถนำมาทดแทนกันได้ เพื่อให้การย่อยสลายของเสียในน้ำเสียเป็นไปอย่างต่อเนื่องในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ 1. การบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศออกซิเจน (Aerobic wastewater treatment) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียสำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้ถ้าไม่มีออกซิเจน ( ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ) ก็ไม่สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพในน้ำเสียนั้นๆได้ น้ำก็จะเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ทางกายภาพจากกลิ่นเน่าเหม็น น้ำเสียมีสีดำ และเช็คค่า BOD ค่า DO โดยภาวะปกติในน้ำที่จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ ค่า DO ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 2mg/l ขึ้นไป จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ต้องใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ดังนั้น ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ( ค่า DO ) ต้องไม่น้อยกว่า 2 mg/l ยิ่งค่า DO เป็นศูนย์ จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ก็จะตายยกบ่อบำบัด นี่คือความสำคัญของออกซิเจนที่มีต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักกลุ่มนี้ ในระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะในบ่อเติมอากาศ ควรมีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายในบ่อนี้ประมาณ 2,000 - 3,000 mg/l จึงจะทำการย่อยสลายของเสียบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศออกซิเจน (Anaerobic wastewater treatment) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียสำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศออกซิเจนในการดำรงชีพและในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆ ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ( ค่า DO ) ไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ (ไม่มีการดึงออกซิเจนในน้ำเสียไปใช้ ) ดังนั้น ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีปริมาณเท่าใดก็ยังคงมีปริมาณไม่ลดลง เป็นจุดเด่นที่แตกต่างกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้ทำงานย่อยสลายได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนหรือมีออกซิเจนก็ได้ จึงเป็นตัวทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อบสลายที่ใช้ออกซิเจนได้ดีในยามที่มีปัญหาหรือขาดแคลนจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัด แต่จุดอ่อนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ การดึงมาใช้งานค่อนข้างยาก นอกจากการสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการจึงจะได้เป็นกลุ่มก้อนจำนวนมากได้ตามที่ต้องการ ในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่ง จากระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสองกลุ่มนี้เป็นหลัก ถ้าขาดหรือปราศจากจุลินทรีย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ( ในทั้งสองกลุ่มนี้ ) แล้ว น้ำเสียทั้งหมดก็จะไม่ได้รับการบำบัดให้เป็นน้ำดี น้ำเสียและของเสียต่างๆคงล้นโลกใบนี้ไปนานแล้ว นี้คือ กระบวนการต่างๆในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี
ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียด้วยการใช้จุลินทรีย์แบบคร่าวๆ ( ชนิดใช้ออกซิเจนเป็นหลัก )
อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ในการบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบและบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งไม่ว่าจะบำบัดด้วยกรรมวิธีใดๆก็ตาม แต่กระบวนการบำบัดขั้นสุดท้ายจะจบลงด้วยการบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเสมอ สสารหรือของเสียต่างๆในน้ำเสียก็จะถูกแปรสภาพไปในที่สุดตามภาพจำลองปฏิกิริยาการย่อยสลายด้านล่าง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนล้วนมีอิทธิพลและมีบทบาทในการบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น ซึ่งในระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะนิยมใช้ประโยชน์จากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ในระบบบำบัดจึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสีย เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนดึงไปใช้งานในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ จึงเป้นที่มาของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศหรือระบบ AS
เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ขายจุลินทรีย์ดับกลิ่น จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะ จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง จุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีกลิ่นหอม ซึ่งไม่เหมือนกลิ่นจุลินทรีย์อีเอ็มทั่วๆไปที่จำหน่ายในท้องตลาดที่มีกลิ่นฉุนเปรี้ยว ดังนั้นจึงได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียได้ดี และ การดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียได้ดี กลิ่นหอมทันทีที่เริ่มใช้ในบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน ซึ่งลูกค้าของทางร้านทั้งหมดทั่วประเทศจะชอบใจในจุดนี้เป็นอย่างมาก จุลินทรีย์คาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโดยชน์หลายๆด้าน โดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียให้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เข้าไปในระบบเพื่อย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะลำพังกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียอาจไม่เพียงพอ เหตุเพราะปริมาณน้ำเสียและของเสียในน้ำเสียมีปริมาณมากกว่ากลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนจะทำการย่อยสลายและบำบัดน้ำเสียได้ทั้งหมด ทางออกในการแก้ไขปัญหานี้จึงต้องพึ่งพาอาศัยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ) นั่นก็คือกลุ่มจุลิทรีย์อีเอ็มนั่นเอง ซึ่งมีความสามารถและทำหน้าที่คล้ายๆกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนที่มีอยู่ในธรรมชาติ ในสภาวะที่มีปัญหาน้ำเสียวิกฤตหนักๆ ในน้ำเสียมีจุลินทรีย์น้อยหรือแทบไม่มีเลย ( เพราะออกซิเจนในน้ำเสียมีน้อยหรือแทบไม่มีออกซิเจน ) กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนจำเป็นต้องอาศัยอากาศออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ถ้าไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนก็จะไม่มีในน้ำเสียหรือมีแต่มีปริมาณน้อยมากๆ จึงทำให้น้ำยิ่งเน่าเสียมากยิ่งขึ้น ในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ วัตถุประสงค์ทุกๆระบบเหมือนกันคือต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนมาทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ ดังนั้น จึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนเข้าไปในระบบให้เพียงพอ แต่ส่วนใหญ่ในระบบจะได้อากาศออกซิเจนเติมเข้าไปในระบบน้ำเสียในปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อการเพิ่มปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสีย จึงส่งผลทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆยังด้อยประสิทธิภาพอยู่ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีน้อยกว่าปริมาณของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง ทางออกจึงมาลงตัวที่กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็ม ( ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลานของเสียและบำบัดน้ำเสีย ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์แอนแอร์โรบิคที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( ทำหน้าที่ได้เหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ตามความต้องการ ความหนาแน่นของปริมาณจุลินทรีย์มีมากกว่า สามารถทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียในน้ำเสียได้ทันที เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดปริมาณน้ำเสียและของเสียในระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบ โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบง่ายๆชนิดเติมอากาศ ส่วนใหญ่จะมีปริมาณจุลินทรีย์ในระบบมีปริมาณน้อย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจัดทำขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น เราสังเคราะห์ขึ้นมาจากหัวเชื้อของจุลินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศต้นฉบับโดยตรง เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายด้าน มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย รวมไปถึงการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ สามารถทำงานร่วมกันกับจุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจนได้เป็นอย่างดี ทำหน้าที่คล้ายๆกัน ดังนั้น จึงสามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ ในสภาวะที่ในน้ำเสียไร้ออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้น จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ ดังนั้น จึงต้องหันไปเพิ่งกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย นี่คือทางออกในการแก้ไขปัญหาในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ ( ค่า DO ต่ำหรือแทบเป็น 0 ) จุลินทรีย์อีเอ็มสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ง่ายกว่าจุลินทรีย์ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ต้นทุนต่ำกว่าและง่ายกว่า ดังนั้น จึงเป็นทางเลือกในการ RUN & REBOOT ระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน ไม่ว่าระบบจะเล็กหรือขนาดใหญ่ สามารถทำได้ทั้งนั้นในทุกๆระบบ เป็นผลดีต่อระบบโดยตรง กรณีที่ระบบบำบัดน้ำเสียชนิด AS หรือ RBC ล่มหรือเสียรอซ่อม ก็สามารถนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปทดแทนได้ระหว่างรอซ่อมและ RUN ระบบอีกครั้ง โดยไม่ต้องรอให้ซ่อมแล้วเสร็จก่อน เพราะของเสียและน้ำเสียเกิดขึ้นในทุกๆวัน น้ำเสียที่เกิดขึ้นไม่สามารถรอระบบให้เสร็จก่อนได้ ต้องทำการบำบัดทันทีก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้ได้ดีกับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น 6 แบบ ได้แก่ 1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) แบบที่ 4 และแบบที่ 6 การลงทุนสูงและค่าเมนเทนแนนส์รายเดือนค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับโรงงาน โรงพยาบาล ชุดชุนขนาดใหญ่ที่มีน้ำเสียปริมาณมากๆ ส่วนระบบแบบอื่นการลงทุนไม่มาก แต่อาจใช้พื้นที่มากในบางระบบ ระบบลากูนแบบกลางแจ้งจะใช้พื้นที่มาก ทุกๆระบบที่กล่าวมาล้วนต้องการออกซิเจนเข้าไปทำปฏิกิริยาในระบบ เพราะจุลินทรีย์ที่ใช้ในระบบเป็นแบบใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย อีกทั้งน้ำก็ต้องการออกซิเจนเพื่อให้เป็นน้ำดี เพราะถ้าค่าออกซิเจนในน้ำต่ำกว่า 3 ( ค่า DO < 3 )ก็จะเป็นน้ำเสียถึงน้ำจะมีสีใสก็ตาม ยังถือว่าเป็นน้ำเสียอยู่ ดังนั้น ออกซิเจนในน้ำจึงมีความสำคัญมาก น้ำดีหรือน้ำเสียจึงดูค่า DO เป็นจุดหลัก ส่วนค่าพารามิเตอร์ตัวอื่นๆเป็นส่วนประกอบที่สำคัญไล่เลี่ยกันไป ของเสียและน้ำเสียในบางหน่วยงานจะค่อนข้างวิกฤตในปัจจุบัน เพราะของเสียมากขึ้น น้ำเสียเพิ่มมากขึ้น จนระบบย่อยสลายและบำบัดไม่ทัน จึงเกิดการเน่าเหม็นส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งทำให้รู้ว่าระบบนั้นมีปัญหาในเรื่องของปริมาณจุลินทรีย์ในระบบนั้นๆมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง ทางออกคือการเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เข้าไปในระบบให้เพียงพอหรือมากกว่าปริมาณของเสียและน้ำเสีย การเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาทำได้ค่อนข้างยาก ยกเว้นระบบ AS และ RBC สามารถทำได้โดยระบบของมันเอง แต่ก็อย่างว่า ถ้าสองระบบนี้เกิดชำรุดหรือเสียขึ้นมา ก็ไม่มีจุลินทรีย์อยู่ในระบบหรือมีแต่ปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย สิ่งที่ติดตามมาก็คือ น้ำเสียเริ่มส่งกลิ่นเน่าเหม็นมากยิ่งขึ้น แล้วจะทำอย่างไร? ทางออกของปัญหานี้ก็คือ เติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( จุลินทรีย์อีเอ็ม)เข้าไปในระบบให้มากหรือเพียงพอกับปริมาณของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มจะไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำมาทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายต้องอาศัยออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นทุกๆครั้งตลอดเวลา ถ้าน้ำเสียนั้นมีออกซิเจนละลายอยู่น้อยหรือแทบไม่มีเลย ( น้ำเสียวิดฤตมาก )ปัญหาที่ตามมาก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทำงานย่อยสลายของเสียในน้ำนั้นได้ แต่ขณะเดียวกันกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม )สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที ออกซิเจนไม่มีความจำเป็นกับกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มกลุ่มนี้ ดังนั้น น้ำเสียที่วิกฤตมากๆ ( ออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียนั้นมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย ) จุลินทรีย์อีเอ็มจึงสามารถทำงานทดแทนย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที ประสิทธิภาพไม่ค่อยแตกต่างกันจากจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน จึงเป็นทางเลือกในปัจจุบันที่จะนำจุลินทรีย์อีเอ็มมาเสริมประสิทธิภาพการย่อยสลายในระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียและการย่อยสลายของเสียมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
จุลินทรีย์คาซาม่า เป็นจุลินทรีย์เอนกประสงค์ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายอย่าง สังเคราะห์ขึ้นจากหัวเชื้อของจุลินทรีย์ต้นฉบับโดยตรง ไม่ใช่หมักจากเปลือกผลไม้ เป็นจุลินทรีย์ที่เข้มข้นและมีความหนาแน่นของจุลินทรีย์สูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่างด้วยกัน ทั้งการบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่น รวมถึงประยุกต์เป็นปุ๋ยในทางการเกษตรก็สามารถทำได้ เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย คุณสมบัติของจุลินทรีย์คาซาม่า - ใช้บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี - ย่อยสลายสารอินทรีย์วัตถุให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง - ย่อยสลาย Greas & Oil ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ - ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ทุกชนิด จุลินทรีย์คาซาม่า ( จุลินทรีย์-Kasama ) ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายกลุ่มดังต่อไปนี้ การสังเคราะห์จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโชน์และมีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria) 2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria) 3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria)
การบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธี ซึ่งการบำบัดน้ำเสียจะต้องสร้างระบบบำบัดขึ้นมารองรับที่เรียกกันว่าระบบบำบัดน้ำเสียนั่นเอง ในต่างประเทศในบางประเทศที่เจริญแล้วจะมีกฎหมายคุ้มครองการกำจัดน้ำเสียตั้งแต่หน่วยงานใหญ่ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนจนไปถึงทุกครอบครัวต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละรายก็อาจแตกต่างกันออกไป หน่วยงานใหญ่ๆต้องใช้ระบบบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ตามขนาดของปริมาณน้ำเสีย ส่วนระบบน้ำเสียในระดับครัวเรือนอาจมีขนาดเล็กลง ทุกครัวเรือนต้องบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะหรือสิ่งแวดล้อม แต่ในบ้านเรายังไม่มีการใช้กฎหมายบังคับถึงระดับนั้น ดังนั้นทุกครัวเรือนจึงปล่อยน้ำเสียออกสู่สาธารณะแข่งกันอย่างที่เห็น ซึ่งมีผลทำให้คูคลองหลายแห่งน้ำเน่าเสียอย่างหนัก ต้องออกมารณรงค์กันเพื่อให้ทุกคนรู้จักการบำบัดน้ำเสียในบ้านของตัวเอง หนึ่งในวิธีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีง่ายๆซึ่งถือว่าเป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด นั่นก็คือการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียนั่นเอง ในการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียสามารถใช้ได้ในทุกหน่วยงานทุกองค์กรตั้งแต่หน่วยงานใหญๆไปจนถึงบ้านที่อยู่อาศัยทั่วๆไป ซึ่งขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์จะทำได้ง่ายกว่าวิธีอื่น การลงทุนก็น้อยกว่าประการสำคัญคือไม่สร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม แต่ผลดีที่ตามมาของการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์นี้ก็คือทำให้คุณภาพน้ำโดยรวมดีขึ้น ปริมาณน้ำเสียและมลพิษต่างๆลดลงอย่างเห็นได้ชัด
การบำบัดน้ำเสียในโรงงาน
การใช้จุลินทรีย์อีเอ็มบำบัดน้ำเสียในโรงงานทั่วไป
ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในการบำบัดก่อน การบำบัดน้ำเสียจึงจะมีประสิทธิภาพและได้ผลดี ต้องรู้ข้อมูลของน้ำเสียก่อนว่ามาจากแหล่งใดบ้าง จากโรงงานสายการผลิต จากห้องน้ำ จากโรงอาหารหรือที่อื่นๆ ถ้าเช็คค่าพื้นฐานของน้ำเสียได้ยิ่งเป็นการดีมาก เช่น ค่า BOD , COD , DO , pH เป็นต้น หลังจากนั้นทำการทดสอบน้ำเสียกับจุลินทรีย์อีเอ็ม นำน้ำเสียมา 100 cc. บรรจุลงในบิ๊กเกอร์หรือฟาสก็ได้ เติมจุลินทรีย์ลงไปประมาณ 10 cc. ทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติประมาณ 24 ชม. หลังจากนั้นให้เช็คค่า BOD, COD, DO,pH อีกครั้ง ถ้าได้ค่ามาตรฐานแล้วก็ใช้อัตราส่วนตามที่ทดลองได้เลยในการบำบัดน้ำเสีย อัตราส่วนดังกล่าวอาจใช้ไม่ไดกับโรงงานอื่น เหตุเพราะค่าน้ำเสียมากน้อยไม่เหมือนกัน
การบำบัดน้ำเสียตามบ้านเรือนทั่วไป
การใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ควรใช้อย่างไรจึงจะถูกต้องและเหมาะสม??
ในการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่น ไม่ว่าจะใช้ดับกลิ่นหรือใช้บำบัดน้ำเสีย ใช้เป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ ผู้ใช้ควรใช้ต่อเนื่องติดต่อกัน ซึ่งส่วนมากจะเข้าใจกันว่าใช้จุลินทรีย์ครั้งแรกก็พอแล้ว ดับกลิ่นครั้งแรกกลิ่นก็หายไม่ต้องใช้ต่อไปอีกเพราะกลิ่นหายหมดแล้ว ในความเป็นจริงเป็นการเข้าใจผิดของผู้ใช้จุลินทรีย์ ที่ถูกต้องก็คือ ต้องใช้ต่อเนื่องเรื่อยๆ ยกตัวอย่าง เช่น ใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วมหรือบ่อเกรอะ ในความเป็นจริงสิ่งปฏิกูลในส้วมหรือบ่อเกรอะในบ้านเราเกิดขึ้นทุกๆวัน ดังนั้นจึงมีสิ่งปฏิกูลและสิ่งสกปรกเกิดเพิ่มขึ้นในทุกๆวันเช่นกัน การใช้เพียงครั้งแรกแล้วไม่ใช้อีกเลยทั้งๆที่มีสิ่งปฏิกูลเกิดขึ้นทุกวัน เป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก เพราะจุลินทรีย์จะเข้าไปย่อยสลายสิ่งปฏิกูลเหล่านั้นและก็จะสลายไปในที่สุดตามระยะเวลาของมันเอง ไม่สามารถอยู่ย่อยสลายได้ตลอดกาลจำเป็นอย่างยิ่งต้องหมั่นเติมจุลินทรีย์เพิ่มอย่างต่อเนื่อง อาจจะเติมอาทิตย์ละครั้ง ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณของสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นเป็นหลัก การเติมจุลินทรีย์ในส้วมหรือบ่อเกรอะควรใช้แบบสดและเพียวไม่ผสมน้ำ ซึ่งจะดับกลิ่นได้อย่างรวดเร็ว จุลินทรีย์ที่ดับกลิ่นไม่ค่อยมีประสิทธิภาพส่วนมากจะเป็นประเภทเก่าเก็บหรือที่มีความเข้มข้นต่ำ อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน ) จากภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียระบบ AS เติมอากาศ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดใช้ออกซิเจน ) + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ) จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เดิมในบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนเบื้องต้นธรรมดาเท่านั้น ( การย่อยสลายเกิดขึ้นน้อยมากในบ่อนี้ ) ก่อนที่จะผ่านเข้าไปบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อที่ทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากที่สุดในระบบนี้ ( บ่อย่อยสลายขงเสียโดยใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) และส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วในบ่อที่ 3 ( ตามภาพบน ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่ในระบบ AS นี้จะเกิดขึ้นในจุดเดียวคือ บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี แต่เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปเพิ่มเติม ( ในบ่อที่ 1 ) จะเกิดการย่อยสลายในบ่อที่ 1 หรือบ่อแรกเพิ่มขึ้นทันทีอีกจุดหนึ่ง ( เหมือนบ่อเติมอากาศ ) กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ออกซิเจนจึงไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้ทันที จะเห็นได้ว่าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 จุดหรือ 2 บ่อ ( บ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบดับเบิ้ล คือ บ่อที่ 1 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นตัวบำบัด ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )เป็นด่านแรกก่อนที่จะส่งต่อไปบำบัดอีกชั้นหนึ่งที่บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลาย ) จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะลดลงตั้งแต่การย่อยสลายหรือการบำบัดในบ่อแรกแล้ว การบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆซ้ำในบ่อเติมอากาศ ( โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ยิ่งจะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น BOD , SS , TDS , FOG , TKN ลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีก ตะกอนต่างๆก็จะลดลงเหลือน้อยมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้นดังกล่าว ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรกและบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ) จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งดีขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะผลของการบำบัดหรือการย่อยสลายของเสีย 2 ชั้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงไม่เป็นภาระหนักให้กับบ่อเติมอากาศเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ( ไม่เป็นภาระหนักให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ที่อาจย่อยสลายของเสียได้ไม่หมดหรือย่อยสลายได้เพียงบางส่วนเล็กน้อย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อสุดท้ายบ่อยๆได้
สรุป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ AS และยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศอีกชั้นหนึ่ง การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำให้สสารที่เจือปนอยูในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป หมายเหตุ : จุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ( ในทั้งหมด 6 ระบบ ) นอกจากบำบัดน้ำเสียได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆเพิ่มอีกด้วย
จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น
การดับกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง จุลินทรีย์คาซาม่าจะเข้าไปกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นเหล่านี้ รวมทั้งการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นประเภทใดได้บ้าง?
จุลินทรีย์หอม-kasama ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้
1. กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ ( สารที่มาจากพืชและสัตว์ )
2. กลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ กลิ่นเหม็นส้วม กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ
3. กลิ่นเหม็นจากปัสสาวะและอุจจาระทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด
4. กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากการเก็บของเสียต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นมา
5. กลิ่นคาวเลือดหรือคาวปลาในโรงงานเชือดไก่ เชือดสุกร หรือโรงงานเชือดปลา เป็นต้น
6. กลิ่นจากบ่อขยะ หรือกลิ่นจากถังขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ
7. กลิ่นเหม็นจากท่อระบายน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็นจากน้ำที่เน่าเสีย
8. กลิ่นเน่าเหม็นจากไขมัน จากบ่อดักไขมันตามร้านอาหารหรือโรงอาหาร เป็นต้น
9. กลิ่นเหม็นจากการหมักพืชและสัตว์
10. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม เจ้าแรกของประเทศไทย จำหน่ายมากว่า 10 ปี ใช้บำบัดน้ำเสียได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) และการบำบัดกลิ่น ( ดับกลิ่น ) ในบ่อบำบัดในเวลาเดียวกันทันที โปรดระวังของลอกเลียนแบบของเรา มีมิจฉาชีพที่ลอกเลียนแบบทั้งเนื้อหาสาระต่างๆที่เราไม่ได้อนุญาตใดๆ ผิดกฎหมายทั้งอาญาและแพ่ง ของแท้ต้องที่นี่ บำบัดน้ำเสียที่มีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญทั้งการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์และปรึกษาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ปรึกษาเราที่นี่ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร จุลินรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งฟรีทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษาฟรีโดยผู้เชี่ยวชาญระบบบำบัด มีปัญหาบ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
<< กลับหน้าแรกจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย >>
|