จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้บรรจุกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง สำหรับลดค่า TKN โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสีย (((( ดูวิธีการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ชีวภาพ ดูที่นี่....)))))))))
ReadyPlanet.com
bulletใบเสนอราคาจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletห้องน้ำเหม็นตอนฝนตก/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรงช่วงหน้าฝน
bulletวิธีการแก้ปัญหากลิ่นห้องน้ำโชยเข้าห้องนอน
bulletห้องน้ำเหม็นมากๆส้วมเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
bulletวิธีทำความสะอาดห้องน้ำ/ส้วมให้มีกลิ่นหอม
bulletดับกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ/บำบัดกลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ
bulletเทคนิคการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่น/บำบัดน้ำเสีย
bulletดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น
bulletดับกลิ่นเหม็นบ่อเกรอะ
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/ กลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletประโยชน์ของการเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายลงไปในบ่อเกรอะ
bulletจุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะ
bulletกลิ่นเน่าเหม็นจากบ่อเกรอะแก้อย่างไร?
bulletจำหน่ายอีเอ็มดับกลิ่น/อีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำส่งกลิ่นแรง
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำมาจากจุดใด?
bulletวิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็นส้วมเหม็นด้วยจุลินทรีย์-Kasama
bulletจุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย-KASAMA
bulletวิธีดับกลิ่นส้วม/วิธีดับกลิ่นส้วมเหม็น
bulletท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น
bulletการใช้จุลินทรีย์-Kasama ทำความสะอาดห้องน้ำปั๊มน้ำมัน
bulletวิธีดับกลิ่นท่อน้ำทิ้ง/วิธีดับกลิ่นท่อระบายน้ำทิ้ง
bulletของเสียในห้องน้ำห้องส้วม
bulletวิธีดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ
bulletกลิ่นเหม็นห้องน้ำ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่น ซื้อที่ไหน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ ซื้อที่ไหน
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ลดกลิ่นห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นเหม็นท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ
bulletดับกลิ่นห้องน้ำ/ดับกลิ่นส้วม
bulletการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายทำความสะอาดห้องน้ำ
bullet(( การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมและอพาร์ทเม้นท์ ))
bulletการบำบัดน้ำเสียในหมู่บ้านด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการดูแลบ่อเกรอะไม่ให้ส่งกลิ่นรบกวน
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นน้ำเน่าเสียดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็น
bulletจำหน่ายอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย
bulletอีเอ็มดับกลิ่น
dot
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสีย
dot
bulletจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletจุลินทรีย์อีเอ็ม( EM )
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในห้องน้ำห้องส้วม
bulletห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็น
bulletวิธีแก้ห้องน้ำเหม็น
bulletส้วมเหม็น ทำไงดี?
bulletส้วมเหม็น ทำอย่างไร?
bulletกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
bulletชักโครกมีกลิ่นเหม็นมีวิธีแก้ไข
bulletท่อน้ำทิ้งมีกลิ่น
bulletห้องน้ำคอนโดมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำโรงแรมมีกลิ่นเหม็น/ห้องน้ำอพาร์ทเม้นท์มีกลิ่นเหม็น
bulletการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ในการดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในตลาดสด
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดของเสียในร้านอาหารและภัตตาคาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มในโรงพยาบาลและคลีนิก
bulletการทำงานของจุลินทรีย์
bulletประโยชน์ของจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletการใช้จุลินทรีย์ให้ได้ผลดี
bulletความเข้าใจในการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นต่างๆ
bulletวิธีการกำจัดกลิ่นเหม็นด้วยจุลินทรีย์
bulletการแก้ปัญหาน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย
dot
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
dot
bulletน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย น้ำท่วม
bulletem บำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีบำบัดน้ำเสีย
bulletการบำบัดน้ำเสีย
bulletวิธีการบำบัดน้ำเสีย
bulletน้ำเสียและการบําบัดน้ำเสียแบบง่ายๆ
bulletอีเอ็มบำบัดน้ำเสีย/อีเอ็มดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม
bulletการใช้จุลินทรีย์กำจัดไขมันในโรงอาหาร
bulletการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มดับกลิ่นในไซท์งานก่อสร้าง
dot
การใช้จุลินทรีย์ในส่วนอื่นๆ
dot
bulletกลิ่น / กลิ่นไม่พึงประสงค์
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข : น้ำยาดับกลิ่นสุนัข
bulletกลิ่นสุนัข/กลิ่นสัตว์เลี้ยง
bulletวิธีกําจัดกลิ่นสุนัข/วิธีกำจัดกลิ่นสัตว์เลี้ยงด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นทุกชนิด
bulletการกำจัดกลิ่นห้องน้ำด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม
bulletส้วมเหม็น / ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น/กลิ่นส้วม
bulletห้องน้ำเหม็นอับ
bulletจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ / ห้องส้วม
bulletส้วมเต็มง่าย
bulletส้วมมีกลิ่น / ห้องน้ำมีกลิ่น/ กลิ่นส้วม
bulletการเก็บรักษาจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletปัญหาการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วม/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นอย่างไรจึงจะได้ผล ?
dot
= การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ =
dot
bulletดับกลิ่นในห้องน้ำและห้องนอนด้วยจุลินทรีย์ดับกลิ่น
bulletการใช้จุลินทรีย์ทะลวงในท่อที่อุดตัน
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นในสวนสัตว์
bulletการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข
bulletสารพัดประโยชน์จากจุลินทรีย์
bulletการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ประจำวัน
bulletการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ในบ้าน
bulletจำหน่ายจุลินทรีย์ดับกลิ่น/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
bulletทำไมต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย?
bulletการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
bulletแผนผังเว็บไซต์
bulletไทยรัฐ
bulletเดลินิวส์
bulletคมชัดลึก
bulletแนวหน้า
bulletบริหารจัดการ
bulletLoGo
bulletHotmail
bulletYahoo
dot
ธนาคาร
dot
bulletกรุงเทพ
bulletกสิกร
bulletThailandservices
bulletYoutube
bulletแปลงไฟล์
bulletFB
bulletGmail


มีปัญหาฟาร์มเป็ดส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ฟาร์มไก้ส่งกลิ่นเหม็นมากๆแก้ไขได้ง่ายๆ
บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น, แก้บ่อเกรอะเหม็น, ห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็นทำอย่างไร? อยากรู้คลิกดูที่นี่..
ดับกลิ่นสุนัข, ดับกลิ่นฟาร์มสุนัข, ดับกลิ่นคอกสุนัข, ดับกลิ่นกรงสุนัข, ดับกลิ่นมูลสัตว์เลี้ยง, ดับกลิ่นมูลสุนัข, ดับกลิ่นสัตว์เลี้ยง
ฟาร์มสุกรส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มหมูส่งกลิ่นเหม็น, ฟาร์มสัตว์เลี้ยงส่งกลิ่นเหม็น, กลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, แก้ปัญหากลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มหมู, ดับกลิ่นฟาร์มสัตว์เลี้ยง,
ห้องน้ำเหม็น, ส้วมเหม็น, จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น, จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, จุลินทรีย์อีเอ็ม, จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง, อีเอ็ม, จำหน่ายอีเอ็ม, จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ขายอีเอ็ม, ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย, ดับกลิ่นส้วมเหม็น, บำบัดน้ำเ


