การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
กำจัดไนโตรเจนหรือลดค่า TKN ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถกำจัดไนโตรเจนได้แล้ว เพราะเราได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ตัวที่ลดค่า TKN ในน้ำเสียได้ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเพียงเท่านั้น ที่นี่..เราวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาแนะนำให้กับลูกค้าที่ซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปจากเรา ให้ใช้งานจุลินทรีย์ในแต่ละเรื่องอย่างถูกต้อง เช่น การนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียใช้อย่างไร ใช้ในจุดใด ใช้ในปริมาณเท่าใด ปรับให้เข้ากับบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่ลูกค้ามีอยู่อย่างไร หรือกรณีการนำจุลินทรีย์ไปใช้ในการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น ) จะใช้อย่างไร ใช้ในจุดไหน ใช้ปริมาณเท่าใด ฯลฯ การใช้จุลินทรีย์อย่างตรงจุดและตรงประเด็น การใช้งานจุลินทรีย์เป็นและใช้ถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า เราปฏิบัติเช่นนี้ ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมก็มีหลากหลายวิธีด้วยกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมว่าจะเลือกใช้วิธีใดหรือระบบใดที่มีประสิทธิภาพมากกว่ากัน เพราะโรงงานบางแห่งอาจจะถูกจำกัดด้วยข้อจำกัดหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ทั้งในด้านพื้นที่และงบประมาณ ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อวางระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับโรงงานแต่ละแห่ง แต่ส่วนใหญ่จะละเลยในเรื่องของการบำบัดน้ำเสีย ไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถือว่าการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมถือเป็นภารกิจที่สำคัญมาก เพราะโรงงานทุกๆแห่งต้องรับผิดชอบต่อสังคมสาธารณะส่วนรวม โรงงานเป็นผู้สร้างน้ำเสียขึ้นก็ต้องรับผิดชอบในการทำให้น้ำเสียที่เกิดขึ้นกลายเป็นน้ำดีก่อนที่จะปล่อยออกสู่สาธารณะส่วนรวม ซึ่งถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมโดยตรง ส่วนใหญ่จะละเลยและเพิกเฉยต่อภารกิจและหน้าที่ที่สำคัญในจุดนี้ ไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร จึงเกิดปัญหามลพิษน้ำเสียของสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก และยังไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังจากทุกฝ่าย น้ำเสียจำนวนมากเหล่านี้จะถูกนำกลับมาใช้อีกโดยสิ่งมีชีวิตทั้งพืชสัตว์และมนุษย์ อธิบายกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ภาพบน ) จากภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียระบบ AS เติมอากาศ ( จุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดใช้ออกซิเจน ) + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ) จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เดิมในบ่อที่ 1 จะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนเบื้องต้นธรรมดาเท่านั้น ( การย่อยสลายเกิดขึ้นน้อยมากในบ่อนี้ ) ก่อนที่จะผ่านเข้าไปบ่อเติมอากาศบ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อที่ทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้มากที่สุดในระบบนี้ ( บ่อย่อยสลายขงเสียโดยใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) และส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วในบ่อที่ 3 ( ตามภาพบน ) การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่ในระบบ AS นี้จะเกิดขึ้นในจุดเดียวคือ บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี แต่เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปเพิ่มเติม ( ในบ่อที่ 1 ) จะเกิดการย่อยสลายในบ่อที่ 1 หรือบ่อแรกเพิ่มขึ้นทันทีอีกจุดหนึ่ง ( เหมือนบ่อเติมอากาศ ) กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ออกซิเจนจึงไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้ทันที จะเห็นได้ว่าการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 จุดหรือ 2 บ่อ ( บ่อที่ 1 และ บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียแบบดับเบิ้ล คือ บ่อที่ 1 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นตัวบำบัด ( ย่อยสลายของเสียต่างๆ )เป็นด่านแรกก่อนที่จะส่งต่อไปบำบัดอีกชั้นหนึ่งที่บ่อเติมอากาศ ( มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลาย ) จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสียทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะลดลงตั้งแต่การย่อยสลายหรือการบำบัดในบ่อแรกแล้ว การบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆซ้ำในบ่อเติมอากาศ ( โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ยิ่งจะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น BOD , SS , TDS , FOG , TKN ลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีก ตะกอนต่างๆก็จะลดลงเหลือน้อยมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้นดังกล่าว ( บำบัดด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรกและบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ) จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งดีขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นเป็นเพราะผลของการบำบัดหรือการย่อยสลายของเสีย 2 ชั้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายก็จะรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงไม่เป็นภาระหนักให้กับบ่อเติมอากาศเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ( ไม่เป็นภาระหนักให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) ที่อาจย่อยสลายของเสียได้ไม่หมดหรือย่อยสลายได้เพียงบางส่วนเล็กน้อย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ในบ่อสุดท้ายบ่อยๆได้
สรุป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ AS และยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศอีกชั้นหนึ่ง การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ทำให้สสารที่เจือปนอยูในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป หมายเหตุ : จุลินทรีย์หอมคาซาม่า สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ( ในทั้งหมด 6 ระบบ ) นอกจากบำบัดน้ำเสียได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆเพิ่มอีกด้วย
วิธีการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมมากหลากหลายวิธีด้วยกัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวิธีบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มเป็นหลัก
น้ำเสียเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งจากฝีมือของมนุษย์เองและจากธรรมชาติสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด โดยเฉพาะน้ำเสียที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ แต่ละคนผลิตน้ำเสียในทุกๆวันบนโลกนี้ การผลิตน้ำเสียเริ่มต้นจากภายในบ้านจะเกิดขึ้นทุกๆวัน และน้ำเสียเหล่านี้นอกจากซึมลงสู่พื้นโลกแล้วยังถูกปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม เมื่อน้ำเสียจำนวนมากที่แต่ละคนผลิตขึ้นในแต่ละวันออกสู่สิ่งแวดล้อมจำนวนมากในทุกๆวัน ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมเสียหายเกิดเป็นมลพิษขึ้น ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบคือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้กับสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ไม่มีเว้นแม้กระทั่งมนุษย์ผู้ที่สร้างหรือผลิตน้ำเสียเองก็ได้รับผลกระทบเต็มๆ
เมื่อเกิดน้ำเสียขึ้นต้องทำอย่างไร?