วิธีการบำบัดน้ำเสีย

                       

วิธีการบำบัดน้ำเสียมากหลากหลายวิธีด้วยกัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวิธีการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มเป็นหลัก

น้ำเสียเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งจากฝีมือของมนุษย์เองและจากธรรมชาติสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด โดยเฉพาะน้ำเสียที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ แต่ละคนผลิตน้ำเสียในทุกๆวันบนโลกนี้ การผลิตน้ำเสียเริ่มต้นจากภายในบ้านจะเกิดขึ้นทุกๆวัน และน้ำเสียเหล่านี้นอกจากซึมลงสู่พื้นโลกแล้วยังถูกปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม เมื่อน้ำเสียจำนวนมากที่แต่ละคนผลิตขึ้นในแต่ละวันออกสู่สิ่งแวดล้อมจำนวนมากในทุกๆวัน ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมเสียหายเกิดเป็นมลพิษขึ้น ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบคือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้กับสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ไม่มีเว้นแม้กระทั่งมนุษย์ผู้ที่สร้างหรือผลิตน้ำเสียเองก็ได้รับผลกระทบเต็มๆ

  

เมื่อเกิดน้ำเสียขึ้นต้องทำอย่างไร? 

อาจจะเป็นจิตสำนึกของผู้ที่รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองได้กระทำให้เกิดน้ำเสียขึ้น การที่จะทำน้ำเสียให้กลับกลายเป็นน้ำดีนั้นสามารถทำได้ ด้วยการบำบัดด้วยจุลินทรีย์ ทั้งประเภทใช้อากาศและไม่ใช้อากาศในการย่อยสลายน้ำเสียให้กลายไปเป็นน้ำดี ในธรรมชาติก็มีการย่อยสลายของจุลินทรีย์เหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่ปริมาณของจุลินทรีย์อาจมีน้อยกว่าปริมาณของน้ำเสีย เลยทำให้น้ำเน่าเสียเกิดขึ้นได้ ดังนั้น จึงต้องมีการสังเคราะห์จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายน้ำเน่าเสียเหล่านี้ขึ้นมาให้มากพอกับปริมาณน้ำเน่าเสียที่เกิดขึ้น 

 การจัดการน้ำเสียและวิธีการบําบัดน้ำเสียแบบง่ายๆ 

ด้วยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ( จุลินทรีย์อีเอ็ม ) จุลินทรีย์ชนิดนี้จะถูกสังเคราะห์ขึ้นจากหัวเชื้อเริ่มต้น เพื่อขยายให้มีปริมาณของจุลินทรีย์มากขึ้น แล้วนำไปใช้ในการย่อยสลายน้ำเน่าเสียที่เกิดขึ้น โดยการเทปริมาณจุลินทรีย์อีเอ็มลงในน้ำเสียให้มากพอกับปริมาณน้ำเสีย สามารถเติมจุลินทรีย์อีเอ็มมากได้ แต่ไม่ควรเติมน้อยจนเกินไป เพราะการย่อยสลายอาจไม่ทั่วถึงและไม่สมบูรณ์ ต้องเติมจุลินทรีย์อีเอ็มให้ได้เท่ากับหรือมากกว่าปริมาณของน้ำเสียที่เกิดขึ้น จึงจะเอาชนะน้ำเสียได้ และถ้าจะให้ดีที่สุด เมื่อทำการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มย่อยสลายน้ำเสียเรียบร้อยแล้ว ควรเติมอากาศลงในน้ำที่ผ่านการบำบัดด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มก่อนที่จะปล่อยน้ำเหล่านี้ออกสู่สิ่งแวดล้อมหรือสาธารณะ เพื่อให้เป็นน้ำดีมีคุณภาพเหมาะต่อการใช้งานหรืออุปโภคบริโภคของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำต่อไป การบําบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มเป็นการบำบัดที่ใช้ต้นทุนค่อนข้างถูกและได้ผลดีมากที่สุด การบำบัดน้ำเสียมีหลากหลายวิธี แต่ทุกๆวิธีหรือทุกๆระบบของการบำบัดน้ำเสียจุดสำคัญที่เหมือนกันทั้งหมดก็คือ การดึงจุลินทรีย์ในธรรมชาติมารวมกันให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ย่อยน้ำเสียที่เกิดขึ้นออกมาเป็นน้ำดีให้ได้มากที่สุด เพียงแต่ระบบใดจะมีประสิทธิภาพในการดึงจุลินทรีย์ในธรรมชาติได้มากกว่ากัน และใช้งบประมาณประหยัดกว่ากัน 

วิธีการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม 

น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมทั่วๆไปมาจาก 2 แหล่ง คือน้ำทิ้งจากห้องน้ำห้องส้วม ถ้าโรงงานใดมีพนักงานจำนวนมากน้ำเสียในส่วนนี้ก็จะมากตามไปด้วย ส่วนแหล่งที่สองของน้ำเสียในโรงงานก็คือน้ำเสียที่มาจากขบวนการผลิตสินค้าและส่วนอื่นๆ มีโรงงานจำนวนน้อยที่ทำการแยกน้ำเสียทั้ง 2 ส่วนนี้ออกจากกัน ซึ่งส่วนมากจะนำน้ำเสียในแต่ละจุดมารวมกันแล้วค่อยบำบัดน้ำเสียนั้นในภายหลัง  ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละโรงงานอาจจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพการใช้งานมากน้อยหรือปริมาณน้ำเสียที่มากน้อยแตกต่างกันรวมถึงปัจจัยที่มาของน้ำเสียว่าน้ำเสียนั้นมาจากอะไร ซึ่งในบางโรงงานที่ผลิตสารเคมีหรือผลิตสินค้าอื่นๆแต่ต้องใช้สารเคมีเข้าร่วมในการผลิตสินค้านั้นๆทำให้เกิดน้ำเสียที่มีสารเคมีปนเปื้อน การบำบัดน้ำเสียประเภทนี้ก็ต้องใช้ระบบบำบัดที่ออกแบบมาเฉพาะทาง 

ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆทั่วไปสามารถนำจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้เป็นอย่างดี  แต่ของเสียจากโรงงานต้องเป็นอินทรีย์วัตถุหรือสารเคมีที่ไม่มีอันตรายใดๆต่อสิ่งมีชีวิตและสามารถย่อยสลายได้ง่าย ดังนั้นจะเห็นว่าในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานด้วยจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจะมีข้อจำกัดในเรื่องลักษณะของเสีย ข้อดีของการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมนอกจากลงทุนต่ำแล้วยังไม่ต้องเสียค่าเมนเทนแน้นท์รายเดือนเหมือนระบบอื่นการดูแลรักษาก็ทำได้ง่ายกว่า ปลอดภัยกว่า การออกแบบระบบก็ไม่สลับซับซ้อน การออกแบบระบบในการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียควรออกแบบระบบให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการทำงานของจุลินทรีย์จึงจะได้ผลอย่างเต็มที่ แต่ถ้าการออกแบบไม่สอดคล้องหรือไม่เหมาะสมระบบก็อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
    การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม ก่อนอื่นควรเลือกจุลินทรีย์ที่เหมาะสมที่ออกแบบเฉพาะมาเพื่อบำบัดน้ำเสีย เพราะโรงงานส่วนใหญ่น้ำเสียในบางโรงงานจะอยู่ในขั้นวิกฤต ดังนั้นการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจึงควรเป็นชนิดที่เข้มข้นสูงเหมาะสำหรับใช้บำบัดน้ำเสียในโรงงาน ไม่ควรใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียสำหรับใช้ในการเกษตร เพราะจะทำให้การบำบัดน้ำเสียไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
      เรายินดีที่จะแนะนำและให้คำปรึกษาในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ในกรณีเป็นลูกค้าประจำของเรา เนื่องจากระบบบำบัดน้ำเสียมีหลายระบบด้วยกัน ดังนั้นผู้ประกอบการควรเลือกระบบที่เหมาะสมกับตัวเอง งบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะติดตามมา การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียต้นทุนจะถูกกว่าวิธีอื่นๆ และมีประสิทธิภาพสูง การบำบัดน้ำเสียไม่ว่าจะใช้ระบบใดก็ตาม ล้วนมีเรื่องของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ทั้งประเภทที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน เพียงแต่ต้นทุนการผลิตและการบำบัดรวมไปถึงการดูแลรักษาจะแตกต่างกันมาก การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่ไม่ต้องการอากาศออกซิเจนใช้งานง่าย การดูแลและรักษาก็ง่ายๆ ต้นทุนการผลิตก็ต่ำ

    
  จุดเด่นๆของการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์แบบไม่ใช้ออกซิเจนบำบัดน้ำเสีย

1. สามารถเพิ่มความเข้มข้นหรือปริมาณของจุลินทรีย์ได้ง่าย
2. การบำบัดด้วยจุลินทรีย์ชนิดนี้ทำได้ง่าย
3. ต้นทุนถูก
4. ได้ผลหรือเห็นผลรวดเร็ว ถ้าใช้ถูกจุด
4. ไม่มีค่าเมนเทนแนนส์รายเดือน
5. บริหารจัดการได้ง่าย

 

  โรงงานส่วนมากยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องของการนำจุลินทรีย์ไปบำบัดน้ำเสีย ซึ่งส่วนมากจะเข้าใจว่าใช้จุลินทรีย์ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ และใช้เพียงครั้งเดียงก็พอแล้ว ในความเป็นจริง เป็นความคิดที่ผิดถนัด ต้องเข้าใจว่าน้ำเสียของโรงงานเกิดขึ้นในทุกๆวัน ดังนั้นการบำบัดน้ำเสียต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ส่วนขั้นตอนจะวางระบบบำบัดอย่างไร ต้องดูจากการวางระบบหรือน้ำเสียผ่านของแต่ละแห่ง พิจารณาเป็นกรณีไป

 

     กรณีที่โรงงานใดใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเป็นประจำหรือใช้บ่อย  ขอแนะนำวิธีประหยัดซึ่งจะทำให้โรงงานประหยัดงบประมาณในการลงทุนบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์บำบัดได้อย่างมหาศาลยิ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่จะประหยัดได้ปีละหลายล้านบาท  วิธีดังกล่าวที่จะแนะนำคือเราจะสอนให้โรงงานผลิตจุลินทรีย์ขึ้นมาใช้เองได้ที่โรงงานเลย โดยเราจะเป็นผู้สอนและให้คำแนะนำปรึกษาฟรีๆ โดยมีเงื่อนไขคือซื้อหัวเชื้อในการผลิตจากเราอย่างต่อเนื่องและเงื่อนไขอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงงานของท่านประหยัดและมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์บำบัดอย่างเต็มรูปแบบ

  การบำบัดน้ำเสีย การบริหารจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพนั้น จุดหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การคอนโทรลค่าพารามิเตอร์ต่างๆของน้ำเสียและน้ำทิ้งในระบบ ต้องได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนด ซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้และความเชี่ยวชาญในระบบเป็นหลัก ที่นี่..เราแนะนำให้ลูกค้าของเราฟรีๆทุกๆท่าน 

ว่าด้วยกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ชีวภาพหรือการบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์

ในประเทศไทยระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีที่สมบูรณ์แบบนั้นหาได้ค่อนข้างยาก ( มีจำนวนน้อย ) ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหา ซึ่งต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขในบางจุดหรือหลายๆจุดด้วยกัน เพื่อให้ระบบสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถทำได้ วันนี้ท่านได้สำรวจและตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านว่ามีประสิทธิภาพดีพอหรือยัง ? ต้องแก้ไขและปรับปรุงส่วนใดบ้าง ? 

ที่มาของน้ำเสียเกิดขึ้นมาจากแหล่งใด ? 

น้ำเสียมีที่มาจากหลายๆแหล่งด้วยกัน แต่พอสรุปได้ง่ายๆ ดังนี้

- น้ำเสียจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นน้ำเสียที่เกิดขึ้นในธรรมชาติที่มีน้ำขังและมีสารอินทรีย์เจือปนเป็นเวลานานๆ 

- น้ำเสียที่เกิดจากฝีมือมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นมา ซึ่งน้ำเสียส่วนใหญ่มาจากการกระทำหรือกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะกิจกรรมหรือธุรกิจที่ก่อให้เกิดน้ำเสียจำนวนมากๆ จึงมีความจำเป็นต้องทำการบำบัดน้ำเสียเหล่านี้ให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะต่อไป น้ำเสียถือเป็นมลภาวะและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง ถ้าน้ำเสียวิกฤตมากๆ สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ทุกๆขนาดอยู่ไม่ได้ตายสถานเดียวเท่านั้น ดังนั้น เมื่อน้ำเสียมีการเกิดขึ้น ณ ที่ใดจึงมีกฎหมายบังคัญให้เจ้าของที่แห่งนั้นต้องทำการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีระดับหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อๆไป ซึ่งจะไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมส่วนรวม

ความสำคัญของจุลินทรีย์ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระะบบบำบัดน้ำเสีย 

ในการบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งและทุกๆระบบ ไม่ว่าน้ำเสียที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมา และไม่ว่าระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆจะลงทุนมากหรือลงทุนน้อยเพียงใดก็ตาม ทุกๆระบบที่สร้างขึ้นล้วนต้องใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสิ้นในการบำบัด ถึงแม้ในบางครั้งอาจใช้สารเคมีเข้าร่วมบำบัดด้วยในบางกรณี แต่กระบวนการย่อยสลายขั้นสุดท้ายก็มาจบลงที่จุลินทรีย์เหมือนเดิม น้ำเสียที่เกิดขึ้นในทุกๆแห่งล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆ รวมถึงการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ทั้งสิ้น ซึ่งเท่ากับจุลินทรีญืย่อยสลายเหล่านี้มีคุณประโยชน์ต่อโลกใบนี้ ช่วยพิทักษ์และรักษาไม่ให้ของเสียและน้ำเสียล้นโลกมาจนถึงปัจจุบันนี้

กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไปมีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่พอจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้

1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดใช้อากาศออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ( Aerobic  Bacteria )

2. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ( Anaerobic  Bacteria )

จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้จะทำหน้าที่บางอย่างคล้ายๆกัน นั่นก็คือ การทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้ดีเหมือนกัน ซึ่งสามารถนำมาทดแทนกันได้ เพื่อให้การย่อยสลายของเสียในน้ำเสียเป็นไปอย่างต่อเนื่องในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย

ประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ

กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ ( Bio waste Water Treatment ) สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามชนิดของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายของเสียที่เป็นสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ได้แก่

1. การบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศออกซิเจน (Aerobic wastewater treatment) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียสำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้ถ้าไม่มีออกซิเจน ( ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ) ก็ไม่สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพในน้ำเสียนั้นๆได้ น้ำก็จะเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ทางกายภาพและเช็คค่า BOD

2. การบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศออกซิเจน (Anaerobic wastewater treatment) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียสำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศออกซิเจนในการดำรงชีพและในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆ ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ( ค่า DO ) ไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ (ไม่มีการดึงออกซิเนในน้ำเสียไปใช้ ) ดังนั้น ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีปริมาณเท่าใดก็ยังคงมีปริมาณไม่ลดลง  

ในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่ง จากระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสองกลุ่มนี้เป็นหลัก ถ้าขาดหรือปราศจากจุลินทรีย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ( ในทั้งสองกลุ่มนี้ ) แล้ว น้ำเสียทั้งหมดก็จะไม่ได้รับการบำบัดให้เป็นน้ำดี น้ำเสียและของเสียต่างๆคงล้นโลกใบนี้ไปนานแล้ว นี้คือ กระบวนการต่างๆในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี

ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียด้วยการใช้จุลินทรีย์แบบคร่าวๆ ( ชนิดใช้ออกซิเจนเป็นหลัก )


ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ทั้งนี้ จุลินทรีย์แต่ละชนิดสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ต่างกัน เช่น โปรตีน ไขมัน เป็นต้น อย่างไรก็ดี องค์ประกอบสำคัญที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์คือก๊าซ Oxygen (O2โดยกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์จะได้ CO2 + น้ำ + พลังงาน  การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์และแสงแดดในบ่อ (Lagoon Treatment) แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนตามลำดับของการส่งน้ำ ได้แก่ จากบ่อพักให้ตกตะกอน (Sedimentation Pond) บ่อบำบัด (Oxidation Pond) และสิ้นสุดที่บ่อพักสุดท้าย (Polishing Pond) โดยมีบ่อพักให้ตกตะกอนจำนวน 1 บ่อ บ่อบำบัดจำนวน 3 บ่อ และบ่อพักสุดท้ายจำนวน 1 บ่อ ก่อนที่น้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วจะถูกปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ โดยจากการทดลองพบว่า การพักน้ำในบ่อจะใช้เวลาทั้งหมด 7 วัน เพราะหากนานกว่านั้นจะทำให้เกิดภาวะเน่าซ้ำซาก (nutrificationของน้ำจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ของจุลินทรีย์

 น้ำดีและน้ำเสียสามารถแบ่งแยกได้ด้วยการวัดระดับ BOD (Biochemical Oxygen Demand/Biological Oxidation Demand) ซึ่งเป็นปริมาณของ O2 ที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ อาทิ สารประกอบ Hydrocarbons (น้ำมันเชื้อเพลิง) แอลกอฮอล์ และน้ำตาล เป็นต้น ดังนั้น น้ำที่มีค่า BOD ต่ำคือ น้ำที่ดี เพราะจุลินทรีย์ต้องการ O2 จำนวนน้อยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่าค่า BOD จะต้องเท่ากับหรือไม่เกิน 20 mg/l (มิลลิกรัมต่อลิตร)
แต่น้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศยังไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธี ทั้งจากส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือนทั่วไป
 

 จะเริ่มต้นบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านอย่างไร ?

1. อันดับแรกให้ทำการตรวจสอบเช็คระบบทั้งหมดว่ายังใช้งานได้ดีอยู่หรือไม่ ? มีสิ่งใดที่มีปัญหาในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดแล้วทำการแก้ไขปัญหานั้นๆ เมื่อระบบต่างๆทุกๆส่วนไม่มีปัญหาแล้ว ให้ปฏิบัติในขั้นต่อไป 

2. อันดับต่อมาก็คือ การตรวจสอบหรือการเช็คค่าพารามิเตอร์น้ำเสียในระบบบำบัดและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการว่าได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดไว้หรือไม่ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อแรก ( น้ำเสียก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( น้ำเสียหลังการบำบัดแล้ว ) ซึ่งจะทำให้รู้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังบำบัด ( บ่อสุดท้าย ) จะทำให้ท่านรู้ว่าน้ำเสียในบ่อบำบัดของท่านผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งหรือไม่ ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพหรือไม่ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อสุดท้ายจะเป็นตัวชี้วัดระบบบำบัดน้ำเสียของท่านว่าผ่าน ( บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ )หรือไม่ผ่าน ( ล้มเหลว ) ถ้าไม่ผ่านก็ทำการแก้ไข โดยการปรึกษาผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย อาจต้องแก้ไขระบบหรือปรับปรุงในบางจุด เพื่อให้ระบบทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำการบำบัดน้ำเสียได้อย่างสมบูรณ์แบบตามที่ต้องการ

 บำบัดน้ำเสียอย่างไรจึงจะออกมาสมบูรณ์เป็นน้ำดีได้ ? 

คำตอบสั้นๆง่ายๆก็คือ ปริมาณจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียต้องมีปริมาณมากกว่าของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงจะเอาชนะของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นได้ ของเสียทุกๆอย่างในโลกนี้ ซึ่งรวมทั้งน้ำเสียด้วย ล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการย่อยสลายของเสียต่างๆแทนจุลินทรีย์ได้ในปัจจุบัน น้ำดีหรือน้ำเสียวัดได้จากค่าพารามิเตอร์เช่น ค่า pH , BOD , COD , DO , SS , TDS เป็นต้น ยิ่งค่าออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆมีสูง ( ค่า DO มากกว่า 3 ขึ้นไป ) ยิ่งเป็นการดีและค่าอื่นๆได้มาตรฐานนั่นคือ น้ำดี  ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะแปรผันไปตามปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลาย ถ้าในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายจำนวนมาก จะส่งผลต่อค่าพารามิเตอร์ต่างๆเข้าใกล้ค่ามาตรฐาน จะเห็นว่า จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและน้ำเสียเป็นตัวจักรสำคัญในระบบบำบัดน้ำเสียที่จะทำให้น้ำเสียเปลี่ยนเป็นน้ำดีได้ นี่คือความสำคัญของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียอย่าให้ขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายและอย่าให้จุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีน้อยจนเกินไป เพราะจะเกิดปัญหาหลายอย่างติดตามมาในภายหลัง

น้ำดีต้องมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำมากกว่า 3 ขึ้นไป ( ค่า DO > 3 ) น้ำเสียจะมีค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลยก็มี ( ค่า DO น้อย ) ดังนั้น จึงส่งผลให้ในน้ำเสียนั้นไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายหรือแทบไม่มีเลย จึงทำให้น้ำเสียวิกฤตมากขึ้นนั่นเอง ส่งผลต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนในน้ำเป็นหลัก วิธีการแก้ไขปัญหานี้จึงต้องเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสียนั้นๆ เพื่อเพิ่มค่า DO ในน้ำเสียให้มากขึ้นเพียงพอกับจุลินทรีย์ที่จะนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสีย  แต่ถ้าค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียยังมีน้อยหรือไม่เพียงพอกับปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ น้ำเสียนั้นก็จะถูกบำบัดได้ระดับเล็กน้อยเท่านั้น น้ำเสียยังคงไม่เป็นน้ำดี เพราะปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนมีน้อยกว่าปริมาณน้อยเสียที่เกิดขึ้ย แต่ก็มีวิธีการแก้ไขได้อีกวิธีหนึ่งคือ การเติมหรือเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียโดยไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็ม ) ซึ่งสามารถทำได้ง่ายกว่าการเพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ง่าย เพิ่มความเข้มข้นและปริมาณความหนาแน่นของจุลินทรีย์ได้ง่าย และประการสำคัญสามารถทำงานร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ทุกที่ ดังนั้น ไม่ว่าน้ำเสียนั้นๆจะมีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำหรือไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นเลย กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มก็สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที  ปริมาณน้ำเสียมากหรือวิกฤตมาก ก็ใช้ปริมาณของจุลินทรีย์อีเอ็มมากตามไปด้วย  การใช้จุลินทรีย์ในแต่ละครั้งจะแปรผันตรงกับปริมาณของเสีย  สามารถนำกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มไปปรับค่า pH ได้กรณีที่น้ำเสียนั้นๆมีความเป็นด่างหรือเบส สามารถใช้จุลินทรีย์อีเอ็มปรับค่าน้ำได้ทันที   แต่ถ้าน้ำเสียนั้นมีค่าเป็นกรดให้ใช้ปูนขาวปรับค่า pH เพื่อให้ค่าเข้าใกล้ 7

จำเป็นอย่างไรจึงต้องใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน ?

ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้สมบูรณ์แบบก็คงไม่มีความจำเป็นแต่ประการใด เรารู้ปัญหาในระบบบำบัดน้ำเสียจากประสบการณ์ที่สัมผัสกับลูกค้าจำนวนมากมาโดยตลอดเกือบ 20 ปี และช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าประสบความสำเร็จมาจำนวนมาก โดยที่เราไม่ได้คิดค่าที่ปรึกษาใดๆทั้งสิ้น ลูกค้าที่สั่งซื้อจุลินทรีย์ไปจากเราจะได้รับคำแนะนำและคำปรึกษาฟรีโดยตลอด ระบบบำบัดน้ำเสียค่อนข้างต้องใช้ทั้งความรู้และความเชี่ยวชาญพอสมควร ต้องเข้าใจระบบแต่ละระบบอย่างดีพอ รวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาของระบบต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาบูรณาการกัน เราไม่ได้จำหน่ายเพียงแค่จุลินทรีย์เท่านั้น แต่เราช่วยลูกค้าของเราด้วยในการแก้ไขปัญหาโดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าที่ปรึกษาให้สิ้นเปลือง ซึ่งเป็นจุดที่ลูกค้าของเราถูกใจมากที่สุด ลูกค้าจะได้คำแนะนำและคำปรึกษาต่างๆที่มีค่ามากกว่าสินค้าที่ซื้อไปจากเรา ซึ่งเป็นนโยบายของทางร้านฯ ที่ต้องการให้ข้อแนะนำต่างๆกับลูกค้าได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราขายความจริงและนำเสนอความจริงที่ลูกค้าควรรับทราบ  ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียของลูกค้าสมบูรณ์อยู่แล้ว เราจะไม่จำหน่ายสินค้าให้ เพราะไม่มีความจำเป็นใดๆ เราจะพิจารณาปัญหาและความเหมาะสมและอีกหลายอย่างมาประกอบกัน เราต้องการเติมเต็มและแก้ปัญหาจุดด้อยให้กับลูกค้า เราจะวิเคราะห์ให้กับลูกค้าก่อนว่าสมควรซื้อหรือไม่ซื้อจุลินทรีย์จากเรา จะไม่มีการยัดเยียดอย่างเด็ดขาด และไม่มีการให้ข้อมูลแบบผิดๆกับลูกค้า เพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อจุลินทรีย์จากเรา ซึ่งสังเกตได้จากที่เราจะเน้นให้ข้อมูลและความรู้ในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียกับลูกค้าให้มากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจก่อน แล้วจึงค่อยตัดสินใจในภายหลัง นี่คือจุดประสงค์ของเราที่ต้องการช่วยเหลือลูกค้าในการแก้ไขปัญหาของลูกค้า ข้อมูลของร้านฯค่อนข้างมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกค้าศึกษาและทำความเข้าใจในด้านต่างๆอย่างละเอียด ปริมาณ

จุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสียลดลงหรือมีปริมาณน้อยดูได้จากจุดใด ?

1. น้ำเน่าเสียมากขึ้น

2. กลิ่นเน่าเหม็นมากขึ้นและแรงขึ้นเรื่อยๆ

3. ค่า BOD จะสูงขึ้นเรื่อยๆ

               

เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ในนามแบรนด์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( Anaerobic  Bacteria ) ทำงานได้ดีทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศ ไม่ดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ใน ( น้ำเสีย ) มาใช้งานและการดำรงชีพ จึงทำให้ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆไม่ลดลง ( ค่า DO ) จึงเหมาะสำหรัยเป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์ดับกลิ่นเหม็นบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะ จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง

จุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีกลิ่นหอม ซึ่งไม่เหมือนกลิ่นจุลินทรีย์อีเอ็มทั่วๆไปที่จำหน่ายในท้องตลาดที่มีกลิ่นฉุนเปรี้ยว ดังนั้นจึงได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียได้ดี และ การดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียได้ดี กลิ่นหอมทันทีที่เริ่มใช้ในบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน ซึ่งลูกค้าของทางร้านทั้งหมดทั่วประเทศจะชอบใจในจุดนี้เป็นอย่างมาก