อาจจะเป็นจิตสำนึกของผู้ที่รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองได้กระทำให้เกิดน้ำเสียขึ้น การที่จะทำน้ำเสียให้กลับกลายเป็นน้ำดีนั้นสามารถทำได้ ด้วยการบำบัดด้วยจุลินทรีย์ ทั้งประเภทใช้อากาศและไม่ใช้อากาศในการย่อยสลายน้ำเสียให้กลายไปเป็นน้ำดี ในธรรมชาติก็มีการย่อยสลายของจุลินทรีย์เหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่ปริมาณของจุลินทรีย์อาจมีน้อยกว่าปริมาณของน้ำเสีย เลยทำให้น้ำเน่าเสียเกิดขึ้นได้ ดังนั้น จึงต้องมีการสังเคราะห์จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายน้ำเน่าเสียเหล่านี้ขึ้นมาให้มากพอกับปริมาณน้ำเน่าเสียที่เกิดขึ้น
การจัดการน้ำเสียและวิธีบําบัดน้ำเสียแบบง่ายๆ
ด้วยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ( จุลินทรีย์อีเอ็ม ) จุลินทรีย์ชนิดนี้จะถูกสังเคราะห์ขึ้นจากหัวเชื้อเริ่มต้น เพื่อขยายให้มีปริมาณของจุลินทรีย์มากขึ้น แล้วนำไปใช้ในการย่อยสลายน้ำเน่าเสียที่เกิดขึ้น โดยการเทปริมาณจุลินทรีย์อีเอ็มลงในน้ำเสียให้มากพอกับปริมาณน้ำเสีย สามารถเติมจุลินทรีย์อีเอ็มมากได้ แต่ไม่ควรเติมน้อยจนเกินไป เพราะการย่อยสลายอาจไม่ทั่วถึงและไม่สมบูรณ์ ต้องเติมจุลินทรีย์อีเอ็มให้ได้เท่ากับหรือมากกว่าปริมาณของน้ำเสียที่เกิดขึ้น จึงจะเอาชนะน้ำเสียได้ และถ้าจะให้ดีที่สุด เมื่อทำการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มย่อยสลายน้ำเสียเรียบร้อยแล้ว ควรเติมอากาศลงในน้ำที่ผ่านการบำบัดด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มก่อนที่จะปล่อยน้ำเหล่านี้ออกสู่สิ่งแวดล้อมหรือสาธารณะ เพื่อให้เป็นน้ำดีมีคุณภาพเหมาะต่อการใช้งานหรืออุปโภคบริโภคของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำต่อไป การบําบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มเป็นการบำบัดที่ใช้ต้นทุนค่อนข้างถูกและได้ผลดีมากที่สุด การบำบัดน้ำเสียมีหลากหลายวิธี แต่ทุกๆวิธีหรือทุกๆระบบของการบำบัดน้ำเสียจุดสำคัญที่เหมือนกันทั้งหมดก็คือ การดึงจุลินทรีย์ในธรรมชาติมารวมกันให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ย่อยน้ำเสียที่เกิดขึ้นออกมาเป็นน้ำดีให้ได้มากที่สุด เพียงแต่ระบบใดจะมีประสิทธิภาพในการดึงจุลินทรีย์ในธรรมชาติได้มากกว่ากัน และใช้งบประมาณประหยัดกว่ากัน
วิธีการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมทั่วๆไปมาจาก 2 แหล่ง คือน้ำทิ้งจากห้องน้ำห้องส้วม ถ้าโรงงานใดมีพนักงานจำนวนมากน้ำเสียในส่วนนี้ก็จะมากตามไปด้วย ส่วนแหล่งที่สองของน้ำเสียในโรงงานก็คือน้ำเสียที่มาจากขบวนการผลิตสินค้าและส่วนอื่นๆ มีโรงงานจำนวนน้อยที่ทำการแยกน้ำเสียทั้ง 2 ส่วนนี้ออกจากกัน ซึ่งส่วนมากจะนำน้ำเสียในแต่ละจุดมารวมกันแล้วค่อยบำบัดน้ำเสียนั้นในภายหลัง ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละโรงงานอาจจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพการใช้งานมากน้อยหรือปริมาณน้ำเสียที่มากน้อยแตกต่างกันรวมถึงปัจจัยที่มาของน้ำเสียว่าน้ำเสียนั้นมาจากอะไร ซึ่งในบางโรงงานที่ผลิตสารเคมีหรือผลิตสินค้าอื่นๆแต่ต้องใช้สารเคมีเข้าร่วมในการผลิตสินค้านั้นๆทำให้เกิดน้ำเสียที่มีสารเคมีปนเปื้อน การบำบัดน้ำเสียประเภทนี้ก็ต้องใช้ระบบบำบัดที่ออกแบบมาเฉพาะทาง
ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆทั่วไปสามารถนำจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้เป็นอย่างดี แต่ของเสียจากโรงงานต้องเป็นอินทรีย์วัตถุหรือสารเคมีที่ไม่มีอันตรายใดๆต่อสิ่งมีชีวิตและสามารถย่อยสลายได้ง่าย ดังนั้นจะเห็นว่าในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานด้วยจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจะมีข้อจำกัดในเรื่องลักษณะของเสีย ข้อดีของการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมนอกจากลงทุนต่ำแล้วยังไม่ต้องเสียค่าเมนเทนแน้นท์รายเดือนเหมือนระบบอื่นการดูแลรักษาก็ทำได้ง่ายกว่า ปลอดภัยกว่า การออกแบบระบบก็ไม่สลับซับซ้อน การออกแบบระบบในการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียควรออกแบบระบบให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการทำงานของจุลินทรีย์จึงจะได้ผลอย่างเต็มที่ แต่ถ้าการออกแบบไม่สอดคล้องหรือไม่เหมาะสมระบบก็อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
โรงงานส่วนมากยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องของการนำจุลินทรีย์ไปบำบัดน้ำเสีย ซึ่งส่วนมากจะเข้าใจว่าใช้จุลินทรีย์ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ และใช้เพียงครั้งเดียงก็พอแล้ว ในความเป็นจริง เป็นความคิดที่ผิดถนัด ต้องเข้าใจว่าน้ำเสียของโรงงานเกิดขึ้นในทุกๆวัน ดังนั้นการบำบัดน้ำเสียต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ส่วนขั้นตอนจะวางระบบบำบัดอย่างไร ต้องดูจากการวางระบบหรือน้ำเสียผ่านของแต่ละแห่ง พิจารณาเป็นกรณีไป