จุลินทรีย์คาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโดยชน์หลายๆด้าน โดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียให้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เข้าไปในระบบเพื่อย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะลำพังกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียอาจไม่เพียงพอ เหตุเพราะปริมาณน้ำเสียและของเสียในน้ำเสียมีปริมาณมากกว่ากลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนจะทำการย่อยสลายและบำบัดน้ำเสียได้ทั้งหมด ทางออกในการแก้ไขปัญหานี้จึงต้องพึ่งพาอาศัยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ( ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ) นั่นก็คือกลุ่มจุลิทรีย์อีเอ็มนั่นเอง ซึ่งมีความสามารถและทำหน้าที่คล้ายๆกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนที่มีอยู่ในธรรมชาติ ในสภาวะที่มีปัญหาน้ำเสียวิกฤตหนักๆ ในน้ำเสียมีจุลินทรีย์น้อยหรือแทบไม่มีเลย ( เพราะออกซิเจนในน้ำเสียมีน้อยหรือแทบไม่มีออกซิเจน ) กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนจำเป็นต้องอาศัยอากาศออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ถ้าไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนก็จะไม่มีในน้ำเสียหรือมีแต่มีปริมาณน้อยมากๆ จึงทำให้น้ำยิ่งเน่าเสียมากยิ่งขึ้น ในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ วัตถุประสงค์ทุกๆระบบเหมือนกันคือต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนมาทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบ ดังนั้น จึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนเข้าไปในระบบให้เพียงพอ  แต่ส่วนใหญ่ในระบบจะได้อากาศออกซิเจนเติมเข้าไปในระบบน้ำเสียในปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อการเพิ่มปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสีย จึงส่งผลทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆยังด้อยประสิทธิภาพอยู่ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีน้อยกว่าปริมาณของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง   ทางออกจึงมาลงตัวที่กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็ม ( ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลานของเสียและบำบัดน้ำเสีย ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์แอนแอร์โรบิคที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( ทำหน้าที่ได้เหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ตามความต้องการ ความหนาแน่นของปริมาณจุลินทรีย์มีมากกว่า สามารถทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียในน้ำเสียได้ทันที เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดปริมาณน้ำเสียและของเสียในระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบ โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบง่ายๆชนิดเติมอากาศ ส่วนใหญ่จะมีปริมาณจุลินทรีย์ในระบบมีปริมาณน้อย

 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจัดทำขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น เราสังเคราะห์ขึ้นมาจากหัวเชื้อของจุลินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศต้นฉบับโดยตรง เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายด้าน มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย รวมไปถึงการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ สามารถทำงานร่วมกันกับจุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจนได้เป็นอย่างดี ทำหน้าที่คล้ายๆกัน ดังนั้น จึงสามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ ในสภาวะที่ในน้ำเสียไร้ออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้น จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้  ดังนั้น จึงต้องหันไปเพิ่งกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย นี่คือทางออกในการแก้ไขปัญหาในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ ( ค่า DO ต่ำหรือแทบเป็น 0 ) จุลินทรีย์อีเอ็มสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ง่ายกว่าจุลินทรีย์ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ต้นทุนต่ำกว่าและง่ายกว่า ดังนั้น จึงเป็นทางเลือกในการ RUN & REBOOT ระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน ไม่ว่าระบบจะเล็กหรือขนาดใหญ่ สามารถทำได้ทั้งนั้นในทุกๆระบบ เป็นผลดีต่อระบบโดยตรง  กรณีที่ระบบบำบัดน้ำเสียชนิด  AS หรือ  RBC ล่มหรือเสียรอซ่อม ก็สามารถนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปทดแทนได้ระหว่างรอซ่อมและ RUN ระบบอีกครั้ง โดยไม่ต้องรอให้ซ่อมแล้วเสร็จก่อน เพราะของเสียและน้ำเสียเกิดขึ้นในทุกๆวัน น้ำเสียที่เกิดขึ้นไม่สามารถรอระบบให้เสร็จก่อนได้ ต้องทำการบำบัดทันทีก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้ได้ดีกับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ

ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น 6 แบบ ได้แก่ 

1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)
2.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL)
3.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland) 
4.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge : AS )
5.ระบบบำบัดน้ำเสียคลองวนเวียน (Oxidation Ditch)
6.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor ; RBC)

แบบที่ 4 และแบบที่ 6 การลงทุนสูงและค่าเมนเทนแนนส์รายเดือนค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับโรงงาน โรงพยาบาล ชุดชุนขนาดใหญ่ที่มีน้ำเสียปริมาณมากๆ ส่วนระบบแบบอื่นการลงทุนไม่มาก แต่อาจใช้พื้นที่มากในบางระบบ ระบบลากูนแบบกลางแจ้งจะใช้พื้นที่มาก ทุกๆระบบที่กล่าวมาล้วนต้องการออกซิเจนเข้าไปทำปฏิกิริยาในระบบ เพราะจุลินทรีย์ที่ใช้ในระบบเป็นแบบใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย อีกทั้งน้ำก็ต้องการออกซิเจนเพื่อให้เป็นน้ำดี เพราะถ้าค่าออกซิเจนในน้ำต่ำกว่า 3 ( ค่า DO < 3 )ก็จะเป็นน้ำเสียถึงน้ำจะมีสีใสก็ตาม ยังถือว่าเป็นน้ำเสียอยู่ ดังนั้น ออกซิเจนในน้ำจึงมีความสำคัญมาก น้ำดีหรือน้ำเสียจึงดูค่า DO เป็นจุดหลัก ส่วนค่าพารามิเตอร์ตัวอื่นๆเป็นส่วนประกอบที่สำคัญไล่เลี่ยกันไป ของเสียและน้ำเสียในบางหน่วยงานจะค่อนข้างวิกฤตในปัจจุบัน เพราะของเสียมากขึ้น น้ำเสียเพิ่มมากขึ้น จนระบบย่อยสลายและบำบัดไม่ทัน จึงเกิดการเน่าเหม็นส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งทำให้รู้ว่าระบบนั้นมีปัญหาในเรื่องของปริมาณจุลินทรีย์ในระบบนั้นๆมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง  ทางออกคือการเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เข้าไปในระบบให้เพียงพอหรือมากกว่าปริมาณของเสียและน้ำเสีย การเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาทำได้ค่อนข้างยาก ยกเว้นระบบ AS และ RBC สามารถทำได้โดยระบบของมันเอง  แต่ก็อย่างว่า ถ้าสองระบบนี้เกิดชำรุดหรือเสียขึ้นมา ก็ไม่มีจุลินทรีย์อยู่ในระบบหรือมีแต่ปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย สิ่งที่ติดตามมาก็คือ น้ำเสียเริ่มส่งกลิ่นเน่าเหม็นมากยิ่งขึ้น  แล้วจะทำอย่างไร? ทางออกของปัญหานี้ก็คือ เติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( จุลินทรีย์อีเอ็ม)เข้าไปในระบบให้มากหรือเพียงพอกับปริมาณของเสียและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มจะไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำมาทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน  กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายต้องอาศัยออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นทุกๆครั้งตลอดเวลา  ถ้าน้ำเสียนั้นมีออกซิเจนละลายอยู่น้อยหรือแทบไม่มีเลย ( น้ำเสียวิดฤตมาก )ปัญหาที่ตามมาก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทำงานย่อยสลายของเสียในน้ำนั้นได้  แต่ขณะเดียวกันกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม )สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที  ออกซิเจนไม่มีความจำเป็นกับกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มกลุ่มนี้  ดังนั้น น้ำเสียที่วิกฤตมากๆ ( ออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียนั้นมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย ) จุลินทรีย์อีเอ็มจึงสามารถทำงานทดแทนย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที ประสิทธิภาพไม่ค่อยแตกต่างกันจากจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน  จึงเป็นทางเลือกในปัจจุบันที่จะนำจุลินทรีย์อีเอ็มมาเสริมประสิทธิภาพการย่อยสลายในระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียและการย่อยสลายของเสียมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น      

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา สังเคราะห์ขึ้นจากหัวเชื้อของจุลินทรีย์ต้นฉบับโดยตรง ไม่ใช่หมักจากเปลือกผลไม้ เป็นจุลินทรีย์ที่เข้มข้นและมีความหนาแน่นของจุลินทรีย์สูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่างด้วยกัน ทั้งการบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่น รวมถึงประยุกต์เป็นปุ๋ยในทางการเกษตรก็สามารถทำได้ เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย แต่ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำจากการสังเคราะห์แสง

คุณสมบัติของจุลินทรีย์คาซาม่า

- ใช้บำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย

- ย่อยสลายสารอินทรีย์วัตถุให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง

- ย่อยสลาย  Fat, Greas  &   Oil    ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 

- ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ทุกชนิด

จุลินทรีย์คาซาม่า ( จุลินทรีย์-Kasama ) ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายกลุ่มดังต่อไปนี้

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( Anaerobic  Bacteria ) สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่มีปัญหาอออกซิเจนละลายในน้ำเสียไม่เพียงพอ ( ค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ) ซึ่งทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียไม่ทำงาน จึงส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งกลิ่นเน่าเหม็นต่างๆสะสมมากขึ้น

การดับกลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ โดยเฉพาะในบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง จุลินทรีย์คาซาม่าจะเข้าไปกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นเหล่านี้ รวมทั้งการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นประเภทใดได้บ้าง?

จุลินทรีย์หอม-kasama ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้

1. กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ ( สารที่มาจากพืชและสัตว์ )

2. กลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ กลิ่นเหม็นส้วม กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ

3. กลิ่นเหม็นจากปัสสาวะและอุจจาระทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด

4. กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากการเก็บของเสียต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นมา

5. กลิ่นคาวเลือดหรือคาวปลาในโรงงานเชือดไก่ เชือดสุกร หรือโรงงานเชือดปลา เป็นต้น

6. กลิ่นจากบ่อขยะ หรือกลิ่นจากถังขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ

7. กลิ่นเหม็นจากท่อระบายน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็นจากน้ำที่เน่าเสีย

8. กลิ่นเน่าเหม็นจากไขมัน จากบ่อดักไขมันตามร้านอาหารหรือโรงอาหาร เป็นต้น

9. กลิ่นเหม็นจากการหมักพืชและสัตว์

10. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด

กลิ่นใดที่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าดับไม่ได้หรือกำจัดกลิ่นไม่ได้ ?

กลิ่นที่เกิดขึ้นจากสารเคมีจำพวกกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์ทำลายหรือกัดกร่อนสูง       

มีปัญหาบ่อดักไขมันส่งกลิ่นเหม็นรบกวน บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน  บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนใจ  ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วทันใจ

  จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย

 


            


 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง กดดูที่นี่..

จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
แก้ปัญหาค่า BOD,SS,TDS สูงในคอนโดมิเนี่ยมอาคารสำนักงาน คลิกที่นี่.. 

เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง  คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่..

การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. 
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงสุกรทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป คลิกดูที่นี่... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 
กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียเกิดมาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียอย่างไร ? คลิกดูที่นี่.. 
สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่..
วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 
การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย&จุลินทรีย์ดับกลิ่นที่มีกลิ่นหอม คลิกที่นี่..
จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่...
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูข้อมูลที่นี่..
จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย / จุลินทรีย์หอมย่อยสลายของเสีย คลิกที่นี่.....
ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์  คลิกที่นี่... 
ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่..
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในร้านอาหาร & ภัตตาคารทุกๆแห่ง คลิกที่นี่...
การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงแรมและรีสอร์ททั่วๆไป คลิกที่นี่..
การบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วๆไป คลิกดูที่นี่.. 

ค่าพารามิเตอร์เบื้องต้นของน้ำเสียและค่ามาตรฐานน้ำทิ้งประเภทต่างๆที่ควรรู้

ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสียสอบตกค่าพารามิเตอร์จะเป็นเครื่องบอกเหตุว่า บ่อบำบัดน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหายังไม่มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้ และยังทำให้รู้ว่ามีปัญหาในเรื่องของปริมาณจุลินทรีย์ในบ่อบำบัด อาจจะขาดหรืออาจจะเกิน ( แต่ส่วนใหญ่จะขาด )   

pH ความเป็นกรด - ด่างของน้ำเสีย
BOD  (Biochemical Oxygen Demand)  ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์  mg/l 
COD (Chemical Oxygen Demand) ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์  mg/l 
SS ( Suspended Solids ) ค่าของแข็งแขวนลอยหรือปริมาณของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ mg/l 
TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) ปริมาณรวมทั้งหมดของไนโตรเจนอนินทรีย์และแอมโมเนีย-ไนโตรเจนที่อยู่ในโปรตีนของพืชและสัตว์ mg/l 
FOG  ( Fat, Oil &Grease )   แสดงค่า  ไขมัน  Grease , Oil  ในน้ำเสีย mg/l 
PO4( mg/l ) Phosphate 

 

 

ตัวอย่างค่าพารามิเตอร์ต่างๆของอาคารสำนักงานทั่วๆไป
 

ค่าพารามิเตอร์ น้ำเสียจากส้วม น้ำเสียจากครัวและอื่นๆ หมายเหตุ
pH 8.10 7.4
BOD ( mg/l ) 181 41
COD( mg/l ) 392 96
SS ( mg/l ) 158 26
TKN ( mg/l ) 44.1 9.7
FOG ( mg/l ) 455 527
PO4( mg/l ) 2.0 0.4
     
         

 

ตัวอย่างค่าพารามิเตอร์ของอาคารต่างๆแบบคร่าวๆ ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนห้อง
 