กรณีที่โรงงานใดใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเป็นประจำหรือใช้บ่อย ขอแนะนำวิธีประหยัดซึ่งจะทำให้โรงงานประหยัดงบประมาณในการลงทุนบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์บำบัดได้อย่างมหาศาลยิ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่จะประหยัดได้ปีละหลายล้านบาท วิธีดังกล่าวที่จะแนะนำคือเราจะสอนให้โรงงานผลิตจุลินทรีย์ขึ้นมาใช้เองได้ที่โรงงานเลย โดยเราจะเป็นผู้สอนและให้คำแนะนำปรึกษาฟรีๆ โดยมีเงื่อนไขคือซื้อหัวเชื้อในการผลิตจากเราอย่างต่อเนื่องและเงื่อนไขอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงงานของท่านประหยัดและมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์บำบัดอย่างเต็มรูปแบบ ใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทำให้ลดมลพิษทางน้ำและอากาศ ช่วยให้สภาพแวดล้อมดีกว่า ร่วมมือร่วมใจกันใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีนกันเถอะจะทำให้สังคมลดมลภาวะ ค่าพารามิเตอร์ ( Para Meter ) ชื่อนี้มีความหมายและความสำคัญอย่างมากต่อระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เป็นเครื่องชี้วัดว่า ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยเพียงใดอ่านบทความต่อไปนี้ให้จบ ความรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียแบบต่างๆ ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น 6 แบบหรือ 6 ระบบด้วยกัน ได้แก่ 1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) pH ( พีเอช ) เป็นค่าพารามิเตอร์อีกตัวหนึ่งที่สำคัญในระบบบำบัดน้ำเสีย pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นด่างหรือเบสของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+) pH ( พีเอช ) เท่ากับ 7 ถือว่าเป็นกลาง ถ้าน้อยกว่า 7 ถือว่าเป็นกรด ถ้ามากกว่า 7 ถือว่าเป็นด่าง ( เบส ) กลุ่มจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเจริญเติบโตได้ดีที่ค่า pH (พีเอช ) อยู่ระหว่าง 6.5 – 8.5 ถ้าค่า pH ต่ำกว่า 6.5 กลุ่มราก็จะเจริญเติบโตได้ดีกว่าจุลินทรีย์ ทำให้ระบบทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ถ้าค่า pH มีค่าต่ำมากหรือสูงมากจนเกินไป จุลินทรีย์ก็จะไม่สามารถดำรงชีพต่อไปได้ ( ตาย ) สำหรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ควรรู้ในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย - BOD ( บีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - COD ( ซีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในกระบวนการทางเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) COD (Chemical Oxygen Demand) คือ ปริมาณ O2ที่ใช้ในการออกซิไดซ์ในการสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) ในปริมาณมากเกินพอ ในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อย สลายได้และย่อยสลายไม่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน โดยทั่วไปค่า COD จะมีค่ามากกว่า BOD เสมอ ดังนั้นค่า COD จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสีย - TS หรือปริมาณของแข็งทั้งหมด (Total Solids : TS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - ค่า TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l ) - ค่า F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - ค่า pH ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ฯ ล ฯ ค่าพารามิเตอร์น้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมแบบคร่าวๆ
หน้าที่โดยตรงของผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย หน้าที่ประจำซึ่งถือว่าเป็นงานที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำอย่างต่อเนื่องของเจ้าของโรงงาน อาคารสำนักงานต่างๆ และนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นคอนโดมิเนียมทุกๆแห่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ 1 . การดูแลและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆส่วนให้อยู่ในสภาพพร้อมการใช้งานได้ตลอดเวลา การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจะมีผลต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง หมั่นตรวจสอบเครื่องมือต่างๆให้พร้อมทำงานและสภาพบ่อบำบัดอยู่เป็นประจำ 2. การตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ของบ่อบำบัดน้ำเสียเป็นประจำทุกเดือน ( หรือไม่น้อยกว่า 3 เดือน / ครั้ง ) เก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อที่ 1 ( ก่อนบำบัด ) และเก็บตัวอย่างน้ำในบ่อสุดท้าย ( ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ) เข้าตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏืบัติการ เพื่อตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำเสียที่ทางราชการกำหนดไว้ บันทึกในตารางค่าพารามิเตอร์ในแต่ละเดือน จะเริ่มต้นบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านอย่างไร ? 1. อันดับแรกให้ทำการตรวจสอบระบบทั้งหมดว่ายังใช้การทำงานได้ดีอยู่หรือไม่ ? มีสิ่งใดที่มีปัญหาในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดแล้วทำการแก้ไขปัญหานั้นๆ 2. อันดับต่อมาก็คือ การตรวจสอบหรือการเช็คค่าพารามิเตอร์ในระบบบำบัดและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการว่าได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดหรือไม่ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อแรก ( น้ำเสียก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( น้ำเสียหลังบำบัดแล้ว ) ซึ่งจะทำให้รู้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังบำบัด ( บ่อสุดท้าย ) ซึ่งจะทำให้รู้ว่าน้ำเสียในบ่อบำบัดของท่านผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งหรือไม่ ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพหรือไม่ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อสุดท้ายจะเป็นตัวชี้วัดระบบบำบัดน้ำเสียของท่านว่าผ่าน ( บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ )หรือไม่ผ่าน ( ล้มเหลว ) ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมมีการเลือกใช้หลากหลายระบบด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงงาน รูปแบบของโรงงานและความเหมาะสมในด้านต่างๆ ทั้งขนาดพื้นที่และงบประมาณหลายๆอย่างเป็นตัวกำหนดว่าเจ้าของโรงงานสมควรใช้ระบบใดที่เหมาะสมกับตัวเอง สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดระบบบำบัดน้ำเสียส่วนหนึ่ง ถ้าเป็นโรงงานขนาดใหญ่อาจใช้ระบบ AS หรือ RBC ซึ่งเป็นระบบที่ค่อนข้างแม่นยำสูง ( ระบบบำบัดน้ำเสียที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ) แต่การลงทุนค่อนข้างสูงไปถึงสูงมากและค่าเมนเทนแน้นส์ก็สูงตามไปด้วย แต่ถ้าเป็นโรงงานขนาดกลางไปถึงโรงงานขนาดเล็กมักจะนิยมใช้ระบบแบบเติมอากาศเป็นหลักและระบบ AL กลางแจ้ง ไม่ว่าโรงงานจะใช้ระบบบำบัดน้ำเสียใดก็ตาม จุดประสงค์ของทุกๆระบบบำบัดก็เพื่อต้องการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานให้เป็นน้ำดีตามมาตรฐานน้ำทิ้งของทางราชการกำหนดไว้ น้ำเสียต่างๆจากโรงงานแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันออกไปตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตของโรงงานต่างๆแต่ละแห่ง ดังนั้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆมากหรือน้อยก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ค่าพารามิเตอร์น้ำทิ้งจากโรงงานที่ทางราชการกำหนดไว้เป็นกฎหมายก็จะแตกต่างกันออกไป มีปัญหาน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม หรือระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมของท่านมีปัญหา ระบบบำบัดน้ำเสียยังไม่สมบูรณ์ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆยังไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด น้ำเสียยังบำบัดได้ไม่ดีค่าต่างๆ ( ค่าพารามิเตอร์ ) ยังไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ต้องการให้น้ำเสียในระบบได้รับการบำบัดให้สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้รับประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสีย และการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสีย กลิ่นหอมทันทีที่ใช้งาน โรงงานอุตสาหกรรมทุกๆแห่ง ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เพียงใด กฎหมายระบุให้ต้องทำระบบบำบัดน้ำเสียทั้งหมด ส่วนจะทำระบบแบบใดนั้นยังขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรมว่ามีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมนั้นๆมีอันตรายมากน้อยเพียงใด ต้องสร้างระบบบำบัดน้ำเสียให้สอดคล้องกับสภาพอุตสาหกรรมที่ทำ น้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมมีทั้งมาจากไลน์ผลิตของโรงงานและห้องน้ำห้องส้วม โรงอาหาร ในการบำบัดน้ำเสียแต่ละส่วนต้องแยกกันก่อนเข้าบ่อบำบัดรวมและออกไปที่บ่อพักรวมที่เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป ระบบบำบัดน้ำเสีย (Waste water Treatment Plant) มีความจำเป็นต่อโรงงานอุตสาหกรรมทุกๆแห่ง ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียเป็นของโรงงานโดยเฉพาะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของชนิดโรงงานและขนาดของโรงงาน โดยระบบบำบัดน้ำเสียทั่วๆไปในประเทศไทยมีดังต่อไปนี้.- ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น 6 แบบ ได้แก่ 1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) แบบที่ 4 และแบบที่ 6 การลงทุนสูงและค่าเมนเทนแนนส์รายเดือนค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับโรงงาน โรงพยาบาล ชุดชุนขนาดใหญ่ที่มีน้ำเสียปริมาณมากๆ ส่วนระบบแบบอื่นการลงทุนไม่มาก แต่อาจใช้พื้นที่มากในบางระบบ ระบบลากูนแบบกลางแจ้งจะใช้พื้นที่มาก ทุกๆระบบที่กล่าวมาล้วนต้องการออกซิเจนเข้าไปทำปฏิกิริยาในระบบ เพราะจุลินทรีย์ที่ใช้ในระบบเป็นแบบใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย อีกทั้งน้ำก็ต้องการออกซิเจนเพื่อให้เป็นน้ำดี เพราะถ้าค่าออกซิเจนในน้ำต่ำกว่า 3 ( ค่า DO < 3 )ก็จะเป็นน้ำเสียถึงน้ำจะมีสีใสก็ตาม ยังถือว่าเป็นน้ำเสียอยู่ ดังนั้น ออกซิเจนในน้ำจึงมีความสำคัญมาก น้ำดีหรือน้ำเสียจึงดูค่า DO เป็นจุดหลัก ส่วนค่าพารามิเตอร์ตัวอื่นๆเป็นส่วนประกอบที่สำคัญไล่เลี่ยกันไป ของเสียและน้ำเสียในบางหน่วยงานจะค่อนข้างวิกฤตในปัจจุบัน เพราะของเสียมากขึ้น น้ำเสียเพิ่มมากขึ้น จนระบบย่อยสลายและบำบัดไม่ทัน จึงเกิดการเน่าเหม็นส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งทำให้รู้ว่าระบบนั้นมีปัญหาในเรื่องของปริมาณจุลินทรีย์ในระบบนั้นๆมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง ทางออกคือการเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เข้าไปในระบบให้เพียงพอหรือมากกว่าปริมาณของเสียและน้ำเสีย การเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาทำได้ค่อนข้างยาก ยกเว้นระบบ AS และ RBC สามารถทำได้โดยระบบของมันเอง แต่ก็อย่างว่า ถ้าสองระบบนี้เกิดชำรุดหรือเสียขึ้นมา ก็ไม่มีจุลินทรีย์อยู่ในระบบหรือมีแต่ปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย สิ่งที่ติดตามมาก็คือ น้ำเสียเริ่มส่งกลิ่นเน่าเหม็นมากยิ่งขึ้น แล้วจะทำอย่างไร? ทางออกของปัญหานี้ก็คือ เติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( จุลินทรีย์อีเอ็ม)เข้าไปในระบบให้มากหรือเพียงพอกับปริมาณของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มจะไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำมาทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายต้องอาศัยออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นทุกๆครั้งตลอดเวลา ถ้าน้ำเสียนั้นมีออกซิเจนละลายอยู่น้อยหรือแทบไม่มีเลย ( น้ำเสียวิดฤตมาก )ปัญหาที่ตามมาก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทำงานย่อยสลายของเสียในน้ำนั้นได้ แต่ขณะเดียวกันกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม )สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที ออกซิเจนไม่มีความจำเป็นกับกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มกลุ่มนี้ ดังนั้น น้ำเสียที่วิกฤตมากๆ ( ออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียนั้นมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย ) จุลินทรีย์อีเอ็มจึงสามารถทำงานทดแทนย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที ประสิทธิภาพไม่ค่อยแตกต่างกันจากจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน จึงเป็นทางเลือกในปัจจุบันที่จะนำจุลินทรีย์อีเอ็มมาเสริมประสิทธิภาพการย่อยสลายในระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียและการย่อยสลายของเสียมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียบอกอะไรได้บ้าง ? ค่าพารามิเตอร์ ( Parameter ) คือ ตัวกำหนดชี้วัดค่าของน้ำเสียและคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งต่างๆ มีความสำคัญต่อระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อมต่อไป สำหรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ควรรู้ในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสียมีดังต่อไปนี้.- - pH แสดงความเป็นกรด-ด่าง - BOD ( บีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมี ( ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ) มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - COD ( ซีโอดี ) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในกระบวนการทางเคมีย่อยสลายสารอินทรีย์ มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - ค่า TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l ) - FOG น้ำมันและไขมัน (Fat , Oil and Grease) - ค่า F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - ค่า DO ( Dissolved Oxygen ) หมายถึง ค่าของปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ - TS หรือปริมาณของแข็งทั้งหมด (Total Solids : TS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) - TDS ค่าสารที่ละลายได้ทั้งหมด (Total Dissolved Solid) - S ค่าซัลไฟต์ (Sulfide) - ค่าตะกอนหนัก (Settleable Solids) - TOC (Total Organic Carbon) คือค่าอินทรีย์คาร์บอนรวม หมายถึงสารอินทรีย์(ที่พื้นฐานมีคาร์บอน) ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในน้าเสียนั้นๆ สารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำนั้น ค่า pH คือ อะไร? ค่า pH เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรด-เบส หรือกรด-ด่าง ของสารที่อยู่ในวัตถุต่างๆ โดยค่า pH จะอยู่ในช่วง 1-14 ถ้าค่า pH น้อยกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นกรด และถ้าค่า pH มากกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นเบสหรือด่าง แต่ถ้าค่า pH นั้นมีค่าเท่ากับ 7 สารชนิดนั้นเป็นกลางหรือที่เรียกว่า pH balance หรือไม่เป็นกรดหรือเบส( ด่าง ) ค่า pH มีความสำคัญอย่างไร? ค่า pH ( พีเอช ) เป็นเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำหรือน้ำเสีย ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องการการดำรงชีพของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัด ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียมีวัตถุประสงค์เดียวกันทั้งหมดก็คือ ต้องการดึงปริมาณจุลินทรีย์ในธรรมชาติมาใช้งานบำบัดน้ำเสียให้ได้มากที่สุด ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะกำรงชีพอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมคือ ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำเสียนั้นอยู่ในระหว่าง 6 - 8 ( ค่า pH ประมาณ 6-8 ) ถ้าค่า pH น้อยมากๆหรือสูงมากๆ จุลินทรีย์ก็ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ ( ตายยกบ่อ ) นี่คือความสำคัญของค่าพารามิเตอร์ที่ชื่อ pH Meter ดังนั้น จึงต้องคอนโทรลค่า pH ในบ่อบำบัดให้อยู่ในช่วง 6-8 ซึ่งแล้วแต่มาตรฐานน้ำทิ้งของแต่ละแห่ง อธิบายค่าพารามิเตอร์แต่ละตัวว่ามีความหมายอย่างไร ? ค่า BOD คืออะไร? BOD ( Biochemical Oxygen Demand ) หมายถึง ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์สารที่มีอยู่ในน้ำ ค่า BOD มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร หรือมิลลิกรัมของอ๊อกซเจนต่อน้ำ 1 ลิตร ค่า BOD ถูกนำมาเป็นค่าพารามิเตอร์ตัวหนึ่งเพื่อบ่งบอกถึงคุณภาพของน้ำว่าเป็นน้ำดีหรือน้ำเสีย ซึ่งใช้กันมากในอุตสาหกรรมการบำบัดน้ำเสีย ถ้าค่า BOD สูง ( ปนเปื้อนสารอินทรีย์ในน้ำมาก )แสดงว่าน้ำนั้นต้องการออกซิเจนจำนวนมากเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ในน้ำ ( จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) แสดงว่าน้ำนั้นมีคุณภาพไม่ดี ( น้ำเสียค่า BOD เกิน 100 ขึ้นไป ) ซึ่งตรงข้ามกับค่า BOD ต่ำ แสดงว่าน้ำนั้นมีคุณภาพดีหรือน้ำดีนั่นเอง ( สารอินทรีย์ปนเปื้อนในน้ำนั้นมีน้อย น้ำที่มีคุณภาพดี BOD <=6 ) น้ำเสียวิกฤตมากหรือน้อยดูที่ค่า บีโอดี ( BOD ) และค่า DO เป็นเกณฑ์ ขยายความหมายของค่า BOD น้ำที่มีคุณภาพดี ควรมีค่าบีโอดี ไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าค่าบีโอดีสูงมากแสดงว่าน้ำนั้นเน่าเสียมาก แหล่งน้ำที่มีค่าบีโอดีสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตรจะจัดเป็นน้ำเน่าหรือน้ำเสีย พระราชบัญญัติน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดไว้ว่า น้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องมีค่าบีโอดีไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร การหาค่าบีโอดี หาได้โดยใช้แบคทีเรียย่อยสลายอินทรีย์สารซึ่งจะเป็นไปช้า ๆ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลานานหลายสิบวัน ตามหลักสากลใช้เวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส แต่ในปัจจุบันมีเครื่องวัดค่า BOD ที่เป็นระบบดิจิตอลที่ทราบผลได้ทันที วัดค่าเวลาใดก็สามารถทราบค่าทันที ค่า COD คืออะไร? COD (Chemical Oxygen Demand) คือ ความต้องการปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการออกซิไดซ์ย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) ในปริมาณมากเกินพอ ในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อยสลายได้และย่อยสลายไม่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน โดยทั่วไปส่วนใหญ่ค่า COD จะมีค่ามากกว่า BOD เสมอ ดังนั้นค่า COD จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญอีกตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสียว่าสกปรกมากน้อยแค่ไหน ค่า DO คืออะไร? DO (Dissolved Oxygen) คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำเสียทุกๆแห่งล้วนมีความต้องการออกซิเจน (aerobic bacteria) ในการย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ความต้องการออกซิเจนของแบคทีเรียนี้จะทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำนั้นๆลดลง เนื่องจากจุลินทรีย์ดึงออกซิเจนไปใช้ในปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ดังนั้นในน้ำที่สะอาดจะมีค่า DO สูง และน้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำ ( ค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm.) มาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดีโดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 ppm หรือปริมาณ O2 ละลายอยู่ปริมาณ 5-8 มิลลิกรัม / ลิตร หรือ 5-8 ppm น้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm ค่า DO มีความสำคัญในการบ่งบอกว่าแหล่งน้ำนั้นมีปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อความต้องการของสิ่งมีชีวิตในน้ำนั้นหรือไม่ TS ( total solids ) คือ ปริมาณของแข็งที่อยู่ในน้ำทั้งหมด เป็นตัวบ่งชี้ว่าในน้ำเสียนั้นๆมีของแข็งละลายหรือเจือปนอยู่มากน้อยเท่าใด ซึ่งจะส่งผลถึงค่า BOD และ BOD โดยตรง TDS ( Total Dissolved Solids ) ของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำทั้งหมด ปริมาณของแข็งรวมทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ทั้ง SS ( Suspended Solids ) ของแข็งแขวนลอย และ ค่าตะกอนหนัก (Settleable Solids)ในน้ำเสีย SS ( Suspended Solids ) คือของแข็งแขวนลอยที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร( mg/l ) FOG น้ำมันและไขมันที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย (Fat , Oil and Grease) F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l ) S ค่าซัลไฟต์ (Sulfide) ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย
ทำไมน้ำเสียจากที่ต่างๆต้องมีการกำหนดค่าต่างๆขึ้นมา ? แหล่งของน้ำเสียแต่ละแหล่งมีค่ามาตรฐานไม่เหมือนกัน เช่น น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ค่ามาตรฐานจะเป็นอีกค่าหนึ่ง กรณีน้ำเสียจากอาคารสถานที่ต่างๆจะเป็นอีกค่าหนึ่งเป็นต้น แต่ทั้งหมดทั้งมวลไม่ว่าน้ำเสียมาจากแหล่งใดๆก็ตาม ตัวชี้วัดค่าน้ำเสียหรือพารามิเตอร์จะมีหลายตัวชี้วัดด้วยกัน เช่น ค่า pH , COD , BOD , SS , DTS , DO ฯลฯ เป็นต้น ในที่นี้จะขอยกมาอธิบายให้ท่านได้เข้าใจในบางค่าพารามิเตอร์ที่ทั่วๆไปกล่าวถึงในเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ว่าในน้ำดีหรือน้ำเสียจะมีการกำหนดค่าพารามิเตอร์ต่างๆไว้เป็นมาตรฐานของทางราชการ ค่าพารามิเตอร์เหล่านี้เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันอย่างไรกับจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย? ทั้งค่า BOD, COD, DO ล้วนเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่และปริมาณจุลินทรีย์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่ต้องใช้ออกซิเจในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทุกประเภท ถ้าค่าพารามิเตอร์แต่ละค่ามีค่าเกินหรือมากไปหรือน้อยไป ล้วนส่งผลต่อจุลินทรีย์ทั้งสิ้น เพราะจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กก็จริง แต่ก็สามารถตายหรือสลายได้ ถ้ามีปัจจัยทำให้เกิดการตายหรือเส่อมสลายไป ปัจจัยที่มีผลต่อจุลินทรีย์ก็คือปริมาณออกซิเจนนั่นเอง ซึ่งค่าพารามิเตอร์เป็นส่วนบ่งชี้ถึงปัจจัยนี้ เช่น ถ้าค่า DO ในน้ำมีน้อยมากหรือไม่มีเลย แสดงว่าน้ำนั้นเน่าเสียวิกฤตมาก จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำนั้นได้ ดังนั้น ทางออกในการแก้ปัญหานี้จึงต้องพึ่งจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม )เข้าไปทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนั้น ทดแทนจุลินทรีย์แบบที่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์ทั้งสองแบบนี้ ( จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนและจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน )สามารถทำงานย่อยสลายของเสียร่วมกันได้ดี จึงเป็นที่มาของการนำจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนมาบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ จุลินทรีย์อีเอ็มทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆได้ดีทั้งในสภาวะที่ไร้อากาศออกซิเจนและสภาวะที่มีออกซิเจน ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ กับคำถามที่ยังค้างคาใจหลายๆท่านที่ว่า ทำไมต้องใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย หรือมีความจำเป็นอย่างไรถึงต้องใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย? ไม่ใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียไม่ได้หรือ? มีสิ่งอื่นหรือสารอื่นมาทดแทนจุลินทรีย์มีไหม? มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนถ้าไม่ใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย ? ต่อไปนี้ท่านจะเข้าใจจุลินทรีย์มากขึ้น รายละเอียดของคำตอบจากคำถามข้างบนมีดังต่อไปนี้ ในบรรดาของเสียทุกๆอย่างทุกๆชนิดบนโลกใบนี้ ซึ่งรวมถึงน้ำเสียด้วย จะถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์ย่อยสลายที่มีอยู่ตามธรรมชาติ การย่อยสลายของเสียและการบำบัดของเสียเป็นหน้าที่โดยตรงของจุลินทรีย์ย่อยสลายก็ว่าได้ ของเสียจะถูกย่อยสลายให้เป็นโมเลกุลเล็กลงเรื่อยๆ ของเสียบางอย่างอาจจะใช้เวลาย่อยสลายน้อย แต่ของเสียบางอย่างอาจใช้เวลาย่อยสลายเป็นร้อยๆปีก็มี เช่น จำพวกพลาสติกและสารเคมีบางชนิดก็ล้วนแต่เป็นผลงานของจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ดังนั้น ของเสียที่อยู่ในบ่อเกรอะ ของเสียและน้ำเสียที่อยู่ในบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นก็จะถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในบ่อเกรอะและบ่อบำบัดนั้นๆ ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ย่อยสลายแล้วหรือจุลินทรีย์ย่อยสลายมีน้อยปัญหาต่างๆก็จะติดตามมา เช่น ปัญหาในเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ น้ำเสียมีภาวะวิกฤตมากขึ้น น้ำเน่าเหม็นมากขึ้น สร้างทั้งมลพิษทางอากาศและมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดที่ต้องการน้ำเสีย ทั้งพืชและสัตว์ก็อยู่ไม่ได้ถ้าได้รับน้ำเสียเข้าไป นี่ก็คือ ความสำคัญของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียนั่นเอง ถ้าไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียกลุ่มนี้ทำงาน โลกใบนี้ของเสียต่างๆก็คงล้นโลกไปนานแล้ว เพราะมนุษย์สร้างของเสียขึ้นในแต่ละวันในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามวิวัฒนาการของโลก ในการบำบัดน้ำเสียก็เช่นกัน ในบางกรณีอาจใช้สารเคมี แต่กระบวนการย่อยสลายขั้นสุดท้ายจริงๆก็หนีไม่พ้นจุลินทรีย์ย่อยสลายอยู่ดี นี่คือความจำเป็นและความสำคัญของจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์กับมนุษย์ชาติบนโลกใบนี้ จุลินทรีย์บนโลกนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มดังต่อไปนี้ .- 1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือให้ประโยชน์ในหลายๆด้าน 2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลาง ซึ่งเข้าทำงานกับกลุ่มจุลินทรีย์กลุ่มใดก็ได้ทั้งหมด ( กลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 3 ) 3. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีโทษหรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้โทษ หรือที่เป็นเชื้อโรค เป็นกลุ่มที่สร้างปัญหาโดยตรง เป็นที่ทราบกันแล้วว่า น้ำเสียและของเสียต่างๆทั้งหมดทั้งมวลจะถูกบำบัดและย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ย่อยสลาย ดังนั้นในบ่อบำบัดน้ำเสียจึงขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายไม่ได้เลย ถ้าปราศจากจุลินทรีย์หรือมีปริมาณจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดน้ำเสียมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย ปัญหาหลายๆอย่างก็จะติดตามมาทันที ทั้งปัญหาในเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ มลภาวะและมลพิษต่างๆ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดน้ำเสียนั่นเอง ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบจะลงทุนมากมหาศาลหรือลงทุนน้อยเพียงใดก็ตาม จุดประสงค์ของการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียก็คือ ต้องการดึงจุลินทรีย์ย่อยสลายในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนั่นเอง ในธรรมชาติจะมีจุลินทรีย์หลากหลายกลุ่มกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปไม่เป็นระเบียบ การจะดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายเหล่านี้มาใช้ประโยชน์จึงต้องสร้างระบบขึ้นมาให้มันรวมกลุ่มอยู่ในแหล่งเดียวกัน เพื่อทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ สารเคมีบางชนิดอาจทำลายจุลินทรีย์ได้ โดยเฉพาะสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเบสแก่ๆจะทำให้จุลินทรีย์ตายได้ง่ายๆ จุลินทรีย์บางกลุ่มอยู่ได้และทำงานได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศ ( จุลินทรีย์อีเอ็ม) การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆต้องใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆยังจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้. - 1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพเจริญเติบโต
2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ใช้วิธีการแลกอิเล็คตรอนกับสารประกอบต่างๆ ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น การดับกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง จุลินทรีย์คาซาม่าจะเข้าไปกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นเหล่านี้ รวมทั้งการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา คุณสมบัติของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายกลุ่มดังต่อไปนี้ การสังเคราะห์จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโชน์และมีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria) 2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria) 3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria) จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นประเภทใดได้บ้าง? จุลินทรีย์หอม-kasama ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ ( สารที่มาจากพืชและสัตว์ ) 2. กลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ กลิ่นเหม็นส้วม กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ 3. กลิ่นเหม็นจากปัสสาวะและอุจจาระทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด 4. กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากการเก็บของเสียต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นมา 5. กลิ่นคาวเลือดหรือคาวปลาในโรงงานเชือดไก่ เชือดสุกร หรือโรงงานเชือดปลา เป็นต้น 6. กลิ่นจากบ่อขยะ หรือกลิ่นจากถังขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ 7. กลิ่นเหม็นจากท่อระบายน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็นจากน้ำที่เน่าเสีย 8. กลิ่นเน่าเหม็นจากไขมัน จากบ่อดักไขมันตามร้านอาหารหรือโรงอาหาร เป็นต้น 9. กลิ่นเหม็นจากการหมักพืชและสัตว์ 10. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด กลิ่นใดที่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าดับไม่ได้หรือกำจัดกลิ่นไม่ได้ ? กลิ่นที่เกิดขึ้นจากสารเคมีจำพวกกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์ทำลายหรือกัดกร่อนสูง
มีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียด้อยประสิทธิภาพ ต้องการแก้ปัญหาบ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่.. จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการดับกลิ่นบำบัดกลิ่น ดูหัวข้อที่สนใจ กดดูที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/ดับกลิ่นส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/วิธีแก้ห้องน้ำมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ปัญหากลิ่นในห้องน้ำมาจากอะไร ? คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมบำบัดกลิ่น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นคาวปลา ดับกลิ่นคาวเลือด คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน คลิกดูข้อมูลที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บ่อเกรอะ/จุลินทรีย์ใส่บ่อเกรอะ คลิกดูที่นี่.. การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะ(บ่อส้วม) คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกๆชนิด คลิกที่นี่..
[ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ คลิกดูที่นี่..]
|