ค่าพารามิเตอร์ อาคารชุดคอนโดมิเนียม โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล
pH 7.2 7.05 7.51 6.84
BOD (mg/l) 151 190 81 238
COD (mg/l) 221 311 253 350
TKN(mg/l) 33.7 23 66.8 15.2
FOG (mg/l) 473 563 577 631
SS  (mg/l) 63 84 61 87.06
PO4  (mg/l) 2.0 1.8 10.1 3.29
       


  

ค่าพารามิเตอร์บางตัวที่ควรทราบไว้

TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) หมายถึงปริมาณรวมทั้งหมดของไนโตรเจนอนินทรีย์และแอมโมเนีย-ไนโตรเจนที่อยู่ในโปรตีนของพืชและสัตว์

FOG ( Fat, Oil &Grease ) แสดงค่า  ไขมัน  Grease , Oil  ในน้ำเสีย

TOC (Total Organic Carbon) คือค่าอินทรีย์คาร์บอนรวม เป็นคำศัพท์ที่ใช้อธิบายถึง สารอินทรีย์(ที่พื้นฐานมีคาร์บอน) ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในน้าเสียนั้นๆ สารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำนั้น สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำได้ น้ำที่มีสารอินทรีย์เจอปนมากจะส่งผลให้การละลายของออกซิเจนในน้ำนั้นน้อยลง ส่งผลต่อปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายโดยตรง

ค่า BOD ของน้ำดีจะอยู่ที่  <= 6 mg/l  จะส่งผลทำให้ค่า DO >= 6  ขึ้นไป ค่ากลางน้ำดีของ DO อยู่ที่ 5-8 mg/l หรือ 5-8 ppm.

มาตรฐานน้ำทิ้ง ค่า BOD ( กลาง ) ประมาณ 20 mg/l  ถ้าค่า  BOD เกิน  100 mg/l ขึ้นไป น้ำก็จะเน่าเสียแล้ว ( สารอินทรีย์เจือปนในน้ำมีมาก )

การควบคุมค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสีย ( Para Meter  Control )

ทำไมต้องคอนโทรลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เหตุผลก็เพื่อต้องการทราบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังการบำบัดแล้ว ( น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดให้เป็นน้ำดี ) ซึ่งค่าพารามิเตอร์จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดว่า บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้หรือไม่ รวมถึงจะบอกถึงประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียในหน่วยงานนั้นๆ น้ำที่มีสีใสๆไม่ใช่น้ำที่มีคุณภาพดีเสมอไป อาจมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่มากก็ได้ ( เป็นน้ำเสีย )

ค่าพารามิเตอร์พื้นฐานที่ต้องคอนโทรลในระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย เช่น  ค่า ph , BOD , COD , SS , TDS , FOG , TKN , S ,DO เป็นต้น ถ้าคอนโทรลค่าพารามิเตอร์พื้นฐานเหล่านี้ได้ตามกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งได้แล้ว ถือว่าระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพดีมาก และต้องคอนโทรลได้อย่างต่อเนื่อง

การวัดค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียในบ่อบำบัดประจำเดือน ( ในแต่ละครั้ง )

ให้เก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อที่ 1 ( ก่อนบำบัด )  และ บ่อสุดท้าย ( ผ่านการบำบัดแล้ว ) มาวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการแล้วนำไปขึ้นเป็นรีพอร์ท ( รายงานผลการวิเคราะห์ ) ประจำเดือนในแต่ละเดือนต่อไป ( ส่งให้หน่วยงานราชการได้ ) 

สิ่งที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะน้ำเสียที่ไปจากอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนี่ยมต่างๆทุกๆแห่งจะมีสารอินทรีย์และตะกอนปนเปื้อนในน้ำเสียค่อนข้างสูง ส่งผลให้ค่า BOD , TOC , SS , TDS สูงตามไปด้วย การลดสารอินทรีย์ ( ถ้าทำได้ ) จะส่งผลให้ค่า BOD และ TOC , SS , TDS ลดลงตามไปด้วย ถ้าตะกอนสารอินทรีย์มีขนาดใหญ่อาจใช้ตัวกรองของเสียและกรองตะกอนตะกรัน ( Filter ) กรองดักของเสียก่อนลงในบ่อแรก เพื่อลดค่า SS , TDS ไปในตัว ซึ่งมีส่วนช่วยลดค่า BOD , COD , TOC โดยเฉพาะการใช้ฟิลเตอร์กรองแบบละเอียดก่อนน้ำเสียลงบ่อสุดท้าย ( ก่อนปล่อยน้ำทิ้งออกสู่สาธารณะ ) การเพิ่มตัวฟิลเตอร์ในแต่ละบ่อจะช่วยลดค่า BOD , TOC , SS , TDS ไปได้มากพอสมควร ตัวฟิลเตอร์ก่อนลงในบ่อแรกอาจจะหยาบพอประมาณ เพิ่มตัวกรองสัก 2-3 ชั้น ( กรองแบบหยาบในบ่อแรก ) ส่วนบ่อลำดับต่อไปจนถึงบ่อสุดท้ายก็สามารถเพิ่มความละเอียดของฟิลเตอร์มากขึ้นตามความต้องการ เป็นวิธีการลดค่าพารามิเตอร์บางตัวแบบง่ายๆ แต่จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการบำบัดของระบบได้มากขึ้น ในส่วนของค่า pH สามารถปรับได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนกรณีค่า BOD , COD


 

ตัวอย่างแบบคร่าวๆของการทำรายงานผลประจำเดือนบ่อบำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสีย

ผลการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์น้ำเสียและน้ำทิ้งของบ่อบำบัดน้ำเสียนิติบุคคลอาคารชุด A ประจำเดือน ..... พ.ศ.  2563

( ค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันออกไปสถานะของหน่วยงาน )

 

ค่าพารามิเตอร์ บ่อที่ 1     บ่อสุดท้าย ( น้าดี ) ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง หมายเหตุ
pH
BOD
COD
TDS
SS
TKN
FOG        
DO        
         
         
         
         
         
         

  

 เพราะอะไรจึงต้องทำการบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะต่อไป

เหตุผลก็เพราะ 

น้ำ  คือ  ชีวิต  ทุกๆชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ขาดน้ำไม่ได้ คือ ตายสถานเดียวเท่านั้น น้ำเสียไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆปรารถนา แม้แต่พืชและสัตว์ก็ไม่มียกเว้น รักษาน้ำ เท่ากับรักษาโลกให้ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น น่าอยู่ขึ้น

 ที่นี่..เราให้คำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่อง การบริหารจัดการ การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของท่านที่มีอยู่ ( แต่ไม่ได้รับสร้างระบบบำบัด ) ช่วยให้คำแนะนำด้านต่างๆ ทั้งทางเทคนิคและการปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดที่มีอยู่ให้เหมาะสม เพื่อให้ระบบบำบัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ฯลฯ โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ( บริการลูกค้าฟรี ) แต่เฉพาะ สำหรับลูกค้าที่สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จากทางร้านฯเท่านั้น 

 

 

 

                 <<     กลับหน้าแรกจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย >>